คอลัมน์...มหัศจรรย์แพทย์แผนจีนทุยหนา
โดย...หมอหลินตันเฉียน
ในช่วงนี้ คงไม่มี Talk of the Town เรื่องใดที่สร้างความสนใจให้กับสังคมมากเท่ากับเรื่องราวของ “นพ.ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์” เจ้าของสถาบันกวดวิชาชื่อดัง “แอพพลายส์ฟิสิกส์” ที่ถูกส่งเข้าไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีธัญญาด้วยอาการโรคจิตชนิดหวาดระแวง

แม้ขณะนี้จะยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เบื้องหน้าเบื้องหลังของเรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะอะไรและจะจบลงอย่างไร แต่คุณูปการประการหนึ่งของเรื่องที่เกิดขึ้นก็คือ ทำให้ผู้คนในสังคมได้รับรู้เรื่องราวของปัญหาทางจิตที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยว่า สถานการณ์โดยรวมเป็นอย่างไร มีความน่าเป็นห่วงตรงไหนบ้าง รวมทั้งรับทราบถึงข้อสังเกตของผู้ที่มีอาการทางจิตเพื่อที่จะได้เตรียมเนื้อเตรียมตัวและเตรียมใจรักษาเสียแต่เนิ่นๆ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเติมเต็มข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวกับปัญหาทางจิต วันนี้ เราคงต้องมาขยายความกันด้วยองค์ความรู้จากศาสตร์การแพทย์แผนจีน ด้วยองค์ความรู้จากการนวดทุยหนา เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “โรคประสาทอ่อน” ที่คนทั่วไปมักไม่ให้ความสนใจและไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำไปว่าเป็นโรคนี้
โรคประสาทอ่อน เป็นโรคที่มีสาเหตุได้จากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเหตุเพราะได้รับการกระตุ้นทางด้านประสาท เช่น ใช้สมองมากเกินไป ไม่สบายใจ จิตใจไม่ปลอดโปร่ง หรือบางรายอาจมีผลเชื่อมโยงมาจากการเจ็บไข้ได้ป่วย กล่าวคือในระยะหลังฟื้นไข้เมื่อร่างกายอ่อนแอก็อาจเป็นเหตุให้การทำงานของสมองตื่นตัวตลอดเวลา หรือในทางตรงกันข้ามแทนที่สมองจะตื่นตัวก็อาจตกอยู่ในสภาพเก็บกดก็เป็นได้
ที่สำคัญคือโรคประสาทอ่อนเป็นโรคที่สามารถเกิดและพบได้บ่อยอีกด้วย
สำหรับกลุ่มที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการประสาทอ่อนนั้น ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน คนในวัยหนุ่มสาวและคนในวัยกลางคน โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ทำงานใช้ “สมอง” เป็นหลัก ไม่ค่อยได้ใช้ “แรง” ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากเป็นลำดับ
อย่างไรก็ตาม โรคนี้ไม่ใช่เป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน แต่เป็นโรคที่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือต้องอาศัยการสะสมอาการมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน เช่น ใช้ความคิดแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ หนักเกินไป ตกอยู่ในภาวะตึงเครียดมากเกินไปใช้สมองแบบไม่บันยะบันยัง-ตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา และไม่ค่อยได้พักผ่อนที่เพียงพอ จนทำให้สมองตกอยู่ในสภาพอ่อนเปลี้ยเพลียแรง และนานๆ เข้าก็กระทบกระเทือนกับการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย กระทั่งนำไปสู่ภาวะประสาทอ่อนในที่สุด
ส่วนอาการของโรคที่แสดงออกและสามารถพบเห็นได้บ่อยๆ ก็อย่างเช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หูอื้อ ตาลาย ขี้ลืม รู้สึกกระวนกระวายตลอดเวลา บางรายอาจฝันบ่อยหรือไม่ก็นอนไม่หลับ ถ้าเป็นผู้ชายก็อาจมีอาการฝันเปียก หรือทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง ถ้าเป็นผู้หญิงอาจมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ มีระดูขาว เป็นต้น
