โครงการวิจัยการผสมเทียมด้วยวิธีผสมเทียมโดยให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายอุ้มบุญ เสนอ 7 มาตรการรองรับ คุ้มครองทารกและหญิงที่รับจ้างอุ้มบุญ คาดไทยมีการ “อุ้มบุญ” เฉลี่ยในโรงพยาบาลใหญ่แห่งละ 20-30 ราย ขั้นต่อไปนำความเห็นไปปรับปรุงร่างกฎหมายเสนอสำนักงานกฤษฎีกาเพื่อเข้า ครม.ต่อไป ด้าน รพ.จุฬาฯ ให้บริการอุ้มบุญเฉลี่ยปีละ 1 ราย

นายนันทน อินทนนท์ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง การผสมเทียมโดยให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน กล่าวถึงความเป็นมาของร่าง พ.ร.บ.การรับตั้งครรภ์แทน พ.ศ....ว่า การให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก ด้วยการผสมเทียมจนเกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน จากนั้นนำไปฝังตัวในมดลูกของหญิงอื่นที่รับตั้งครรภ์แทนจนเกิดการตั้งครรภ์ หรือเรียกว่า การ “อุ้มบุญ” กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย แต่ไม่มีการเก็บสถิติชัดเจนเพราะถือเป็นความลับ เป็นข้อมูลทางการแพทย์ที่ไม่เปิดเผย คาดว่า โรงพยาบาลรัฐและเอกชนใหญ่ๆ น่าจะทำการ “อุ้มบุญ” ปีละไม่เกิน 20-30 ราย เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองการอุ้มบุญเป็นการเฉพาะ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงจัดโครงการวิจัยฯ นี้ขึ้น และพัฒนาสู่การร่าง พ.ร.บ.การรับตั้งครรภ์แทน พ.ศ....คำนึงถึงผลกระทบต่อหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน เด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญ การคุ้มครองสามีภรรยาด้านสิทธิของการเป็นบิดามารดาของเด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญ เนื่องจากเมื่อปี 2543 มีหนังสือจากกรมบัญชีกลางหารือมายังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า สามี ภรรยาที่เป็นข้าราชการมหาวิทยาลัยให้หญิงอื่นอุ้มบุญตั้งครรภ์แทนจะสามารถเบิกค่าเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล บุตรที่เกิดจากการอุ้มบุญได้หรือไม่ ซึ่งผลของการตีความคือ ให้หญิงที่เป็นผู้ตั้งครรภ์ได้สิทธิการเป็นมารดา รายนี้จึงไม่สามารถเบิกสวัสดิการดังกล่าวได้
“ร่างกฎหมายมี 3 หมวด 19 มาตรา หมวดแรกเป็นหมวดสิทธิ หมวดที่ 2 ความเป็นบิดามารดาของเด็กอุ้มบุญและหมวด 3 การควบคุมการรับตั้งครรภ์แทน คู่สามีภรรยาที่จะทำอุ้มบุญต้องยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เพื่อคู่สามีภรรยาได้สิทธิเป็นบิดามารดาของเด็กอุ้มบุญ วางเกณฑ์ไว้ 7 ข้อ คือ หญิงที่จะอุ้มบุญและคู่สมรสต้องมีสัญชาติไทย หญิงที่จะตั้งครรภ์แทนต้องอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และไม่ใช่บุพการี หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิอย่างครบถ้วน สามีของผู้ที่จะอุ้มบุญต้องยินยอมด้วย การตั้งครรภ์ต้องมิใช่เพื่อการค้า การตั้งครรภ์ในกรณีอุ้มบุญต้องทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้วยวิธีทำเด็กหลอดแก้ว นำไข่และอสุจิของคู่สามีภรรยาเท่านั้น ไม่ใช่เชื้อหรือไข่ที่ได้รับการบริจาค ซึ่งเกณฑ์ต่างๆ ที่ออกมานี้เพื่อมิให้ประเทศไทยกลายเป็นแหล่งให้ชาวต่างชาติมาทำการอุ้มบุญ” นายนันทน กล่าว
รศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แสดงความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.การรับตั้งครรภ์แทน ว่า ดีใจที่จะมีกฎหมายทำให้สิ่งที่ถกเถียงกันทางสังคมและจริยธรรมชัดเจนขึ้น แต่ร่างกฎหมายกล่าวถึงแนวทางการคุ้มครองเด็กอุ้มบุญค่อนข้างน้อย หากเด็กที่เกิดมามีการฟ้องร้องกันระหว่างผู้อุ้มบุญกับพ่อแม่ที่ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน ใครจะเป็นผู้ดูแลเด็ก กรณีเด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กพิการ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในระยะยาวใครจะรับผิดชอบ หากตั้งครรภ์ไปแล้วเปลี่ยนใจภายหลังจะทำอย่างไร สิทธิการในการเกิดของเด็กกลุ่มนี้เป็นอย่างไร ถ้าเกิดแฝดหลายคนแต่พ่อแม่ต้องการเฉพาะคนที่น่ารักที่สุด แฝดที่เหลือใครจะดูแล
ศ.นพ.ประมวล วีรุตมเสน ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า มีผู้มาปรึกษาเกี่ยวกับการอุ้มบุญประปราย ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทาง รพ.จุฬาฯ มีผู้มาขอให้ทำการอุ้มบุญประมาณ 100 ราย แต่ดำเนินประสบผลสำเร็จราว 20 ราย อาจจะปีละ 1 ราย ซึ่งถือว่าไม่มาก การอุ้มบุญดังกล่าว ทางจุฬาฯ นำประกาศของแพทยสภามาเป็นเกณฑ์พิจารณา โดยคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย ให้ข้อมูลอย่างรอบด้านกับทั้ง 2 ฝ่ายและคู่สมรสเป็นผู้จัดหาคนมาตั้งครรภ์แทนทั้งหมดเป็นญาติพี่น้องกัน ผู้คลอดเป็นมารดา และต่อมาขอเด็กไปเป็นบุตรบุญธรรม ที่ผ่านมายังไม่พบปัญหาการฟ้องร้องกันกรณีอุ้มบุญ
นายนันทน อินทนนท์ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง การผสมเทียมโดยให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน กล่าวถึงความเป็นมาของร่าง พ.ร.บ.การรับตั้งครรภ์แทน พ.ศ....ว่า การให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก ด้วยการผสมเทียมจนเกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน จากนั้นนำไปฝังตัวในมดลูกของหญิงอื่นที่รับตั้งครรภ์แทนจนเกิดการตั้งครรภ์ หรือเรียกว่า การ “อุ้มบุญ” กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย แต่ไม่มีการเก็บสถิติชัดเจนเพราะถือเป็นความลับ เป็นข้อมูลทางการแพทย์ที่ไม่เปิดเผย คาดว่า โรงพยาบาลรัฐและเอกชนใหญ่ๆ น่าจะทำการ “อุ้มบุญ” ปีละไม่เกิน 20-30 ราย เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองการอุ้มบุญเป็นการเฉพาะ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงจัดโครงการวิจัยฯ นี้ขึ้น และพัฒนาสู่การร่าง พ.ร.บ.การรับตั้งครรภ์แทน พ.ศ....