กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิจัยสมุนไพรถึงขั้นสกัดสารสำคัญ “เถาวัลย์เปรียง” เป็นยารักษาโรคปวดหลัง ปวดตามข้อ ใช้แทนยาแก้อักเสบสเตียรอยด์ จดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว เตรียมขึ้นทะเบียนตำรับยา อย. พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ อภ.ผลิตรักษาผู้ป่วยทั่วประเทศ

นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า นพ.วัลลภ ไทยเหนือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจเยี่ยมกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางกรมฯ ได้รายงานความคืบหน้าในการวิจัยสมุนไพรเพื่อนำมาใช้ประโยชน์หลายชนิด ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำการศึกษาฤทธิ์สมุนไพรในห้องปฏิบัติการ การทดสอบพิษในสัตว์ทดลอง บางชนิดอยู่ระหว่างศึกษาประสิทธิภาพในมนุษย์ บางชนิดอยู่ระหว่างขออนุมัติทำการวิจัยในมนุษย์เพื่อนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า จากการทดลองวิจัย “เถาวัลย์เปรียง” พบว่าสารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาบรรเทาปวดลดการอักเสบประเภทสเตียรอยด์ ที่เป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาโรคปวดหลังและปวดตามข้อได้ ซึ่งหลังจากที่ใช้เวลาทำการทดลองนานเกือบ 10 ปี
“ขณะนี้ได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกในคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งระยะที่ 1 และ 2 ให้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ โดยได้ทำการให้ยาแก่อาสาสมัครครั้งละ 1 แคปซูล ขนาด 200 มก./แคปซูล หลังอาหารวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าร่างกายสามารถดูดซึมยานี้ได้ดี ไม่มีความเป็นพิษหรือผลข้างเคียง ทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางกรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้ประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อเตรียมขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้ว และเตรียมถ่ายทอดเทคโนโลยีสกัดสารสำคัญเพื่อให้มีการผลิตเป็นยาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรมให้มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง เบื้องต้นได้ประสานไปยังองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อให้มีการผลิตเป็นจำนวนมาก โดยให้โรงพยาบาลต่างๆ นำไปใช้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุในแถบภาคเหนือ และอีสาน ที่มักเจ็บป่วยด้วยโรคปวดหลัง และตามข้อ หรืออาจถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในระดับชุมชนเพื่อให้มีการนำไปใช้รักษาอย่างแพร่หลาย
“ขณะนี้เถาวัลย์เปรียงได้นำจดสิทธิบัตรแล้วทันทีที่การวิจัยแล้วเสร็จ และในปี 2550 นี้จะมีการผลิตออกมาเป็นยาในรูปแคปซูลเพื่อใช้รักษา ทั้งนี้ เถาวัลย์เปรียงอยู่ในตระกูลพืชประเภทเถาวัลย์ พบมากตามป่าแต่สามารถนำมาปลูกได้ นับว่าเป็นความสำเร็จของนักวิจัยไทยในการวิจัยสมุนไพรไทย ภายหลังจากที่ใช้เวลาศึกษาและทดลองนานหลายปี” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว และว่ายังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่อยู่ระหว่างการศึกษาสารสกัดและทดลอง เช่น พรมมิ มีฤทธิ์ในการรักษาโรคอัลไซด์เมอร์ มังคุดใช้ต้านมะเร็ง หม่อนลดไขมันในเลือด อย่างไรก็ตาม ในส่วนของแมงลักคาที่เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อไข้หวัดนกในห้องปฏิบัติการ แต่จากการทดลองให้คนรับประทานพบว่ายังมีปัญหาเรื่องขนาดรับประทานที่จะรักษาโรคได้จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม
