1.ใช้ดินสอพองไม่เลือก เสี่ยงเกิดโรค
คนไทยรู้จักใช้ดินสอพองมาตั้งแต่โบราณ ทั้งใช้ผสมน้ำอบ น้ำปรุง เพื่อประพรมร่างกายให้เย็นสบายคลายร้อน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่คนนิยมเล่นแป้งและดินสอพองผสมสี แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าดินสอพองที่ใช้วัตถุดิบ และกรรมวิธีที่ไม่ถูกต้องจะก่อให้เกิดภัยอะไรบ้าง
นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ข้อมูลว่า หากใช้ดินสอพองที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรคอย่างถูกสุขลักษณะ จะทำให้ให้ผู้ใช้เสี่ยงที่จะได้รับเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในดินสอพองเข้าสู่ร่างกายทั้งทางตา ปาก บาดแผล หรือสิว เช่น จุลินทรีย์คลอสตริเดียมสปอร์โรจีเนส และคลอสตริเดียมเพอร์ฟริงเจนส์
ทั้งนี้ หากเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลจะทำให้แผลเน่า ถ้าเข้าสู่ร่างกายทางปากอาจทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ มีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องร่วงภายใน 8-22 ชั่วโมง หรือเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด และที่อันตรายยิ่งกว่าคือดินสอพองที่ผสมสีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น สีทาบ้าน เป็นต้น
ด้านนางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เสริมว่า ขณะนี้หน่วยงานภาครัฐได้ออกประกาศห้ามตั้งโต๊ะหรือเร่ขายดินสอพองและปืนฉีดน้ำแรงดันสูงบนทางเท้าทุกกรณี ซึ่งหากผู้ประกอบการฝ่าฝืนจะมีโทษตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด ซึ่งปรับไม่เกิน 2,000 บาท
สำหรับคำแนะนำในเลือกใช้คือ ถ้าต้องการใช้ทาหน้าและทาตัว ควรเลือกซื้อดินสอพองที่มีฉลากกำกับว่า เหมาะสมต่อการใช้ทาร่างกาย หรือดูจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ เช่น เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ถ้าไม่มั่นใจในสินค้าที่ซื้อมา สามารถทดสอบได้โดยนำมาผ่านความร้อนด้วยวิธีการสะตุดินสอพอง คือ ใส่ดินสอพองลงในหม้อดิน ปิดฝาและนำไปตั้งไฟจนดินสอพองสุก หรือนำดินสอพองมาละลายน้ำสะอาดแล้วกรอง จากนั้นนำไปผ่านความร้อนโดยการต้มและอบแห้ง ก่อนนำไปใช้

2.ยางดี คนปลอดภัย
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ใกล้จะถึงนี้ บางคนอาจจะวางแผนไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ดังนั้นการเดินทางด้วยรถยนต์ควรใส่ใจและหมั่นตรวจเช็ครถยนต์ว่าอยู่ในสภาพใช้งานได้หรือไม่ หากชำรุดควรเปลี่ยนอะไหล่ และสิ่งสำคัญอีกประการคือ ยางรถยนต์ที่ต้องตรวจสภาพอยู่เสมอว่ายางสึกหรอและรั่วหรือไม่ เพราะยางเป็นเหมือนเกราะป้องกันระหว่างรถยนต์กับพื้นถนน เพื่อความปลอดภัยและประหยัดน้ำมัน
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แนะนำวิธีตรวจสภาพยางว่าควรเปลี่ยนใหม่เมื่อไหร่ว่า สิ่งแรกคือ ต้องสังเกตสะพานยางว่าดอกยางสึกระดับเสมอกับเครื่องหมายรูปสามเหลี่ยมบนสุดของแก้มยางเท่าไหร่ หากสึกระดับประมาณ 1-2 มิลลิเมตรควรเปลี่ยนยางใหม่ทันที ต่อมาควรดูดอกยางรถยนต์ โดยสังเกตที่ตัวเลขสี่หลักบริเวณแก้มยางสองตัวแรกคือ สัปดาห์ที่ผลิต และสองตัวหลังคือ ปีที่ผลิต เช่น 4102แสดงว่าผลิตเมื่อสัปดาห์ที่ 41 ปี 2002 นอกจากนั้นต้องดูว่าร้านจำหน่ายยางรถยนต์ได้มาตรฐานหรือไม่
