“วิจิตร” เรียกหารือด่วน ผู้บริหาร ทปอ. สทศ. สกอ. และ “สุรพล” หาแนวทางคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอย่างไรไม่ให้กระทบต่อข้อกฎหมาย ขณะที่อธิการ มศว กล่าวขอบคุณศาลปกครองสูงสุด ชี้คำสั่งศาลชอบด้วยเหตุผล

หลังจากที่ศาลปกครองสุงสุด มีคำสั่งให้ระงับคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ของศาลปกครองขอนแก่น ที่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. และคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ. นำมติที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. นำผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ครั้งแรกครั้งเดียว มาใช้ในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในระบบแอดมิชชั่น
วันนี้เวลา 10.30 น.นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรียกหารือเร่งด่วนกับผู้บริหาร ทปอ. สทศ. สกอ. และนายสุรพล นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อหาแนวทางว่า จะดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอย่างไรไม่ให้กระทบต่อข้อกฎหมาย และให้เกิดความเป็นธรรมต่อนักเรียน รวมถึงไม่กระทบต่อกำหนดการประกาศรายชื่อนักศึกษา และการเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัย
ขณะที่ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวถึงกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งระงับคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองจังหวัดขอนแก่นว่า ต้องขอขอบคุณศาลปกครองสูงสุดที่เข้าใจปัญหาและรู้ว่าโอเน็ตในเบื้องต้นนั้นคืออะไรและยังมองปัญหาได้อย่างตรงเป้าหมาย การที่เราจะให้คนจำนวนน้อยมีผลต่อคนจำนวนมากศาลปกครองย่อมรู้ว่าจะเกิดผลกระทบกระไรบ้าง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของช่วงเวลา ในเวลานี้สกอ.และสทศ.คงต้องทำหน้าที่เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามระบบ ขณะเดียวกันก็ต้องให้ข้อมูลกับศาลปกครองสูงสุดต่อไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจระบบแอดมิชชั่นส์ที่เป็นอยู่ได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการสอบครั้งเดียวเพื่อดูผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษานั้นมีความสำคัญ เพราะหากไม่ยึดแนวคิดนี้ไว้และออกระเบียบให้สอบได้ 2 ครั้ง 3 ครั้ง การสอบO-NETก็ไม่สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้ ดังนั้นคำสั่งศาลปกครองสูงสุดจึงชอบด้วยเหตุผล
“การที่กลุ่มเด็กซิ่ลออกมาระบุว่าหากให้มีการสอบO-NETเพียงครั้งเดียวจะทำให้พวกเขาไม่สามารถไปเลือกเรียนในบางคณะได้ เพราะหากเรียนในบางสถาบันการศึกษาและๆไม่ชอบในสถาบันหรือคณะก็จะได้ออกมาเลือกสอบใหม่นั้น เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่อยากบอกว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นต้องตัดสินในด้วยเหตุผลและข้อมูลตั้งแต่กำลังเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ว่าตัวเองอยากเรียนหรือสนใจมีทักษะอยากเรียนด้านไหน ไม่ใช่เลือกไปตามยถากรรม หรือลองเรียนไปก่อน เลือกเรียนแบบขาดเป้าหมาย ขาดหลัการเหตุผล ถ้ายังเป็นเช่นนี้อยู่จะทำให้ระบบการศึกษาแก้ปัญหาเลือกการกวดวิชาไม่ได้ ยิ่งก่อให้เกิดการกวดวิชา ทำให้เกิดความสูญเสียที่นั่ง สูญเสียงบประมาณ และยังเป็นช่องทางให้บางสถาบันการศึกษาเร่งโฆษณาหาเงินเพื่อให้เด็กที่ต้องการหาที่เรียนในช่วงหนึ่งปี เพื่อสอบใหม่ในปีต่อไปนั้น หาที่เรียนไปก่อนโดยที่สถาบันการศึกษาจำนวนหลายแห่งก็จะได้เงินจากเด็กกลุ่มนี้ไป บางคนหาที่เรียนไปก่อนโดยรักษาหน้าไว้ว่าตัวเองมีที่เรียน ระบบอย่างนี้จะไม่มีทางหมดไปจากสังคมไทย และถือเป็นการสูญเปล่าทางการศึกษา”
“อยากบอกเด็กที่ไปร้องต่อศาลปกครองจังหวัดขอนแก่นว่าอย่าโทษระบบหรือโทษคนอื่นแต่อยากให้พิจารณาดูตัวเองก่อน ในขณะนี้ถ้าดูแล้วจะพบว่าเด็กที่ตั้งใจสอบใหม่นั้นได้เปรียบในหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นจีพีเอ คะแนนA-NET หรือแม้กระทั่งจีแพ็คเองล้วนแล้วแต่ได้เปรียบรุ่นน้องแทบทั้งสิ้น อยากคิดแต่จะแสวงหาผลประโยชน์เข้าตัวเองเพียงอย่างเดียว แต่ควรจะมองผลกระทบต่อส่วนรวมให้มาก” ศ.ดร.วิรุณ กล่าวอีกว่า อยากบอกนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ว่าต้องเริ่มค้นหาตัวเองให้เจอตั้งแต่เริ่มเรียนม.4 – ม.5 เมื่อถึงม.6 จะได้ไม่เกิดปัญหาว่าจะเลือกเรียนสาขา หรือคณะใด โรงเรียน อาจารย์แนะแนว อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ปกครอง และตัวนักเรียนต้องช่วยเด็กให้ค้นหาตัวเองให้เจอ เด็กจะได้เลือกได้ว่าตัวเองเหมาะที่จะมาสอบตรงกับทางมหาวิทยาลัยหรือจะสอบในระบบแอดมิชชั่นส์
