“อภิรักษ์” ระบุสถานการณ์น้ำใน กทม.ตอนนี้ยังรับมือได้แม้หลายพื้นที่จะได้รับผลกระทบจากเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือน ไร่นาเสียหาย เผยอุโมงค์ส่งน้ำมักกะสันสร้างเสร็จแล้วจะช่วยการระบายน้ำพื้นที่ กทม.ชั้นในมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่สั่งกรุงเทพธนาคมผู้บริหารโครงการบีอาร์ทีเร่งทำประชาพิจารณ์สร้างความเข้าใจกับประชาชน
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวภายหลังประชุมคณะผู้บริหาร กทม.เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำฝนใน กทม.ว่าได้สั่งการให้สำนักระบายน้ำ (สนน.) กทม. ประสานงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และกรมชลประทาน เพื่อติดตามปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละพื้นที่แต่ละช่วงว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงหรือไม่ พร้อมทั้งการระบายน้ำท้ายเขื่อน ซึ่งขณะนี้ยังไม่น่าห่วง แต่ก็ได้ให้ สนน.คอยติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอุโมงค์มักกะสันซึ่งก่อสร้างเสร็จแล้วและเปิดให้มีการทดสอบระบบและจะช่วยให้การระบายในพื้นที่ชั้นในเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยตนจะออกไปตรวจสอบในวันที่ 27 ก.ย.2550 นี้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กทม.ยังไม่ได้รับผลกระทบน้ำเอ่อล้นจากกรณีน้ำเหนือที่ไหลผ่านพื้นที่ กทม.1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เนื่องจากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ถึง 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที นอกจากนี้ กทม.ยังได้มีการพร่องน้ำและระบายน้ำออกสู่โครงการแก้ลิงเป็นระยะอยู่แล้ว ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้นางบรรณโศภิษฐ์ เฆษวิชัย รองผู้ว่าฯ กทม.ประสานไปยังนักวิชาการที่ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วมภาครัฐบาลเพื่อประชุมวางแผนกรอบการป้องกันภาวะน้ำท่วมในระยะยาวเนื่องจากภาวะโลกร้อน
นายอภิรักษ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในที่ประชุมได้กำชับให้บริษัทกรุงเทพธนาคมซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของ กทม.ในฐานะที่เป็นผู้บริหารโครงการเร่งทำประชาพิจารณ์สร้างมั่นใจ ว่ารถเมล์ด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) เป็นทางเลือกหนึ่งของประชาชน ในการแก้ไขปัญหาจราจร พร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยได้มอบหมายให้ทำงานร่วมกับสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.)
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวภายหลังประชุมคณะผู้บริหาร กทม.เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำฝนใน กทม.ว่าได้สั่งการให้สำนักระบายน้ำ (สนน.) กทม. ประสานงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และกรมชลประทาน เพื่อติดตามปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละพื้นที่แต่ละช่วงว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงหรือไม่ พร้อมทั้งการระบายน้ำท้ายเขื่อน ซึ่งขณะนี้ยังไม่น่าห่วง แต่ก็ได้ให้ สนน.คอยติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอุโมงค์มักกะสันซึ่งก่อสร้างเสร็จแล้วและเปิดให้มีการทดสอบระบบและจะช่วยให้การระบายในพื้นที่ชั้นในเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยตนจะออกไปตรวจสอบในวันที่ 27 ก.ย.2550 นี้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กทม.ยังไม่ได้รับผลกระทบน้ำเอ่อล้นจากกรณีน้ำเหนือที่ไหลผ่านพื้นที่ กทม.1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เนื่องจากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ถึง 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที นอกจากนี้ กทม.ยังได้มีการพร่องน้ำและระบายน้ำออกสู่โครงการแก้ลิงเป็นระยะอยู่แล้ว ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้นางบรรณโศภิษฐ์ เฆษวิชัย รองผู้ว่าฯ กทม.ประสานไปยังนักวิชาการที่ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วมภาครัฐบาลเพื่อประชุมวางแผนกรอบการป้องกันภาวะน้ำท่วมในระยะยาวเนื่องจากภาวะโลกร้อน
นายอภิรักษ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในที่ประชุมได้กำชับให้บริษัทกรุงเทพธนาคมซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของ กทม.ในฐานะที่เป็นผู้บริหารโครงการเร่งทำประชาพิจารณ์สร้างมั่นใจ ว่ารถเมล์ด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) เป็นทางเลือกหนึ่งของประชาชน ในการแก้ไขปัญหาจราจร พร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยได้มอบหมายให้ทำงานร่วมกับสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.)