กรมชลฯ ประชุมด่วนเร่งสนองกระแสพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสนอตั้งทีมดูแลคุณภาพแม่น้ำเจ้าพระยา ชี้หากโรงงานปล่อยน้ำเสียพร้อมแจ้งความดำเนินคดี ระบุเตรียมสร้างโอ่งเก็บน้ำขนาดเล็กไว้ใช้หน้าแล้ง และเสริมการปลูกป่าเพิ่มเหนือเขื่อนขนาดกลางให้ได้ 10 ล้านไร่ ภายใน 5 ปีข้างหน้า
ที่กรมชลประทาน วันนี้ (13 ส.ค.) นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวง นายสามารถ โชคคณาพิทักษ์ อธิบดีกรมชลประทาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมเร่งด่วนที่กรมชลประทาน เพื่อสนองกระแสพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
นายธีระ แถลงว่า กระทรวงเกษตรฯ จะผลักดันเรื่องการบริหารจัดการคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าภาพหลักในการดูแล ดังนั้น จะมีการเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กทม. กรมชลประทาน กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นทีมงานร่วมกัน โดยกรมชลประทานจะเป็นตัวหลักตรวจสอบคุณภาพน้ำและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้จะมีการเพิ่มปลูกป่าเหนือเขื่อนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 31 แห่ง เขื่อนขนาดกลาง 367 แห่ง เพื่อเสริมการปลูกป่าให้ได้ 10 ล้านไร่ ภายใน 5 ปี ถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา โดยประสานกรมป่าไม้อย่างจริงจัง และจะดูว่าข้อกฎหมายใดเป็นปัญหา เพื่อแก้ไข และกรมชลประทานจะพยายามเสริมการเพิ่มปลูกป่าทดแทนป่าที่เสียไปจากน้ำท่วม ให้ได้ 2-2.5 เท่าที่เสียไป
นายธีระ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ตามที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เคยทรงให้ข้อคิดไว้กับวิศวกรใหญ่กรมชลประทาน เรื่องการสร้างโอ่งหรือแหล่งเก็บน้ำขนาดเล็กตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อไว้ให้ราษฎรใช้ในหน้าแล้ง ก็จะเร่งดำเนินการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งนี้ ได้มอบให้กรมประมงสำรวจว่าปลาสายพันธุ์ใดที่จะสูญพันธุ์ ให้เร่งดำเนินการนำมาปล่อยและเพาะเลี้ยงเพิ่มเติม
ด้านอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทานมีเรือเร็วตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ และเริ่มดำเนินการได้ทันที โดยจะเริ่มตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (14 ส.ค.) เป็นต้นไป จุดไหนที่มีปัญหาคุณภาพน้ำ สามารถตั้งจุดตรวจถาวรได้ และโรงงานไหนปล่อยน้ำเสียกรมชลฯ จะเข้าแจ้งความต่อตำรวจโดยตรง เพื่อให้เกิดการแก้ไขเร่งด่วน นอกจากนี้ จะเร่งดำเนินการหาแหล่งเก็บน้ำดี เพื่อให้ได้นำน้ำฝนทุกหยดไปเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น และดูแลรักษาระบบนิเวศให้มากขึ้น
“ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ถามว่า เพราะเหตุใดก่อนหน้านี้กรมชลประทานจึงไม่ทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ทั้งที่มีเครื่องมือ ผมจึงอยากบอกว่าที่ผ่านมาไม่มีโครงการบูรณาการไหนทำสำเร็จ ถ้าไม่ใช่โครงการในพระราชดำริ