อ.คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ดอดไปพบ น.ส.เปมิกา โดยหลอกนักข่าวไปนั่งรอที่ห้องประชุม และไร้เงาผู้บริหาร สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ เตรียมนัดตรวจ"หมอประกิตเผ่า"พรุ่งนี้ ก่อนส่งผลให้ศาล

เมื่อเวลาประมาณ 14.50 น. ผศ.ดร.คัดนางค์ มณีศรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินมาแจ้งให้ผู้สื่อข่าวกว่า 30 ชีวิตซึ่งนั่งรออยู่ที่ห้องประชุมของคณะว่า ขณะนี้ รศ.ดร.ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตของคณะ ได้โทรศัพท์แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ภายในคณะให้มาแจ้งให้ผู้สื่อข่าวที่นั่งตั้งแต่ 12.00 น.ว่า น.ส.เปมิกาได้เดินทางมารายงานตัวกับอาจารย์ได้เจอเรียบร้อยแล้ว และไม่ขอแถลงข่าวใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งๆ ที่วานนี้ (6 มี.ค.) รศ.ดร.ประไพพรรณได้นัดผู้สื่อข่าวไว้ที่ห้องประชุมและบอกว่าส่งอีเอ็มเอสนัด น.ส.เปมิกา มารายงานตัวในช่วง 13.00 น.วันนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่จะมีเจ้าหน้าที่จะมาแจ้งให้ทราบ ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อผ่านโทรศัพท์มือถือของ น.ส.เปมิกา เมื่อเวลาประมาณ 13.30 น. น.ส.เปมิกา รับสายด้วยตนเอง และบอกต่อสื่อมวลชนว่ากำลังเดินทางมาจุฬาฯ ผู้สื่อข่าวจึงนั่งรอจนเห็นว่าผิดเวลาไปมาก จึงได้โทรศัพท์ติดต่อเป็นระยะๆ แต่ก็ไม่สามารถติดต่อได้ ขณะที่ผู้บริหารของคณะจิตวิทยา หลบหน้าโดยบอกเจ้าหน้าที่แจ้งว่าไปราชการ
เมื่อซักถามรายละเอียดจากเจ้าหน้าที่ก็ทราบว่า รศ.ดร.ประไพพรรณ เดินทางไปประชุมที่สำนักงานการอุดมศึกษา (สกอ.) ในช่วงเช้า จึงโทรศัพท์เช็ก (เวลาประมาณ 14.00 น.) กลับไปว่าจะเลิกประชุมกี่โมง เจ้าหน้าที่ของ สกอ.ยืนยันว่าวันนี้ไม่มีการประชุม
วันเดียวกัน นายแพทย์ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กล่าวว่า ได้นัดคณะกรรมการตรวจวินิจฉัย รวมทั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประชุมเพื่อตรวจวินิจฉัย นายแพทย์ประกิตเผ่า ทมชิตชงค์ ตามคำสั่งศาลในวันที่ 8 มีนาคม หลังจากนั้นแพทย์ผู้ตรวจรักษาจะไปรายงานผลการตรวจรักษาต่อศาลในวันที่ 9 มีนาคม เวลา 09.00 น. ซึ่งขณะนี้นายแพทย์ประกิตเผ่า ยังรักษาตัวอยู่ที่ตึกมัชฉิมา ซึ่งเป็นตึกพิเศษที่รับผู้ป่วยทั่วไป ไม่ใช่ผู้ป่วยคดี ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการตรวจรักษาเป็นอย่างดี มีผู้มาขอเยี่ยมอ้างว่าเป็นญาติแต่เจ้าหน้าที่ได้ขอร้องว่าศาลสั่งห้ามไว้ โดยระหว่างนี้ทีมแพทย์ได้ตรวจรักษาผู้ป่วยทุกวัน มีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ส่วนทีมสหวิชาชีพอื่น ๆ กำลังรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย เช่น การตรวจสภาพจิตโดยใช้แบบทดสอบของนักจิตวิทยา การสัมภาษณ์ผู้ป่วยโดยจิตแพทย์ เพื่อให้พร้อมสำหรับการประชุมวินิจฉัยในวันที่ 8 มีนาคมนี้
สำหรับกรณีของนายแพทย์ประกิตเผ่า จะเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติหรือกฎหมายสุขภาพจิตอย่างไรนั้น ในเรื่องนี้ตามหลักการได้ดำเนินการบำบัดรักษาที่ต้องคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่นำมาเป็นกรอบในการพัฒนาร่างพระราชบัญญัติหรือกฎหมายสุขภาพจิตได้แก่ มาตรการบังคับรักษา การนำตัวบุคคลมาบำบัดรักษา จึงต้องปรากฎข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน ซึ่งในพระราชบัญญัติสุขภาพจิตกำหนด 2 ประการคือ 1. บุคคลนั้นมีภาวะอันตราย 2. มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาและบุคคลนั้นขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมกับการบำบัดรักษา และประเด็นสำคัญคือ การคุ้มครองผู้ป่วย
