ความยากจนไม่ใช่เป็นความทุกข์เสมอไป
หากไม่ท้อถอยก็อาจจะพลิกเป็นโอกาสได้
เมื่อคิดสู้ด้วยปัญญา….

“ ป้าแข ” ของคนชาวชุมชนวัดภาณุรังสี เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร หรือ นางเลิศมณีฉัตร ทะนำปี อายุ 59 ปี หัวหน้ากลุ่มแม่บ้านชุมชนวัดภาณุรังสี เจ้าของไอเดีย “ดอกไม้เกล็ดปลา ตะกร้าจากเศษกระดาษ” เล่าเรื่องราวชีวิตคร่าวๆ ย้อนอดีตถึงตอนที่เป็นแม่บ้าน ต้องรับภาระเลี้ยงหลานถึง 3 คน สามีทำงานหารายได้คนเดียว ซึ่งช่วงนั้นครอบครัวประสบกับปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้ต้องหันมามองหาอาชีพเสริมเพื่อแบ่งเบาภาระของสามี
ประจวบกับเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว สำนักงานเขตบางพลัด ประกาศฝึกสอนวิชาอาชีพเสริมเพื่อช่วยเหลือ ชาวชุมชน ป้าแขเองก็ชอบประดิดประดอยอยู่แล้ว เลยใช้เวลาว่างจากการเลี้ยงหลานไปเรียนงานฝีมือที่ศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด ก็ได้รับความรู้การประดิษฐ์เศษวัสดุเหลือใช้ มาเป็นเครื่องใช้
“ชุมชนที่เราอาศัยอยู่มี หนังสือพิมพ์ สมุดหน้าเหลือง โบรชัวร์สินค้าต่างๆ เป็นจำนวนมาก ถ้าไม่ชั่งกิโลขายก็ทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้เราคิดว่า ถ้านำเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นต้นทุน สร้างสรรค์ให้เกิดมูลค่าเพิ่มผ่านงานฝีมือ ในรูปแบบต่างๆ ก็น่าจะขายได้ จึงเลือกเรียนวิชาจักสานและการทำดอกไม้เกล็ด ปลา เพราะลงทุนน้อย และที่สำคัญช่วยลดปัญหาขยะของชุมชนได้อีกด้วย” ป้าแขให้เหตุผลที่เลือกงานหัตถกรรมรีไซเคิล
งานประจำของ “ป้าแข” นอกจากรับภาระเลี้ยงหลานแล้ว ยังรับหน้าที่เป็นอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) อีกด้วย

จนเมื่อปี 2538 แม่บ้านชาวชุมชนภาณุรังสีก็รวมกลุ่มกันได้ 11 คน “ป้าแข” ได้รับเลือกเป็นหัวหน้ากลุ่ม แล้วก็ชักชวนสมาชิกประดิษฐ์ดอกไม้เกล็ดปลา – ตะกร้ากระดาษ กันขึ้น แรกๆ ก็ไม่ได้ขายเท่าใดนัก ทั้งๆ ที่มีคนชมว่าสวย และแปลกดี แต่ในฐานะที่ป้าแขเป็นหัวหน้าหลายองค์กร ได้รู้จักเสวนากับบุคคลระดับต่างๆกว้างขวาง สิ่งประดิษฐ์ของกลุ่มแม่บ้านภาณุรังสีจึงหนักไปในทางเป็น ของขวัญ ของชำร่วย เสียมากกว่า แม้ค่าแรงที่ได้เป็นคำขอบคุณและคำชมจากผู้รับ แต่ทุกคนก็ไม่ย่อท้อ ใช้เวลาว่างทำกันไปเรื่อยๆ ดีกว่าอยู่เฉย ๆ
จากนั้นปี 2545 รัฐบาลสนับสนุนสินค้าโอทอป ป้าแขส่งสินค้าของกลุ่มเข้าประกวดด้วย ทำให้สินค้ากลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น การตลาดดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งดอกไม้เกล็ดปลาและตะกร้า กระเป๋า กระดาษ เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
และด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นของตัวสินค้า ผสานกับแนวความคิดของผู้ผลิต ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมช่วยลดปัญหาขยะในชุมชน ทำให้ชนะใจกรรมการได้รับการคัดเลือกจากเขตบางพลัด และได้นำสินค้าไปวางจำหน่ายในห้างเทสโก้ โลตัส เมื่อปลายปี 2547 โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ป้าแขบอกว่า การที่ได้รับโอกาสนี้ นอกจากจะเป็นการสนับสนุนสินค้าของกลุ่มแม่บ้านทั่วไปแล้ว ยังเป็นการช่วยเพิ่มช่องทางการสร้างตลาดให้อีกทางหนึ่ง ทั้งทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอีกด้วย
สำหรับตะกร้าและกระเป๋ากระดาษ จะใช้กระดาษโบรชัวร์ สมุดโทรศัพท์ หรือจะเป็นล็อต เตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัลก็ให้ลวดลายเก๋ไก๋ไปอีกแบบ วิธีทำไม่ยุ่งยาก และอุปกรณ์ก็หาซื้อได้ง่าย ลงทุนน้อย อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำประกอบด้วย กระดาษ กาว ลวด และแล็กเกอร์ ส่วนวิธีการทำ เริ่มจากการตัดกระดาษความกว้าง 3 ซม. ม้วนตามขนาดของลวดม้วนกะให้พอดี จากนั้นก็ขึ้นรูปตามแบบที่ถนัด เมื่อได้รูปทรงตามต้องการนำมาเคลือบด้วยแล็กเกอร์เพื่อเพิ่มความเงางาม และป้องกันตัวมอด แมลงต่างๆ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความคงทน ใช้งานได้นาน
จากเศษกระดาษที่เคยทิ้งขว้าง หรือ ชั่งกิโลขายได้แค่ไม่กี่บาท กลับกลายเป็นของมีค่า ที่วันนี้นอกจากสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวป้าแขเดือนละกว่า 10,000 บาท แล้ว ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกให้ดีขึ้นอีกด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้งานหัตถกรรมรีไซเคิล ทางกลุ่มก็เปิดสอน โดยคิดค่าอุปกรณ์ 50-250 บาท ทำเสร็จก็สามารถนำผลงานกลับบ้านได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่กลุ่มแม่บ้านชุมชนวัดภาณุรังสี เขตบางพลัด โทร.02-880-2004 กด 2 หรือ 086-103-2747
หากไม่ท้อถอยก็อาจจะพลิกเป็นโอกาสได้
เมื่อคิดสู้ด้วยปัญญา….
“ ป้าแข ” ของคนชาวชุมชนวัดภาณุรังสี เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร หรือ นางเลิศมณีฉัตร ทะนำปี อายุ 59 ปี หัวหน้ากลุ่มแม่บ้านชุมชนวัดภาณุรังสี เจ้าของไอเดีย “ดอกไม้เกล็ดปลา ตะกร้าจากเศษกระดาษ” เล่าเรื่องราวชีวิตคร่าวๆ ย้อนอดีตถึงตอนที่เป็นแม่บ้าน ต้องรับภาระเลี้ยงหลานถึง 3 คน สามีทำงานหารายได้คนเดียว ซึ่งช่วงนั้นครอบครัวประสบกับปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้ต้องหันมามองหาอาชีพเสริมเพื่อแบ่งเบาภาระของสามี
ประจวบกับเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว สำนักงานเขตบางพลัด ประกาศฝึกสอนวิชาอาชีพเสริมเพื่อช่วยเหลือ ชาวชุมชน ป้าแขเองก็ชอบประดิดประดอยอยู่แล้ว เลยใช้เวลาว่างจากการเลี้ยงหลานไปเรียนงานฝีมือที่ศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด ก็ได้รับความรู้การประดิษฐ์เศษวัสดุเหลือใช้ มาเป็นเครื่องใช้
“ชุมชนที่เราอาศัยอยู่มี หนังสือพิมพ์ สมุดหน้าเหลือง โบรชัวร์สินค้าต่างๆ เป็นจำนวนมาก ถ้าไม่ชั่งกิโลขายก็ทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้เราคิดว่า ถ้านำเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นต้นทุน สร้างสรรค์ให้เกิดมูลค่าเพิ่มผ่านงานฝีมือ ในรูปแบบต่างๆ ก็น่าจะขายได้ จึงเลือกเรียนวิชาจักสานและการทำดอกไม้เกล็ด ปลา เพราะลงทุนน้อย และที่สำคัญช่วยลดปัญหาขยะของชุมชนได้อีกด้วย” ป้าแขให้เหตุผลที่เลือกงานหัตถกรรมรีไซเคิล
