เมื่อเอ่ยถึงชื่อ “โกมล คีมทอง” คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ในปัจจุบันน้อยคนนักที่จะทราบว่าเขาเป็นใคร และยิ่งมีคนน้อยกว่านี้มากนักที่จะรู้ว่าเขาเคยทำ เคยสร้างอะไรมาบ้าง
หากเป็นคนที่อายุ 40 กว่าขึ้นไป อาจเคยได้ยินได้ฟัง หรือจำได้ว่า เมื่อกว่า 30 ปีมาแล้ว มีข่าวใหญ่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ข่าวหนึ่งที่โด่งดังมาก เกี่ยวกับบัณฑิตหนุ่มสาวจากจุฬาฯ 2 คน ถูกยิงเสียชีวิตขณะอุทิศตนเป็นครูเข้าไปตั้งโรงเรียนสอนหนังสือแก่เด็กในท้องถิ่นทุรกันดารที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี คนหนึ่งนั้นคือ โกมล คีมทอง อีกคนเป็นเพื่อนของเขาที่ชื่อ รัตนา สกุลไทย ความน่าสนใจของชายหนุ่มคนนี้อยู่ตรงที่ว่า เขาเป็นคนหนุ่มที่ไม่เคยลังเลใจในการประกาศปณิธานแห่งชีวิตของตนว่า “จะขอเป็นครูตราบชั่วชีวิต” ตั้งแต่เมื่ออายุยังน้อยและยังศึกษาอยู่ ทั้งที่ด้วยโอกาสของเขาหลังจากจบการศึกษาแล้ว สามารถไต่บันไดทางการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือเสาะหาอาชีพที่ทำให้สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเขาดีขึ้นได้โดยไม่ลำบากนัก ตามอย่างเพื่อนนิสิตนักศึกษาทั่วไปในสมัยนั้น

การศึกษา
เด็กชายโกมลใช้ชีวิตวัยเด็กและได้รับการศึกษาขั้นต้นจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และมาต่อที่โรงเรียนบ้านหมี่วิทยาจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สอบไล่ได้ 87 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นได้มาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยอาศัยอยู่กับบ้านญาติ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่สาว ในเขตบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี จนเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนกศิลปะ เมื่อปี 2509 สอบไล่ได้ 72.70 เปอร์เซ็นต์ และในสมัยนุ่งกางเกงขาสั้นนั้น เขาเคยทำกิจกรรมด้านหนังสือมาบ้าง เนื่องจากเรียนมาทางสายศิลปะ และมีแววทางด้านการขีดเขียน ส่วนกิจกรรมด้านอื่นๆ ไม่ปรากฏหลักฐานให้เห็น ท้ายสุดโกมลจบชั้นอุดมศึกษาจากคณะครุศาสตร์ สาขามัธยมศึกษา เอกวิชาสังคมศึกษา โทภาษาฝรั่งเศส ในปีการศึกษา 2512
ยุคสมัยที่โกมลเข้ามาเป็นนิสิตโก้เก๋ที่จุฬา ฯ นั้น ประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองของเผด็จการทหาร กิจกรรมของเหล่าปัญญาชนในรั้วมหาวิทยาลัยจึงมีแต่เรื่องการเชียร์ การแข่งขันกีฬา (ซึ่งมักแถมการยกพวกตีกัน) การจัดงานเต้นรำ การดูภาพยนตร์ ส่วนกิจกรรมประเทืองปัญญาก็เพิ่งเริ่มได้ไม่นานนัก การออกค่ายอาสาพัฒนาชนบทเริ่มเป็นที่นิยม โดยบางคนมองว่าเป็นเรื่องแฟชั่น แหล่งเที่ยวของวัยรุ่นคือตามโรงภาพยนตร์ ขณะที่สยามสแควร์ยังไม่แจ้งเกิด หนุ่มสาวอาศัยงานบอลล์เป็นที่พบปะ นักร้องที่ชื่นชอบก็เป็นพวกฝรั่งตะวันตก
เมื่อได้อ่านสมุดบันทึกประจำวัน ปี 2510 หรือ อนุทิน 2510 ของโกมลจะพบว่า เขาสนใจเรียนภาษาฝรั่งเศส และสังคมศึกษามาก ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องใช้การท่องจำมากทั้งคู่ นี้ทำให้เขาเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมนุมสังคมศึกษาของคณะตั้งแต่อยู่ปี 1 แต่เมื่อมีการเลือกตั้งกรรมการชุมนุมชุดใหม่ในปลายปีการศึกษานั้น เขากลับพลาดตำแหน่งรองประธาน รวมถึงตำแหน่งหัวหน้าชั้นปีที่ 2 โดยที่ความขยันขันแข็งในการเรียน ความใฝ่รู้ และการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงงานทางด้านหนังสือ ก็เริ่มส่อแววให้เห็นได้ตั้งแต่ปีแรกนี้
จนกระทั่งหยุดภาคเรียนในเทอมปลาย (พฤษภาคม 2510) โกมลได้ไปร่วมค่ายอาสาพัฒนานิสิตนักศึกษาไทย-อิสลาม ที่ค่ายบ้านทอน จังหวัดนราธิวาส ซึ่งถือว่าเป็นการไปค่ายครั้งแรก และที่ปัตตานี ซึ่งมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (อดีต รมต.ว่าการกระทรวงมหาดไทย) รุ่นพี่คณะครุศาสตร์เป็นผู้อำนวยการค่าย เขาเองรับหน้าที่ช่วยงานด้านวิชาการให้กับค่ายนี้ เขาจึงได้ไปรู้ไปเห็นวิธีการจัดและดำเนินการค่าย ทำให้ในเวลาต่อมา โกมลได้เข้าไปร่วมและจัดกิจกรรมค่ายอีกหลายครั้งอย่างสนุกและกระตือรือร้น

ปีที่ 2 ปีแห่งการศึกษางานค่าย
ช่วงปีนี้โกมลเริ่มให้ความสนใจกับการศึกษามากขึ้น โดยอยากรู้ความเป็นไปของการศึกษาในบ้านเมืองว่าเขาทำกันอย่างไร อะไรคือจุดบกพร่องและจุดอ่อน สภาพความเป็นจริงกับสภาพที่เรียนๆ กันอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างไร เพื่อนกลุ่มนี้เคยคิดที่จะตั้งชุมนุมวิชาการศึกษาขึ้นในคณะครุศาสตร์ เพื่อร่วมสนทนากันในเรื่องของการศึกษา พากันไปเที่ยวเยี่ยมเยือนโรงเรียนตามที่ต่างๆ โดยคิดไกลถึงขนาดว่าอย่างน้อยๆ ก็จะดึงอาจารย์ที่เคารพนับถือให้ไปรู้จักความจริงของสภาพแวดล้อมกับตนบ้าง
จากจุดเริ่มต้นของการคิดตั้งชุมนุมวิชาการศึกษา ผนวกกับความสนใจในกิจกรรมโดยเฉพาะค่ายอาสาเป็นพิเศษนี้เอง ที่เป็นพลังให้โกมลได้ดำเนินการจัดตั้ง “ค่ายพัฒนาการศึกษา” ขึ้นในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนในปี 2511 ที่แปดริ้ว บ้านบางขวัญ ตำบลบางขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยเขาเป็นผู้อำนวยการค่าย หลังจากกลับจากค่ายฝึกผู้นำนิสิตนักศึกษาอาสาพัฒนา ที่บ้านนายาง จังหวัดหนองคาย ซึ่งทำให้เขามีเพื่อนต่างสถาบันมาก รวมถึงค่ายอาสาสมัครของสโมสรนิสิตจุฬาฯ ที่บ้านหนองแปน บ้านโนนสูง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โกมลถือได้ว่าเป็นคนแรกๆ ที่เริ่มตั้งค่ายพัฒนาการศึกษาเฉพาะ คือไปให้การศึกษาเด็ก ไปช่วยโรงเรียน ถือเป็นค่ายแบบใหม่ของสโมสรนิสิตจุฬาฯ (เดิมเป็นค่ายของคณะครุศาสตร์) เพราะมุ่งให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษามากกว่าเรื่องการสงเคราะห์ หรือการก่อสร้างถาวรวัตถุให้แก่ชาวบ้าน และค่ายนั้นก็ได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม นั่นแสดงว่าเขาสนใจในงานอาสาสมัคร งานเสียสละ เท่าๆ กับงานด้านความคิด ด้านปัญญา
ปีที่ 3 ปีแห่งการเรียนรู้โลกภายนอก
ชีวิตของโกมลมาเปลี่ยนแปลงมากที่สุดเมื่อตอนเรียนอยู่ปีที่ 3 เขาใช้ชีวิตเพื่อความรู้และความคิดที่กว้างขวางลึกซึ้งมากที่สุด หลังจากที่คลุกคลีกับงานอาสาสมัครมามากพอควรแล้ว ก็เห็นได้ชัดว่าเขาหันเหชีวิตมาสนใจกิจกรรมทางด้านความคิดความอ่านและปัญหาบ้านเมืองอย่างจริงจังมากขึ้น โดยเริ่มวางมือจากงานค่าย มาติดตามกิจกรรมแทบทุกประเภท โดยเฉพาะด้านการศึกษา เขาแทบจะไม่ขาดเลยแม้แต่ครั้งเดียว ไม่ว่าจะเป็นที่หอประชุมคุรุสภา หอสมุดแห่งชาติ โรงพยาบาลสงฆ์ หอประชุมจุฬาฯ หอประชุมธรรมศาสตร์ และแม้จนหอประชุมเอยูเอ รวมถึงได้ร่วมทำกิจกรรมกับนักศึกษาต่างสถาบันอีกด้วย
