อย.เตรียมแก้ไข พ.ร.บ.อาหาร ไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาหรือโฆษณาโอ้อวดเกินจริง เพิ่มโทษหนักขึ้น พร้อมผ่อนปรนเกณฑ์การโฆษณา หลังพบละเมิดเพียบ ส่วนเครื่องสำอางเพิ่มสารต้องห้ามอีกหลายรายการ เตือนผู้บริโภคระวังโฆษณาสเต็มเซลล์เกินจริง
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าวว่า อย. กำลังดำเนินการแก้ไขกฎหมายใน พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 โดยจะเพิ่มโทษปรับสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตในการโฆษณา และมีการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง รวมถึงกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการต่อการโฆษณามากขึ้น และจะผ่อนคลายกฎระเบียบการโฆษณาให้มากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารบางประเภท จากเดิมที่ต้องขออนุญาต อย. ก่อนโฆษณา ให้ไม่ต้องขออนุญาตเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินงานได้สะดวก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างกฎหมายเพื่อแก้ไข
“ที่ผ่านมาพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ถูกต้อง ทั้งโดยตรงและอ้อมจากโฆษณาแฝง ซึ่งการกระทำผิดส่วนใหญ่พบได้ในทุกสื่อ แต่สื่อที่เป็นปัญหาและจับคนทำผิดได้ยาก คือ สื่อวิทยุ โดยเฉพาะวิทยุท้องถิ่น ที่โฆษณาให้ข้อมูลเท็จ และเกินจริงจำนวนมาก โดยการกระทำผิดส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้รับอนุญาต เมื่อตรวจพบ อย. ทำได้เพียงปรับตามกฎหมาย มีโทษปรับสูงสุดเพียง 5,000 บาทเท่านั้น ทำให้ผู้กระทำผิดไม่เกรงกลัว” นพ.ศิริวัฒน์ กล่าว
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ตามกฎหมายไม่ต้องขออนุญาตโฆษณาจาก อย. เพราะสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ดูแลในส่วนของเนื้อหาการโฆษณา แต่ อย. จะออกประกาศเพิ่มบัญชีสารต้องห้ามที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ซึ่งเป็นสารที่พบว่าไม่ปลอดภัยเพิ่มเติมอีก 1,200 รายการ ส่วนกรณีที่ขณะนี้มีผู้ประกอบการหลายรายทั้งผู้ผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของเนื้อเยื่อของมนุษย์และสัตว์ หรือสเต็มเซลล์ รวมถึงสถานพยาบาล คลินิกต่างๆ ที่แอบอ้างว่าผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการรักษาใช้สเต็มเซลล์ ทั้งที่การวิจัยเรื่องดังกล่าวยังไม่มีข้อสรุปทางการแพทย์ ว่าการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ได้ผลจริง รวมทั้งกระบวนการรักษานั้นก็ไม่ทราบว่าใช้สเต็มเซลล์จริงหรือไม่ ซึ่ง อย.ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบกระบวนการรักษา แต่จะสามารถดำเนินการได้เฉพาะการโฆษณาอวดอ้างเกินจริงและเข้าข่ายของผลิตภัณฑ์ยาเท่านั้น
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีเครื่องสำอางจากรกเด็ก ที่กำลังมีปัญหานั้น มีการขออนุญาตการนำเข้าผลิตภัณฑ์กับ อย. ถูกต้อง แต่ในเอกสารขออนุญาตไม่ได้ระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของรกเด็ก ซึ่ง อย. ตรวจพบภายหลังจากโฆษณาตามอินเตอร์เน็ต ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของรกเด็ก ซึ่งถือว่าเข้าข่ายผิดกฎหมาย พรบ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบเพื่อดำเนินการเอาผิดตามกฎหมาย
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าวว่า อย. กำลังดำเนินการแก้ไขกฎหมายใน พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 โดยจะเพิ่มโทษปรับสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตในการโฆษณา และมีการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง รวมถึงกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการต่อการโฆษณามากขึ้น และจะผ่อนคลายกฎระเบียบการโฆษณาให้มากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารบางประเภท จากเดิมที่ต้องขออนุญาต อย. ก่อนโฆษณา ให้ไม่ต้องขออนุญาตเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินงานได้สะดวก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างกฎหมายเพื่อแก้ไข
“ที่ผ่านมาพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ถูกต้อง ทั้งโดยตรงและอ้อมจากโฆษณาแฝง ซึ่งการกระทำผิดส่วนใหญ่พบได้ในทุกสื่อ แต่สื่อที่เป็นปัญหาและจับคนทำผิดได้ยาก คือ สื่อวิทยุ โดยเฉพาะวิทยุท้องถิ่น ที่โฆษณาให้ข้อมูลเท็จ และเกินจริงจำนวนมาก โดยการกระทำผิดส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้รับอนุญาต เมื่อตรวจพบ อย. ทำได้เพียงปรับตามกฎหมาย มีโทษปรับสูงสุดเพียง 5,000 บาทเท่านั้น ทำให้ผู้กระทำผิดไม่เกรงกลัว” นพ.ศิริวัฒน์ กล่าว
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ตามกฎหมายไม่ต้องขออนุญาตโฆษณาจาก อย. เพราะสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ดูแลในส่วนของเนื้อหาการโฆษณา แต่ อย. จะออกประกาศเพิ่มบัญชีสารต้องห้ามที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ซึ่งเป็นสารที่พบว่าไม่ปลอดภัยเพิ่มเติมอีก 1,200 รายการ ส่วนกรณีที่ขณะนี้มีผู้ประกอบการหลายรายทั้งผู้ผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของเนื้อเยื่อของมนุษย์และสัตว์ หรือสเต็มเซลล์ รวมถึงสถานพยาบาล คลินิกต่างๆ ที่แอบอ้างว่าผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการรักษาใช้สเต็มเซลล์ ทั้งที่การวิจัยเรื่องดังกล่าวยังไม่มีข้อสรุปทางการแพทย์ ว่าการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ได้ผลจริง รวมทั้งกระบวนการรักษานั้นก็ไม่ทราบว่าใช้สเต็มเซลล์จริงหรือไม่ ซึ่ง อย.ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบกระบวนการรักษา แต่จะสามารถดำเนินการได้เฉพาะการโฆษณาอวดอ้างเกินจริงและเข้าข่ายของผลิตภัณฑ์ยาเท่านั้น
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีเครื่องสำอางจากรกเด็ก ที่กำลังมีปัญหานั้น มีการขออนุญาตการนำเข้าผลิตภัณฑ์กับ อย. ถูกต้อง แต่ในเอกสารขออนุญาตไม่ได้ระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของรกเด็ก ซึ่ง อย. ตรวจพบภายหลังจากโฆษณาตามอินเตอร์เน็ต ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของรกเด็ก ซึ่งถือว่าเข้าข่ายผิดกฎหมาย พรบ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบเพื่อดำเนินการเอาผิดตามกฎหมาย