“หมอวิชัย” ชี้ ไม่จำเป็นต้องจ้าง “ล็อบบี้ยิสต์” แต่งหน้าทาปาก “ซีแอล” ใหม่ เพราะเป็นข้อมูลจริงตรงไปตรงมาแจงได้ทุกกรณี เตือนจับตา “พาณิชย์” แก้ พ.ร.บ.สิทธิบัตรตามที่มะกันต้องการ เหมือนกับในเอฟทีเอ และ พ.ร.บ.สิทธิบัตร 2535 เท่ากับตัดแขนตัดขาตัวเอง ซ้ำรอยประวัติศาสตร์ ยิ่งทำซีแอลยากขึ้นในอนาคต

นพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 ในฐานะประธานคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ กล่าวว่า ประเทศไทย ไม่จำเป็นที่จะต้องจ้างนักล็อบบี้ยิสต์ เพราะประเด็นเรื่องการประกาศบังคับใช้สิทธิผลิตยาที่ติดสิทธิบัตร (ซีแอล) ของไทยเป็นเรื่องตรงไปตรงมา และมีเวทีสาธารณะมากมายที่สามารถเผยแพร่ข้อมูล ไม่จำเป็นต้องผัดหน้าทาปาก เพราะเป็นข้อมูลจริงตรงไปตรงมาที่สามารถชี้แจงได้ทุกกรณี
“การจ้างบริษัทล็อบบี้ยิสต์ของเหล่าบรรดาบริษัทยา ก็เนื่องจากมีบางประเด็นที่ยังคลุมเครือ และต้องการให้นักล็อบบี้ยิสต์ผัดหน้าทาปากเสริมในประเด็นเหล่านั้นให้เกิดความเข้าใจ แต่ไทยไม่ใช่เช่นนั้นและไม่จำเป็น เพราะเราทำด้วยความโปร่งใสและตรงไปตรงมา” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวว่า สิ่งที่น่าจับตาหลังจากนี้ คือ การแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตรตามข้อเสนอของสหรัฐฯ โดยอาจมีการแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวตามข้อเสนอที่สหรัฐฯ เคยเสนอให้แก้ไขในข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-สหรัฐฯ เพราะมีหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ซีแอล อาทิ ในมาตรา 51 ระบุว่า หากจะใช้ซีแอลโดยรัฐ ไม่จำเป็นต้องหารือกับผู้ทรงสิทธิบัตรหรือบริษัทเจ้าของสิทธิก่อน ซึ่งหากเกิดการแก้ไขตามที่สหรัฐฯต้องการ คือ ต้องขออนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตรก่อน ทำให้การใช้ซีแอลในอนาคตต้องดำเนินการลำบากมากขึ้น ซึ่งหากดำเนินการเช่นนั้นเท่ากับว่าไทยยอมตัดแขนตัดขาของตนเอง
“การแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรของไทยที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2535 เป็นการตัดให้แขนตัดขาตัวเอง แค่นี้ก็นิ้วด้วนแล้ว จะให้ขาพิการมากไปกว่านี้หรือ ไม่ว่าจะแก้กฎหมายให้ยืดอายุสิทธิบัตรจาก 15 ปี เป็น 20 ปี หรือการคุ้มครองสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์จากเดิมคุ้มครองเพียงกรรมวิธีเท่านั้น เชื่อว่าหลายฝ่ายจะไม่ยอมง่ายๆ จึงจำเป็นต้องชั่งน้ำหนักให้ดี ตั้งสติดีๆ อย่าหวั่นไหวเกินเหตุ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแก้ไขพ.ร.บ.สิทธิบัตรตามที่สหรัฐฯต้องการจะมีมูลค่ามากกว่ามูลค่าสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ที่ไทยได้รับจากสหรัฐฯหลายเท่า”นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวด้วยว่า ข้อเสนอของสหรัฐฯในเวทีเอฟทีเอที่ไทยอาจจะแก้ไขใน พ.ร.บ.สิทธิบัตรตามที่สหรัฐฯต้องการ อาทิ การยืดอายุสิทธิบัตรยาเป็น 25 ปี หรือการคุ้มครองข้อมูลยาให้ผูกขาดไปอีก 5 ปี ฯลฯ ทั้งหมดเพื่อหวังว่าสหรัฐฯจะปรับบัญชีให้ไทยออกจากประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ จึงเชื่อว่า รัฐบาล กระทรวงทบวง กรมที่เกี่ยวข้องจะไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว หากมีการแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตรในประเด็นเหล่านี้
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 ในฐานะประธานคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ กล่าวว่า ประเทศไทย ไม่จำเป็นที่จะต้องจ้างนักล็อบบี้ยิสต์ เพราะประเด็นเรื่องการประกาศบังคับใช้สิทธิผลิตยาที่ติดสิทธิบัตร (ซีแอล) ของไทยเป็นเรื่องตรงไปตรงมา และมีเวทีสาธารณะมากมายที่สามารถเผยแพร่ข้อมูล ไม่จำเป็นต้องผัดหน้าทาปาก เพราะเป็นข้อมูลจริงตรงไปตรงมาที่สามารถชี้แจงได้ทุกกรณี
“การจ้างบริษัทล็อบบี้ยิสต์ของเหล่าบรรดาบริษัทยา ก็เนื่องจากมีบางประเด็นที่ยังคลุมเครือ และต้องการให้นักล็อบบี้ยิสต์ผัดหน้าทาปากเสริมในประเด็นเหล่านั้นให้เกิดความเข้าใจ แต่ไทยไม่ใช่เช่นนั้นและไม่จำเป็น เพราะเราทำด้วยความโปร่งใสและตรงไปตรงมา” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวว่า สิ่งที่น่าจับตาหลังจากนี้ คือ การแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตรตามข้อเสนอของสหรัฐฯ โดยอาจมีการแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวตามข้อเสนอที่สหรัฐฯ เคยเสนอให้แก้ไขในข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-สหรัฐฯ เพราะมีหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ซีแอล อาทิ ในมาตรา 51 ระบุว่า หากจะใช้ซีแอลโดยรัฐ ไม่จำเป็นต้องหารือกับผู้ทรงสิทธิบัตรหรือบริษัทเจ้าของสิทธิก่อน ซึ่งหากเกิดการแก้ไขตามที่สหรัฐฯต้องการ คือ ต้องขออนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตรก่อน ทำให้การใช้ซีแอลในอนาคตต้องดำเนินการลำบากมากขึ้น ซึ่งหากดำเนินการเช่นนั้นเท่ากับว่าไทยยอมตัดแขนตัดขาของตนเอง
“การแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรของไทยที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2535 เป็นการตัดให้แขนตัดขาตัวเอง แค่นี้ก็นิ้วด้วนแล้ว จะให้ขาพิการมากไปกว่านี้หรือ ไม่ว่าจะแก้กฎหมายให้ยืดอายุสิทธิบัตรจาก 15 ปี เป็น 20 ปี หรือการคุ้มครองสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์จากเดิมคุ้มครองเพียงกรรมวิธีเท่านั้น เชื่อว่าหลายฝ่ายจะไม่ยอมง่ายๆ จึงจำเป็นต้องชั่งน้ำหนักให้ดี ตั้งสติดีๆ อย่าหวั่นไหวเกินเหตุ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแก้ไขพ.ร.บ.สิทธิบัตรตามที่สหรัฐฯต้องการจะมีมูลค่ามากกว่ามูลค่าสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ที่ไทยได้รับจากสหรัฐฯหลายเท่า”นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวด้วยว่า ข้อเสนอของสหรัฐฯในเวทีเอฟทีเอที่ไทยอาจจะแก้ไขใน พ.ร.บ.สิทธิบัตรตามที่สหรัฐฯต้องการ อาทิ การยืดอายุสิทธิบัตรยาเป็น 25 ปี หรือการคุ้มครองข้อมูลยาให้ผูกขาดไปอีก 5 ปี ฯลฯ ทั้งหมดเพื่อหวังว่าสหรัฐฯจะปรับบัญชีให้ไทยออกจากประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ จึงเชื่อว่า รัฐบาล กระทรวงทบวง กรมที่เกี่ยวข้องจะไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว หากมีการแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตรในประเด็นเหล่านี้