“ชมรมปริทัศน์เสวนา” มีส่วนอย่างสำคัญในการปลูกฝังคุณลักษณะหลายอย่างให้กับโกมล และเขาเองได้เป็นสมาชิกประจำของชมรมนี้อยู่เสมอๆ ทำให้เขามีโอกาสพบปะกับผู้รู้และนักคิดต่างๆ มากมาย ได้ฟังทัศนะต่างๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้ถกเถียงแลกเปลี่ยนทางความคิดอย่างจริงจัง คุณสมบัติประการหลังติดตัวเขาไปตลอดเวลาจวบจนสิ้นชีวิต
ปีสุดท้ายของชีวิตมหาวิทยาลัย
ในปีสุดท้ายของมหาวิทยาลัยโกมลให้ความสนใจกับกิจกรรมภายนอกมากขึ้น โดยค่อยๆ ละงานอื่นๆ เกือบหมด และรับทำงานให้ชมรมปริทัศน์เสวนา จนเขาได้รับเลือกจากบรรดาเพื่อนๆ ให้เป็นประธานของชมรม ในช่วงปี 2512-2513 ปรากฏว่าเขาเป็นประธานที่เอางานเอาการ จัดทั้งด้านสัมมนา ทั้งด้านปาฐกถาและอภิปราย และช่วงเทอมสุดท้ายในชีวิตการเรียนในห้องสี่เหลี่ยม เขายังรับเป็นบรรณกรให้ สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ฉบับนิสิตนักศึกษา ฉบับที่ 9 เดือนกุมภาพันธ์ 2513
ขณะเดียวกัน โกมลก็เริ่มมีงานเขียนโดยเฉพาะบทความที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและอื่นๆ ปรากฏเผยแพร่ตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ จำนวนไม่ใช่น้อย ทั้งใน ศูนย์ศึกษา จารุสัมพันธ์ สังคมศาสตร์ปริทัศน์ จุฬาฯ สาร เป็นต้น ข้อเขียนของเขานั้นอ่านง่าย มีความไพเราะและนุ่มนวลทางภาษา เพราะเขาเขียนออกมาจากความคิดความรู้สึกของตนเอง ผลงานของเขาจึงเป็นผลงานในทางความคิด พอๆ กับในทางภาษา

ความเป็นบัณฑิตที่แท้
นอกจากนี้ โกมลยังได้แสดงทัศนะค่อนข้างชัดเจนเกี่ยวกับใบปริญญาบัตรตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ ดังจดหมายที่เขาเขียนถึง พี่นันทา เนียมศรีจันทร์ ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2513 ตอนหนึ่งกล่าวว่า “ผมจะจบหลักสูตรในหนึ่งเดือนข้างหน้านี้ แต่ผมอาจพูดได้เต็มปากเลยว่าไม่มีความยินดียินร้ายเลย ถ้าจะให้คิดว่าผมกำลังได้ใบปริญญาบัตร ผมไม่ค่อยเห็นคุณค่าข้อนี้ จะเป็นความผิดความถูกอย่างไรไม่ทราบ แต่ตระหนักอยู่ในใจว่า เมื่อได้ใบนี้แล้วสถานที่ที่ผมทำงานเขาเอาไปตีราคาให้เงินเดือน ผมก็ยังรู้สึกได้อย่างเดียวว่า เงิน 1,250 บาทที่ให้ผมนั้นมาเทียบกับค่าแรงผมไม่ได้ นี่คิดถึงเรื่องค่าของใบปริญญาบัตร และจะให้คิดว่าผมจบปริญญาบัตรแล้วมีความรู้แล้ว ความคิดนี้ก็ขัดกับความรู้สึกส่วนลึกที่คอยบอกตัวเองอยู่เวลานี้ว่าผมไม่รู้อะไรเลย ผมยังมีแต่ความลังเล สงสัย ความไม่เข้าใจ และตื่นที่สุด เมื่อเป็นเช่นนี้ผมจะไปภูมิใจว่าผมสำเร็จแล้วอย่างไรได้”
โกมล คีมทอง สนใจงานอาสาสมัคร งานเสียสละ เท่าๆ กับงานด้านความคิด งานด้านปรัชญา เขาไม่เพียงแต่สนใจเพราะความสนุก เพราะแฟชั่น หรือเพราะความขี้โอ่ที่จะอวดแก่ชาวบ้านเท่านั้น แต่เขาสนใจที่จะศึกษาถึงแก่นแท้ของค่ายว่าคืออะไร งานค่ายนั้นมีความสำคัญอยู่ที่ไหน เมื่อสำเร็จการศึกษาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้ว โกมล คีมทอง ได้ก่อตั้งและเป็นครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลที่เหมืองห้วยในเขา ตำบลบ้านส้อง กิ่งอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดการศึกษาแบบ โรงเรียนชุมชน โดยมีความมุ่งหมายให้โรงเรียนนี้เป็นศูนย์รวมทางประสบการณ์ของชาวบ้านและเด็กๆ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ให้ชาวบ้านรู้สึกว่ามีสิทธิ์เป็นเจ้าของโรงเรียน ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ค้นหาสิ่งที่ดีงามต่างๆ ที่ชุมชนนั้นมีอยู่ เช่น มโนราห์ นิทานชาวบ้าน พยายามส่งเสริมค่านิยมทางจิตใจ และเจตคติด้านความรักท้องถิ่น นับว่าเป็นตัวอย่างของคนหนุ่มที่มีความคิดและปรับเปลี่ยนความคิดออกเป็นการกระทำ ด้วยความมานะพยายามและความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
มูลนิธิโกมลคีมทอง
แบบอย่างของครูโกมลได้สร้างความศรัทธาให้กับผู้อยู่ข้างหลัง ร่วมกันจัดตั้งมูลนิธิในนามของเขา คือ มูลนิธิโกมล คีมทอง ขึ้นในปี พ.ศ.2514 โดยมิใช่เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เขาเท่านั้น หากยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสานต่อและสนับสนุนผู้มีอุดมคติให้แพร่หลายในสังคม และเพื่อกระตุ้นเตือน สนับสนุนให้บุคคลมีความเสียสละเพื่อสังคม มีอุดมคติ และเป็นผู้นำชุมชนที่ดี
กิจกรรมของมูลนิธิโกมล คีมทองที่เคยดำเนินการมามีหลากหลาย เช่น จัดพิมพ์หนังสือต่างๆ ที่เสนอแนวความคิดใหม่ๆ แก่สังคม อันได้แก่ แนวศาสนธรรมประยุกต์ แนวเกษตรกรรมธรรมชาติ แนวนิเวศวิทยา แนวอหิงสา-สันติวิธี แนวสุขภาพและวัฒนาอายุรศาสตร์ นอกจากนี้ยังจัดทำวารสาร ปาจารยสาร หนังสือพิมพ์ ชาวบ้าน และให้ความสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่ยังประโยชน์ให้สังคม เช่น โครงการค้นคว้าเกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อการพึ่งตนเอง โครงการอาหารกลางวันเด็กนักเรียน โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก โครงการแด่น้องผู้หิวโหย โครงการห้องสมุดแสงตะวัน โครงการปันรักเพื่อเด็กเร่ร่อน ฯลฯ
ปัจจุบัน มูลนิธิโกมลคีมทองมีหน่วยงานและกิจกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
สำนักพิมพ์ ก่อตัวขึ้นมาควบคู่กับการจัดตั้งมูลนิธิฯ ในระยะแรกจัดพิมพ์ในรูปแบบของจุลสาร ต่อมาเน้นหนังสือเกี่ยวกับการนำศาสนามาประยุกต์ใช้กับสังคมที่ซับซ้อน รวมถึงหนังสือในแนวการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง และการพึ่งตนเองของชุมชนระดับหมู่บ้าน ปัจจุบันสำนักพิมพ์ยังคงนำเสนอหนังสือที่เป็นทางเลือกใหม่ให้กับสังคม อันได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการพึ่งตนเอง การใช้ชีวิตเรียบง่าย แนวศาสนธรรมประยุกต์ แนวเกษตรกรรมธรรมชาติ แนวนิเวศวิทยา แนวอหิงสา-สันติวิธี แนวสุขภาพและวัฒนายุรศาสตร์ และอื่นๆ
งานเผยแพร่อุดมคติ เริ่มกิจกรรมเมื่อปี 2526 เน้นงานทางด้านการเผยแพร่โดยใช้สื่อต่างๆ อาทิ จุลสาร สารโกมล การจัดอภิปรายเสวนาร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในประเด็นที่น่าสนใจ การฝึกอบรมเพื่อการเข้าใจตนเอง เช่น นพลักษณ์ และการสนับสนุนค่ายอาสาพัฒนาของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งคือ “โครงการนวัตกรรมค่ายอาสาพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพ” เป็นต้น
ตลอดระยะเวลากว่า 35 ปี มูลนิธิโกมลคีมทองเปิดโอกาสให้สามัญชนคนหนุ่มสาวได้เริ่มคิด และร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมและตนเองเป็นที่เพาะต้นกล้าแห่งความดี ความงาม และความจริง เป็นแหล่งพักพิงของคนที่มีเชื้อไฟแห่งความเอื้ออาทร แม้มูลนิธิฯ แห่งนี้จะไม่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างระดับประเทศแต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีเยาวชนหนุ่มสาวจำนวนไม่น้อยเคยได้รับแรงบันดาลใจและเกิดการพัฒนาจิตสำนึกฝ่ายดีขึ้นจากที่แห่งนี้ สมตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งมูลนิธิฯ และตามอุดมคติที่ดีงามของครูโกมล คีมทอง หนุ่มสามัญชนผู้ซึ่งยอมตนเป็นอิฐก้อนแรกก้อนนั้น