สำหรับ “เถาวัลย์เปรียง” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Derris scandens Benth หรือที่รู้จักในชื่อท้องถิ่นว่า เถาตาปลา เครือตาปลา เครือเขาหนัง พานไสนย่านเหมาะ มีลักษณะเป็นไม้เถาขนาดใหญ่เป็นพุ่มเลื้อย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปวงรี ดอกออกเป็นช่อห้อยลงด้านล่าง มีสีขาว กลีบดอกสีม่วงดำ ผลเป็นฝักแบนเล็ก มีเมล็ด มีสรรพคุณเป็นยาแก้กระสาย แก้เส้นเอ็นขอด ทำให้เส้นอ่อน บางแหล่งนิยมนำเถาหั่นตากแห้งคั่วไฟ ชงน้ำดื่มแทนชา ใช้แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ถ้าใช้ดองเหล้าจะเป็นยาขับระดู และตามตำรับยาแผนโบราณ ยังนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในยาอายุวัฒนะ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า นพ.วัลลภ ไทยเหนือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจเยี่ยมกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางกรมฯ ได้รายงานความคืบหน้าในการวิจัยสมุนไพรเพื่อนำมาใช้ประโยชน์หลายชนิด ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำการศึกษาฤทธิ์สมุนไพรในห้องปฏิบัติการ การทดสอบพิษในสัตว์ทดลอง บางชนิดอยู่ระหว่างศึกษาประสิทธิภาพในมนุษย์ บางชนิดอยู่ระหว่างขออนุมัติทำการวิจัยในมนุษย์เพื่อนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า จากการทดลองวิจัย “เถาวัลย์เปรียง” พบว่าสารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาบรรเทาปวดลดการอักเสบประเภทสเตียรอยด์ ที่เป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาโรคปวดหลังและปวดตามข้อได้ ซึ่งหลังจากที่ใช้เวลาทำการทดลองนานเกือบ 10 ปี
“ขณะนี้ได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกในคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งระยะที่ 1 และ 2 ให้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ โดยได้ทำการให้ยาแก่อาสาสมัครครั้งละ 1 แคปซูล ขนาด 200 มก./แคปซูล หลังอาหารวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าร่างกายสามารถดูดซึมยานี้ได้ดี ไม่มีความเป็นพิษหรือผลข้างเคียง ทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางกรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้ประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อเตรียมขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้ว และเตรียมถ่ายทอดเทคโนโลยีสกัดสารสำคัญเพื่อให้มีการผลิตเป็นยาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรมให้มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง เบื้องต้นได้ประสานไปยังองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อให้มีการผลิตเป็นจำนวนมาก โดยให้โรงพยาบาลต่างๆ นำไปใช้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุในแถบภาคเหนือ และอีสาน ที่มักเจ็บป่วยด้วยโรคปวดหลัง และตามข้อ หรืออาจถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในระดับชุมชนเพื่อให้มีการนำไปใช้รักษาอย่างแพร่หลาย
“ขณะนี้เถาวัลย์เปรียงได้นำจดสิทธิบัตรแล้วทันทีที่การวิจัยแล้วเสร็จ และในปี 2550 นี้จะมีการผลิตออกมาเป็นยาในรูปแคปซูลเพื่อใช้รักษา ทั้งนี้ เถาวัลย์เปรียงอยู่ในตระกูลพืชประเภทเถาวัลย์ พบมากตามป่าแต่สามารถนำมาปลูกได้ นับว่าเป็นความสำเร็จของนักวิจัยไทยในการวิจัยสมุนไพรไทย ภายหลังจากที่ใช้เวลาศึกษาและทดลองนานหลายปี” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว และว่ายังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่อยู่ระหว่างการศึกษาสารสกัดและทดลอง เช่น พรมมิ มีฤทธิ์ในการรักษาโรคอัลไซด์เมอร์ มังคุดใช้ต้านมะเร็ง หม่อนลดไขมันในเลือด อย่างไรก็ตาม ในส่วนของแมงลักคาที่เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อไข้หวัดนกในห้องปฏิบัติการ แต่จากการทดลองให้คนรับประทานพบว่ายังมีปัญหาเรื่องขนาดรับประทานที่จะรักษาโรคได้จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม
สำหรับ “เถาวัลย์เปรียง” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Derris scandens Benth หรือที่รู้จักในชื่อท้องถิ่นว่า เถาตาปลา เครือตาปลา เครือเขาหนัง พานไสนย่านเหมาะ มีลักษณะเป็นไม้เถาขนาดใหญ่เป็นพุ่มเลื้อย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปวงรี ดอกออกเป็นช่อห้อยลงด้านล่าง มีสีขาว กลีบดอกสีม่วงดำ ผลเป็นฝักแบนเล็ก มีเมล็ด มีสรรพคุณเป็นยาแก้กระสาย แก้เส้นเอ็นขอด ทำให้เส้นอ่อน บางแหล่งนิยมนำเถาหั่นตากแห้งคั่วไฟ ชงน้ำดื่มแทนชา ใช้แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ถ้าใช้ดองเหล้าจะเป็นยาขับระดู และตามตำรับยาแผนโบราณ ยังนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในยาอายุวัฒนะ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง