สพฐ.เผย ผลสอบ NT ยังมีเด็กได้ 0 เหตุไม่ตั้งใจทำข้อสอบ ทำไม่ครบ ทั้งๆ ที่รัฐทุ่มงบด้านการศึกษาเพิ่มขึ้น ปีหน้าวางแผนให้เด็กสอบทุกคน เพื่อดูว่าการศึกษาบกพร่องตรงไหนจะได้แก้ที่ต้นตอ พบนักเรียนใต้โดดเด่นภาษาอาหรับแต่ด้อยภาษาไทย
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือ NT ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2549 โดยใช้วิธีสุ่มนักเรียนสอบทุกโรงเรียนทั่วประเทศ และทุกสังกัด ทั้งนี้ ผลคะแนนในระดับ ป.6 ซึ่งสอบทั้งหมด 4 วิชา มีผู้เข้าสอบวิชาละ 447,000 คน พบว่า วิชาภาษาไทย มีนักเรียนไดคะแนนต่ำสุด 1 และสูงสุด 36 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน ส่วนวิชาคณิตศาสตร์ มีคะแนนต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 40 คะแนน วิชาวิทยาศาสตร์ มีคะแนนต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 39 คะแนน วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 40 คะแนน
หลังจากที่ทราบว่า มีเด็กทำคะแนนได้ 0 ทาง สพฐ.ได้ดำเนินการติดตามว่าเป็นเด็กโรงเรียนแห่งไหน และไปดูสาเหตุของนักเรียนสอบได้ 0 คะแนน อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามคร่าวๆ ปรากฏว่า มีเด็กไม่ตั้งใจทำข้อสอบ บางรายทำข้อสอบไม่ครบทุกข้อ มีบางคนส่งกระดาษเปล่า อีกทั้งบางแห่งมีเด็กพิเศษเรียนร่วมด้วย เช่น เด็กจากโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จ.นราธิวาส ทำข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ผิดทุกข้อ
ส่วนระดับ ม.3 จัดสอบทั้งหมด 5 วิชา มีผู้เข้าสอบวิชา 196,000 คน โดยวิชาภาษาไทย คะแนนต่ำสุด 2 คะแนน สูงสุด 34 คะแนน วิชาคณิตศาสตร์ ต่ำสุด 1 คะแนน สูงสุด 40 คะแนน วิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนต่ำสุด 2 คะแนน สูงสุด 39 คะแนน วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนต่ำสุด 2 คะแนน สูงสุด 39 คะแนน และวิชาสังคมศึกษา คะแนนต่ำสุด 1 คะแนน สูงสุด 39 คะแนน
ผลการสอบในระดับ ม.3 พบว่า เด็กส่วนใหญ่ หรือมากกว่าร้อยละ 50 มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 11 ถึง 20 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40 เมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบกับเมื่อปีการศึกษา 2546 และ 2547 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่างกันมากนัก
“เมื่อนำคะแนน NT ปี 2549 เปรียบเทียบกับปี 2547 พบว่า ต่ำกว่าปี 2547 นิดหน่อย ทาง สพฐ.คาดการณ์มาตั้งแต่ต้นแล้วว่าผลจะออกมาอย่างนี้ เพราะนักเรียนที่เข้าสอบส่วนใหญ่จะมาจากโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งเกิดจาก สพฐ.กำหนดไว้ว่าหากเป็นโรงเรียนขนาดเล็กมีนักเรียนไม่เกิน 15 คนจะให้สอบทุกคน ส่วนโรงเรียนขนาดกลาง ขนาดใหญ่ จะใช้วิธีการสุ่มสอบระดับชั้นละไม่เกิน 35 คน ผลก็คือ การสอบครั้งนี้มีโรงเรียนขนาดเล็ก 17,900 แห่ง จากกว่า 30,000 แห่ง และเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าโรงเรียนขนาดเล็กจะไม่มีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะอุปกรณ์การเรียนการสอน ครูผู้สอน ซึ่งหากนำไปเปรียบเทียบกับโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมกว่าแต่มีผู้เข้าสอนน้อย ผลคะแนนจึงออกมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2547”
