“อย.” ประกาศเพิ่มเครื่องสำอางอีก 24 ยี่ห้อ มีสารอันตรายทำสาวหน้าพัง แนะผู้บริโภคและร้านค้าซื้อเครื่องสำอางจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน มีฉลากภาษาไทยที่ให้รายละเอียดชัดเจนเกี่ยวกับชื่อยี่ห้อ ผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่าย ส่วนประกอบ วิธีใช้ และมีหลักฐานซื้อขายชัดเจน
ภก.วัฒนา อัครเอกฒาลิน ผู้อำนวยการสำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต่างๆ ได้แก่ อุบลราชธานี นครพนม พิษณุโลก สตูล และอุตรดิตถ์ ได้ออกเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตามแหล่งจำหน่าย เช่น ร้านค้า แผงลอย ด่าน ศุลกากร ส่งตรวจวิเคราะห์หาสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ซึ่งในปีงบประมาณ 2550 นี้ อย.ได้ประกาศผลการตรวจสอบหรือวิเคราะห์เครื่องสำอางที่พบสารห้ามใช้ไปแล้ว รวม 57 ยี่ห้อ และในครั้งนี้ได้ตรวจพบเครื่องสำอางมีสารห้ามใช้เพิ่มอีก 24 ยี่ห้อ โดยมีรายชื่อผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ครีม Qian Mei กล่องสีเขียว มีรูปโสม ฉลากภาษาจีน ใน 1 กล่อง ประกอบด้วยครีมสี-เหลือง และครีมสีขาว (2) ครีม CTA กล่องสีขาวคาดส้ม มีรูปโสมมี ต้นใบและดอก ฉลากภาษาจีน ใน 1 กล่อง ประกอบด้วยครีมสีเหลือง (กลางคืน) และครีมสี ขาว (กลางวัน) (3) ครีม FAYLACIS ไวท์เทนนิ่ง ครีม ใน 1 กล่อง ประกอบด้วยครีมสี เหลือง ฝาสีส้ม และครีมสีครีม ฝาสีชมพู (4) ครีมสมุนไพรทานาคา สูตรดีท็อกส์ (5) CHIN CHUN SU FACE CREAM (6) ครีมบำรุงหน้าขาวและปรับสภาพผิวหน้า คิว-ทู ใน 1 กล่อง ประกอบด้วยครีมแก้ฝ้า และครีมกันแดด (7) มิสเดย์ ครีมแก้ ฝ้า แก้สิว ใน 1 กล่อง ประกอบด้วยครีมแก้ฝ้าและครีมแก้สิว (8) ครีมมาญาวี 3 Mikomuszuree (9) ครีมมาญาวี 4 Mikomuszuree (10) ครีมมิโกะมัสซูหรี อาลฟ่า
(11) ของเหลวสีขาวขุ่น บรรจุในถุงพลาสติกใส (12) ครีมมิโกะไลท์ 3 Mikomuszuree (13) โลชั่นสมุนไพรป้องกันแสงแดด แพน-วี (14) ครีมสิวฝ้า สมุนไพร แพน-วี (15) ครีมสมุนไพรว่านนาง-พญาหน้าขาว (16) ครีมแก้ฝ้า Q2 คิวทู (17) โลชั่นวินเซิร์ฟ (18) ครีมวินเซิร์ฟ (19) PREAME ครีมทาสิว (บรรจุรวมกับ PREAME โลชั่น ป้องกันแสงแดด-ฝ้า ในกล่องกระดาษสีขาว-ชมพู) (20) PREAME โลชั่นป้องกันแสงแดด-ฝ้า (บรรจุรวมกับ PREAME ครีมทาสิว ในกล่องกระดาษสีขาว-ชมพู) (21) PREAME โลชั่นป้องกันแสงแดด (บรรจุรวมกับ PREAME ครีมลดริ้วรอย ในกล่องกระดาษสีชมพู-ดำ) (22) PREAME ครีมลดริ้วรอย (บรรจุรวมกับ PREAME โลชั่นป้องกันแสงแดด ในกล่องกระดาษสีชมพู-ดำ) (23) คิวแคร์ ครีมประทินผิว สูตรขมิ้น (24) คิวแคร์ ลดรอยดำ
ทั้งนี้ อย.ขอเตือนผู้บริโภคอย่าซื้อเครื่องสำอางยี่ห้อดังกล่าวมาใช้อย่างเด็ดขาด เพราะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารห้ามใช้ ได้แก่ ไฮโดรควิโนน ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้เกิดอาการระคาย เคือง เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำเป็นฝ้าถาวร รักษาไม่หาย กรดเรทิโนอิกหรือกรดวิตามินเอ อาจทำให้เกิดอาการหน้าแดงแสบร้อนรุนแรง เกิดการอักเสบ ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ สารประกอบของปรอทหรือปรอทแอมโมเนีย อาจทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะและไตอักเสบ เบตาเมทาโซน อาจทำให้ผิวหนังบางลง ผิวหนังแตก และไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ เป็นสิว ติดเชื้อหน้าแดง ถ้าผู้บริโภคพบเห็นการผลิต หรือขายที่ใดโปรดแจ้งที่สายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ
ผู้อำนวยการสำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย ให้ข้อสังเกตว่าเครื่องสำอางที่พบสารอันตรายมักให้รายละเอียดบนฉลากไม่ครบถ้วน เช่น ไม่ระบุแหล่งผลิต ครั้งที่ผลิตและวันเดือนปีที่ผลิต การเลือกซื้อจึงควรระมัดระวัง และควรสังเกตฉลากเป็นลำดับแรก ซึ่งฉลากที่ถูกต้องจะต้องเป็นฉลากภาษาไทย มีข้อความบังคับครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและประเภท ผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบสำคัญ วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต และปริมาณ สุทธิ นอกจากนี้ ควรเลือกซื้อจากบริษัทที่น่าเชื่อถือ ไม่ควรซื้อเพราะคำโฆษณา
สำหรับร้านค้าที่ซื้อเครื่องสำอางมาจำหน่าย ขอให้ซื้อจากผู้ที่มีหลักแหล่งน่าเชื่อถือ และมีหลักฐานการซื้อขายที่ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ขายอย่างชัดเจน หากเจ้าหน้าที่ อย.ไปตรวจและผู้ขายไม่สามารถนำหลักฐานการซื้อขายมาแสดงได้ ผู้ขายจะต้องมีความผิดเช่นเดียวกับผู้ผลิต ส่วนบทกำหนดโทษ ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้นำเข้าเพื่อขาย และผู้ขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยจะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีของผู้ขายหากรู้ต้นตอแหล่งผลิตให้แจ้งทางราชการทราบโดยด่วน เพื่อจะได้ดำเนินการกวาดล้างเครื่องสำอางอันตรายให้หมดไป
ภก.วัฒนา อัครเอกฒาลิน ผู้อำนวยการสำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต่างๆ ได้แก่ อุบลราชธานี นครพนม พิษณุโลก สตูล และอุตรดิตถ์ ได้ออกเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตามแหล่งจำหน่าย เช่น ร้านค้า แผงลอย ด่าน ศุลกากร ส่งตรวจวิเคราะห์หาสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ซึ่งในปีงบประมาณ 2550 นี้ อย.ได้ประกาศผลการตรวจสอบหรือวิเคราะห์เครื่องสำอางที่พบสารห้ามใช้ไปแล้ว รวม 57 ยี่ห้อ และในครั้งนี้ได้ตรวจพบเครื่องสำอางมีสารห้ามใช้เพิ่มอีก 24 ยี่ห้อ โดยมีรายชื่อผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ครีม Qian Mei กล่องสีเขียว มีรูปโสม ฉลากภาษาจีน ใน 1 กล่อง ประกอบด้วยครีมสี-เหลือง และครีมสีขาว (2) ครีม CTA กล่องสีขาวคาดส้ม มีรูปโสมมี ต้นใบและดอก ฉลากภาษาจีน ใน 1 กล่อง ประกอบด้วยครีมสีเหลือง (กลางคืน) และครีมสี ขาว (กลางวัน) (3) ครีม FAYLACIS ไวท์เทนนิ่ง ครีม ใน 1 กล่อง ประกอบด้วยครีมสี เหลือง ฝาสีส้ม และครีมสีครีม ฝาสีชมพู (4) ครีมสมุนไพรทานาคา สูตรดีท็อกส์ (5) CHIN CHUN SU FACE CREAM (6) ครีมบำรุงหน้าขาวและปรับสภาพผิวหน้า คิว-ทู ใน 1 กล่อง ประกอบด้วยครีมแก้ฝ้า และครีมกันแดด (7) มิสเดย์ ครีมแก้ ฝ้า แก้สิว ใน 1 กล่อง ประกอบด้วยครีมแก้ฝ้าและครีมแก้สิว (8) ครีมมาญาวี 3 Mikomuszuree (9) ครีมมาญาวี 4 Mikomuszuree (10) ครีมมิโกะมัสซูหรี อาลฟ่า
