สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ม.แม่ฟ้าหลวง วิจัยพบเปลือกสีดำของเม็ดลำไยช่วยชะลอความเหี่ยวย่นของผิวหนัง เตรียมนำผลงานออกแสดงในงานนวัตกรรมความงาม เครื่องสำอาง สปาฯ ครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่าง 26-27 พฤษภาคมนี้ ที่กรุงเทพฯ

รศ.ดร.พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) จังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มฟล. ได้ทำการศึกษาวิจัยพบเปลือกสีดำของเม็ดลำไย ประกอบด้วยสารชีวภาพหลากหลายชนิดที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะสารโพลีนอลที่มีคุณสมบัติด้านอนุมูลอิสระที่สามารถช่วยชะลอการเกิดรอยเหี่ยวย่นของผิวหนัง รวมทั้งให้ความชุ่มชื่นกับผิวหนังได้ดี สำหรับกระบวนการสกัดสารโพลีนอลจะเริ่มจากการนำเม็ดลำไยมากะเทาะเปลือกสีดำออก จากนั้นนำเปลือกสีดำไปบดเป็นผงและนำผงที่ได้ไปใส่ตัวทำละลายกว่า 10 ขั้นตอน กระทั่งได้สารโพลีฟีนอลเพียงตัวเดียว จากนั้นกรองเอาเพียงแค่น้ำใสและทำให้ระเหยแห้งด้วยระบบสุญญากาศจนได้สารสกัดที่เข้มข้นเพื่อนำไปตรวจหาปริมาณสารสำคัญ
ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดเข้มข้นดังกล่าวกับอาสาสมัคร 200 คน ทุกเพศ วัย และอาชีพ พบว่าสามารถชะลอการเกิดรอยเหี่ยวย่นได้ดี มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทัดเทียมสารสกัดจากเมล็ดองุ่นที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมเครื่องสำอางต่าง ๆ นอกจากนี้ สารสกัดเข้มข้นของเม็ดลำไย ยังนำไปพัฒนาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมดูแลสุขภาพได้อีกด้วย
รศ.ดร.พรรณวิภา กล่าวว่า การวิจัยดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มฟล. ค้นพบ และงานวิจัยนี้จะเป็นหนึ่งในอีกหลายผลงานที่จะนำไปแสดงในการประชุมวิชาการ “นวัตกรรมความงาม เครื่องสำอาง สปา และอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ซึ่ง มฟล. ร่วมกับสมาคมเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) นักวิจัยภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจสุขภาพ ความงาม เครื่องสำอาง สปา และอาหารเสริมเพื่อสุขภาพร่วมจัดงานดังกล่าว ระหว่าง 26-27 พฤษภาคมนี้ ที่โรงแรมสวีทเทล นายเลิศ ปาร์ค กรุงเทพฯ
รศ.ดร.พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) จังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มฟล. ได้ทำการศึกษาวิจัยพบเปลือกสีดำของเม็ดลำไย ประกอบด้วยสารชีวภาพหลากหลายชนิดที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะสารโพลีนอลที่มีคุณสมบัติด้านอนุมูลอิสระที่สามารถช่วยชะลอการเกิดรอยเหี่ยวย่นของผิวหนัง รวมทั้งให้ความชุ่มชื่นกับผิวหนังได้ดี สำหรับกระบวนการสกัดสารโพลีนอลจะเริ่มจากการนำเม็ดลำไยมากะเทาะเปลือกสีดำออก จากนั้นนำเปลือกสีดำไปบดเป็นผงและนำผงที่ได้ไปใส่ตัวทำละลายกว่า 10 ขั้นตอน กระทั่งได้สารโพลีฟีนอลเพียงตัวเดียว จากนั้นกรองเอาเพียงแค่น้ำใสและทำให้ระเหยแห้งด้วยระบบสุญญากาศจนได้สารสกัดที่เข้มข้นเพื่อนำไปตรวจหาปริมาณสารสำคัญ
ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดเข้มข้นดังกล่าวกับอาสาสมัคร 200 คน ทุกเพศ วัย และอาชีพ พบว่าสามารถชะลอการเกิดรอยเหี่ยวย่นได้ดี มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทัดเทียมสารสกัดจากเมล็ดองุ่นที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมเครื่องสำอางต่าง ๆ นอกจากนี้ สารสกัดเข้มข้นของเม็ดลำไย ยังนำไปพัฒนาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมดูแลสุขภาพได้อีกด้วย
รศ.ดร.พรรณวิภา กล่าวว่า การวิจัยดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มฟล. ค้นพบ และงานวิจัยนี้จะเป็นหนึ่งในอีกหลายผลงานที่จะนำไปแสดงในการประชุมวิชาการ “นวัตกรรมความงาม เครื่องสำอาง สปา และอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ซึ่ง มฟล. ร่วมกับสมาคมเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) นักวิจัยภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจสุขภาพ ความงาม เครื่องสำอาง สปา และอาหารเสริมเพื่อสุขภาพร่วมจัดงานดังกล่าว ระหว่าง 26-27 พฤษภาคมนี้ ที่โรงแรมสวีทเทล นายเลิศ ปาร์ค กรุงเทพฯ