กรมพัฒนาที่ดินเปิดตัวแผนที่เตือนภัยพื้นที่เสี่ยงประจำปี 2550 ระบุมีพื้นที่เสี่ยงมากกว่า 10 ล้านไร่ เตรียมทำแผนที่เตือนภัยรายเดือนเพิ่มความแม่นยำ เพื่อลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน พร้อมอัปเดตข้อมูลให้ติดตามได้ที่ www.ldd.go.th

นายชัยวัฒน์ สิทธิบุศย์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ขณะนี้หลายจังหวัดกำลังประสบกับภาวะฝนตกหนักทำให้หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะในพื้นที่ทางการเกษตรซึ่งสร้างความเสียหายต่อผลผลิตของเกษตรกรอย่างมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันหรือลดความสูญเสียให้กับเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่เสี่ยง กรมฯ ได้ทำแผนที่แสดงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเกิดอุทกภัยในปี 2550 ขึ้น ซึ่งเป็นการคาดการณ์สถานการณ์อุทกภัยล่วงหน้าที่มีความน่าเชื่อถือได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ผู้สนใจติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์www.ldd.go.th/web_irw
นายไพฑูรย์ คติธรรม ผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาการใช้ที่ดิน กล่าวว่า ได้ใช้ข้อมูลจากกรมฯ และของหลายหน่วยงานมาวิเคราะห์ ได้แก่ ข้อมูลพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง ข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ภาพถ่ายดาวเทียมพื้นที่น้ำท่วมปี 2549 (GISTD) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายวันสูงสุด ปริมาณน้ำต้นทุน การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย ปี 2550 นำมาทำการวิเคราะห์พื้นที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และจัดทำแผนที่แสดงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเกิดอุทกภัย ปี 2550 จากการวิเคราะห์สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ พื้นที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีสูงกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้พื้นที่เหล่านี้มีปริมาณน้ำสะสมมากว่าปกติ และคาดว่าจะมีพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยสูงถึง 6.40 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 38 จังหวัด ส่วนพื้นที่ที่มีปริมาณฝนเฉลี่ยรายปีต่ำกว่าค่าปกติ คือ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำมีประมาณ 4 ล้านไร่ ครอบคลุม 21 จังหวัด
ส่วนรายละเอียดผู้สนใจสามารถเข้าดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาที่ดิน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น กรมฯ จะเร่งดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดอุทกภัยเป็นรายเดือน เพื่อจัดทำแผนที่เตือนภัยให้แก่เกษตรกรและประชาชนได้ทราบล่วงหน้า
นายชัยวัฒน์ สิทธิบุศย์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ขณะนี้หลายจังหวัดกำลังประสบกับภาวะฝนตกหนักทำให้หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะในพื้นที่ทางการเกษตรซึ่งสร้างความเสียหายต่อผลผลิตของเกษตรกรอย่างมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันหรือลดความสูญเสียให้กับเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่เสี่ยง กรมฯ ได้ทำแผนที่แสดงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเกิดอุทกภัยในปี 2550 ขึ้น ซึ่งเป็นการคาดการณ์สถานการณ์อุทกภัยล่วงหน้าที่มีความน่าเชื่อถือได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ผู้สนใจติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์www.ldd.go.th/web_irw
นายไพฑูรย์ คติธรรม ผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาการใช้ที่ดิน กล่าวว่า ได้ใช้ข้อมูลจากกรมฯ และของหลายหน่วยงานมาวิเคราะห์ ได้แก่ ข้อมูลพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง ข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ภาพถ่ายดาวเทียมพื้นที่น้ำท่วมปี 2549 (GISTD) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายวันสูงสุด ปริมาณน้ำต้นทุน การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย ปี 2550 นำมาทำการวิเคราะห์พื้นที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และจัดทำแผนที่แสดงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเกิดอุทกภัย ปี 2550 จากการวิเคราะห์สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ พื้นที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีสูงกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้พื้นที่เหล่านี้มีปริมาณน้ำสะสมมากว่าปกติ และคาดว่าจะมีพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยสูงถึง 6.40 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 38 จังหวัด ส่วนพื้นที่ที่มีปริมาณฝนเฉลี่ยรายปีต่ำกว่าค่าปกติ คือ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำมีประมาณ 4 ล้านไร่ ครอบคลุม 21 จังหวัด
ส่วนรายละเอียดผู้สนใจสามารถเข้าดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาที่ดิน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น กรมฯ จะเร่งดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดอุทกภัยเป็นรายเดือน เพื่อจัดทำแผนที่เตือนภัยให้แก่เกษตรกรและประชาชนได้ทราบล่วงหน้า