กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตือนระวังซื้อเครื่องพ่นกำจัดยุงไม่มีคุณภาพ หลังพบมีผู้แอบอ้างชื่อปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ให้การรับรองมาตรฐานหลอกขายหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แนะข้อดีข้อเสียเครื่องพ่นกำจัดมะแมลงแต่ละประเภท ชี้เครื่องพ่นหมอกหมอกควันไม่ควรฉีดพ่นใกล้ถนนเกรงทำให้เกิดอุบัติเหตุ
นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม เป็นช่วงที่มียุงชุกชุม จึงทำให้มีเครื่องพ่นกำจัดแมลงวางจำหน่ายในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเครื่องฉีดพ่นที่ใช้ในการกำจัดแมลงทางการเกษตร ซึ่งมีมาตรฐานการผลิตละอองต่ำกว่าเครื่องฉีดพ่นกำจัดแมลงทางสาธารณสุข โดยที่ผ่านมามีผู้แอบอ้างชื่อปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ให้การรับรองมาตรฐานเครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและหลอกขายให้องค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆ ดังนั้น หน่วยงานหรือองค์กรปกครองท้องถิ่นที่ต้องการจัดซื้อสารเคมีและเครื่องพ่นสารเคมี หากต้องการความมั่นใจว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในการฉีดพ่นกำจัดแมลงพาหะนำโรค สามารถที่จะส่งทดสอบคุณภาพของเครื่องพ่นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับเครื่องพ่นกำจัดยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออกที่หน่วยงานสาธารณสุขใช้ฉีดพ่นนั้น มี 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องพ่นหมอกควันขนาดเล็กหิ้วสะพาย หรือชนิดเครื่องใหญ่ติดรถยนต์ (Thermal Fogging) และเครื่องพ่นละอองฝอยขนาดเล็กสะพายหลังหรือชนิดเครื่องใหญ่ติดรถยนต์ (Cold Fogging) โดยการทำงานของแต่ละประเภทมีข้อดีและความแตกต่างบางประการ เช่น เครื่องพ่นฝอยละอองชนิดสะพายหลังจะมีสารละลายเคมีที่เข้มข้นสูงกว่าเครื่องพ่นหมอกควัน ดังนั้น จึงมีประสิทธิภาพในการฆ่ายุงหรือแมลงได้มากกว่า ทำให้สิ้นเปลืองสารละลายเคมีน้อยกว่าด้วย นอกจากนี้แรงลมจากเครื่องพ่นละอองฝอยจะทำให้ละอองสารเคมีลอยตัวกระจายอยู่ในพื้นที่เป้าหมายได้นานกว่าละอองที่ผลิตจากเครื่องพ่นหมอกควัน ซึ่งค่อนข้างเบาและมักจะลอยตัวสูงอยู่ในพื้นที่เป้าหมายได้ไม่นานส่วนข้อดีของเครื่องพ่นหมอกควัน คือ ผู้ฉีดพ่นสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและช่วยให้ผู้พ่นสามารถกำหนดปริมาณการฉีดพ่นให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ได้ง่ายกว่าเครื่องพ่นละอองฝอย ซึ่งสังเกตละอองฉีดพ่นได้ยาก
“อย่างไรก็ตาม เครื่องพ่นทั้งสองประเภทมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ในชุมชนทั่วไป ยกเว้นเครื่องพ่นหมอกควันที่ไม่ควรฉีดพ่นในพื้นที่ติดถนนที่มีรถยนต์พลุกพล่าน เพราะหมอกควันอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้ในสภาพชุมชนที่แออัด คับแคบ เครื่องพ่นหมอกควันที่ต้องถือหิ้วอยู่ข้างลำตัว จะมีการใช้งานที่คล่องตัวน้อยกว่าเครื่องพ่นละอองฝอยแบบสะพายหลัง” นพ.ไพจิตร์กล่าว
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อถึงผลการทดสอบเครื่องพ่นกำจัดยุงว่า ระหว่างปี 2547-2549 มีเครื่องพ่นที่ได้รับการทดสอบศักยภาพจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จำนวน 45 เครื่อง โดยมีเพียง 22 เครื่องที่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด แยกเป็นเครื่องพ่น หมอกควัน 6 เครื่อง และเครื่องพ่นฝอยละอองจำนวน 16 เครื่อง ซึ่งมีขนาดละอองเฉลี่ยไม่เกินกว่า 30 ไมครอนและมีความหนาแน่นของละอองเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 200 ละอองต่อตารางเซนติเมตร สามารถนำไปใช้กำจัดยุงพาหะนำโรค
สำหรับข้อบกพร่องของเครื่องพ่นที่ตรวจพบแต่ละประเภทมี ดังนี้ 1.เครื่องพ่นหมอกควัน พบว่าปลายท่อพ่นหมอกควันที่ตำแหน่งหัวหยดน้ำยามีความร้อนสูงเกินกว่า 700 องศาเซลเซียส ทำให้การผลิตละอองมีคุณภาพต่ำ (มีจำนวนน้อยกว่า 200 ละอองต่อตารางเซนติเมตร) เพราะน้ำยาส่วนใหญ่ถูกเผาไหม้เป็นควัน มีผลให้ขณะทำการฉีดพ่นจำนวนละอองที่ผลิตได้มีปริมาณน้อยเกินกว่าที่จะลอยไปสัมผัสฆ่ายุงได้ 2.เครื่องพ่นละอองฝอยชนิดสะพายหลัง พบว่าขนาดของละอองที่เครื่องพ่นผลิตได้มีขนาดใหญ่เกินกว่า 30 ไมครอน ซึ่งละอองที่มีขนาดใหญ่กว่ามาตรฐานที่กำหนดนั้นจะตกสู่พื้นเร็วทำให้การลอยตัวของละอองในอากาศมีเวลาจำกัด และโอกาสที่ละอองจะไปสัมผัสกำจัดยุงจึงลดลงด้วย
นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม เป็นช่วงที่มียุงชุกชุม จึงทำให้มีเครื่องพ่นกำจัดแมลงวางจำหน่ายในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเครื่องฉีดพ่นที่ใช้ในการกำจัดแมลงทางการเกษตร ซึ่งมีมาตรฐานการผลิตละอองต่ำกว่าเครื่องฉีดพ่นกำจัดแมลงทางสาธารณสุข โดยที่ผ่านมามีผู้แอบอ้างชื่อปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ให้การรับรองมาตรฐานเครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและหลอกขายให้องค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆ ดังนั้น หน่วยงานหรือองค์กรปกครองท้องถิ่นที่ต้องการจัดซื้อสารเคมีและเครื่องพ่นสารเคมี หากต้องการความมั่นใจว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในการฉีดพ่นกำจัดแมลงพาหะนำโรค สามารถที่จะส่งทดสอบคุณภาพของเครื่องพ่นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับเครื่องพ่นกำจัดยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออกที่หน่วยงานสาธารณสุขใช้ฉีดพ่นนั้น มี 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องพ่นหมอกควันขนาดเล็กหิ้วสะพาย หรือชนิดเครื่องใหญ่ติดรถยนต์ (Thermal Fogging) และเครื่องพ่นละอองฝอยขนาดเล็กสะพายหลังหรือชนิดเครื่องใหญ่ติดรถยนต์ (Cold Fogging) โดยการทำงานของแต่ละประเภทมีข้อดีและความแตกต่างบางประการ เช่น เครื่องพ่นฝอยละอองชนิดสะพายหลังจะมีสารละลายเคมีที่เข้มข้นสูงกว่าเครื่องพ่นหมอกควัน ดังนั้น จึงมีประสิทธิภาพในการฆ่ายุงหรือแมลงได้มากกว่า ทำให้สิ้นเปลืองสารละลายเคมีน้อยกว่าด้วย นอกจากนี้แรงลมจากเครื่องพ่นละอองฝอยจะทำให้ละอองสารเคมีลอยตัวกระจายอยู่ในพื้นที่เป้าหมายได้นานกว่าละอองที่ผลิตจากเครื่องพ่นหมอกควัน ซึ่งค่อนข้างเบาและมักจะลอยตัวสูงอยู่ในพื้นที่เป้าหมายได้ไม่นานส่วนข้อดีของเครื่องพ่นหมอกควัน คือ ผู้ฉีดพ่นสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและช่วยให้ผู้พ่นสามารถกำหนดปริมาณการฉีดพ่นให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ได้ง่ายกว่าเครื่องพ่นละอองฝอย ซึ่งสังเกตละอองฉีดพ่นได้ยาก
“อย่างไรก็ตาม เครื่องพ่นทั้งสองประเภทมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ในชุมชนทั่วไป ยกเว้นเครื่องพ่นหมอกควันที่ไม่ควรฉีดพ่นในพื้นที่ติดถนนที่มีรถยนต์พลุกพล่าน เพราะหมอกควันอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้ในสภาพชุมชนที่แออัด คับแคบ เครื่องพ่นหมอกควันที่ต้องถือหิ้วอยู่ข้างลำตัว จะมีการใช้งานที่คล่องตัวน้อยกว่าเครื่องพ่นละอองฝอยแบบสะพายหลัง” นพ.ไพจิตร์กล่าว
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อถึงผลการทดสอบเครื่องพ่นกำจัดยุงว่า ระหว่างปี 2547-2549 มีเครื่องพ่นที่ได้รับการทดสอบศักยภาพจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จำนวน 45 เครื่อง โดยมีเพียง 22 เครื่องที่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด แยกเป็นเครื่องพ่น หมอกควัน 6 เครื่อง และเครื่องพ่นฝอยละอองจำนวน 16 เครื่อง ซึ่งมีขนาดละอองเฉลี่ยไม่เกินกว่า 30 ไมครอนและมีความหนาแน่นของละอองเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 200 ละอองต่อตารางเซนติเมตร สามารถนำไปใช้กำจัดยุงพาหะนำโรค
สำหรับข้อบกพร่องของเครื่องพ่นที่ตรวจพบแต่ละประเภทมี ดังนี้ 1.เครื่องพ่นหมอกควัน พบว่าปลายท่อพ่นหมอกควันที่ตำแหน่งหัวหยดน้ำยามีความร้อนสูงเกินกว่า 700 องศาเซลเซียส ทำให้การผลิตละอองมีคุณภาพต่ำ (มีจำนวนน้อยกว่า 200 ละอองต่อตารางเซนติเมตร) เพราะน้ำยาส่วนใหญ่ถูกเผาไหม้เป็นควัน มีผลให้ขณะทำการฉีดพ่นจำนวนละอองที่ผลิตได้มีปริมาณน้อยเกินกว่าที่จะลอยไปสัมผัสฆ่ายุงได้ 2.เครื่องพ่นละอองฝอยชนิดสะพายหลัง พบว่าขนาดของละอองที่เครื่องพ่นผลิตได้มีขนาดใหญ่เกินกว่า 30 ไมครอน ซึ่งละอองที่มีขนาดใหญ่กว่ามาตรฐานที่กำหนดนั้นจะตกสู่พื้นเร็วทำให้การลอยตัวของละอองในอากาศมีเวลาจำกัด และโอกาสที่ละอองจะไปสัมผัสกำจัดยุงจึงลดลงด้วย