สพฐ.เผยแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนรองรับเศรษฐกิจโลก ทำความร่วมมือกับแดนมังกรจัดหาครูอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยของจีน ส่งครูอบรมต่อยอดที่ประเทศจีน พร้อมจัดทำหนังสือเรียนที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ปัจจุบันสาธารณรัฐประชาชนจีนมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว หลายประเทศทั่วโลกหันมาร่วมลงทุนและทำการค้าด้วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากจีนมีทรัพยากรและกำลังคนจำนวนมาก เป็นฐานการผลิตราคาถูก ดังนั้น ภาษาจีนจึงมีความสำคัญในการสื่อสาร เพราะหลายประเทศต้องใช้และต้องเรียนรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ในอนาคตจำเป็นต้องใช้ภาษาจีนเพื่อใช้ในภาคบริการต่างๆ ของสังคมสูงขึ้น แต่ปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลนและมีความต้องการผู้มีความรู้ความสามารถด้านภาษาจีนจำนวนมาก ซึ่งไม่เพียงพอกับโรงเรียนที่เปิดสอนภาษาจีน ซึ่งมีจำนวนถึง 623 โรงทั้งภาครัฐ และเอกชน
ดังนั้น ศธ.จึงได้ตั้งคณะทำงานเสนอแผนยุทธศาสตร์ปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน ในประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการและก้าวสู่มาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้กำหนดแผนงานและงบประมาณที่ต่อเนื่องจาก ปี 2549 ประกอบด้วย การเสริมความพร้อมและความเข้มแข็งโดยการจัดตั้งศูนย์เครือข่าย ส่งเสริมภาษาจีนในโรงเรียน จำนวน 20 แห่งทั่วประเทศ สนับสนุนโครงการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) รวมทั้งการพัฒนาการเรียนการสอนซึ่งประกอบด้วยการอบรมครูไทย-จีน ปีละ 500-1,000 คน การจัดทำและจัดหาสื่อการเรียนการสอนและการสนับสนุนทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาและจัดหาสื่อ interactive สำหรับโรงเรียนศูนย์เครือข่าย การจัดทำสารสนเทศและสื่อสนับสนุนสำหรับครูแบบออนไลน์-ออฟไลน์ รวมทั้งการจัดเวทีวิชาการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมการเรียนการสอนในระดับภูมิภาค และการจัดทำเกณฑ์ เครื่องมือวัดมาตรฐานและระดับความรู้ครูด้วย
“สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือประเทศไทยในการจัดหาครูอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ของจีน การอบรมต่อยอดที่ประเทศจีน และที่สำคัญยังได้จัดทำหนังสือเรียนที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย เมื่อเราได้ดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้คาดว่าในอนาคตการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยจะได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และผู้เรียนก็จะมีขีดความสามารถทางภาษาจีน มีความเชี่ยวชาญในการสื่อสารที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจด้านต่างๆ ของประเทศให้เจริญก้าวหน้าสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ปัจจุบันสาธารณรัฐประชาชนจีนมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว หลายประเทศทั่วโลกหันมาร่วมลงทุนและทำการค้าด้วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากจีนมีทรัพยากรและกำลังคนจำนวนมาก เป็นฐานการผลิตราคาถูก ดังนั้น ภาษาจีนจึงมีความสำคัญในการสื่อสาร เพราะหลายประเทศต้องใช้และต้องเรียนรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ในอนาคตจำเป็นต้องใช้ภาษาจีนเพื่อใช้ในภาคบริการต่างๆ ของสังคมสูงขึ้น แต่ปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลนและมีความต้องการผู้มีความรู้ความสามารถด้านภาษาจีนจำนวนมาก ซึ่งไม่เพียงพอกับโรงเรียนที่เปิดสอนภาษาจีน ซึ่งมีจำนวนถึง 623 โรงทั้งภาครัฐ และเอกชน
ดังนั้น ศธ.จึงได้ตั้งคณะทำงานเสนอแผนยุทธศาสตร์ปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน ในประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการและก้าวสู่มาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้กำหนดแผนงานและงบประมาณที่ต่อเนื่องจาก ปี 2549 ประกอบด้วย การเสริมความพร้อมและความเข้มแข็งโดยการจัดตั้งศูนย์เครือข่าย ส่งเสริมภาษาจีนในโรงเรียน จำนวน 20 แห่งทั่วประเทศ สนับสนุนโครงการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) รวมทั้งการพัฒนาการเรียนการสอนซึ่งประกอบด้วยการอบรมครูไทย-จีน ปีละ 500-1,000 คน การจัดทำและจัดหาสื่อการเรียนการสอนและการสนับสนุนทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาและจัดหาสื่อ interactive สำหรับโรงเรียนศูนย์เครือข่าย การจัดทำสารสนเทศและสื่อสนับสนุนสำหรับครูแบบออนไลน์-ออฟไลน์ รวมทั้งการจัดเวทีวิชาการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมการเรียนการสอนในระดับภูมิภาค และการจัดทำเกณฑ์ เครื่องมือวัดมาตรฐานและระดับความรู้ครูด้วย
“สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือประเทศไทยในการจัดหาครูอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ของจีน การอบรมต่อยอดที่ประเทศจีน และที่สำคัญยังได้จัดทำหนังสือเรียนที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย เมื่อเราได้ดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้คาดว่าในอนาคตการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยจะได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และผู้เรียนก็จะมีขีดความสามารถทางภาษาจีน มีความเชี่ยวชาญในการสื่อสารที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจด้านต่างๆ ของประเทศให้เจริญก้าวหน้าสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว