เครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังลุกรวบรวมข้อมูลยาโคตรแพง เผยยา “หัวใจ มะเร็ง และไต” สุดโหด ประกาศเดินหน้าหาลู่ทางเข้าถึงยา ก่อนบังคับใช้สิทธิบัตรเป็นมาตรการสุดท้าย ประธานเครือข่ายชมรมเพื่อนโรคไต เผย มีเงินนับ 10 ล้าน แต่ก็ต้องล้มละลายหมดตัว เพราะโรคร้าย
วันนี้ (27 ก.พ.) ที่มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ จัดเสวนา “ความทุกข์ของผู้ป่วยโรคเรื้องรังจากปัญหายาราคาแพง เข้าไม่ถึงยา” กรณี ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยมะเร็ง และผู้ป่วยไตวาย
นายสุบิน นกสกุล อายุ 58 ปี ประธานเครือข่ายชมรมเพื่อนโรคไต กล่าวว่า การรักษาโรคไตวาย ซึ่งขณะนี้ยังไม่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก โดยจะต้องฟอกเลือดด้วยไตเทียมสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ต่อเนื่องไปตลอดไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งการฟอกไตต่ำสุดราคา 1,000 บาท แต่หากเป็นโรงพยาบาลทั่วไปสูงถึง 1,500-3,000 บาท เฉลี่ยต่อเดือนจึงอยู่ที่ประมาณ 15,000-25,000 บาท นอกจากนี้ ยังไม่รวมยาฉีดสร้างเม็ดเลือดแดง (Erythropoetrin) ซึ่งมีราคาแพงมากราคา 350-1,500 บาทต่อเข็ม
ทั้งนี้ หากผู้ป่วยใช้วิธีการรักษาโดยการล้างไตทางช่องท้องก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเดือนละประมาณ 25,000 บาท ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ขณะที่วิธีการผ่าตัดเปลี่ยนไตต้องใช้เงินในการผ่าตัด 300,000 บาท ไม่รวมการรักษาด้วยยากดภูมิต้านทานอีก 30,000 บาทต่อเดือน โดยที่ประเทศไทยมีผู้ป่วยไตวายที่เข้ารับการรักษาในระบบประมาณ 40,000 คน ส่วนที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาคาดว่ามีอยู่ประมาณ 100,000 คน
“เมื่อก่อนผมมีเงินนับ 10 ล้าน แต่ก็ต้องล้มละลายหมดตัว เพราะเป็นโรคไตวาย จนตอนนี้มีเงินติดบัญชีไม่กี่ร้อยบาท ลูกชายมาเป็นโรคเดียวกันอีก ก็ลำบากเป็น 3 เท่าตัว ผมต้องทำงานหนักถึง 18 ชั่วโมงต่อวัน หากมีเงินในการฟอกไต ดูแลตัวเองอย่างดี ทุกคนที่เป็นโรคนี้ก็สามารถที่จะทำงานได้เหมือนคนปกติ แต่หากการฟอกไต รวมถึงยายังคงมีราคาแพงก็คงไม่มีปัญหาที่จะจ่าย”นายสุบิน กล่าว
ประธานเครือข่ายชมรมเพื่อนโรคไต กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้ ไม่ทราบข้อมูลการบังคับใช้สิทธิแต่เมื่อประชุมแล้วทางเครือข่ายก็จะเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ยาในการรักษา ว่า มียาใดแพงบ้าง โดยจะพยายามให้อาสาสมัครที่เป็นสมาชิกลงสำรวจใช้เวลาประมาณ 3 เดือน แยกชิดประเภทยาในการใช้จ่ายให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ด้านภญ.อัจฉรา เอกแสงศรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า อภ.มีการวิจัยพัฒนายาต่างๆ รวมถึงยาที่มีการบังคับใช้สิทธิบัตรทั้ง 3 ตัว คือ เอฟฟาไวเรนท์ คาเลตตร้า และพลาวิคซ์ ซึ่งยาแต่ละตัวจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี เพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพเทียบเท่ายาต้นฉบับดั้งเดิม ซึ่งในส่วนของยาต้านไวรัส เอฟฟาไวเรนท์ อภ.มีความพร้อมสูง โดยการวิจัยใกล้แล้วเสร็จ ทำให้ อภ.สามารที่จะผลิตยาได้เอง สำหรับคุณภาพยานั้นกระทบวนการวิจัย พัฒนาที่ได้ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการ และทดลองในอาสาสมัคร มีการติดตามผลการดื้อยา ดังนั้น คุณภาพจึงเทียบเท่ามาตรฐานอย่างแน่นอน
“การรวมตัวของเครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะต้องเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยอาจดูอย่างเครือข่ายผู้ติดเชื้อที่มีการเคลื่อนไหว รณรงค์กันโดยตลอด ซึ่งต่อไปควรมีการประชุมสม่ำเสมอ โดยอาจประชุมร่วมกับแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ทราบความต้องการของผู้ป่วยในการที่ อภ.จะผลิตยาในอนาคต” ภญ.อัจฉรา กล่าวและว่า อภ.ยังมีการวิจัยตัวอีกหลายตัวที่มีแนวโน้มมีความจำเป็นในการบังคับใช้สิทธิแต่ไม่สามารถเปิดเผยได้
ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิผู้บริโภค กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นความทุกข์ของผู้ป่วยเรื้อรังใน 3 กลุ่ม คือ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคไตวาย ถือเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ในส่วนของโรคไตวายจะต้องมีการผลักดันให้การรักษาพยาบาลครอบคลุมในระบบประกันสุขภาพ ส่วนมะเร็งเป็นโรคที่มีการใช้ยาหลายตัวคงจะต้องมีการประสานงานกันกับเครือข่ายเพื่อมะเร็งที่มีโรงพยาบาลในส่วนของโรงเรียนแพทย์หลายแห่งมีเครือข่ายอยู่แล้ว โดยจะต้องเร่งทำข้อมูลที่มีความชัดเจน และเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยมูลนิธิจะเป็นผู้ประสานข้อมูลต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้เครือข่ายผู้ป่วยมีความเข้าใจเรื่องการบังคับใช้สิทธิมากขึ้นและเห็นว่าการบังคับใช้สิทธิเป็นเรื่องปกติธรรมที่ถูกต้องตามหลักสากล
นายนิมิต เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากเครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังยังคงมีการรวมตัวกันอยู่ เพื่อเรียกร้องสิทธิในอนาคต ไม่ว่ารัฐบาลใดก็ไม่สามารถมีการเพิกถอนการบังคับใช้สิทธิได้ ซึ่งการเริ่มต้นการบังคับใช้สิทธิเป็นเรื่องที่ดีที่หากจะมีการยกเลิกนั้น แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลนั้นกำลังมีการทุจริต สมยอมกันในทางผลประโยชน์ เป็นประเด็นที่มีความน่าสงสัยแอบแฝงอย่างแน่นอน
นายนิมิตร กล่าวด้วยว่า การบังคับใช้สิทธิถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อรองราคายาอย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิดความสมดุล โดยไม่ให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ผลิตยาเจ้าของสิทธิบัตร และผู้ป่วย โดยตั้งอยู่บนฐานของข้อมูลที่มีความชัดเจน โดยไม่มีใครอยากที่จะเสี่ยงในการเกิดคดีฟ้องร้อง ซึ่งมั่นใจว่าในอนาคตจะมีตัวยาอื่นๆ ที่มีความจำเป็นตามมาอย่างแน่นอน
วันนี้ (27 ก.พ.) ที่มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ จัดเสวนา “ความทุกข์ของผู้ป่วยโรคเรื้องรังจากปัญหายาราคาแพง เข้าไม่ถึงยา” กรณี ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยมะเร็ง และผู้ป่วยไตวาย
นายสุบิน นกสกุล อายุ 58 ปี ประธานเครือข่ายชมรมเพื่อนโรคไต กล่าวว่า การรักษาโรคไตวาย ซึ่งขณะนี้ยังไม่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก โดยจะต้องฟอกเลือดด้วยไตเทียมสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ต่อเนื่องไปตลอดไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งการฟอกไตต่ำสุดราคา 1,000 บาท แต่หากเป็นโรงพยาบาลทั่วไปสูงถึง 1,500-3,000 บาท เฉลี่ยต่อเดือนจึงอยู่ที่ประมาณ 15,000-25,000 บาท นอกจากนี้ ยังไม่รวมยาฉีดสร้างเม็ดเลือดแดง (Erythropoetrin) ซึ่งมีราคาแพงมากราคา 350-1,500 บาทต่อเข็ม
ทั้งนี้ หากผู้ป่วยใช้วิธีการรักษาโดยการล้างไตทางช่องท้องก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเดือนละประมาณ 25,000 บาท ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ขณะที่วิธีการผ่าตัดเปลี่ยนไตต้องใช้เงินในการผ่าตัด 300,000 บาท ไม่รวมการรักษาด้วยยากดภูมิต้านทานอีก 30,000 บาทต่อเดือน โดยที่ประเทศไทยมีผู้ป่วยไตวายที่เข้ารับการรักษาในระบบประมาณ 40,000 คน ส่วนที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาคาดว่ามีอยู่ประมาณ 100,000 คน
“เมื่อก่อนผมมีเงินนับ 10 ล้าน แต่ก็ต้องล้มละลายหมดตัว เพราะเป็นโรคไตวาย จนตอนนี้มีเงินติดบัญชีไม่กี่ร้อยบาท ลูกชายมาเป็นโรคเดียวกันอีก ก็ลำบากเป็น 3 เท่าตัว ผมต้องทำงานหนักถึง 18 ชั่วโมงต่อวัน หากมีเงินในการฟอกไต ดูแลตัวเองอย่างดี ทุกคนที่เป็นโรคนี้ก็สามารถที่จะทำงานได้เหมือนคนปกติ แต่หากการฟอกไต รวมถึงยายังคงมีราคาแพงก็คงไม่มีปัญหาที่จะจ่าย”นายสุบิน กล่าว