“หินก้อน แรกร่วง ลงพื้น ก้อนอื่น ร่วงตาม ทับถม
กลบมิด ก้อนเก่า เจ้าจม สะสม เป็นทาง ให้เดิน”
หากเป็นคนที่อายุ 40 กว่าขึ้นไป อาจเคยได้ยินได้ฟัง หรือจำได้ว่า เมื่อกว่า 30 ปีมาแล้ว มีข่าวใหญ่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ข่าวหนึ่งที่โด่งดังมาก เกี่ยวกับบัณฑิตหนุ่มสาวจากจุฬาฯ 2 คน ถูกยิงเสียชีวิตขณะอุทิศตนเป็นครูเข้าไปตั้งโรงเรียนสอนหนังสือแก่เด็กในท้องถิ่นทุรกันดารที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี คนหนึ่งนั้นคือ โกมล คีมทอง อีกคนเป็นเพื่อนของเขาที่ชื่อ รัตนา สกุลไทย ความน่าสนใจของชายหนุ่มคนนี้อยู่ตรงที่ว่า เขาเป็นคนหนุ่มที่ไม่เคยลังเลใจในการประกาศปณิธานแห่งชีวิตของตนว่า “จะขอเป็นครูตราบชั่วชีวิต” ตั้งแต่เมื่ออายุยังน้อยและยังศึกษาอยู่ ทั้งที่ด้วยโอกาสของเขาหลังจากจบการศึกษาแล้ว สามารถไต่บันไดทางการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือเสาะหาอาชีพที่ทำให้สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเขาดีขึ้นได้โดยไม่ลำบากนัก ตามอย่างเพื่อนนิสิตนักศึกษาทั่วไปในสมัยนั้น
การศึกษา
เด็กชายโกมลใช้ชีวิตวัยเด็กและได้รับการศึกษาขั้นต้นจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และมาต่อที่โรงเรียนบ้านหมี่วิทยาจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สอบไล่ได้ 87 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นได้มาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยอาศัยอยู่กับบ้านญาติ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่สาว ในเขตบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี จนเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนกศิลปะ เมื่อปี 2509 สอบไล่ได้ 72.70 เปอร์เซ็นต์ และในสมัยนุ่งกางเกงขาสั้นนั้น เขาเคยทำกิจกรรมด้านหนังสือมาบ้าง เนื่องจากเรียนมาทางสายศิลปะ และมีแววทางด้านการขีดเขียน ส่วนกิจกรรมด้านอื่นๆ ไม่ปรากฏหลักฐานให้เห็น ท้ายสุดโกมลจบชั้นอุดมศึกษาจากคณะครุศาสตร์ สาขามัธยมศึกษา เอกวิชาสังคมศึกษา โทภาษาฝรั่งเศส ในปีการศึกษา 2512
ยุคสมัยที่โกมลเข้ามาเป็นนิสิตโก้เก๋ที่จุฬา ฯ นั้น ประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองของเผด็จการทหาร กิจกรรมของเหล่าปัญญาชนในรั้วมหาวิทยาลัยจึงมีแต่เรื่องการเชียร์ การแข่งขันกีฬา (ซึ่งมักแถมการยกพวกตีกัน) การจัดงานเต้นรำ การดูภาพยนตร์ ส่วนกิจกรรมประเทืองปัญญาก็เพิ่งเริ่มได้ไม่นานนัก การออกค่ายอาสาพัฒนาชนบทเริ่มเป็นที่นิยม โดยบางคนมองว่าเป็นเรื่องแฟชั่น แหล่งเที่ยวของวัยรุ่นคือตามโรงภาพยนตร์ ขณะที่สยามสแควร์ยังไม่แจ้งเกิด หนุ่มสาวอาศัยงานบอลล์เป็นที่พบปะ นักร้องที่ชื่นชอบก็เป็นพวกฝรั่งตะวันตก
เมื่อได้อ่านสมุดบันทึกประจำวัน ปี 2510 หรือ อนุทิน 2510 ของโกมลจะพบว่า เขาสนใจเรียนภาษาฝรั่งเศส และสังคมศึกษามาก ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องใช้การท่องจำมากทั้งคู่ นี้ทำให้เขาเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมนุมสังคมศึกษาของคณะตั้งแต่อยู่ปี 1 แต่เมื่อมีการเลือกตั้งกรรมการชุมนุมชุดใหม่ในปลายปีการศึกษานั้น เขากลับพลาดตำแหน่งรองประธาน รวมถึงตำแหน่งหัวหน้าชั้นปีที่ 2 โดยที่ความขยันขันแข็งในการเรียน ความใฝ่รู้ และการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงงานทางด้านหนังสือ ก็เริ่มส่อแววให้เห็นได้ตั้งแต่ปีแรกนี้
