ศรีลังกาตกลงซื้อวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี 5 แสนโดสต่อปี โดสละ 2 เหรียญสหรัฐ เป็นเวลา 4 ปี รวม 2 ล้านโดส พร้อมขอรายการยา อภ.กว่า 200 รายการ พิจารณาก่อนสั่งซื้อและลงนามร่วมกันภายในมิถุนายนนี้

นพ.มงคล ณ สงขาลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลัง ดร.นิฮัล จายาติลาเก (Nihal Jayathilaka) รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขศรีลังกา พร้อมคณะ เข้าพบเพื่อเจรจาขอซื้อวัคซีน ยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์จากองค์กรเภสัชกรรม (อภ.) ของไทยว่า หลังจากที่ได้มีการหารือกับนาย เอ็น.เอส. เดอ ซิลวา (Mr.N.S.de Silva) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประเทศศรีลังกา ระหว่างการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 60 กรุงเจนีวา สมาพันฐรัฐสวิส โดยมีข้อตกลงร่วมกันในการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี (JE vaccine) รวมทั้งแสดงความสนใจยารักษาโรคอื่นๆ ขององค์การเภสัชฯ อีกหลายชนิดเช่น เซรุ่มแก้พิษงู วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ยาทามิฟู ซึ่งเป็นการค้าในลักษณะจีทูจี (Government to Government) หรือการค้าระหว่างรัฐต่อรัฐ โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง เพื่อได้ราคาถูกผ่านรัฐบาลโดยองค์การเภสัชกรรมของทั้ง 2 ประเทศ โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งหลังจากหารือรายละเอียดด้านราคาเรียบร้อยแล้ว รมว.สธ.ศรีลังกาจึงจะเดินทางมาลงนามมาลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือทำเอ็มโอยู (MOU : Memorandum of Understanding) ภายในเดือนมิถุนายนนี้ เนื่องจากทางศรีลังกามีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาและวัคซีนเช่นกัน นอกจากนี้ ทางศรีลังกายังได้ขอรายการยาทั้งหมดกว่า 200 รายการ ที่องค์การเภสัชฯ สามารถผลิตได้ เพื่อนำไปพิจารณาชนิดและราคาของยา โดยจะมีสั่งซื้อและลงนามพร้อมกันกับวัคซีนเลย
“ข้อตกลงร่วมกันครั้งนี้ศรีลังกาจะซื้อวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี 5 แสนโดส ต่อปี ไปจนถึงปีพ.ศ.2553 ซึ่งขณะนี้ราคาที่ดีที่สุดที่มีการตกลงกันอยู่ที่ 2 ดอลลาร์ต่อโดส ซึ่งเป็นราคามิตรภาพจริงๆ เนื่องจากการซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐถือเป็นการให้ความช่วยเหลือประเทศที่เป็นบ้านใกล้เรือนเคียง มีความสัมพันธ์ที่ดีมายาวนาน”นพ.มงคล กล่าว
นพ.มงคล กล่าวต่อว่า ส่วนปริมาณการผลิตขององค์การเภสัชฯ สามารถขยายการผลิตให้มากขึ้น โดยไม่ส่งผลเสียต่อการบริโภคยาภายในประเทศ กลับเป็นผลดี เนื่องจากปัจจุบันอภ.สามารถผลิตวัคซีนได้ปีละ 4 ล้านโดส แต่ภายในประเทศมีความต้องการใช้เพียงปีละประมาณ 1 ล้านโดสเท่านั้น ดังนั้น หากผลิตเต็มกำลังก็สามารถส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ได้ ขณะที่ด้านวัตถุดิบในการผลิตที่มีการนำเข้ามาจากประเทศจีนหรืออินเดียได้มาตรฐานที่รับรองโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งมีการควบคุมคุณภาพ มาตรฐานแหล่งวัตถุดิบเป็นอย่างดีด้วย
นพ.มงคล ณ สงขาลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลัง ดร.นิฮัล จายาติลาเก (Nihal Jayathilaka) รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขศรีลังกา พร้อมคณะ เข้าพบเพื่อเจรจาขอซื้อวัคซีน ยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์จากองค์กรเภสัชกรรม (อภ.) ของไทยว่า หลังจากที่ได้มีการหารือกับนาย เอ็น.เอส. เดอ ซิลวา (Mr.N.S.de Silva) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประเทศศรีลังกา ระหว่างการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 60 กรุงเจนีวา สมาพันฐรัฐสวิส โดยมีข้อตกลงร่วมกันในการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี (JE vaccine) รวมทั้งแสดงความสนใจยารักษาโรคอื่นๆ ขององค์การเภสัชฯ อีกหลายชนิดเช่น เซรุ่มแก้พิษงู วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ยาทามิฟู ซึ่งเป็นการค้าในลักษณะจีทูจี (Government to Government) หรือการค้าระหว่างรัฐต่อรัฐ โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง เพื่อได้ราคาถูกผ่านรัฐบาลโดยองค์การเภสัชกรรมของทั้ง 2 ประเทศ โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งหลังจากหารือรายละเอียดด้านราคาเรียบร้อยแล้ว รมว.สธ.ศรีลังกาจึงจะเดินทางมาลงนามมาลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือทำเอ็มโอยู (MOU : Memorandum of Understanding) ภายในเดือนมิถุนายนนี้ เนื่องจากทางศรีลังกามีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาและวัคซีนเช่นกัน นอกจากนี้ ทางศรีลังกายังได้ขอรายการยาทั้งหมดกว่า 200 รายการ ที่องค์การเภสัชฯ สามารถผลิตได้ เพื่อนำไปพิจารณาชนิดและราคาของยา โดยจะมีสั่งซื้อและลงนามพร้อมกันกับวัคซีนเลย
“ข้อตกลงร่วมกันครั้งนี้ศรีลังกาจะซื้อวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี 5 แสนโดส ต่อปี ไปจนถึงปีพ.ศ.2553 ซึ่งขณะนี้ราคาที่ดีที่สุดที่มีการตกลงกันอยู่ที่ 2 ดอลลาร์ต่อโดส ซึ่งเป็นราคามิตรภาพจริงๆ เนื่องจากการซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐถือเป็นการให้ความช่วยเหลือประเทศที่เป็นบ้านใกล้เรือนเคียง มีความสัมพันธ์ที่ดีมายาวนาน”นพ.มงคล กล่าว
นพ.มงคล กล่าวต่อว่า ส่วนปริมาณการผลิตขององค์การเภสัชฯ สามารถขยายการผลิตให้มากขึ้น โดยไม่ส่งผลเสียต่อการบริโภคยาภายในประเทศ กลับเป็นผลดี เนื่องจากปัจจุบันอภ.สามารถผลิตวัคซีนได้ปีละ 4 ล้านโดส แต่ภายในประเทศมีความต้องการใช้เพียงปีละประมาณ 1 ล้านโดสเท่านั้น ดังนั้น หากผลิตเต็มกำลังก็สามารถส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ได้ ขณะที่ด้านวัตถุดิบในการผลิตที่มีการนำเข้ามาจากประเทศจีนหรืออินเดียได้มาตรฐานที่รับรองโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งมีการควบคุมคุณภาพ มาตรฐานแหล่งวัตถุดิบเป็นอย่างดีด้วย