(11) ของเหลวสีขาวขุ่น บรรจุในถุงพลาสติกใส (12) ครีมมิโกะไลท์ 3 Mikomuszuree (13) โลชั่นสมุนไพรป้องกันแสงแดด แพน-วี (14) ครีมสิวฝ้า สมุนไพร แพน-วี (15) ครีมสมุนไพรว่านนาง-พญาหน้าขาว (16) ครีมแก้ฝ้า Q2 คิวทู (17) โลชั่นวินเซิร์ฟ (18) ครีมวินเซิร์ฟ (19) PREAME ครีมทาสิว (บรรจุรวมกับ PREAME โลชั่น ป้องกันแสงแดด-ฝ้า ในกล่องกระดาษสีขาว-ชมพู) (20) PREAME โลชั่นป้องกันแสงแดด-ฝ้า (บรรจุรวมกับ PREAME ครีมทาสิว ในกล่องกระดาษสีขาว-ชมพู) (21) PREAME โลชั่นป้องกันแสงแดด (บรรจุรวมกับ PREAME ครีมลดริ้วรอย ในกล่องกระดาษสีชมพู-ดำ) (22) PREAME ครีมลดริ้วรอย (บรรจุรวมกับ PREAME โลชั่นป้องกันแสงแดด ในกล่องกระดาษสีชมพู-ดำ) (23) คิวแคร์ ครีมประทินผิว สูตรขมิ้น (24) คิวแคร์ ลดรอยดำ
ทั้งนี้ อย.ขอเตือนผู้บริโภคอย่าซื้อเครื่องสำอางยี่ห้อดังกล่าวมาใช้อย่างเด็ดขาด เพราะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารห้ามใช้ ได้แก่ ไฮโดรควิโนน ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้เกิดอาการระคาย เคือง เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำเป็นฝ้าถาวร รักษาไม่หาย กรดเรทิโนอิกหรือกรดวิตามินเอ อาจทำให้เกิดอาการหน้าแดงแสบร้อนรุนแรง เกิดการอักเสบ ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ สารประกอบของปรอทหรือปรอทแอมโมเนีย อาจทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะและไตอักเสบ เบตาเมทาโซน อาจทำให้ผิวหนังบางลง ผิวหนังแตก และไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ เป็นสิว ติดเชื้อหน้าแดง ถ้าผู้บริโภคพบเห็นการผลิต หรือขายที่ใดโปรดแจ้งที่สายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ
ผู้อำนวยการสำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย ให้ข้อสังเกตว่าเครื่องสำอางที่พบสารอันตรายมักให้รายละเอียดบนฉลากไม่ครบถ้วน เช่น ไม่ระบุแหล่งผลิต ครั้งที่ผลิตและวันเดือนปีที่ผลิต การเลือกซื้อจึงควรระมัดระวัง และควรสังเกตฉลากเป็นลำดับแรก ซึ่งฉลากที่ถูกต้องจะต้องเป็นฉลากภาษาไทย มีข้อความบังคับครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและประเภท ผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบสำคัญ วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต และปริมาณ สุทธิ นอกจากนี้ ควรเลือกซื้อจากบริษัทที่น่าเชื่อถือ ไม่ควรซื้อเพราะคำโฆษณา
สำหรับร้านค้าที่ซื้อเครื่องสำอางมาจำหน่าย ขอให้ซื้อจากผู้ที่มีหลักแหล่งน่าเชื่อถือ และมีหลักฐานการซื้อขายที่ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ขายอย่างชัดเจน หากเจ้าหน้าที่ อย.ไปตรวจและผู้ขายไม่สามารถนำหลักฐานการซื้อขายมาแสดงได้ ผู้ขายจะต้องมีความผิดเช่นเดียวกับผู้ผลิต ส่วนบทกำหนดโทษ ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้นำเข้าเพื่อขาย และผู้ขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยจะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีของผู้ขายหากรู้ต้นตอแหล่งผลิตให้แจ้งทางราชการทราบโดยด่วน เพื่อจะได้ดำเนินการกวาดล้างเครื่องสำอางอันตรายให้หมดไป