เผยเด็กที่มีความต้องการพิเศษในเมืองไทยมีสูงถึง 2 ล้านคน ชี้หาก ร.ร.ไม่เปิดโอกาสให้เรียนรวม เด็กจะขาดโอกาส ใช้ชีวิตในสังคมปกติได้ลำบาก
ดร.กุลยา ก่อสุวรรณ ประธานโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้ที่มีความสามารถพิเศษและเด็กที่มีความต้องการพิเศษแห่งชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า ในวันที่ 3-4 กันยายน 2550 ทางโครงการฯ จัดประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง “การเรียนรวม” ต้องการให้โรงเรียนทั่วประเทศไทยมีความรู้เรื่องในการจัดให้บริหารการเรียนการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อาทิ เด็ก (LD) ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กสมาธิสั้น เด็กที่เรียนรู้ได้ช้าขาดการกระตุ้นหรือขาดสารอาหาร เด็กบกพร่องทางสติปัญญา เด็กออทิสติก และเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน บกพร่องทางตา
ทั้งนี้ ปัจจุบันเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่อยู่ในกลุ่มวัยเรียนมีทั้งสิ้นประมาณ 2 ล้านคนจากทั่วประเทศ โดยกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่อยู่ในวัยเรียนมีจำนวนมากที่สุดประมาณ 1 ล้านคนทั่วประเทศในขณะนี้กฎหมายเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกประเภท ได้มีพื้นที่ในการเรียนรวมกับเด็กปกติมากขึ้นกว่าเดิม
หากแต่ยังมีโรงเรียนจำนวนมากที่ยังไม่มีความรู้และความเข้าใจในการเปิดพื้นที่การเรียนรวมขึ้น ยังมองว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษในด้านต่างๆ นั้นจะสร้างภาระให้ครูและทางโรงเรียน
สำหรับปัญหาแรกที่พบผู้บริหารไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญในการเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียน พยายามผลักเด็กไปเรียนโรงเรียนเฉพาะทาง อย่างเช่นโรงเรียนสอนคนหูหนวก สอนคนตาบอด ซึ่งยังมีอยู่จำนวนน้อยมากและไม่ครอบคลุมทั่วพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบว่าครูในโรงเรียนจำนวนไม่น้อยก็ยังมีเจตคติ ทัศนะและขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ขาดประสบการณ์ ขาดทักษะในการจัดการเรียนการสอน การให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะครูในโรงเรียนปกติจึงมีความจำเป็นอย่างมาก เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจและเจตคติที่ดีกับเด็กกลุ่มนี้
ดร.กุลยากล่าวอีกว่า แม้เราจะมีกฎหมายที่เอื้อให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีสิทธิ์ในการเข้าเรียนในโรงเรียนปกติได้ แต่ยังมีโรงเรียนประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ที่ยังไม่เข้าใจและไม่เปิดรับเด็กกลุ่มนี้
“อยากบอกว่าโรงเรียนยุคใหม่ในปัจจุบันนี้ควรจะมีการปรับตัวที่จะยอมรับเด็กกลุ่มนี้ และให้โอกาสเด็กที่มีความต้องการพิเศษเพิ่มมากขึ้น ให้เขามีโอกาสเข้าไปเรียนในโรงเรียนปกติร่วมกับเด็กปกติคนอื่นๆ ได้”
“ถ้าเมื่อไหร่ที่เรายังปล่อยและไม่สนใจเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กจะขาดโอกาสการเรียนเรียนรู้ทำความเข้าใจสังคมปกติ อย่าลืมว่าในอนาคตเมื่อเด็กโตขึ้นหรือสำเร็จการศึกษา เราคาดหวังว่าเด็กกลุ่มนี้ต้องอยู่ในชุมชน ดังนั้นการผลักเด็กให้อยู่ในกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หรือไปอยู่ในโรงเรียนเฉพาะทาง บางครั้งทำให้เด็กเข้าสังคมและใช้ชีวิตร่วมกับคนปกติได้ยาก ถ้าเขาไม่มีโอกาสในการเรียนรู้กับสังคมปกติ เราจะคาดหวังได้อย่างไรว่าในอนาคตเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมคนปกติได้”ดร.กุลยากล่าว
ทั้งนี้ หากผู้ปกครอง หรือโรงเรียนใดสนใจเข้าประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง “การเรียนรวม” สามารถเดินทางมาร่วมประชุมวิชาการในวันที่ 3-4 กันยายน 2550 เวลา 08.30-16.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ประสานมิตร โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
