xs
xsm
sm
md
lg

โลกร้อนทำยุงเพิ่มจำนวน ตัวเล็กลง กัดถี่ เสี่ยงโรคระบาดแพร่พันธุ์เร็ว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาวะโลกร้อนส่งผลยุงเพิ่มจำนวนพรวด ตัวเล็กลง หิวบ่อยกัดกินเลือดคนถี่ขึ้น เสี่ยงมาลาเรีย ไข้เลือดออกแพร่พันธุ์เร็ว เริ่มพบโรคไข้มาลาเรียเป็นครั้งแรกในประเทศภูฏาน เกาหลีเหนือ

นพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กล่าวว่า อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นจากภาวะโลกร้อนส่งผลให้วงจรชีวิตของยุงสั้นลง จากเดิมจากไข่ยุงกลายเป็นลูกน้ำและไอ้โม่งoyhoกว่าจะลอกคราบเป็นยุงต้องใช้เวลา 7-10 วัน แต่ปัจจุบันโลกร้อนขึ้นวงจรชีวิตยุงใช้เวลาแค่ 6-7 วัน ก็กลายเป็นยุงตัวเต็มวัย อายุขัยเฉลี่ย 45 วัน ทำให้การเพิ่มจำนวนยุงได้มากขึ้น สภาพวงจรชีวิตยุงที่เปลี่ยนไปนี้ มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชัดเจน

นอกจากนี้ จากการสังเกตยังพบว่ายุงมีขนาดตัวเล็กลง หิวบ่อย ส่งผลให้ยุงกัดกินเลือดคนบ่อยขึ้น เพิ่มโอกาสในการแพร่เชื้อโรคทั้งไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย นอกจากนี้ เดิมนั้นเชื้อไข้มาลาเรียจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในยุงที่อยู่ในอุณภูมิน้อยกว่า 19 องศาเซลเซียส แต่เมื่อโลกร้อนขึ้นพบว่าหลายประเทศเริ่มพบโรคไข้มาลาเรียเป็นครั้งแรกในประเทศภูฏาน เกาหลีเหนือ สันนิษฐานว่าส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศโลก
กำลังโหลดความคิดเห็น