ที่ประชุมระหว่าง รมช.ศึกษาฯ เลขาธิการ กกอ. ประธาน ทปอ.และ ผอ.สทศ.ตกลงให้ สกอ.จัดสอบวิชาเฉพาะและเอเน็ตตามเดิมในปี 2551-2552 ส่วน สทศ.จัดสอบเฉพาะโอเน็ต ส่วนปี 2553 ให้ สทศ.จัดสอบทั้งหมด เผยเปลี่ยนจากเดิมให้ สทศ.เริ่มจัดสอบทั้งหมดในปี 2551 ระบุ สทศ.งานมากจากเพิ่มสอบโอเน็ตจาก 5 กลุ่มสาระฯ เป็น 8 กลุ่มสาระฯ

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับ ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เกี่ยวกับการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) และการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (เอเน็ต) ของปี 2551-2552 ได้ข้อสรุปว่า จะเปลี่ยนกลับมาให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นผู้จัดสอบเอเน็ต วิชาเฉพาะ 11 วิชา และวิชาความถนัดด้านภาษา 6 วิชา ส่วนที่ สทศ.จะจัดสอบเฉพาะโอเน็ตเท่านั้น จากที่ ทปอ.มีมติให้ สทศ.จัดสอบทั้งหมด แต่ภายหลัง ทปอ.ขอทบทวนใหม่ เพราะเห็นว่า สทศ.มีภาระงานมาก โดยเฉพาะปีนี้จะต้องจัดสอบโอเน็ตเพิ่มเป็น 8 กลุ่มสาระวิชา และมีปัญหามากอยู่แล้ว ดังนั้น ทปอ.จึงขอให้ สกอ.รับไปดำเนินการตามเดิม และในปี 2553 จึงโอนมาให้เป็นหน้าที่ของ สทศ.รับผิดชอบทั้งหมด
รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ได้หารือแนวทางแก้ปัญหากรณีเด็กที่จบก่อนหน้าปีที่จะมีการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือเด็กซิ่ล โดยตนได้เสนอแนวคิดว่าให้มหาวิทยาลัยมอบให้ สทศ.จัดสอบกลางให้กับผู้ที่ไม่เคยสอบโอเน็ต เช่น อาจจะป่วยไม่สามารถสอบได้ หรือไปเรียนต่อต่างประเทศ จึงไม่สามารถมาสอบโอเน็ตในปีที่จบ และให้แต่ละมหาวิทยาลัยนำคะแนนจากการสอบไปใช้ในการสอบตรง เพราะไม่ต้องการให้เด็กกลุ่มนี้วิ่งสอบหลายที่ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคณะที่มีการรับนักศึกษาโดยการสอบตรง ดังนั้น อยากให้ ทปอ.ไปคิดให้รอบคอบอีกครั้งในการแก้ปัญหาเด็กซิ่ล ซึ่งในจำนวนนี้ไม่ได้หมายถึงนักศึกษาที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้วแต่อยากกลับมาสอบใหม่
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับ ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เกี่ยวกับการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) และการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (เอเน็ต) ของปี 2551-2552 ได้ข้อสรุปว่า จะเปลี่ยนกลับมาให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นผู้จัดสอบเอเน็ต วิชาเฉพาะ 11 วิชา และวิชาความถนัดด้านภาษา 6 วิชา ส่วนที่ สทศ.จะจัดสอบเฉพาะโอเน็ตเท่านั้น จากที่ ทปอ.มีมติให้ สทศ.จัดสอบทั้งหมด แต่ภายหลัง ทปอ.ขอทบทวนใหม่ เพราะเห็นว่า สทศ.มีภาระงานมาก โดยเฉพาะปีนี้จะต้องจัดสอบโอเน็ตเพิ่มเป็น 8 กลุ่มสาระวิชา และมีปัญหามากอยู่แล้ว ดังนั้น ทปอ.จึงขอให้ สกอ.รับไปดำเนินการตามเดิม และในปี 2553 จึงโอนมาให้เป็นหน้าที่ของ สทศ.รับผิดชอบทั้งหมด
รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ได้หารือแนวทางแก้ปัญหากรณีเด็กที่จบก่อนหน้าปีที่จะมีการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือเด็กซิ่ล โดยตนได้เสนอแนวคิดว่าให้มหาวิทยาลัยมอบให้ สทศ.จัดสอบกลางให้กับผู้ที่ไม่เคยสอบโอเน็ต เช่น อาจจะป่วยไม่สามารถสอบได้ หรือไปเรียนต่อต่างประเทศ จึงไม่สามารถมาสอบโอเน็ตในปีที่จบ และให้แต่ละมหาวิทยาลัยนำคะแนนจากการสอบไปใช้ในการสอบตรง เพราะไม่ต้องการให้เด็กกลุ่มนี้วิ่งสอบหลายที่ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคณะที่มีการรับนักศึกษาโดยการสอบตรง ดังนั้น อยากให้ ทปอ.ไปคิดให้รอบคอบอีกครั้งในการแก้ปัญหาเด็กซิ่ล ซึ่งในจำนวนนี้ไม่ได้หมายถึงนักศึกษาที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้วแต่อยากกลับมาสอบใหม่