หลังจากที่ศาลปกครองสุงสุด มีคำสั่งให้ระงับคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ของศาลปกครองขอนแก่น ที่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. และคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ. นำมติที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. นำผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ครั้งแรกครั้งเดียว มาใช้ในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในระบบแอดมิชชั่น
วันนี้เวลา 10.30 น.นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรียกหารือเร่งด่วนกับผู้บริหาร ทปอ. สทศ. สกอ. และนายสุรพล นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อหาแนวทางว่า จะดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอย่างไรไม่ให้กระทบต่อข้อกฎหมาย และให้เกิดความเป็นธรรมต่อนักเรียน รวมถึงไม่กระทบต่อกำหนดการประกาศรายชื่อนักศึกษา และการเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัย
ขณะที่ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวถึงกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งระงับคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองจังหวัดขอนแก่นว่า ต้องขอขอบคุณศาลปกครองสูงสุดที่เข้าใจปัญหาและรู้ว่าโอเน็ตในเบื้องต้นนั้นคืออะไรและยังมองปัญหาได้อย่างตรงเป้าหมาย การที่เราจะให้คนจำนวนน้อยมีผลต่อคนจำนวนมากศาลปกครองย่อมรู้ว่าจะเกิดผลกระทบกระไรบ้าง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของช่วงเวลา ในเวลานี้สกอ.และสทศ.คงต้องทำหน้าที่เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามระบบ ขณะเดียวกันก็ต้องให้ข้อมูลกับศาลปกครองสูงสุดต่อไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจระบบแอดมิชชั่นส์ที่เป็นอยู่ได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการสอบครั้งเดียวเพื่อดูผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษานั้นมีความสำคัญ เพราะหากไม่ยึดแนวคิดนี้ไว้และออกระเบียบให้สอบได้ 2 ครั้ง 3 ครั้ง การสอบO-NETก็ไม่สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้ ดังนั้นคำสั่งศาลปกครองสูงสุดจึงชอบด้วยเหตุผล
“การที่กลุ่มเด็กซิ่ลออกมาระบุว่าหากให้มีการสอบO-NETเพียงครั้งเดียวจะทำให้พวกเขาไม่สามารถไปเลือกเรียนในบางคณะได้ เพราะหากเรียนในบางสถาบันการศึกษาและๆไม่ชอบในสถาบันหรือคณะก็จะได้ออกมาเลือกสอบใหม่นั้น เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่อยากบอกว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นต้องตัดสินในด้วยเหตุผลและข้อมูลตั้งแต่กำลังเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ว่าตัวเองอยากเรียนหรือสนใจมีทักษะอยากเรียนด้านไหน ไม่ใช่เลือกไปตามยถากรรม หรือลองเรียนไปก่อน เลือกเรียนแบบขาดเป้าหมาย ขาดหลัการเหตุผล ถ้ายังเป็นเช่นนี้อยู่จะทำให้ระบบการศึกษาแก้ปัญหาเลือกการกวดวิชาไม่ได้ ยิ่งก่อให้เกิดการกวดวิชา ทำให้เกิดความสูญเสียที่นั่ง สูญเสียงบประมาณ และยังเป็นช่องทางให้บางสถาบันการศึกษาเร่งโฆษณาหาเงินเพื่อให้เด็กที่ต้องการหาที่เรียนในช่วงหนึ่งปี เพื่อสอบใหม่ในปีต่อไปนั้น หาที่เรียนไปก่อนโดยที่สถาบันการศึกษาจำนวนหลายแห่งก็จะได้เงินจากเด็กกลุ่มนี้ไป บางคนหาที่เรียนไปก่อนโดยรักษาหน้าไว้ว่าตัวเองมีที่เรียน ระบบอย่างนี้จะไม่มีทางหมดไปจากสังคมไทย และถือเป็นการสูญเปล่าทางการศึกษา”
“อยากบอกเด็กที่ไปร้องต่อศาลปกครองจังหวัดขอนแก่นว่าอย่าโทษระบบหรือโทษคนอื่นแต่อยากให้พิจารณาดูตัวเองก่อน ในขณะนี้ถ้าดูแล้วจะพบว่าเด็กที่ตั้งใจสอบใหม่นั้นได้เปรียบในหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นจีพีเอ คะแนนA-NET หรือแม้กระทั่งจีแพ็คเองล้วนแล้วแต่ได้เปรียบรุ่นน้องแทบทั้งสิ้น อยากคิดแต่จะแสวงหาผลประโยชน์เข้าตัวเองเพียงอย่างเดียว แต่ควรจะมองผลกระทบต่อส่วนรวมให้มาก” ศ.ดร.วิรุณ กล่าวอีกว่า อยากบอกนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ว่าต้องเริ่มค้นหาตัวเองให้เจอตั้งแต่เริ่มเรียนม.4 – ม.5 เมื่อถึงม.6 จะได้ไม่เกิดปัญหาว่าจะเลือกเรียนสาขา หรือคณะใด โรงเรียน อาจารย์แนะแนว อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ปกครอง และตัวนักเรียนต้องช่วยเด็กให้ค้นหาตัวเองให้เจอ เด็กจะได้เลือกได้ว่าตัวเองเหมาะที่จะมาสอบตรงกับทางมหาวิทยาลัยหรือจะสอบในระบบแอดมิชชั่นส์