คำนึงถึงผลกระทบต่อหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน เด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญ การคุ้มครองสามีภรรยาด้านสิทธิของการเป็นบิดามารดาของเด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญ เนื่องจากเมื่อปี 2543 มีหนังสือจากกรมบัญชีกลางหารือมายังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า สามี ภรรยาที่เป็นข้าราชการมหาวิทยาลัยให้หญิงอื่นอุ้มบุญตั้งครรภ์แทนจะสามารถเบิกค่าเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล บุตรที่เกิดจากการอุ้มบุญได้หรือไม่ ซึ่งผลของการตีความคือ ให้หญิงที่เป็นผู้ตั้งครรภ์ได้สิทธิการเป็นมารดา รายนี้จึงไม่สามารถเบิกสวัสดิการดังกล่าวได้
“ร่างกฎหมายมี 3 หมวด 19 มาตรา หมวดแรกเป็นหมวดสิทธิ หมวดที่ 2 ความเป็นบิดามารดาของเด็กอุ้มบุญและหมวด 3 การควบคุมการรับตั้งครรภ์แทน คู่สามีภรรยาที่จะทำอุ้มบุญต้องยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เพื่อคู่สามีภรรยาได้สิทธิเป็นบิดามารดาของเด็กอุ้มบุญ วางเกณฑ์ไว้ 7 ข้อ คือ หญิงที่จะอุ้มบุญและคู่สมรสต้องมีสัญชาติไทย หญิงที่จะตั้งครรภ์แทนต้องอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และไม่ใช่บุพการี หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิอย่างครบถ้วน สามีของผู้ที่จะอุ้มบุญต้องยินยอมด้วย การตั้งครรภ์ต้องมิใช่เพื่อการค้า การตั้งครรภ์ในกรณีอุ้มบุญต้องทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้วยวิธีทำเด็กหลอดแก้ว นำไข่และอสุจิของคู่สามีภรรยาเท่านั้น ไม่ใช่เชื้อหรือไข่ที่ได้รับการบริจาค ซึ่งเกณฑ์ต่างๆ ที่ออกมานี้เพื่อมิให้ประเทศไทยกลายเป็นแหล่งให้ชาวต่างชาติมาทำการอุ้มบุญ” นายนันทน กล่าว
รศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แสดงความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.การรับตั้งครรภ์แทน ว่า ดีใจที่จะมีกฎหมายทำให้สิ่งที่ถกเถียงกันทางสังคมและจริยธรรมชัดเจนขึ้น แต่ร่างกฎหมายกล่าวถึงแนวทางการคุ้มครองเด็กอุ้มบุญค่อนข้างน้อย หากเด็กที่เกิดมามีการฟ้องร้องกันระหว่างผู้อุ้มบุญกับพ่อแม่ที่ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน ใครจะเป็นผู้ดูแลเด็ก กรณีเด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กพิการ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในระยะยาวใครจะรับผิดชอบ หากตั้งครรภ์ไปแล้วเปลี่ยนใจภายหลังจะทำอย่างไร สิทธิการในการเกิดของเด็กกลุ่มนี้เป็นอย่างไร ถ้าเกิดแฝดหลายคนแต่พ่อแม่ต้องการเฉพาะคนที่น่ารักที่สุด แฝดที่เหลือใครจะดูแล
ศ.นพ.ประมวล วีรุตมเสน ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า มีผู้มาปรึกษาเกี่ยวกับการอุ้มบุญประปราย ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทาง รพ.จุฬาฯ มีผู้มาขอให้ทำการอุ้มบุญประมาณ 100 ราย แต่ดำเนินประสบผลสำเร็จราว 20 ราย อาจจะปีละ 1 ราย ซึ่งถือว่าไม่มาก การอุ้มบุญดังกล่าว ทางจุฬาฯ นำประกาศของแพทยสภามาเป็นเกณฑ์พิจารณา โดยคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย ให้ข้อมูลอย่างรอบด้านกับทั้ง 2 ฝ่ายและคู่สมรสเป็นผู้จัดหาคนมาตั้งครรภ์แทนทั้งหมดเป็นญาติพี่น้องกัน ผู้คลอดเป็นมารดา และต่อมาขอเด็กไปเป็นบุตรบุญธรรม ที่ผ่านมายังไม่พบปัญหาการฟ้องร้องกันกรณีอุ้มบุญ