ราชบัณฑิตยสถานเป็นสถาบันที่อยู่คู่สังคมไทยมากกว่า 70 ปี โดยได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2476 หลังจากที่ไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย สืบแทนราชบัณฑิตสภาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2469 โดยรัฐบาลในสมัยนั้นมีวิสัยทัศน์ในทางวิชาการว่า การทำนุบำรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าตามอารยประเทศภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ปัจจัยสำคัญประหารหนึ่งคือ จะต้องให้ประเทศมีผู้ทรงความรู้ทัดเทียมกับประเทศที่มีความเจริญทางวิชาการคือ ต้องจัดตั้งสถาบันที่มีแหล่งรวมนักวิชาการสาขาต่างๆ เพื่อที่จะได้ติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้กับองค์การปราชญ์ของนานาประเทศ

ทำการค้นคว้า วิจัย จัดทำเป็นตำราออกเผยแพร่สู่ประชาชนและนักศึกษาเพื่อต่อไปภายภาคหน้าประเทศไทยจะมีผู้ทรงความรู้ความสามารถในสรรพวิชาที่จะพัฒนาประเทศโดยไม่ต้องอาศัยชาวต่างชาติ โดยแบ่งงานทางวิชาการออกเป็นสำนัก 3 สำนัก คือ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง สำนักวิทยาศาสตร์ และสำนักศิลปกรรม
และเพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถทำความรู้จักกับราชบัณฑิตยสถานได้อย่างใกล้ชิด จากที่คนทั่วไปอาจยังไม่ค่อยเข้าใจถึงบทบาท หน้าที่ของราชบัณฑิตยสถานนั้น นางจินตนา พันธุฟัก เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า ราชบัณฑิตยสถานเป็นสถาบันที่อยู่คู่สังคมไทยมากกว่า 70ปี โดยมีพันธกิจหลักในการเผยแพร่องค์ความรู้และสรรพวิชาอันเป็นคุณประโยชน์ต่อสังคมและการพัฒนาประเทศ แต่คนทั่วไปยังไม่ค่อยเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่เหล่านี้ และมักคิดว่าราชบัณฑิตยสถานเป็นเรื่องไกลตัวและยากที่จะเข้าถึง
ดังนั้น ทางราชบัณฑิตยสถานจึงเตรียมจัดงาน “วันเปิดบ้านราชบัณฑิตยสถาน” ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีที่ประชาชนทั่วไปจะสามารถทำความรู้จักกับราชบัณฑิตยสถานได้อย่างใกล้ชิด อันจะทำให้พันธกิจในการนำความรู้สู่ประชาชนของราชบัณฑิตยสถานยิ่งสัมฤทธิผลตามไปด้วย
และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5ธันวาคม 2550 ทางราชบัณฑิตยสถานขอเชิญชวนปราชญ์ราชบัณฑิตและผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนาในโครงการ “รณรงค์ปี 2550 เป็นปีภาษาไทย เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550” พร้อมทั้งกิจกรรมประเทืองปัญญาที่น่าสนใจมากมายในงาน ในวันที่27 เมษายน 2550 ณ ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช นายกราชบัณฑิตยสถาน ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดในเวลา 9.00 น. และพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ให้เกียรติแสดงปาฐกถานำ พร้อมด้วย ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และวิทยากรที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมเสวนาตลอดทั้งวัน โดยภายในงาน มีการเสวนาของทั้ง 3 สำนักของราชบัณฑิตยสถาน ได้แก่ การเสวนาเรื่อง “รัฐธรรมนูญกับอนาคตของชาติ” จากสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งได้รับเกียรติจากพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. แสดงปาฐกถานำ ร่วมด้วย ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร ราชบัณฑิต และ ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ภาคีสมาชิก โดยมี ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย

นอกจากนั้นยังมีการเสวนาเรื่อง “แนวทางพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550” โดย ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รมว.กระทรวงวิมยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติเข้าร่วมการเสวนา พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ศ.ดร.จุลละพงษ์ จุลละโพธิ ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ศ.ดร.มนุวดี หังสพฤกษ์ และศ.ดร.สุธรรม อารีกุล โดยมีประธานสำนักวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สันทัด โรจนสุนทร เป็นผู้ดำเนินการเสวนา
สำหรับสำนักศิลปกรรมจะจัดเสวนาเรื่อง “ภาษาและวัฒนธรรมสำคัญต่อชาติอย่างไร” โดยมีวิทยากรประกอบด้วย ศ.ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต ศ.ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิต นายสาคริก ภาคีสมาชิก โดยมี รศ.ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย
นอกจากนี้ยังจะมีการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติความเป็นมารวมทั้งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของราชบัณฑิตยสถาน การอภิปรายเรื่อง “ก้าวต่อไปของราชบัณฑิตยสถานกับความต้องการของประชาชน” ซึ่งมีวิทยากรประกอบด้วน ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกูล นางจินดา พันธุ์ฟัก นายสุวัฒน์ ทองธนากุล และ น.ส.สายสวรรค์ ขยันยิ่ง โดยมีนายอดิศักดิ์ ศรีสม เป็นผู้ดำเนินการเสวนา
