สาธารณสุขทุ่มงบเกือบ 200 ล้านบาท ตั้งหน่วยตรวจเชื้อโรคมาลาเรีย และรักษาฟรีในชุมชน 30 จังหวัดชายแดน จำนวน 800 แห่ง เผยรอบ 3 เดือนปีนี้ พบผู้ป่วยคนไทยและต่างชาติแล้วกว่า 8,000 ราย จังหวัดตาก ครองแชมป์อันดับหนึ่งของประเทศ รองลงมาคือ ยะลา ห่วงพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนใต้ ระบาดรุนแรง จากเหตุไม่สงบเจ้าหน้าที่เข้าไม่ถึง แพทย์ไม่แนะกินยาป้องกัน เพราะมีผลเสียมากกว่าผลดี
นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้ดำเนินงานป้องกันและควบคุมไข้มาลาเรียมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สถานการณ์ไข้มาลาเรียโดยรวมในประเทศมีแนวโน้มลดลง แต่ในรอบ 2 ปี โรคมาลาเรียมีแนวโน้มการระบาดเพิ่มสูงขึ้น ในปี 2549 มีผู้ป่วยโรคมาลาเรียทั้งหมด 63,276 ราย เป็นคนไทย 27,765 ราย และต่างชาติที่เข้ามาใช้แรงงาน 35,511ราย โดยมีการระบาดรุนแรงมากขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา นราธิวาส สงขลา และปัตตานี เนื่องมาจากความไม่สงบในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปควบคุมโรคในพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้การแพร่ระบาดจึงแพร่กระจายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับสถานการณ์โรคมาลาเรีย ในรอบ 3 เดือนแรกของปี 2550 ตั้งแต่ 1 มกราคม-31 มีนาคม 2550 พบผู้ป่วยทั้งหมด 8,567 ราย เป็นชาวไทย 4,718 ราย ต่างชาติ 3,849 ราย พื้นที่ที่พบผู้ป่วยไทยมากที่สุด 10 จังหวัด อันดับ 1 ได้แก่ ตาก 958 ราย รองลงมาได้แก่ ยะลา 830 ราย สงขลา 587 ราย แม่ฮ่องสอน 304 ราย จันทบุรี 281 ราย นราธิวาส 208 ราย อุบลราชธานี 158 ราย ระนอง 121 ราย ชุมพร 115 ราย และกาญจนบุรี 114 ราย
ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรีย กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนโลกเพื่อการแก้ไขโรคเอดส์ มาลาเรีย และวัณโรค จำนวน 200 ล้านบาท โดยเน้นในพื้นที่ชายแดน 30 จังหวัด ซึ่งพบผู้ป่วยได้กว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยทั้งหมด มากที่สุดที่ชายแดนพม่า ในปี้นี้จะตั้งคลินิกมาลาเรียในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก 300 แห่ง จากเดิมซึ่งมีอยู่แล้วกว่า 500 แห่ง ซึ่งจะมีมุ้งชุบสารเคมี หรือสารเคมีกำจัดยุงก้นปล่องให้บริการ พร้อมเอกสารคำแนะนำการป้องกันด้วยภาษาท้องถิ่น ส่วนที่จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสงขลา จะเพิ่มหน่วยมาลาเรียในชุมชนเพิ่มขึ้นอีก โดยหน่วยดังกล่าวสามารถตรวจเลือดหาเชื้อ รู้ผลภายใน 30 นาที และให้การรักษาฟรีตลอด 24 ชั่วโมง
ด้าน นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่มาลาเรียอาจมีเชื้อในร่างกายแต่ไม่มีอาการเจ็บป่วยก็ได้ กลุ่มนี้จะทำให้โรคแพร่ในหมู่บ้านได้ จึงควรนอนในมุ้ง ป้องกันไม่ให้ยุงก้นปล่องกัด หากมีไข้ควรไปเจาะเลือดตรวจที่คลินิกมาลาเรีย ที่อยู่ใกล้บ้านทันที หากพบเชื้อจะได้กินยารักษาให้หายขาดโดยเร็วจะสามารถตัดวงจรและลดจำนวนผู้แพร่เชื้อโรคได้มาก สำหรับประชาชนที่ป่วยมีไข้สูง และมีประวัติเดินทางกลับจากพื้นที่ป่าเขา หรือจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใน 15-30 วัน ขอให้นึกถึงโรคนี้ด้วย อย่าซื้อยารักษาเอง เพราะอาจได้ยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาต่ำ หรืออาจจะได้รับยาปลอมแทน ทำให้ถึงตายได้ ควรรีบไปพบแพทย์และแจ้งประวัติให้แพทย์ที่รักษาทราบ เพื่อตรวจหาเชื้อมาลาเรีย และรับยาที่มีประสิทธิภาพสูง โรคนี้หากได้รับการรักษาโดยเร็ว ทันทีที่มีอาการ มีโอกาสหาย 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้ารักษาช้าจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง และไม่แนะนำให้กินยาป้องกันมาลาเรีย เนื่องจากยาไม่สามารถป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และส่งผลเสีย เพราะจะทำให้ผู้ที่กินยาเกิดการวางใจว่ากินยาป้องกันแล้วจะไม่ป่วย นอกจากนี้ ยังทำให้การวินิจฉัยโรคผิดพลาด ทำให้เสียชีวิต และทำให้เชื้อดื้อยาได้
นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้ดำเนินงานป้องกันและควบคุมไข้มาลาเรียมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สถานการณ์ไข้มาลาเรียโดยรวมในประเทศมีแนวโน้มลดลง แต่ในรอบ 2 ปี โรคมาลาเรียมีแนวโน้มการระบาดเพิ่มสูงขึ้น ในปี 2549 มีผู้ป่วยโรคมาลาเรียทั้งหมด 63,276 ราย เป็นคนไทย 27,765 ราย และต่างชาติที่เข้ามาใช้แรงงาน 35,511ราย โดยมีการระบาดรุนแรงมากขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา นราธิวาส สงขลา และปัตตานี เนื่องมาจากความไม่สงบในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปควบคุมโรคในพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้การแพร่ระบาดจึงแพร่กระจายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับสถานการณ์โรคมาลาเรีย ในรอบ 3 เดือนแรกของปี 2550 ตั้งแต่ 1 มกราคม-31 มีนาคม 2550 พบผู้ป่วยทั้งหมด 8,567 ราย เป็นชาวไทย 4,718 ราย ต่างชาติ 3,849 ราย พื้นที่ที่พบผู้ป่วยไทยมากที่สุด 10 จังหวัด อันดับ 1 ได้แก่ ตาก 958 ราย รองลงมาได้แก่ ยะลา 830 ราย สงขลา 587 ราย แม่ฮ่องสอน 304 ราย จันทบุรี 281 ราย นราธิวาส 208 ราย อุบลราชธานี 158 ราย ระนอง 121 ราย ชุมพร 115 ราย และกาญจนบุรี 114 ราย
ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรีย กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนโลกเพื่อการแก้ไขโรคเอดส์ มาลาเรีย และวัณโรค จำนวน 200 ล้านบาท โดยเน้นในพื้นที่ชายแดน 30 จังหวัด ซึ่งพบผู้ป่วยได้กว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยทั้งหมด มากที่สุดที่ชายแดนพม่า ในปี้นี้จะตั้งคลินิกมาลาเรียในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก 300 แห่ง จากเดิมซึ่งมีอยู่แล้วกว่า 500 แห่ง ซึ่งจะมีมุ้งชุบสารเคมี หรือสารเคมีกำจัดยุงก้นปล่องให้บริการ พร้อมเอกสารคำแนะนำการป้องกันด้วยภาษาท้องถิ่น ส่วนที่จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสงขลา จะเพิ่มหน่วยมาลาเรียในชุมชนเพิ่มขึ้นอีก โดยหน่วยดังกล่าวสามารถตรวจเลือดหาเชื้อ รู้ผลภายใน 30 นาที และให้การรักษาฟรีตลอด 24 ชั่วโมง
ด้าน นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่มาลาเรียอาจมีเชื้อในร่างกายแต่ไม่มีอาการเจ็บป่วยก็ได้ กลุ่มนี้จะทำให้โรคแพร่ในหมู่บ้านได้ จึงควรนอนในมุ้ง ป้องกันไม่ให้ยุงก้นปล่องกัด หากมีไข้ควรไปเจาะเลือดตรวจที่คลินิกมาลาเรีย ที่อยู่ใกล้บ้านทันที หากพบเชื้อจะได้กินยารักษาให้หายขาดโดยเร็วจะสามารถตัดวงจรและลดจำนวนผู้แพร่เชื้อโรคได้มาก สำหรับประชาชนที่ป่วยมีไข้สูง และมีประวัติเดินทางกลับจากพื้นที่ป่าเขา หรือจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใน 15-30 วัน ขอให้นึกถึงโรคนี้ด้วย อย่าซื้อยารักษาเอง เพราะอาจได้ยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาต่ำ หรืออาจจะได้รับยาปลอมแทน ทำให้ถึงตายได้ ควรรีบไปพบแพทย์และแจ้งประวัติให้แพทย์ที่รักษาทราบ เพื่อตรวจหาเชื้อมาลาเรีย และรับยาที่มีประสิทธิภาพสูง โรคนี้หากได้รับการรักษาโดยเร็ว ทันทีที่มีอาการ มีโอกาสหาย 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้ารักษาช้าจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง และไม่แนะนำให้กินยาป้องกันมาลาเรีย เนื่องจากยาไม่สามารถป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และส่งผลเสีย เพราะจะทำให้ผู้ที่กินยาเกิดการวางใจว่ากินยาป้องกันแล้วจะไม่ป่วย นอกจากนี้ ยังทำให้การวินิจฉัยโรคผิดพลาด ทำให้เสียชีวิต และทำให้เชื้อดื้อยาได้