นายสมเกียรติ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้ สพฐ.เคยวิเคราะห์การศึกษา ซึ่งเราได้ทุ่มเทงบประมาณเพิ่มขึ้นจนถึงปัจจุบันมีงบสูงโดยคิดเป็นร้อยละ 4.1 ของรายได้ประชาชาติมวลรวม หรือ จีดีพี แต่ผลคะแนน NT 3 ปีที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นว่า คุณภาพการเรียนการสอนไม่ได้สูงขึ้นแม้ว่ารัฐจะทุ่มงบลงไปจำนวนมาก เมื่อศึกษาในรายละเอียดพบว่าประชากรไทยมีช่องว่างทางรายได้ห่างมาก โดยมีเด็กยากจนถูกเกณฑ์เข้าสู่ชั้นเรียน อีกทั้ง ยังไม่มีการแยกเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาออกจากชั้นเรียนของเด็กปกติ ส่งผลให้คะแนนเฉลี่ย NT ออกมาต่ำ
นายสมเกียรติ กล่าวว่า ผลการสอบครั้งนี้ เราจะส่งให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพท.เพื่อไปศึกษาเป็นรายโรงเรียน โดยจะให้มีการเรียนการสอนของสถานศึกษา เพื่อให้ผลสัมฤทธิทางการเรียนของนักเรียนดีขึ้น นอกจากนี้ ในปีหน้ามีแผนจะปรับวิธีการสอบโดยจะให้นักเรียนสอบกันทุกคน เพราะค่าใช้จ่ายในการสอบไม่สูงมาก เฉลี่ยอยู่ที่ 20 บาทต่อคน และได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กแต่ละคนได้อย่างชัดเจน ซึ่งวิธีนี้น่านำไปสู่การแก้ปัญหาการเรียนของเด็กได้เป็นรายบุคคล ตลอดจนการศึกษาทั้งระบบ
“ขณะนี้เรายังไม่ได้แยกคะแนนเป็นรายภูมิภาค ซึ่งจากการดูผลการสอบพบว่าภาคใต้เด็กได้คะแนนภาษาอาหรับสูง ขณะที่อังกฤษ วิทย์ ไทย ไม่กระเตื้อง ตรงนี้สะท้อนถึงสติปัญญาของเด็กว่าไม่ได้ด้อย ดังนั้น จะต้องมาหาวิธีให้เด็กเหล่านี้ได้สนใจวิชาอื่นๆ เพิ่มขึ้น”
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือ NT ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2549 โดยใช้วิธีสุ่มนักเรียนสอบทุกโรงเรียนทั่วประเทศ และทุกสังกัด ทั้งนี้ ผลคะแนนในระดับ ป.6 ซึ่งสอบทั้งหมด 4 วิชา มีผู้เข้าสอบวิชาละ 447,000 คน พบว่า วิชาภาษาไทย มีนักเรียนไดคะแนนต่ำสุด 1 และสูงสุด 36 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน ส่วนวิชาคณิตศาสตร์ มีคะแนนต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 40 คะแนน วิชาวิทยาศาสตร์ มีคะแนนต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 39 คะแนน วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 40 คะแนน
หลังจากที่ทราบว่า มีเด็กทำคะแนนได้ 0 ทาง สพฐ.ได้ดำเนินการติดตามว่าเป็นเด็กโรงเรียนแห่งไหน และไปดูสาเหตุของนักเรียนสอบได้ 0 คะแนน อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามคร่าวๆ ปรากฏว่า มีเด็กไม่ตั้งใจทำข้อสอบ บางรายทำข้อสอบไม่ครบทุกข้อ มีบางคนส่งกระดาษเปล่า อีกทั้งบางแห่งมีเด็กพิเศษเรียนร่วมด้วย เช่น เด็กจากโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จ.นราธิวาส ทำข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ผิดทุกข้อ