ดร.กุลยา ก่อสุวรรณ ประธานโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้ที่มีความสามารถพิเศษและเด็กที่มีความต้องการพิเศษแห่งชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า ในวันที่ 3-4 กันยายน 2550 ทางโครงการฯ จัดประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง “การเรียนรวม” ต้องการให้โรงเรียนทั่วประเทศไทยมีความรู้เรื่องในการจัดให้บริหารการเรียนการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อาทิ เด็ก (LD) ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กสมาธิสั้น เด็กที่เรียนรู้ได้ช้าขาดการกระตุ้นหรือขาดสารอาหาร เด็กบกพร่องทางสติปัญญา เด็กออทิสติก และเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน บกพร่องทางตา
ทั้งนี้ ปัจจุบันเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่อยู่ในกลุ่มวัยเรียนมีทั้งสิ้นประมาณ 2 ล้านคนจากทั่วประเทศ โดยกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่อยู่ในวัยเรียนมีจำนวนมากที่สุดประมาณ 1 ล้านคนทั่วประเทศในขณะนี้กฎหมายเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกประเภท ได้มีพื้นที่ในการเรียนรวมกับเด็กปกติมากขึ้นกว่าเดิม
หากแต่ยังมีโรงเรียนจำนวนมากที่ยังไม่มีความรู้และความเข้าใจในการเปิดพื้นที่การเรียนรวมขึ้น ยังมองว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษในด้านต่างๆ นั้นจะสร้างภาระให้ครูและทางโรงเรียน
สำหรับปัญหาแรกที่พบผู้บริหารไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญในการเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียน พยายามผลักเด็กไปเรียนโรงเรียนเฉพาะทาง อย่างเช่นโรงเรียนสอนคนหูหนวก สอนคนตาบอด ซึ่งยังมีอยู่จำนวนน้อยมากและไม่ครอบคลุมทั่วพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบว่าครูในโรงเรียนจำนวนไม่น้อยก็ยังมีเจตคติ ทัศนะและขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ขาดประสบการณ์ ขาดทักษะในการจัดการเรียนการสอน การให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะครูในโรงเรียนปกติจึงมีความจำเป็นอย่างมาก เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจและเจตคติที่ดีกับเด็กกลุ่มนี้
ดร.กุลยากล่าวอีกว่า แม้เราจะมีกฎหมายที่เอื้อให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีสิทธิ์ในการเข้าเรียนในโรงเรียนปกติได้ แต่ยังมีโรงเรียนประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ที่ยังไม่เข้าใจและไม่เปิดรับเด็กกลุ่มนี้
“อยากบอกว่าโรงเรียนยุคใหม่ในปัจจุบันนี้ควรจะมีการปรับตัวที่จะยอมรับเด็กกลุ่มนี้ และให้โอกาสเด็กที่มีความต้องการพิเศษเพิ่มมากขึ้น ให้เขามีโอกาสเข้าไปเรียนในโรงเรียนปกติร่วมกับเด็กปกติคนอื่นๆ ได้”
“ถ้าเมื่อไหร่ที่เรายังปล่อยและไม่สนใจเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กจะขาดโอกาสการเรียนเรียนรู้ทำความเข้าใจสังคมปกติ อย่าลืมว่าในอนาคตเมื่อเด็กโตขึ้นหรือสำเร็จการศึกษา เราคาดหวังว่าเด็กกลุ่มนี้ต้องอยู่ในชุมชน ดังนั้นการผลักเด็กให้อยู่ในกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หรือไปอยู่ในโรงเรียนเฉพาะทาง บางครั้งทำให้เด็กเข้าสังคมและใช้ชีวิตร่วมกับคนปกติได้ยาก ถ้าเขาไม่มีโอกาสในการเรียนรู้กับสังคมปกติ เราจะคาดหวังได้อย่างไรว่าในอนาคตเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมคนปกติได้”ดร.กุลยากล่าว
ทั้งนี้ หากผู้ปกครอง หรือโรงเรียนใดสนใจเข้าประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง “การเรียนรวม” สามารถเดินทางมาร่วมประชุมวิชาการในวันที่ 3-4 กันยายน 2550 เวลา 08.30-16.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ประสานมิตร โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น