จนกระทั่งหยุดภาคเรียนในเทอมปลาย (พฤษภาคม 2510) โกมลได้ไปร่วมค่ายอาสาพัฒนานิสิตนักศึกษาไทย-อิสลาม ที่ค่ายบ้านทอน จังหวัดนราธิวาส ซึ่งถือว่าเป็นการไปค่ายครั้งแรก และที่ปัตตานี ซึ่งมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (อดีต รมต.ว่าการกระทรวงมหาดไทย) รุ่นพี่คณะครุศาสตร์เป็นผู้อำนวยการค่าย เขาเองรับหน้าที่ช่วยงานด้านวิชาการให้กับค่ายนี้ เขาจึงได้ไปรู้ไปเห็นวิธีการจัดและดำเนินการค่าย ทำให้ในเวลาต่อมา โกมลได้เข้าไปร่วมและจัดกิจกรรมค่ายอีกหลายครั้งอย่างสนุกและกระตือรือร้น
ปีที่ 2 ปีแห่งการศึกษางานค่าย
ช่วงปีนี้โกมลเริ่มให้ความสนใจกับการศึกษามากขึ้น โดยอยากรู้ความเป็นไปของการศึกษาในบ้านเมืองว่าเขาทำกันอย่างไร อะไรคือจุดบกพร่องและจุดอ่อน สภาพความเป็นจริงกับสภาพที่เรียนๆ กันอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างไร เพื่อนกลุ่มนี้เคยคิดที่จะตั้งชุมนุมวิชาการศึกษาขึ้นในคณะครุศาสตร์ เพื่อร่วมสนทนากันในเรื่องของการศึกษา พากันไปเที่ยวเยี่ยมเยือนโรงเรียนตามที่ต่างๆ โดยคิดไกลถึงขนาดว่าอย่างน้อยๆ ก็จะดึงอาจารย์ที่เคารพนับถือให้ไปรู้จักความจริงของสภาพแวดล้อมกับตนบ้าง
จากจุดเริ่มต้นของการคิดตั้งชุมนุมวิชาการศึกษา ผนวกกับความสนใจในกิจกรรมโดยเฉพาะค่ายอาสาเป็นพิเศษนี้เอง ที่เป็นพลังให้โกมลได้ดำเนินการจัดตั้ง “ค่ายพัฒนาการศึกษา” ขึ้นในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนในปี 2511 ที่แปดริ้ว บ้านบางขวัญ ตำบลบางขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยเขาเป็นผู้อำนวยการค่าย หลังจากกลับจากค่ายฝึกผู้นำนิสิตนักศึกษาอาสาพัฒนา ที่บ้านนายาง จังหวัดหนองคาย ซึ่งทำให้เขามีเพื่อนต่างสถาบันมาก รวมถึงค่ายอาสาสมัครของสโมสรนิสิตจุฬาฯ ที่บ้านหนองแปน บ้านโนนสูง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โกมลถือได้ว่าเป็นคนแรกๆ ที่เริ่มตั้งค่ายพัฒนาการศึกษาเฉพาะ คือไปให้การศึกษาเด็ก ไปช่วยโรงเรียน ถือเป็นค่ายแบบใหม่ของสโมสรนิสิตจุฬาฯ (เดิมเป็นค่ายของคณะครุศาสตร์) เพราะมุ่งให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษามากกว่าเรื่องการสงเคราะห์ หรือการก่อสร้างถาวรวัตถุให้แก่ชาวบ้าน และค่ายนั้นก็ได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม นั่นแสดงว่าเขาสนใจในงานอาสาสมัคร งานเสียสละ เท่าๆ กับงานด้านความคิด ด้านปัญญา
ปีที่ 3 ปีแห่งการเรียนรู้โลกภายนอก
ชีวิตของโกมลมาเปลี่ยนแปลงมากที่สุดเมื่อตอนเรียนอยู่ปีที่ 3 เขาใช้ชีวิตเพื่อความรู้และความคิดที่กว้างขวางลึกซึ้งมากที่สุด หลังจากที่คลุกคลีกับงานอาสาสมัครมามากพอควรแล้ว ก็เห็นได้ชัดว่าเขาหันเหชีวิตมาสนใจกิจกรรมทางด้านความคิดความอ่านและปัญหาบ้านเมืองอย่างจริงจังมากขึ้น โดยเริ่มวางมือจากงานค่าย มาติดตามกิจกรรมแทบทุกประเภท โดยเฉพาะด้านการศึกษา เขาแทบจะไม่ขาดเลยแม้แต่ครั้งเดียว ไม่ว่าจะเป็นที่หอประชุมคุรุสภา หอสมุดแห่งชาติ โรงพยาบาลสงฆ์ หอประชุมจุฬาฯ หอประชุมธรรมศาสตร์ และแม้จนหอประชุมเอยูเอ รวมถึงได้ร่วมทำกิจกรรมกับนักศึกษาต่างสถาบันอีกด้วย
“ชมรมปริทัศน์เสวนา” มีส่วนอย่างสำคัญในการปลูกฝังคุณลักษณะหลายอย่างให้กับโกมล และเขาเองได้เป็นสมาชิกประจำของชมรมนี้อยู่เสมอๆ ทำให้เขามีโอกาสพบปะกับผู้รู้และนักคิดต่างๆ มากมาย ได้ฟังทัศนะต่างๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้ถกเถียงแลกเปลี่ยนทางความคิดอย่างจริงจัง คุณสมบัติประการหลังติดตัวเขาไปตลอดเวลาจวบจนสิ้นชีวิต
