กมธ.งบประมาณ ฉะ สพฐ.สำทับให้ตั้งงบ “วิทยฐานะ” ปี 51 ให้พอ อย่าให้เกิดปัญหาซ้ำรอยเดิมอีก ด้าน “คุณหญิงกษมา” เผยขณะนี้ทุกอย่างไร้ปัญหาและมีเงินเพียงพอสำหรับจ่ายให้ครูทุกคนแน่นอน
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า วานนี้ (6 ส.ค.) ผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เข้าชี้แจงงบประมาณ 2551 กับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่ง สพฐ.ได้รับกรอบวงเงินงบประมาณ 2551 ทั้งสิ้น 189,377 ล้านบาท ทั้งนี้ กมธ.ตัดงบลงทุนไป 45 ล้านบาท
จากนั้น คุณหญิงกษมา กล่าวต่อว่า กมธ.สนใจงบเงินวิทยฐานะ ซึ่ง สพฐ.ได้เสนอของบ 2551 ประมาณ 12,000 ล้านบาท สำหรับจ่ายเป็นค่าวิทยฐานะให้ครูที่ผ่านการประเมินประมาณ 300,000 คน แต่เงินดังกล่าวไม่เพียงพอจ่ายเงินวิทยฐานะให้ครูได้ตลอดปี และในปี 2551 มีครูเข้ารับการประเมินวิทยฐานะ อีก 130,000 คน ดังนั้น สพฐ.ขอแปรญัตติเพิ่ม 7,000 ล้านบาท โดยแบ่ง 3,000 ล้านบาท ไป ใช้หนี้ที่ยืมเงินคงคลังมาจ่ายเงินวิทยฐานะ 3 เดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2550 ส่วนที่เหลือ 4,000 ล้านบาท น่าจะเพียงพอจ่ายให้ครูครบทุกคน
“กมธ.อยากให้ สพฐ.ตั้งงบให้เพียงพอ ไม่อยากให้ติดขัดอีก นอกจากนี้ กมธ.เสนอให้ สพฐ.ซ่อมแซมอาคาร รียน เนื่องจาก กมธ.ไปเยี่ยมโรงเรียนในตำบล หรืออำเภอในภูมิภาคมา พบว่า อาคารเรียนมีความทรุดโทรมอย่างมาก ทาง สพฐ.ได้ตั้งงบ 2551 ไว้สำหรับก่อสร้างและซ่อมแซมอาคารเรียนไว้ 2,973 ล้านบาท แบ่งเป็นงบก่อสร้างอาคาร เรียนมูลค่าเกิน 10 ล้านบาท จำนวน 92 แห่ง งบก่อสร้างอาคารเรียนมูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท จำนวน 560 แห่ง สร้างห้องน้ำ 514 แห่ง สนามกีฬา 306 แห่ง และกันไว้ 636 ล้านบาท สำหรับให้แต่ละโรงเรียนเสนอขอไปใช้ในการซ่อมแซมอาคารเรียน อีกทั้ง กมธ.ยังสนใจเรื่องการศึกษาพิเศษด้วย อยากให้ สพฐ.ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ พร้อมจัดครู อุปกรณ์ให้เพียงพอ ซึ่ง สพฐ.ได้ตั้งบปี 2551 ไว้ 1,594 ล้านบาท”
คุณหญิงกษมา กล่าวว่า นอกจากนั้น กมธ.ยังสนใจเรื่องโรงเรียนขนาดเล็กด้วย ทาง สพฐ.ได้ชี้แจ้งไปว่า ขณะนี้จำนวนประชากรในวัยเด็กของไทยลดลง ด้วยเหตุนี้จะต้องพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพ และใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม โดย สพฐ.กำลังพัฒนารูปแบบการจัดการ เรียนแบบคละชั้น ซึ่งในต่างประเทศใช้อยู่และประสบความสำเร็จ รวมทั้งมีแนวคิดให้โรงเรียนขนาดเล็กรวมกลุ่มกันทำงานธุรการด้วยกัน
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า วานนี้ (6 ส.ค.) ผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เข้าชี้แจงงบประมาณ 2551 กับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่ง สพฐ.ได้รับกรอบวงเงินงบประมาณ 2551 ทั้งสิ้น 189,377 ล้านบาท ทั้งนี้ กมธ.ตัดงบลงทุนไป 45 ล้านบาท
จากนั้น คุณหญิงกษมา กล่าวต่อว่า กมธ.สนใจงบเงินวิทยฐานะ ซึ่ง สพฐ.ได้เสนอของบ 2551 ประมาณ 12,000 ล้านบาท สำหรับจ่ายเป็นค่าวิทยฐานะให้ครูที่ผ่านการประเมินประมาณ 300,000 คน แต่เงินดังกล่าวไม่เพียงพอจ่ายเงินวิทยฐานะให้ครูได้ตลอดปี และในปี 2551 มีครูเข้ารับการประเมินวิทยฐานะ อีก 130,000 คน ดังนั้น สพฐ.ขอแปรญัตติเพิ่ม 7,000 ล้านบาท โดยแบ่ง 3,000 ล้านบาท ไป ใช้หนี้ที่ยืมเงินคงคลังมาจ่ายเงินวิทยฐานะ 3 เดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2550 ส่วนที่เหลือ 4,000 ล้านบาท น่าจะเพียงพอจ่ายให้ครูครบทุกคน
“กมธ.อยากให้ สพฐ.ตั้งงบให้เพียงพอ ไม่อยากให้ติดขัดอีก นอกจากนี้ กมธ.เสนอให้ สพฐ.ซ่อมแซมอาคาร รียน เนื่องจาก กมธ.ไปเยี่ยมโรงเรียนในตำบล หรืออำเภอในภูมิภาคมา พบว่า อาคารเรียนมีความทรุดโทรมอย่างมาก ทาง สพฐ.ได้ตั้งงบ 2551 ไว้สำหรับก่อสร้างและซ่อมแซมอาคารเรียนไว้ 2,973 ล้านบาท แบ่งเป็นงบก่อสร้างอาคาร เรียนมูลค่าเกิน 10 ล้านบาท จำนวน 92 แห่ง งบก่อสร้างอาคารเรียนมูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท จำนวน 560 แห่ง สร้างห้องน้ำ 514 แห่ง สนามกีฬา 306 แห่ง และกันไว้ 636 ล้านบาท สำหรับให้แต่ละโรงเรียนเสนอขอไปใช้ในการซ่อมแซมอาคารเรียน อีกทั้ง กมธ.ยังสนใจเรื่องการศึกษาพิเศษด้วย อยากให้ สพฐ.ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ พร้อมจัดครู อุปกรณ์ให้เพียงพอ ซึ่ง สพฐ.ได้ตั้งบปี 2551 ไว้ 1,594 ล้านบาท”
คุณหญิงกษมา กล่าวว่า นอกจากนั้น กมธ.ยังสนใจเรื่องโรงเรียนขนาดเล็กด้วย ทาง สพฐ.ได้ชี้แจ้งไปว่า ขณะนี้จำนวนประชากรในวัยเด็กของไทยลดลง ด้วยเหตุนี้จะต้องพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพ และใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม โดย สพฐ.กำลังพัฒนารูปแบบการจัดการ เรียนแบบคละชั้น ซึ่งในต่างประเทศใช้อยู่และประสบความสำเร็จ รวมทั้งมีแนวคิดให้โรงเรียนขนาดเล็กรวมกลุ่มกันทำงานธุรการด้วยกัน