หากเอ่ยถึงมะเร็ง แทบทุกคนย่อมนึกไปถึงโรคร้ายแรงที่ยากต่อการรักษา แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีมะเร็งบางชนิดที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถรักษาให้หายได้ หากอาการป่วยนั้นอยู่ในระยะที่ไม่สาหัสจนเกินไป และอีกทั้งที่หลายคนไม่รู้ก็คือ สามารถป้องกันได้ด้วยตนเองโดยวิธีง่ายๆ หนึ่งในนั้นก็คือ “มะเร็งลำไส้” ที่ในทุกวันนี้ได้มีอัตราการป่วยเพิ่มขึ้นถึงปีละ 1,000 คน

พ.อ.นพ.ปริญญา ทวีชัยการ ประธานชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งลำไส้ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ว่า ใน 1 ปี มีชาวอเมริกันเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวถึง 50,000 คน และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2ของอเมริกันชนอีกด้วย ขณะที่ในเมืองไทยนั้น มะเร็งลำไส้ถูกพบเป็นอันดับ 5 ในผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด และในระยะหลังจากประสบการณ์ส่วนตัวพบว่า ผู้ป่วยจำนวนมากเป็นคนแถบภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร
สำหรับสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่ประการแรก คือ กรรมพันธุ์ที่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการทำรูปแบบชีวิตให้แข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรค แต่ก็มีผู้ป่วยไม่น้อยที่ไม่มีประวัติด้านกรรมพันธุ์ แต่ก็ป่วยด้วยโรคนี้ ซึ่งนั่นเป็นเพราะส่วนหนึ่งใช้ชีวิตที่มีไลฟ์สไตล์แบบผิดๆ เช่น ไม่ออกกำลังกาย ทำงานหนัก ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เครียด รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ (เส้นใยอาหาร) น้อย หรือไม่กินอาหารที่มีไฟเบอร์เลย เป็นต้น
“ต้องบอกว่าหากย้อนหลังกลับประมาณ 50–60 ปี คิดว่าผู้ป่วยโรคนี้ในเมืองไทยน่าจะน้อย เพราะไลฟ์สไตล์คนไทยในยุคนั้นเรานิยมกินผักเป็นพื้นฐาน เรียกได้ว่าไม่ว่ามื้อไหนก็จะต้องมีผักขึ้นโต๊ะ และจริงๆ แล้วมะเร็งลำไส้นี้เป็นโรคของคนตะวันตก เพราะไลฟ์สไตล์ของเขาเป็นพวกกินเนื้อ เพราะสำหรับเมืองหนาวนี่ผักแพงกว่าเนื้อ เขาก็เลยไม่ค่อยได้กินผัก แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือวัฒนธรรมการกินของคนไทยในยุคปัจจุบันที่นิยมกินเนื้อสัตว์มากกว่ากินผัก ซึ่งตรงนี้อันตรายมาก”
พ.อ.นพ.ปริญญา กล่าวต่อไปว่า ความน่ากลัวที่สามารถเรียกได้ว่าเป็น “ภัยเงียบ” ของโรคนี้ ก็เพราะในระยะแรกๆ ของการป่วย ผู้ป่วยจะไม่สามารถทราบได้เลยว่าตนเองกำลังถูกมะเร็งร้ายคุกคามอยู่ เพราะแทบจะไม่มีอาการใดๆ บ่งบอกทั้งสิ้น