ปีสุดท้ายของชีวิตมหาวิทยาลัย
ในปีสุดท้ายของมหาวิทยาลัยโกมลให้ความสนใจกับกิจกรรมภายนอกมากขึ้น โดยค่อยๆ ละงานอื่นๆ เกือบหมด และรับทำงานให้ชมรมปริทัศน์เสวนา จนเขาได้รับเลือกจากบรรดาเพื่อนๆ ให้เป็นประธานของชมรม ในช่วงปี 2512-2513 ปรากฏว่าเขาเป็นประธานที่เอางานเอาการ จัดทั้งด้านสัมมนา ทั้งด้านปาฐกถาและอภิปราย และช่วงเทอมสุดท้ายในชีวิตการเรียนในห้องสี่เหลี่ยม เขายังรับเป็นบรรณกรให้ สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ฉบับนิสิตนักศึกษา ฉบับที่ 9 เดือนกุมภาพันธ์ 2513
ขณะเดียวกัน โกมลก็เริ่มมีงานเขียนโดยเฉพาะบทความที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและอื่นๆ ปรากฏเผยแพร่ตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ จำนวนไม่ใช่น้อย ทั้งใน ศูนย์ศึกษา จารุสัมพันธ์ สังคมศาสตร์ปริทัศน์ จุฬาฯ สาร เป็นต้น ข้อเขียนของเขานั้นอ่านง่าย มีความไพเราะและนุ่มนวลทางภาษา เพราะเขาเขียนออกมาจากความคิดความรู้สึกของตนเอง ผลงานของเขาจึงเป็นผลงานในทางความคิด พอๆ กับในทางภาษา
ความเป็นบัณฑิตที่แท้
นอกจากนี้ โกมลยังได้แสดงทัศนะค่อนข้างชัดเจนเกี่ยวกับใบปริญญาบัตรตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ ดังจดหมายที่เขาเขียนถึง พี่นันทา เนียมศรีจันทร์ ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2513 ตอนหนึ่งกล่าวว่า “ผมจะจบหลักสูตรในหนึ่งเดือนข้างหน้านี้ แต่ผมอาจพูดได้เต็มปากเลยว่าไม่มีความยินดียินร้ายเลย ถ้าจะให้คิดว่าผมกำลังได้ใบปริญญาบัตร ผมไม่ค่อยเห็นคุณค่าข้อนี้ จะเป็นความผิดความถูกอย่างไรไม่ทราบ แต่ตระหนักอยู่ในใจว่า เมื่อได้ใบนี้แล้วสถานที่ที่ผมทำงานเขาเอาไปตีราคาให้เงินเดือน ผมก็ยังรู้สึกได้อย่างเดียวว่า เงิน 1,250 บาทที่ให้ผมนั้นมาเทียบกับค่าแรงผมไม่ได้ นี่คิดถึงเรื่องค่าของใบปริญญาบัตร และจะให้คิดว่าผมจบปริญญาบัตรแล้วมีความรู้แล้ว ความคิดนี้ก็ขัดกับความรู้สึกส่วนลึกที่คอยบอกตัวเองอยู่เวลานี้ว่าผมไม่รู้อะไรเลย ผมยังมีแต่ความลังเล สงสัย ความไม่เข้าใจ และตื่นที่สุด เมื่อเป็นเช่นนี้ผมจะไปภูมิใจว่าผมสำเร็จแล้วอย่างไรได้”
โกมล คีมทอง สนใจงานอาสาสมัคร งานเสียสละ เท่าๆ กับงานด้านความคิด งานด้านปรัชญา เขาไม่เพียงแต่สนใจเพราะความสนุก เพราะแฟชั่น หรือเพราะความขี้โอ่ที่จะอวดแก่ชาวบ้านเท่านั้น แต่เขาสนใจที่จะศึกษาถึงแก่นแท้ของค่ายว่าคืออะไร งานค่ายนั้นมีความสำคัญอยู่ที่ไหน เมื่อสำเร็จการศึกษาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้ว โกมล คีมทอง ได้ก่อตั้งและเป็นครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลที่เหมืองห้วยในเขา ตำบลบ้านส้อง กิ่งอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดการศึกษาแบบ โรงเรียนชุมชน โดยมีความมุ่งหมายให้โรงเรียนนี้เป็นศูนย์รวมทางประสบการณ์ของชาวบ้านและเด็กๆ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ให้ชาวบ้านรู้สึกว่ามีสิทธิ์เป็นเจ้าของโรงเรียน ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ค้นหาสิ่งที่ดีงามต่างๆ ที่ชุมชนนั้นมีอยู่ เช่น มโนราห์ นิทานชาวบ้าน พยายามส่งเสริมค่านิยมทางจิตใจ และเจตคติด้านความรักท้องถิ่น นับว่าเป็นตัวอย่างของคนหนุ่มที่มีความคิดและปรับเปลี่ยนความคิดออกเป็นการกระทำ ด้วยความมานะพยายามและความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