3.ยากันแดดดี ร้อนแค่ไหน…ผิวก็สวยได้
แสงแดดเป็นภัยร้ายต่อผิวหนัง ทั้งทำให้เกิดฝ้า กระแดด หรือทำให้ดูแก่ก่อนวัย ช่วงคลื่นที่ทำให้เกิดปัญหามากที่สุดคือ ช่วงคลื่นที่เรียกว่า ultraviolet ซึ่งแบ่งย่อยเป็น UVB (290-320 nm) กับ UVA (320-400 nm) ดังนั้นยากันแดดจึงได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท แนะนำวิธีเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเอาไว้ดังนี้ว่า ผลิตภัณฑ์กันแดดในท้องตลาดมีมากมาย ดังนั้นก่อนที่จะเลือกใช้ควรคำนึงว่าค่า SPF สูง ไม่ได้หมายความว่ายากันแดดนั้นจะกันแสงช่วงคลื่น UVA ได้ แต่ปัจจุบันยากันแดดเกือบทุกยี่ห้อมีสารกันแดดทั้งชนิดเคมีและกายภาพผสมอยู่ด้วยกัน จึงสามารถกันแดดได้ทั้ง 2 ช่วงคลื่น
ส่วนยากันแดดที่มีค่า SPF น้อยกว่า12 สามารถกันแสงแดดได้บ้างและลดอาการเกรียมจากแดด แต่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการรักษาฝ้า กระ หรือป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนัง ยากันแดดที่มี ประสิทธิภาพต้องมีค่า SPF อย่างน้อย 15 แต่ไม่จำเป็นต้องเกิน 30 เพราะอาจเสี่ยงต่อการแพ้ยาและมีราคาแพงโดยไม่จำเป็น
หากทำงานในสำนักงานใช้ SPF 15 ก็เพียงพอ แต่ถ้าไปเที่ยวทะเล หรือเล่นกีฬากลางแจ้ง อาจต้องใช้สูงกว่านั้น สำหรับ SPF ที่สูงเกินกว่า 30 โดยทั่วไปใช้กับผู้ที่ต้องทำงานกลางแดดจัดเป็นประจำ หรือผู้ป่วยบางโรคที่แพ้แสงแดดมาก เช่น SLE
แต่วิธีที่จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดคือต้องหลีกเลี่ยงการออกแดดช่วง 9.30-16.00 น. สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวที่ทำจากเนื้อผ้าที่เหมาะสม สวมหมวก ใส่แว่นกันแดด และกางร่มป้องกัน
คนไทยรู้จักใช้ดินสอพองมาตั้งแต่โบราณ ทั้งใช้ผสมน้ำอบ น้ำปรุง เพื่อประพรมร่างกายให้เย็นสบายคลายร้อน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่คนนิยมเล่นแป้งและดินสอพองผสมสี แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าดินสอพองที่ใช้วัตถุดิบ และกรรมวิธีที่ไม่ถูกต้องจะก่อให้เกิดภัยอะไรบ้าง
นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ข้อมูลว่า หากใช้ดินสอพองที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรคอย่างถูกสุขลักษณะ จะทำให้ให้ผู้ใช้เสี่ยงที่จะได้รับเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในดินสอพองเข้าสู่ร่างกายทั้งทางตา ปาก บาดแผล หรือสิว เช่น จุลินทรีย์คลอสตริเดียมสปอร์โรจีเนส และคลอสตริเดียมเพอร์ฟริงเจนส์
ทั้งนี้ หากเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลจะทำให้แผลเน่า ถ้าเข้าสู่ร่างกายทางปากอาจทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ มีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องร่วงภายใน 8-22 ชั่วโมง หรือเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด และที่อันตรายยิ่งกว่าคือดินสอพองที่ผสมสีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น สีทาบ้าน เป็นต้น
ด้านนางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เสริมว่า ขณะนี้หน่วยงานภาครัฐได้ออกประกาศห้ามตั้งโต๊ะหรือเร่ขายดินสอพองและปืนฉีดน้ำแรงดันสูงบนทางเท้าทุกกรณี ซึ่งหากผู้ประกอบการฝ่าฝืนจะมีโทษตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด ซึ่งปรับไม่เกิน 2,000 บาท