“คืออาการแรกๆ ของมะเร็งลำไส้ก็จะมีเพียงอึดอัด แน่นท้อง น้ำหนักลด อุจจาระมีเลือดปน ซึ่งบ่อยครั้งจะถูกคิดว่าเป็นริดสีดวง และอาการอุจจาระลำเล็กลง เพราะระยะเริ่มต้นของโรคนี้จะไม่ได้เกิดตูมเดียวแล้วเป็นเซลล์มะเร็ง แต่มันจะเกิดเป็นเนื้องอกก่อน ซึ่งหากเราพบมันก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง ก็จะทำเพียงตัดมันออกด้วยการส่องกล้อง ซึ่งเป็นการผ่าที่สะดวกมาก แถมคนไข้ก็แทบจะไม่เจ็บปวดเลย เพราะส่วนนั้นจะเป็นส่วนที่ไม่มีเส้นประสาท เมื่อตัดเสร็จ 6 ชม.พักฟื้น จากนั้นก็ขับรถกลับบ้านเองได้ แต่การที่คนเราจะสังเกตได้ในระยะแรกนั้นค่อนข้างทำได้ยาก เท่าที่เห็นคืออาการเพียบแล้วถึงจะหามมาหาหมอ”
“ในเรื่องของการสังเกตลำอุจจาระนั้น ก็เพราะการมีติ่งหรือก้อนเนื้อขึ้นมานั้นจะทำให้ทางออกของอุจจาระแคบลง ซึ่งจะบีบอุจจาระให้เล็กลง ซึ่งหากเจ้าตัวพบความผิดปกติตรงนี้ก็สามารถมาตรวจได้เป็นการป้องกันไว้เบื้องต้น แต่ถ้ามาในระยะที่เป็นมะเร็งแล้วโอกาสมีชีวิตอยู่ของคนไข้ก็จะลดทอนลงตามส่วน ซึ่งในเรื่องของการรักษาก็จะมีตั้งแต่การตัดเนื้อร้ายทิ้ง ให้เคมีบำบัด และฉายแสง ตามระยะความร้ายแรง และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง”
พ.อ.นพ.ปริญญา บอกว่า การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การใช้ชีวิตอย่างมีภูมิต้านทานแบบง่ายๆ คือการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดื่มน้ำมากๆ ประมาณ 2.5-3 ลิตรต่อวัน และกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูง หรืออาจจะเสริมด้วยคอร์นเฟลกต์ตอนเช้า หรือไฟเบอร์แบบผงละลายน้ำ ซึ่งดีกว่าแบบเม็ดที่อาจจะมีโอกาสอุดตันทางเดินอาหารได้
“ที่สำคัญที่สุด คือ การตรวจร่างกาย อันนี้สำคัญมาก เพียงแต่ตรวจร่างกายประจำปีตั้งแต่อายุ 30 ปี ส่วนมะเร็งลำไส้ควรตรวจตอนอายุ 50 ปี เพื่อที่เมื่อหากมีอาการแล้วจะได้รักษาได้ทันท่วงที ผมพยายามเป็นอย่างมากที่จะรณรงค์ให้ประชาชนได้รับรู้ถึงหนทางป้องกัน และทางรักษาโรคนี้ โดยเฉพาะการตรวจร่างกาย การเช็คสุขภาพ ที่จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันและรับมือแต่เนิ่นๆ หากเกิดตรวจพบว่าป่วย”
พ.อ.นพ.ปริญญาได้ทิ้งท้ายเรื่องของการทำดีท็อกซ์หรือการสวนล้างลำไส้ว่า ตามธรรมชาติของร่างกายนั้น มีกลไกการขับกากของเสียคืออุจจาระอยู่แล้ว ดังนั้นการสวนล้างลำไส้ที่นิยมกันนั้นในความเป็นจริงถือว่าไม่จำเป็นในการดูแลสุขภาพ แถมบางครั้งอาจเกิดอันตรายชนิดคาดไม่ถึงเลยทีเดียว ซึ่งก็เคยเกิดกรณีหญิงสาววัยทำงานถูกหามส่งโรงพยาบาลด้วยอาการปวดท้องขนาดหนัก ซึ่งเมื่อตรวจแล้วจึงพบว่าลำไส้มีสภาพเหมือนถูกลวกด้วยของร้อน เมื่อสอบถามผู้ป่วยจึงทราบว่ามีนิสัยชอบทำดีท็อกซ์ ซึ่งกรณีนี้แพทย์สันนิษฐานว่าเป็นเพราะกาแฟที่ใช้สวนนั้นมีอุณหภูมิสูงเกินไปทำให้เมื่อสวนเข้าไปแล้วทำให้ลวกลำไส้จนต้องตัดลำไส้บางส่วนออกไปเพื่อการรักษา