เมื่อเวลาประมาณ 14.50 น. ผศ.ดร.คัดนางค์ มณีศรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินมาแจ้งให้ผู้สื่อข่าวกว่า 30 ชีวิตซึ่งนั่งรออยู่ที่ห้องประชุมของคณะว่า ขณะนี้ รศ.ดร.ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตของคณะ ได้โทรศัพท์แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ภายในคณะให้มาแจ้งให้ผู้สื่อข่าวที่นั่งตั้งแต่ 12.00 น.ว่า น.ส.เปมิกาได้เดินทางมารายงานตัวกับอาจารย์ได้เจอเรียบร้อยแล้ว และไม่ขอแถลงข่าวใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งๆ ที่วานนี้ (6 มี.ค.) รศ.ดร.ประไพพรรณได้นัดผู้สื่อข่าวไว้ที่ห้องประชุมและบอกว่าส่งอีเอ็มเอสนัด น.ส.เปมิกา มารายงานตัวในช่วง 13.00 น.วันนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่จะมีเจ้าหน้าที่จะมาแจ้งให้ทราบ ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อผ่านโทรศัพท์มือถือของ น.ส.เปมิกา เมื่อเวลาประมาณ 13.30 น. น.ส.เปมิกา รับสายด้วยตนเอง และบอกต่อสื่อมวลชนว่ากำลังเดินทางมาจุฬาฯ ผู้สื่อข่าวจึงนั่งรอจนเห็นว่าผิดเวลาไปมาก จึงได้โทรศัพท์ติดต่อเป็นระยะๆ แต่ก็ไม่สามารถติดต่อได้ ขณะที่ผู้บริหารของคณะจิตวิทยา หลบหน้าโดยบอกเจ้าหน้าที่แจ้งว่าไปราชการ
เมื่อซักถามรายละเอียดจากเจ้าหน้าที่ก็ทราบว่า รศ.ดร.ประไพพรรณ เดินทางไปประชุมที่สำนักงานการอุดมศึกษา (สกอ.) ในช่วงเช้า จึงโทรศัพท์เช็ก (เวลาประมาณ 14.00 น.) กลับไปว่าจะเลิกประชุมกี่โมง เจ้าหน้าที่ของ สกอ.ยืนยันว่าวันนี้ไม่มีการประชุม
วันเดียวกัน นายแพทย์ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กล่าวว่า ได้นัดคณะกรรมการตรวจวินิจฉัย รวมทั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประชุมเพื่อตรวจวินิจฉัย นายแพทย์ประกิตเผ่า ทมชิตชงค์ ตามคำสั่งศาลในวันที่ 8 มีนาคม หลังจากนั้นแพทย์ผู้ตรวจรักษาจะไปรายงานผลการตรวจรักษาต่อศาลในวันที่ 9 มีนาคม เวลา 09.00 น. ซึ่งขณะนี้นายแพทย์ประกิตเผ่า ยังรักษาตัวอยู่ที่ตึกมัชฉิมา ซึ่งเป็นตึกพิเศษที่รับผู้ป่วยทั่วไป ไม่ใช่ผู้ป่วยคดี ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการตรวจรักษาเป็นอย่างดี มีผู้มาขอเยี่ยมอ้างว่าเป็นญาติแต่เจ้าหน้าที่ได้ขอร้องว่าศาลสั่งห้ามไว้ โดยระหว่างนี้ทีมแพทย์ได้ตรวจรักษาผู้ป่วยทุกวัน มีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ส่วนทีมสหวิชาชีพอื่น ๆ กำลังรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย เช่น การตรวจสภาพจิตโดยใช้แบบทดสอบของนักจิตวิทยา การสัมภาษณ์ผู้ป่วยโดยจิตแพทย์ เพื่อให้พร้อมสำหรับการประชุมวินิจฉัยในวันที่ 8 มีนาคมนี้
สำหรับกรณีของนายแพทย์ประกิตเผ่า จะเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติหรือกฎหมายสุขภาพจิตอย่างไรนั้น ในเรื่องนี้ตามหลักการได้ดำเนินการบำบัดรักษาที่ต้องคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่นำมาเป็นกรอบในการพัฒนาร่างพระราชบัญญัติหรือกฎหมายสุขภาพจิตได้แก่ มาตรการบังคับรักษา การนำตัวบุคคลมาบำบัดรักษา จึงต้องปรากฎข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน ซึ่งในพระราชบัญญัติสุขภาพจิตกำหนด 2 ประการคือ 1. บุคคลนั้นมีภาวะอันตราย 2. มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาและบุคคลนั้นขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมกับการบำบัดรักษา และประเด็นสำคัญคือ การคุ้มครองผู้ป่วย