สำหรับคำแนะนำในเลือกใช้คือ ถ้าต้องการใช้ทาหน้าและทาตัว ควรเลือกซื้อดินสอพองที่มีฉลากกำกับว่า เหมาะสมต่อการใช้ทาร่างกาย หรือดูจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ เช่น เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ถ้าไม่มั่นใจในสินค้าที่ซื้อมา สามารถทดสอบได้โดยนำมาผ่านความร้อนด้วยวิธีการสะตุดินสอพอง คือ ใส่ดินสอพองลงในหม้อดิน ปิดฝาและนำไปตั้งไฟจนดินสอพองสุก หรือนำดินสอพองมาละลายน้ำสะอาดแล้วกรอง จากนั้นนำไปผ่านความร้อนโดยการต้มและอบแห้ง ก่อนนำไปใช้
2.ยางดี คนปลอดภัย
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ใกล้จะถึงนี้ บางคนอาจจะวางแผนไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ดังนั้นการเดินทางด้วยรถยนต์ควรใส่ใจและหมั่นตรวจเช็ครถยนต์ว่าอยู่ในสภาพใช้งานได้หรือไม่ หากชำรุดควรเปลี่ยนอะไหล่ และสิ่งสำคัญอีกประการคือ ยางรถยนต์ที่ต้องตรวจสภาพอยู่เสมอว่ายางสึกหรอและรั่วหรือไม่ เพราะยางเป็นเหมือนเกราะป้องกันระหว่างรถยนต์กับพื้นถนน เพื่อความปลอดภัยและประหยัดน้ำมัน
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แนะนำวิธีตรวจสภาพยางว่าควรเปลี่ยนใหม่เมื่อไหร่ว่า สิ่งแรกคือ ต้องสังเกตสะพานยางว่าดอกยางสึกระดับเสมอกับเครื่องหมายรูปสามเหลี่ยมบนสุดของแก้มยางเท่าไหร่ หากสึกระดับประมาณ 1-2 มิลลิเมตรควรเปลี่ยนยางใหม่ทันที ต่อมาควรดูดอกยางรถยนต์ โดยสังเกตที่ตัวเลขสี่หลักบริเวณแก้มยางสองตัวแรกคือ สัปดาห์ที่ผลิต และสองตัวหลังคือ ปีที่ผลิต เช่น 4102แสดงว่าผลิตเมื่อสัปดาห์ที่ 41 ปี 2002 นอกจากนั้นต้องดูว่าร้านจำหน่ายยางรถยนต์ได้มาตรฐานหรือไม่
3.ยากันแดดดี ร้อนแค่ไหน…ผิวก็สวยได้
แสงแดดเป็นภัยร้ายต่อผิวหนัง ทั้งทำให้เกิดฝ้า กระแดด หรือทำให้ดูแก่ก่อนวัย ช่วงคลื่นที่ทำให้เกิดปัญหามากที่สุดคือ ช่วงคลื่นที่เรียกว่า ultraviolet ซึ่งแบ่งย่อยเป็น UVB (290-320 nm) กับ UVA (320-400 nm) ดังนั้นยากันแดดจึงได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท แนะนำวิธีเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเอาไว้ดังนี้ว่า ผลิตภัณฑ์กันแดดในท้องตลาดมีมากมาย ดังนั้นก่อนที่จะเลือกใช้ควรคำนึงว่าค่า SPF สูง ไม่ได้หมายความว่ายากันแดดนั้นจะกันแสงช่วงคลื่น UVA ได้ แต่ปัจจุบันยากันแดดเกือบทุกยี่ห้อมีสารกันแดดทั้งชนิดเคมีและกายภาพผสมอยู่ด้วยกัน จึงสามารถกันแดดได้ทั้ง 2 ช่วงคลื่น
ส่วนยากันแดดที่มีค่า SPF น้อยกว่า12 สามารถกันแสงแดดได้บ้างและลดอาการเกรียมจากแดด แต่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการรักษาฝ้า กระ หรือป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนัง ยากันแดดที่มี ประสิทธิภาพต้องมีค่า SPF อย่างน้อย 15 แต่ไม่จำเป็นต้องเกิน 30 เพราะอาจเสี่ยงต่อการแพ้ยาและมีราคาแพงโดยไม่จำเป็น
หากทำงานในสำนักงานใช้ SPF 15 ก็เพียงพอ แต่ถ้าไปเที่ยวทะเล หรือเล่นกีฬากลางแจ้ง อาจต้องใช้สูงกว่านั้น สำหรับ SPF ที่สูงเกินกว่า 30 โดยทั่วไปใช้กับผู้ที่ต้องทำงานกลางแดดจัดเป็นประจำ หรือผู้ป่วยบางโรคที่แพ้แสงแดดมาก เช่น SLE
แต่วิธีที่จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดคือต้องหลีกเลี่ยงการออกแดดช่วง 9.30-16.00 น. สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวที่ทำจากเนื้อผ้าที่เหมาะสม สวมหมวก ใส่แว่นกันแดด และกางร่มป้องกัน