ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่คนเมืองต้องเผชิญ ทั้งหน้าที่การงานที่หนักอึ้ง ความเครียดจากการแข่งขันในสนามธุรกิจ อาหารที่ด้อยคุณภาพ มลภาวะเป็นพิษรอบตัว และเวลาที่มีน้อยเหลือเกินสำหรับการใส่ใจดูแลตัวเอง จนในที่สุดความกดดันทุกอย่างกลายเป็นตัวเร่งให้ความดันโลหิตในร่างกายเราผิดเพี้ยนไป
ความน่ากลัวของโรคความดันโลหิตสูงนี้ไม่ใช่เพียงแค่ทำให้คุณรู้สึกวูบวาบ วิงเวียนศีรษะเท่านั้น แต่หากปล่อยให้ร่างกายมีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง โดยเฉพาะหลอดเลือดเลี้ยงสมอง หัวใจและไต อันจะทำให้หลอดเลือดสมองแตกหรือตีบตัน นอกจากนั้นแล้วความดันโลหิตสูงยังทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นจนหัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจหนา อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายจนถึงแก่ชีวิตได้...
นพ.อนวัช เสริมสวรรค์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล ให้ข้อมูลว่ามีหลายวิธีที่อาจช่วยลดความดันโลหิตได้ในผู้ที่มีอาการไม่มาก เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันควบคู่ไปกับการใช้ยา การควบคุมอาหารและการหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด เช่น การเล่นโยคะ และการนั่งสมาธิ องค์ความรู้ของตะวันออกที่ไม่ควรมองข้าม
อย่างไรก็ตาม มีอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้ นั่นก็คือการหายใจที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการหายใจที่มีอัตราต่ำกว่า 10 ครั้งต่อนาที (อัตราปกติของการหายใจโดยเฉลี่ยเท่ากับ 13.8 -19.4 ครั้งต่อนาที)
ทั้งนี้ การหายใจที่ยาวและลึกขึ้นนั้นจะส่งผลดีต่อระบบหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ มีผลกระตุ้นปลายประสาทที่มีความสัมพันธ์กับระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความดัน การเต้นของหัวใจและการไหลกลับของเลือดเข้าสู่หัวใจ โดยผลเหล่านี้เกี่ยวข้องกับความดันที่ลดลงและความต้านทานภายในหลอดเลือดทั่วร่างกาย
จากผลงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีการฝึกการหายใจช้าและลึกวันละประมาณ 15 นาที ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2 เดือน นั้น ค่าความดันโลหิตลดลงมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้เข้ารับการฝึกการหายใจ
ความน่ากลัวของโรคความดันโลหิตสูงนี้ไม่ใช่เพียงแค่ทำให้คุณรู้สึกวูบวาบ วิงเวียนศีรษะเท่านั้น แต่หากปล่อยให้ร่างกายมีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง โดยเฉพาะหลอดเลือดเลี้ยงสมอง หัวใจและไต อันจะทำให้หลอดเลือดสมองแตกหรือตีบตัน นอกจากนั้นแล้วความดันโลหิตสูงยังทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นจนหัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจหนา อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายจนถึงแก่ชีวิตได้...
นพ.อนวัช เสริมสวรรค์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล ให้ข้อมูลว่ามีหลายวิธีที่อาจช่วยลดความดันโลหิตได้ในผู้ที่มีอาการไม่มาก เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันควบคู่ไปกับการใช้ยา การควบคุมอาหารและการหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด เช่น การเล่นโยคะ และการนั่งสมาธิ องค์ความรู้ของตะวันออกที่ไม่ควรมองข้าม
อย่างไรก็ตาม มีอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้ นั่นก็คือการหายใจที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการหายใจที่มีอัตราต่ำกว่า 10 ครั้งต่อนาที (อัตราปกติของการหายใจโดยเฉลี่ยเท่ากับ 13.8 -19.4 ครั้งต่อนาที)
ทั้งนี้ การหายใจที่ยาวและลึกขึ้นนั้นจะส่งผลดีต่อระบบหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ มีผลกระตุ้นปลายประสาทที่มีความสัมพันธ์กับระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความดัน การเต้นของหัวใจและการไหลกลับของเลือดเข้าสู่หัวใจ โดยผลเหล่านี้เกี่ยวข้องกับความดันที่ลดลงและความต้านทานภายในหลอดเลือดทั่วร่างกาย
จากผลงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีการฝึกการหายใจช้าและลึกวันละประมาณ 15 นาที ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2 เดือน นั้น ค่าความดันโลหิตลดลงมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้เข้ารับการฝึกการหายใจ