กรมศิลปากร เปิดตัวศิลปวัตถุ “พระโพธิสัตว์” อายุ 800 ปี ให้ประชาชนชมความงามเป็นครั้งแรก พร้อมพระโพธิสัตว์ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ถึงปัจจุบันอีก 80 รายการ ในงานนิทรรศการพิเศษเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม ตามรอยพระโพธิสัตว์ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย 6 ก.ค.นี้ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
นายสมชาย ณ นครพนม ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เปิดเผยว่า สืบเนื่องมาจากกรมศิลปากร ได้ขุดค้นพบพระโพธิสัตว์ที่แหล่งโบราณสถานตุมปัง ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เมื่อปี 2545 ซึ่งสันนิษฐานว่า มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 หรืออายุ 700-800 ปี มีสภาพแตกเป็น 2 ส่วน จึงนำมาบูรณะประกอบใหม่เสร็จสมบูรณ์ปลายปี 2549 พร้อมจะเปิดตัวให้ประชาชนเข้าชมความงามเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 7-31 ก.ค.นี้ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “คุณธรรม จริยธรรม ตามรอยพระโพธิสัตว์ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ปี 2550” ในวันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคมนี้ และจะทอดพระเนตรพระโพธิสัตว์ ที่กรมศิลปากร ขุดค้นพบใหม่นี้ด้วย
พระโพธิสัตว์องค์ดังกล่าว สร้างด้วยศิลา มีความสูง 1.4 เมตร มีลักษณะเป็นรูปบุคคลประทับยืน สวมเครื่องประดับ และกรทั้งสองข้างยกขึ้นมาตั้งฉากกับลำตัว ทำเป็นปางกฏกมุทรา หรือปางถือของ บนศิราภรณ์มีช่องเป็นรูปสามเหลี่ยม สันนิษฐานว่า อาจจะมีสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์ประดับอยู่ แต่คงหลุดหายไป ทั้งนี้ นักโบราณคดีได้ศึกษาเปรียบเทียบจากรูปแบบเครื่องแต่งกายและท่าทางของประติมากรรมชิ้นอื่น คล้ายคลึงกับพระโพธิสัตว์ในศิลปะโจฬะ (ทมิฬ) ตอนใต้ของอินเดีย และศิลปะแบบโปลนนารุวะลังกา ที่นิยมทำพระโพธิสัตว์ประทับยืนตรง ทำให้เชื่อว่าประติมากรรมชิ้นนี้เป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือเมตไตรย อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 อาจจะเป็นหลักฐานสำคัญ ทำให้เห็นว่าดินแดนในไทยได้เริ่มนับถือศาสนาพุทธแบบลังกาวงศ์ตามแบบลังกา มีเมืองนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางที่สำคัญ และส่งต่อให้กับสุโขทัย โดยก่อนหน้านั้น ได้มีการเผยแพร่พุทธศาสนามหายานแบบลังกา ในคาบสมุทรภาคใต้มาก่อนแล้ว
นายสมชาย กล่าวอีกว่า ยังได้อัญเชิญพระโพธิสัตว์ที่พบในประเทศไทย อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 จนถึงปัจจุบัน นำมาจัดแสดงประมาณ 80 รายการ ที่บางชิ้นถูกค้นพบจากสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งเดินทางไปตรวจราชการอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งนักโบราณคดีทั่วโลกยอมรับว่าเป็นพระโพธิสัตว์ สร้างด้วยสัมฤทธิ์ ที่มีพุทธลักษณะสวยงามที่สุดในเอเชีย และที่ค้นพบจากปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีลักษณะพิเศษมีรูปพระพุทธรูปองค์เล็กๆ อยู่รอบองค์พระโพธิสัตว์ เหมือนการเปล่งรัศมี โดยพุทธลักษณะดังกล่าว มีอยู่ไม่เกิน 5 องค์ในไทย
นายสมชาย ณ นครพนม ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เปิดเผยว่า สืบเนื่องมาจากกรมศิลปากร ได้ขุดค้นพบพระโพธิสัตว์ที่แหล่งโบราณสถานตุมปัง ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เมื่อปี 2545 ซึ่งสันนิษฐานว่า มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 หรืออายุ 700-800 ปี มีสภาพแตกเป็น 2 ส่วน จึงนำมาบูรณะประกอบใหม่เสร็จสมบูรณ์ปลายปี 2549 พร้อมจะเปิดตัวให้ประชาชนเข้าชมความงามเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 7-31 ก.ค.นี้ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “คุณธรรม จริยธรรม ตามรอยพระโพธิสัตว์ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ปี 2550” ในวันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคมนี้ และจะทอดพระเนตรพระโพธิสัตว์ ที่กรมศิลปากร ขุดค้นพบใหม่นี้ด้วย
พระโพธิสัตว์องค์ดังกล่าว สร้างด้วยศิลา มีความสูง 1.4 เมตร มีลักษณะเป็นรูปบุคคลประทับยืน สวมเครื่องประดับ และกรทั้งสองข้างยกขึ้นมาตั้งฉากกับลำตัว ทำเป็นปางกฏกมุทรา หรือปางถือของ บนศิราภรณ์มีช่องเป็นรูปสามเหลี่ยม สันนิษฐานว่า อาจจะมีสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์ประดับอยู่ แต่คงหลุดหายไป ทั้งนี้ นักโบราณคดีได้ศึกษาเปรียบเทียบจากรูปแบบเครื่องแต่งกายและท่าทางของประติมากรรมชิ้นอื่น คล้ายคลึงกับพระโพธิสัตว์ในศิลปะโจฬะ (ทมิฬ) ตอนใต้ของอินเดีย และศิลปะแบบโปลนนารุวะลังกา ที่นิยมทำพระโพธิสัตว์ประทับยืนตรง ทำให้เชื่อว่าประติมากรรมชิ้นนี้เป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือเมตไตรย อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 อาจจะเป็นหลักฐานสำคัญ ทำให้เห็นว่าดินแดนในไทยได้เริ่มนับถือศาสนาพุทธแบบลังกาวงศ์ตามแบบลังกา มีเมืองนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางที่สำคัญ และส่งต่อให้กับสุโขทัย โดยก่อนหน้านั้น ได้มีการเผยแพร่พุทธศาสนามหายานแบบลังกา ในคาบสมุทรภาคใต้มาก่อนแล้ว
นายสมชาย กล่าวอีกว่า ยังได้อัญเชิญพระโพธิสัตว์ที่พบในประเทศไทย อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 จนถึงปัจจุบัน นำมาจัดแสดงประมาณ 80 รายการ ที่บางชิ้นถูกค้นพบจากสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งเดินทางไปตรวจราชการอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งนักโบราณคดีทั่วโลกยอมรับว่าเป็นพระโพธิสัตว์ สร้างด้วยสัมฤทธิ์ ที่มีพุทธลักษณะสวยงามที่สุดในเอเชีย และที่ค้นพบจากปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีลักษณะพิเศษมีรูปพระพุทธรูปองค์เล็กๆ อยู่รอบองค์พระโพธิสัตว์ เหมือนการเปล่งรัศมี โดยพุทธลักษณะดังกล่าว มีอยู่ไม่เกิน 5 องค์ในไทย