ส่วนระดับ ม.3 จัดสอบทั้งหมด 5 วิชา มีผู้เข้าสอบวิชา 196,000 คน โดยวิชาภาษาไทย คะแนนต่ำสุด 2 คะแนน สูงสุด 34 คะแนน วิชาคณิตศาสตร์ ต่ำสุด 1 คะแนน สูงสุด 40 คะแนน วิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนต่ำสุด 2 คะแนน สูงสุด 39 คะแนน วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนต่ำสุด 2 คะแนน สูงสุด 39 คะแนน และวิชาสังคมศึกษา คะแนนต่ำสุด 1 คะแนน สูงสุด 39 คะแนน
ผลการสอบในระดับ ม.3 พบว่า เด็กส่วนใหญ่ หรือมากกว่าร้อยละ 50 มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 11 ถึง 20 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40 เมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบกับเมื่อปีการศึกษา 2546 และ 2547 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่างกันมากนัก
“เมื่อนำคะแนน NT ปี 2549 เปรียบเทียบกับปี 2547 พบว่า ต่ำกว่าปี 2547 นิดหน่อย ทาง สพฐ.คาดการณ์มาตั้งแต่ต้นแล้วว่าผลจะออกมาอย่างนี้ เพราะนักเรียนที่เข้าสอบส่วนใหญ่จะมาจากโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งเกิดจาก สพฐ.กำหนดไว้ว่าหากเป็นโรงเรียนขนาดเล็กมีนักเรียนไม่เกิน 15 คนจะให้สอบทุกคน ส่วนโรงเรียนขนาดกลาง ขนาดใหญ่ จะใช้วิธีการสุ่มสอบระดับชั้นละไม่เกิน 35 คน ผลก็คือ การสอบครั้งนี้มีโรงเรียนขนาดเล็ก 17,900 แห่ง จากกว่า 30,000 แห่ง และเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าโรงเรียนขนาดเล็กจะไม่มีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะอุปกรณ์การเรียนการสอน ครูผู้สอน ซึ่งหากนำไปเปรียบเทียบกับโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมกว่าแต่มีผู้เข้าสอนน้อย ผลคะแนนจึงออกมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2547”
นายสมเกียรติ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้ สพฐ.เคยวิเคราะห์การศึกษา ซึ่งเราได้ทุ่มเทงบประมาณเพิ่มขึ้นจนถึงปัจจุบันมีงบสูงโดยคิดเป็นร้อยละ 4.1 ของรายได้ประชาชาติมวลรวม หรือ จีดีพี แต่ผลคะแนน NT 3 ปีที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นว่า คุณภาพการเรียนการสอนไม่ได้สูงขึ้นแม้ว่ารัฐจะทุ่มงบลงไปจำนวนมาก เมื่อศึกษาในรายละเอียดพบว่าประชากรไทยมีช่องว่างทางรายได้ห่างมาก โดยมีเด็กยากจนถูกเกณฑ์เข้าสู่ชั้นเรียน อีกทั้ง ยังไม่มีการแยกเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาออกจากชั้นเรียนของเด็กปกติ ส่งผลให้คะแนนเฉลี่ย NT ออกมาต่ำ
นายสมเกียรติ กล่าวว่า ผลการสอบครั้งนี้ เราจะส่งให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพท.เพื่อไปศึกษาเป็นรายโรงเรียน โดยจะให้มีการเรียนการสอนของสถานศึกษา เพื่อให้ผลสัมฤทธิทางการเรียนของนักเรียนดีขึ้น นอกจากนี้ ในปีหน้ามีแผนจะปรับวิธีการสอบโดยจะให้นักเรียนสอบกันทุกคน เพราะค่าใช้จ่ายในการสอบไม่สูงมาก เฉลี่ยอยู่ที่ 20 บาทต่อคน และได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กแต่ละคนได้อย่างชัดเจน ซึ่งวิธีนี้น่านำไปสู่การแก้ปัญหาการเรียนของเด็กได้เป็นรายบุคคล ตลอดจนการศึกษาทั้งระบบ
“ขณะนี้เรายังไม่ได้แยกคะแนนเป็นรายภูมิภาค ซึ่งจากการดูผลการสอบพบว่าภาคใต้เด็กได้คะแนนภาษาอาหรับสูง ขณะที่อังกฤษ วิทย์ ไทย ไม่กระเตื้อง ตรงนี้สะท้อนถึงสติปัญญาของเด็กว่าไม่ได้ด้อย ดังนั้น จะต้องมาหาวิธีให้เด็กเหล่านี้ได้สนใจวิชาอื่นๆ เพิ่มขึ้น”