“ทางที่ดีที่สุด พยายามหัดขับถ่ายให้ปกติ แต่ถ้าทำได้คือควรถ่ายวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น เมื่อฝึกไปได้ระยะหนึ่งแล้วร่างกายจะชินกับการขับถ่ายแบบสองเวลานี้ไปเอง ซึ่งการถ่ายวันละสองครั้งนี้นั้นนอกจากจะเป็นการขับของเสียได้บ่อยขึ้นแล้ว ลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงก็จะรับภาระในการเก็บกากอาหารตกค้างที่เป็นของเสียน้อยลง” พ.อ.นพ.ปริญญาสรุป
พ.อ.นพ.ปริญญา ทวีชัยการ ประธานชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งลำไส้ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ว่า ใน 1 ปี มีชาวอเมริกันเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวถึง 50,000 คน และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2ของอเมริกันชนอีกด้วย ขณะที่ในเมืองไทยนั้น มะเร็งลำไส้ถูกพบเป็นอันดับ 5 ในผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด และในระยะหลังจากประสบการณ์ส่วนตัวพบว่า ผู้ป่วยจำนวนมากเป็นคนแถบภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร
สำหรับสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่ประการแรก คือ กรรมพันธุ์ที่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการทำรูปแบบชีวิตให้แข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรค แต่ก็มีผู้ป่วยไม่น้อยที่ไม่มีประวัติด้านกรรมพันธุ์ แต่ก็ป่วยด้วยโรคนี้ ซึ่งนั่นเป็นเพราะส่วนหนึ่งใช้ชีวิตที่มีไลฟ์สไตล์แบบผิดๆ เช่น ไม่ออกกำลังกาย ทำงานหนัก ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เครียด รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ (เส้นใยอาหาร) น้อย หรือไม่กินอาหารที่มีไฟเบอร์เลย เป็นต้น
“ต้องบอกว่าหากย้อนหลังกลับประมาณ 50–60 ปี คิดว่าผู้ป่วยโรคนี้ในเมืองไทยน่าจะน้อย เพราะไลฟ์สไตล์คนไทยในยุคนั้นเรานิยมกินผักเป็นพื้นฐาน เรียกได้ว่าไม่ว่ามื้อไหนก็จะต้องมีผักขึ้นโต๊ะ และจริงๆ แล้วมะเร็งลำไส้นี้เป็นโรคของคนตะวันตก เพราะไลฟ์สไตล์ของเขาเป็นพวกกินเนื้อ เพราะสำหรับเมืองหนาวนี่ผักแพงกว่าเนื้อ เขาก็เลยไม่ค่อยได้กินผัก แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือวัฒนธรรมการกินของคนไทยในยุคปัจจุบันที่นิยมกินเนื้อสัตว์มากกว่ากินผัก ซึ่งตรงนี้อันตรายมาก”
พ.อ.นพ.ปริญญา กล่าวต่อไปว่า ความน่ากลัวที่สามารถเรียกได้ว่าเป็น “ภัยเงียบ” ของโรคนี้ ก็เพราะในระยะแรกๆ ของการป่วย ผู้ป่วยจะไม่สามารถทราบได้เลยว่าตนเองกำลังถูกมะเร็งร้ายคุกคามอยู่ เพราะแทบจะไม่มีอาการใดๆ บ่งบอกทั้งสิ้น
“คืออาการแรกๆ ของมะเร็งลำไส้ก็จะมีเพียงอึดอัด แน่นท้อง น้ำหนักลด อุจจาระมีเลือดปน ซึ่งบ่อยครั้งจะถูกคิดว่าเป็นริดสีดวง และอาการอุจจาระลำเล็กลง เพราะระยะเริ่มต้นของโรคนี้จะไม่ได้เกิดตูมเดียวแล้วเป็นเซลล์มะเร็ง แต่มันจะเกิดเป็นเนื้องอกก่อน ซึ่งหากเราพบมันก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง ก็จะทำเพียงตัดมันออกด้วยการส่องกล้อง ซึ่งเป็นการผ่าที่สะดวกมาก แถมคนไข้ก็แทบจะไม่เจ็บปวดเลย เพราะส่วนนั้นจะเป็นส่วนที่ไม่มีเส้นประสาท เมื่อตัดเสร็จ 6 ชม.พักฟื้น จากนั้นก็ขับรถกลับบ้านเองได้ แต่การที่คนเราจะสังเกตได้ในระยะแรกนั้นค่อนข้างทำได้ยาก เท่าที่เห็นคืออาการเพียบแล้วถึงจะหามมาหาหมอ”