มูลนิธิโกมลคีมทอง
แบบอย่างของครูโกมลได้สร้างความศรัทธาให้กับผู้อยู่ข้างหลัง ร่วมกันจัดตั้งมูลนิธิในนามของเขา คือ มูลนิธิโกมล คีมทอง ขึ้นในปี พ.ศ.2514 โดยมิใช่เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เขาเท่านั้น หากยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสานต่อและสนับสนุนผู้มีอุดมคติให้แพร่หลายในสังคม และเพื่อกระตุ้นเตือน สนับสนุนให้บุคคลมีความเสียสละเพื่อสังคม มีอุดมคติ และเป็นผู้นำชุมชนที่ดี
กิจกรรมของมูลนิธิโกมล คีมทองที่เคยดำเนินการมามีหลากหลาย เช่น จัดพิมพ์หนังสือต่างๆ ที่เสนอแนวความคิดใหม่ๆ แก่สังคม อันได้แก่ แนวศาสนธรรมประยุกต์ แนวเกษตรกรรมธรรมชาติ แนวนิเวศวิทยา แนวอหิงสา-สันติวิธี แนวสุขภาพและวัฒนาอายุรศาสตร์ นอกจากนี้ยังจัดทำวารสาร ปาจารยสาร หนังสือพิมพ์ ชาวบ้าน และให้ความสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่ยังประโยชน์ให้สังคม เช่น โครงการค้นคว้าเกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อการพึ่งตนเอง โครงการอาหารกลางวันเด็กนักเรียน โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก โครงการแด่น้องผู้หิวโหย โครงการห้องสมุดแสงตะวัน โครงการปันรักเพื่อเด็กเร่ร่อน ฯลฯ
ปัจจุบัน มูลนิธิโกมลคีมทองมีหน่วยงานและกิจกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
สำนักพิมพ์ ก่อตัวขึ้นมาควบคู่กับการจัดตั้งมูลนิธิฯ ในระยะแรกจัดพิมพ์ในรูปแบบของจุลสาร ต่อมาเน้นหนังสือเกี่ยวกับการนำศาสนามาประยุกต์ใช้กับสังคมที่ซับซ้อน รวมถึงหนังสือในแนวการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง และการพึ่งตนเองของชุมชนระดับหมู่บ้าน ปัจจุบันสำนักพิมพ์ยังคงนำเสนอหนังสือที่เป็นทางเลือกใหม่ให้กับสังคม อันได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการพึ่งตนเอง การใช้ชีวิตเรียบง่าย แนวศาสนธรรมประยุกต์ แนวเกษตรกรรมธรรมชาติ แนวนิเวศวิทยา แนวอหิงสา-สันติวิธี แนวสุขภาพและวัฒนายุรศาสตร์ และอื่นๆ
งานเผยแพร่อุดมคติ เริ่มกิจกรรมเมื่อปี 2526 เน้นงานทางด้านการเผยแพร่โดยใช้สื่อต่างๆ อาทิ จุลสาร สารโกมล การจัดอภิปรายเสวนาร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในประเด็นที่น่าสนใจ การฝึกอบรมเพื่อการเข้าใจตนเอง เช่น นพลักษณ์ และการสนับสนุนค่ายอาสาพัฒนาของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งคือ “โครงการนวัตกรรมค่ายอาสาพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพ” เป็นต้น
ตลอดระยะเวลากว่า 35 ปี มูลนิธิโกมลคีมทองเปิดโอกาสให้สามัญชนคนหนุ่มสาวได้เริ่มคิด และร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมและตนเองเป็นที่เพาะต้นกล้าแห่งความดี ความงาม และความจริง เป็นแหล่งพักพิงของคนที่มีเชื้อไฟแห่งความเอื้ออาทร แม้มูลนิธิฯ แห่งนี้จะไม่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างระดับประเทศแต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีเยาวชนหนุ่มสาวจำนวนไม่น้อยเคยได้รับแรงบันดาลใจและเกิดการพัฒนาจิตสำนึกฝ่ายดีขึ้นจากที่แห่งนี้ สมตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งมูลนิธิฯ และตามอุดมคติที่ดีงามของครูโกมล คีมทอง หนุ่มสามัญชนผู้ซึ่งยอมตนเป็นอิฐก้อนแรกก้อนนั้น
“หินก้อน แรกร่วง ลงพื้น ก้อนอื่น ร่วงตาม ทับถม
กลบมิด ก้อนเก่า เจ้าจม สะสม เป็นทาง ให้เดิน”