ปัจจุบันราชบัณฑิตยสถานได้พัฒนารูปแบบและขยายรูปแบบการให้บริการแก่ประชาชนที่เปิดกว้างและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ของราชบัณฑิตยสถาน เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าและอ้างอิง โดยได้จัดทำเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน www.royin.go.th อันเป็นการสื่อสารและให้ข้อมูลความรู้แบบออนไลน์ และได้จัดตั้งศูนย์วิชาการราชบัณฑิตยสถานที่ให้คำตอบทางวิชาการแก่ประชาชนผ่านทางโทรศัพท์หมายเลข โทร. 0-2356-0466-70
ทำการค้นคว้า วิจัย จัดทำเป็นตำราออกเผยแพร่สู่ประชาชนและนักศึกษาเพื่อต่อไปภายภาคหน้าประเทศไทยจะมีผู้ทรงความรู้ความสามารถในสรรพวิชาที่จะพัฒนาประเทศโดยไม่ต้องอาศัยชาวต่างชาติ โดยแบ่งงานทางวิชาการออกเป็นสำนัก 3 สำนัก คือ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง สำนักวิทยาศาสตร์ และสำนักศิลปกรรม
และเพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถทำความรู้จักกับราชบัณฑิตยสถานได้อย่างใกล้ชิด จากที่คนทั่วไปอาจยังไม่ค่อยเข้าใจถึงบทบาท หน้าที่ของราชบัณฑิตยสถานนั้น นางจินตนา พันธุฟัก เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า ราชบัณฑิตยสถานเป็นสถาบันที่อยู่คู่สังคมไทยมากกว่า 70ปี โดยมีพันธกิจหลักในการเผยแพร่องค์ความรู้และสรรพวิชาอันเป็นคุณประโยชน์ต่อสังคมและการพัฒนาประเทศ แต่คนทั่วไปยังไม่ค่อยเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่เหล่านี้ และมักคิดว่าราชบัณฑิตยสถานเป็นเรื่องไกลตัวและยากที่จะเข้าถึง
ดังนั้น ทางราชบัณฑิตยสถานจึงเตรียมจัดงาน “วันเปิดบ้านราชบัณฑิตยสถาน” ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีที่ประชาชนทั่วไปจะสามารถทำความรู้จักกับราชบัณฑิตยสถานได้อย่างใกล้ชิด อันจะทำให้พันธกิจในการนำความรู้สู่ประชาชนของราชบัณฑิตยสถานยิ่งสัมฤทธิผลตามไปด้วย
และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5ธันวาคม 2550 ทางราชบัณฑิตยสถานขอเชิญชวนปราชญ์ราชบัณฑิตและผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนาในโครงการ “รณรงค์ปี 2550 เป็นปีภาษาไทย เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550” พร้อมทั้งกิจกรรมประเทืองปัญญาที่น่าสนใจมากมายในงาน ในวันที่27 เมษายน 2550 ณ ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช นายกราชบัณฑิตยสถาน ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดในเวลา 9.00 น. และพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ให้เกียรติแสดงปาฐกถานำ พร้อมด้วย ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และวิทยากรที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมเสวนาตลอดทั้งวัน โดยภายในงาน มีการเสวนาของทั้ง 3 สำนักของราชบัณฑิตยสถาน ได้แก่ การเสวนาเรื่อง “รัฐธรรมนูญกับอนาคตของชาติ” จากสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งได้รับเกียรติจากพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. แสดงปาฐกถานำ ร่วมด้วย ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร ราชบัณฑิต และ ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ภาคีสมาชิก โดยมี ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย
นอกจากนั้นยังมีการเสวนาเรื่อง “แนวทางพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550” โดย ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รมว.กระทรวงวิมยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติเข้าร่วมการเสวนา พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ศ.ดร.จุลละพงษ์ จุลละโพธิ ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ศ.ดร.มนุวดี หังสพฤกษ์ และศ.ดร.สุธรรม อารีกุล โดยมีประธานสำนักวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สันทัด โรจนสุนทร เป็นผู้ดำเนินการเสวนา
สำหรับสำนักศิลปกรรมจะจัดเสวนาเรื่อง “ภาษาและวัฒนธรรมสำคัญต่อชาติอย่างไร” โดยมีวิทยากรประกอบด้วย ศ.ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต ศ.ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิต นายสาคริก ภาคีสมาชิก โดยมี รศ.ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย
นอกจากนี้ยังจะมีการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติความเป็นมารวมทั้งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของราชบัณฑิตยสถาน การอภิปรายเรื่อง “ก้าวต่อไปของราชบัณฑิตยสถานกับความต้องการของประชาชน” ซึ่งมีวิทยากรประกอบด้วน ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกูล นางจินดา พันธุ์ฟัก นายสุวัฒน์ ทองธนากุล และ น.ส.สายสวรรค์ ขยันยิ่ง โดยมีนายอดิศักดิ์ ศรีสม เป็นผู้ดำเนินการเสวนา
ปัจจุบันราชบัณฑิตยสถานได้พัฒนารูปแบบและขยายรูปแบบการให้บริการแก่ประชาชนที่เปิดกว้างและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ของราชบัณฑิตยสถาน เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าและอ้างอิง โดยได้จัดทำเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน www.royin.go.th อันเป็นการสื่อสารและให้ข้อมูลความรู้แบบออนไลน์ และได้จัดตั้งศูนย์วิชาการราชบัณฑิตยสถานที่ให้คำตอบทางวิชาการแก่ประชาชนผ่านทางโทรศัพท์หมายเลข โทร. 0-2356-0466-70