งานประจำของ “ป้าแข” นอกจากรับภาระเลี้ยงหลานแล้ว ยังรับหน้าที่เป็นอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) อีกด้วย
จนเมื่อปี 2538 แม่บ้านชาวชุมชนภาณุรังสีก็รวมกลุ่มกันได้ 11 คน “ป้าแข” ได้รับเลือกเป็นหัวหน้ากลุ่ม แล้วก็ชักชวนสมาชิกประดิษฐ์ดอกไม้เกล็ดปลา – ตะกร้ากระดาษ กันขึ้น แรกๆ ก็ไม่ได้ขายเท่าใดนัก ทั้งๆ ที่มีคนชมว่าสวย และแปลกดี แต่ในฐานะที่ป้าแขเป็นหัวหน้าหลายองค์กร ได้รู้จักเสวนากับบุคคลระดับต่างๆกว้างขวาง สิ่งประดิษฐ์ของกลุ่มแม่บ้านภาณุรังสีจึงหนักไปในทางเป็น ของขวัญ ของชำร่วย เสียมากกว่า แม้ค่าแรงที่ได้เป็นคำขอบคุณและคำชมจากผู้รับ แต่ทุกคนก็ไม่ย่อท้อ ใช้เวลาว่างทำกันไปเรื่อยๆ ดีกว่าอยู่เฉย ๆ
จากนั้นปี 2545 รัฐบาลสนับสนุนสินค้าโอทอป ป้าแขส่งสินค้าของกลุ่มเข้าประกวดด้วย ทำให้สินค้ากลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น การตลาดดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งดอกไม้เกล็ดปลาและตะกร้า กระเป๋า กระดาษ เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
และด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นของตัวสินค้า ผสานกับแนวความคิดของผู้ผลิต ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมช่วยลดปัญหาขยะในชุมชน ทำให้ชนะใจกรรมการได้รับการคัดเลือกจากเขตบางพลัด และได้นำสินค้าไปวางจำหน่ายในห้างเทสโก้ โลตัส เมื่อปลายปี 2547 โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ป้าแขบอกว่า การที่ได้รับโอกาสนี้ นอกจากจะเป็นการสนับสนุนสินค้าของกลุ่มแม่บ้านทั่วไปแล้ว ยังเป็นการช่วยเพิ่มช่องทางการสร้างตลาดให้อีกทางหนึ่ง ทั้งทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอีกด้วย
สำหรับตะกร้าและกระเป๋ากระดาษ จะใช้กระดาษโบรชัวร์ สมุดโทรศัพท์ หรือจะเป็นล็อต เตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัลก็ให้ลวดลายเก๋ไก๋ไปอีกแบบ วิธีทำไม่ยุ่งยาก และอุปกรณ์ก็หาซื้อได้ง่าย ลงทุนน้อย อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำประกอบด้วย กระดาษ กาว ลวด และแล็กเกอร์ ส่วนวิธีการทำ เริ่มจากการตัดกระดาษความกว้าง 3 ซม. ม้วนตามขนาดของลวดม้วนกะให้พอดี จากนั้นก็ขึ้นรูปตามแบบที่ถนัด เมื่อได้รูปทรงตามต้องการนำมาเคลือบด้วยแล็กเกอร์เพื่อเพิ่มความเงางาม และป้องกันตัวมอด แมลงต่างๆ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความคงทน ใช้งานได้นาน
จากเศษกระดาษที่เคยทิ้งขว้าง หรือ ชั่งกิโลขายได้แค่ไม่กี่บาท กลับกลายเป็นของมีค่า ที่วันนี้นอกจากสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวป้าแขเดือนละกว่า 10,000 บาท แล้ว ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกให้ดีขึ้นอีกด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้งานหัตถกรรมรีไซเคิล ทางกลุ่มก็เปิดสอน โดยคิดค่าอุปกรณ์ 50-250 บาท ทำเสร็จก็สามารถนำผลงานกลับบ้านได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่กลุ่มแม่บ้านชุมชนวัดภาณุรังสี เขตบางพลัด โทร.02-880-2004 กด 2 หรือ 086-103-2747