“ในเรื่องของการสังเกตลำอุจจาระนั้น ก็เพราะการมีติ่งหรือก้อนเนื้อขึ้นมานั้นจะทำให้ทางออกของอุจจาระแคบลง ซึ่งจะบีบอุจจาระให้เล็กลง ซึ่งหากเจ้าตัวพบความผิดปกติตรงนี้ก็สามารถมาตรวจได้เป็นการป้องกันไว้เบื้องต้น แต่ถ้ามาในระยะที่เป็นมะเร็งแล้วโอกาสมีชีวิตอยู่ของคนไข้ก็จะลดทอนลงตามส่วน ซึ่งในเรื่องของการรักษาก็จะมีตั้งแต่การตัดเนื้อร้ายทิ้ง ให้เคมีบำบัด และฉายแสง ตามระยะความร้ายแรง และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง”
พ.อ.นพ.ปริญญา บอกว่า การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การใช้ชีวิตอย่างมีภูมิต้านทานแบบง่ายๆ คือการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดื่มน้ำมากๆ ประมาณ 2.5-3 ลิตรต่อวัน และกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูง หรืออาจจะเสริมด้วยคอร์นเฟลกต์ตอนเช้า หรือไฟเบอร์แบบผงละลายน้ำ ซึ่งดีกว่าแบบเม็ดที่อาจจะมีโอกาสอุดตันทางเดินอาหารได้
“ที่สำคัญที่สุด คือ การตรวจร่างกาย อันนี้สำคัญมาก เพียงแต่ตรวจร่างกายประจำปีตั้งแต่อายุ 30 ปี ส่วนมะเร็งลำไส้ควรตรวจตอนอายุ 50 ปี เพื่อที่เมื่อหากมีอาการแล้วจะได้รักษาได้ทันท่วงที ผมพยายามเป็นอย่างมากที่จะรณรงค์ให้ประชาชนได้รับรู้ถึงหนทางป้องกัน และทางรักษาโรคนี้ โดยเฉพาะการตรวจร่างกาย การเช็คสุขภาพ ที่จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันและรับมือแต่เนิ่นๆ หากเกิดตรวจพบว่าป่วย”
พ.อ.นพ.ปริญญาได้ทิ้งท้ายเรื่องของการทำดีท็อกซ์หรือการสวนล้างลำไส้ว่า ตามธรรมชาติของร่างกายนั้น มีกลไกการขับกากของเสียคืออุจจาระอยู่แล้ว ดังนั้นการสวนล้างลำไส้ที่นิยมกันนั้นในความเป็นจริงถือว่าไม่จำเป็นในการดูแลสุขภาพ แถมบางครั้งอาจเกิดอันตรายชนิดคาดไม่ถึงเลยทีเดียว ซึ่งก็เคยเกิดกรณีหญิงสาววัยทำงานถูกหามส่งโรงพยาบาลด้วยอาการปวดท้องขนาดหนัก ซึ่งเมื่อตรวจแล้วจึงพบว่าลำไส้มีสภาพเหมือนถูกลวกด้วยของร้อน เมื่อสอบถามผู้ป่วยจึงทราบว่ามีนิสัยชอบทำดีท็อกซ์ ซึ่งกรณีนี้แพทย์สันนิษฐานว่าเป็นเพราะกาแฟที่ใช้สวนนั้นมีอุณหภูมิสูงเกินไปทำให้เมื่อสวนเข้าไปแล้วทำให้ลวกลำไส้จนต้องตัดลำไส้บางส่วนออกไปเพื่อการรักษา
“ทางที่ดีที่สุด พยายามหัดขับถ่ายให้ปกติ แต่ถ้าทำได้คือควรถ่ายวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น เมื่อฝึกไปได้ระยะหนึ่งแล้วร่างกายจะชินกับการขับถ่ายแบบสองเวลานี้ไปเอง ซึ่งการถ่ายวันละสองครั้งนี้นั้นนอกจากจะเป็นการขับของเสียได้บ่อยขึ้นแล้ว ลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงก็จะรับภาระในการเก็บกากอาหารตกค้างที่เป็นของเสียน้อยลง” พ.อ.นพ.ปริญญาสรุป