กระนั้นก็ดี อาการเหล่านี้ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ จะเกิดขึ้น และไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน แต่จะแสดงออกในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ที่สำคัญคือ อาการจะไม่ปรากฏให้เห็นอย่างสม่ำเสมอ บางช่วงอาการจะปรากฏชัดเจน บางช่วงอาจไม่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับการทำงานของสมองในช่วงนั้นๆ ถ้าทำงานหนัก สมองเมื่อยล้ามากเกินไป อาการก็จะชัดเจนขึ้น แต่ถ้าได้พักผ่อนอาการก็จะลดลง
ที่น่าสนใจคือ ผู้ที่ป่วยประสบปัญหาโรคประสาทอ่อนมักไม่มีอาการให้บุคคลภายนอกได้รับรู้...ได้สังเกตมากนัก แต่เจ้าตัวมักรู้สึกได้ด้วยตัวเอง ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติด้วยตนเองเป็นสำคัญ
ทางด้านการแพทย์จีนได้บันทึกเรื่องราวของโรคประสาทอ่อนรวมเอาไว้ในโรคต่างๆ ไม่ได้แยกเฉพาะออกมาต่างหาก เนื่องจากเป็นอาการที่มักไปแฝงอยู่ในโรคอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคขี้กลัว โรคตกใจง่าย โรคนอนไม่หลับ โรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมพร่องของร่างกาย หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย เป็นต้น
ขณะเดียวกัน เมื่อตรวจลึกลงไป เราก็จะพบว่า อวัยวะและระบบการทำงานภายในของร่างกายของผู้ที่เป็นโรคประสาทอ่อนจะผิดปกติจากที่ควรจะเป็น เช่น การทำงานของหัวใจ ม้ามและไตผิดไปจากปกติ คืออ่อนเปลี้ย พร่องหรือว่าขาดสมดุลอันเนื่องจากใช้ความคิดมากเกินไป จิตใจซึมเศร้า
โดย...หมอหลินตันเฉียน
ในช่วงนี้ คงไม่มี Talk of the Town เรื่องใดที่สร้างความสนใจให้กับสังคมมากเท่ากับเรื่องราวของ “นพ.ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์” เจ้าของสถาบันกวดวิชาชื่อดัง “แอพพลายส์ฟิสิกส์” ที่ถูกส่งเข้าไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีธัญญาด้วยอาการโรคจิตชนิดหวาดระแวง
แม้ขณะนี้จะยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เบื้องหน้าเบื้องหลังของเรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะอะไรและจะจบลงอย่างไร แต่คุณูปการประการหนึ่งของเรื่องที่เกิดขึ้นก็คือ ทำให้ผู้คนในสังคมได้รับรู้เรื่องราวของปัญหาทางจิตที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยว่า สถานการณ์โดยรวมเป็นอย่างไร มีความน่าเป็นห่วงตรงไหนบ้าง รวมทั้งรับทราบถึงข้อสังเกตของผู้ที่มีอาการทางจิตเพื่อที่จะได้เตรียมเนื้อเตรียมตัวและเตรียมใจรักษาเสียแต่เนิ่นๆ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเติมเต็มข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวกับปัญหาทางจิต วันนี้ เราคงต้องมาขยายความกันด้วยองค์ความรู้จากศาสตร์การแพทย์แผนจีน ด้วยองค์ความรู้จากการนวดทุยหนา เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “โรคประสาทอ่อน” ที่คนทั่วไปมักไม่ให้ความสนใจและไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำไปว่าเป็นโรคนี้
โรคประสาทอ่อน เป็นโรคที่มีสาเหตุได้จากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเหตุเพราะได้รับการกระตุ้นทางด้านประสาท เช่น ใช้สมองมากเกินไป ไม่สบายใจ จิตใจไม่ปลอดโปร่ง หรือบางรายอาจมีผลเชื่อมโยงมาจากการเจ็บไข้ได้ป่วย กล่าวคือในระยะหลังฟื้นไข้เมื่อร่างกายอ่อนแอก็อาจเป็นเหตุให้การทำงานของสมองตื่นตัวตลอดเวลา หรือในทางตรงกันข้ามแทนที่สมองจะตื่นตัวก็อาจตกอยู่ในสภาพเก็บกดก็เป็นได้