ประธานเครือข่ายชมรมเพื่อนโรคไต กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้ ไม่ทราบข้อมูลการบังคับใช้สิทธิแต่เมื่อประชุมแล้วทางเครือข่ายก็จะเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ยาในการรักษา ว่า มียาใดแพงบ้าง โดยจะพยายามให้อาสาสมัครที่เป็นสมาชิกลงสำรวจใช้เวลาประมาณ 3 เดือน แยกชิดประเภทยาในการใช้จ่ายให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ด้านภญ.อัจฉรา เอกแสงศรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า อภ.มีการวิจัยพัฒนายาต่างๆ รวมถึงยาที่มีการบังคับใช้สิทธิบัตรทั้ง 3 ตัว คือ เอฟฟาไวเรนท์ คาเลตตร้า และพลาวิคซ์ ซึ่งยาแต่ละตัวจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี เพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพเทียบเท่ายาต้นฉบับดั้งเดิม ซึ่งในส่วนของยาต้านไวรัส เอฟฟาไวเรนท์ อภ.มีความพร้อมสูง โดยการวิจัยใกล้แล้วเสร็จ ทำให้ อภ.สามารที่จะผลิตยาได้เอง สำหรับคุณภาพยานั้นกระทบวนการวิจัย พัฒนาที่ได้ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการ และทดลองในอาสาสมัคร มีการติดตามผลการดื้อยา ดังนั้น คุณภาพจึงเทียบเท่ามาตรฐานอย่างแน่นอน
“การรวมตัวของเครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะต้องเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยอาจดูอย่างเครือข่ายผู้ติดเชื้อที่มีการเคลื่อนไหว รณรงค์กันโดยตลอด ซึ่งต่อไปควรมีการประชุมสม่ำเสมอ โดยอาจประชุมร่วมกับแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ทราบความต้องการของผู้ป่วยในการที่ อภ.จะผลิตยาในอนาคต” ภญ.อัจฉรา กล่าวและว่า อภ.ยังมีการวิจัยตัวอีกหลายตัวที่มีแนวโน้มมีความจำเป็นในการบังคับใช้สิทธิแต่ไม่สามารถเปิดเผยได้
ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิผู้บริโภค กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นความทุกข์ของผู้ป่วยเรื้อรังใน 3 กลุ่ม คือ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคไตวาย ถือเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ในส่วนของโรคไตวายจะต้องมีการผลักดันให้การรักษาพยาบาลครอบคลุมในระบบประกันสุขภาพ ส่วนมะเร็งเป็นโรคที่มีการใช้ยาหลายตัวคงจะต้องมีการประสานงานกันกับเครือข่ายเพื่อมะเร็งที่มีโรงพยาบาลในส่วนของโรงเรียนแพทย์หลายแห่งมีเครือข่ายอยู่แล้ว โดยจะต้องเร่งทำข้อมูลที่มีความชัดเจน และเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยมูลนิธิจะเป็นผู้ประสานข้อมูลต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้เครือข่ายผู้ป่วยมีความเข้าใจเรื่องการบังคับใช้สิทธิมากขึ้นและเห็นว่าการบังคับใช้สิทธิเป็นเรื่องปกติธรรมที่ถูกต้องตามหลักสากล
นายนิมิต เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากเครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังยังคงมีการรวมตัวกันอยู่ เพื่อเรียกร้องสิทธิในอนาคต ไม่ว่ารัฐบาลใดก็ไม่สามารถมีการเพิกถอนการบังคับใช้สิทธิได้ ซึ่งการเริ่มต้นการบังคับใช้สิทธิเป็นเรื่องที่ดีที่หากจะมีการยกเลิกนั้น แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลนั้นกำลังมีการทุจริต สมยอมกันในทางผลประโยชน์ เป็นประเด็นที่มีความน่าสงสัยแอบแฝงอย่างแน่นอน
นายนิมิตร กล่าวด้วยว่า การบังคับใช้สิทธิถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อรองราคายาอย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิดความสมดุล โดยไม่ให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ผลิตยาเจ้าของสิทธิบัตร และผู้ป่วย โดยตั้งอยู่บนฐานของข้อมูลที่มีความชัดเจน โดยไม่มีใครอยากที่จะเสี่ยงในการเกิดคดีฟ้องร้อง ซึ่งมั่นใจว่าในอนาคตจะมีตัวยาอื่นๆ ที่มีความจำเป็นตามมาอย่างแน่นอน