ที่สำคัญคือโรคประสาทอ่อนเป็นโรคที่สามารถเกิดและพบได้บ่อยอีกด้วย
สำหรับกลุ่มที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการประสาทอ่อนนั้น ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน คนในวัยหนุ่มสาวและคนในวัยกลางคน โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ทำงานใช้ “สมอง” เป็นหลัก ไม่ค่อยได้ใช้ “แรง” ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากเป็นลำดับ
อย่างไรก็ตาม โรคนี้ไม่ใช่เป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน แต่เป็นโรคที่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือต้องอาศัยการสะสมอาการมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน เช่น ใช้ความคิดแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ หนักเกินไป ตกอยู่ในภาวะตึงเครียดมากเกินไปใช้สมองแบบไม่บันยะบันยัง-ตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา และไม่ค่อยได้พักผ่อนที่เพียงพอ จนทำให้สมองตกอยู่ในสภาพอ่อนเปลี้ยเพลียแรง และนานๆ เข้าก็กระทบกระเทือนกับการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย กระทั่งนำไปสู่ภาวะประสาทอ่อนในที่สุด
ส่วนอาการของโรคที่แสดงออกและสามารถพบเห็นได้บ่อยๆ ก็อย่างเช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หูอื้อ ตาลาย ขี้ลืม รู้สึกกระวนกระวายตลอดเวลา บางรายอาจฝันบ่อยหรือไม่ก็นอนไม่หลับ ถ้าเป็นผู้ชายก็อาจมีอาการฝันเปียก หรือทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง ถ้าเป็นผู้หญิงอาจมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ มีระดูขาว เป็นต้น
กระนั้นก็ดี อาการเหล่านี้ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ จะเกิดขึ้น และไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน แต่จะแสดงออกในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ที่สำคัญคือ อาการจะไม่ปรากฏให้เห็นอย่างสม่ำเสมอ บางช่วงอาการจะปรากฏชัดเจน บางช่วงอาจไม่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับการทำงานของสมองในช่วงนั้นๆ ถ้าทำงานหนัก สมองเมื่อยล้ามากเกินไป อาการก็จะชัดเจนขึ้น แต่ถ้าได้พักผ่อนอาการก็จะลดลง
ที่น่าสนใจคือ ผู้ที่ป่วยประสบปัญหาโรคประสาทอ่อนมักไม่มีอาการให้บุคคลภายนอกได้รับรู้...ได้สังเกตมากนัก แต่เจ้าตัวมักรู้สึกได้ด้วยตัวเอง ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติด้วยตนเองเป็นสำคัญ
ทางด้านการแพทย์จีนได้บันทึกเรื่องราวของโรคประสาทอ่อนรวมเอาไว้ในโรคต่างๆ ไม่ได้แยกเฉพาะออกมาต่างหาก เนื่องจากเป็นอาการที่มักไปแฝงอยู่ในโรคอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคขี้กลัว โรคตกใจง่าย โรคนอนไม่หลับ โรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมพร่องของร่างกาย หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย เป็นต้น
ขณะเดียวกัน เมื่อตรวจลึกลงไป เราก็จะพบว่า อวัยวะและระบบการทำงานภายในของร่างกายของผู้ที่เป็นโรคประสาทอ่อนจะผิดปกติจากที่ควรจะเป็น เช่น การทำงานของหัวใจ ม้ามและไตผิดไปจากปกติ คืออ่อนเปลี้ย พร่องหรือว่าขาดสมดุลอันเนื่องจากใช้ความคิดมากเกินไป จิตใจซึมเศร้า