ปลัดสาธารณสุข เผยมีปัญหาอุบัติเหตุหมู่เกิดขึ้นถี่ใน จ.สุราษฎร์ธานี เดือนมกราคมปีนี้พบแล้ว 8 ครั้ง เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว เร่งพัฒนาหน่วยแพทย์ฉุกเฉินครอบคลุมทุกอำเภอ และประชาสัมพันธ์เบอร์โทร 1669 ให้ประชาชน นักเรียนพกติดกระเป๋า เพื่อโทรแจ้งทันทีเมื่อพบเหตุ
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมความพร้อมของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี พบว่าบริการการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลขณะนี้กว่าร้อยละ 70 เป็นผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร ที่เหลือเป็นการป่วยฉุกเฉินจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ที่น่าสังเกตคือ มีอุบัติเหตุหมู่เกิดในพื้นที่บ่อยขึ้น เช่น รถแหกโค้ง รถทัวร์พลิกคว่ำ ในเดือนมกราคม 2550 นี้ มีประมาณ 8 ครั้ง เพิ่มจากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมาประมาณ 3 เท่าตัว แต่ละครั้งมีคนเจ็บมากกว่า 10 รายขึ้นไป จำเป็นต้องได้รับการช่วยชีวิตอย่างรวดเร็วพร้อม ๆ กัน
ขณะนี้โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีได้พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินทั้งแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ รถพยาบาลฉุกเฉินพร้อมเครื่องมือแพทย์ประจำรถ ระบบการสื่อสาร รวมทั้งเครือข่ายบริการซึ่งมีทั้งโรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภอ และมูลนิธิต่าง ๆ กว่า 19 มูลนิธิด้วย ขณะเดียวกันได้เร่งประชาสัมพันธ์เบอร์โทรแจ้งเหตุตรง 1669 ชนิดพกพาในกระเป๋าได้ แจกให้ผู้ป่วยและญาติที่มาใช้บริการในโรงพยาบาล รวมนักเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ พกใส่กระเป๋า เมื่อพบเหตุสามารถโทรแจ้งได้ทันที จากการประเมินผลพบว่าประชาชนใช้บริการโทรแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือทาง 1669 เพิ่มขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว ส่งผลหน่วยแพทย์ฉุกเฉินรู้เหตุเร็วมากขึ้น และสามารถออกไปให้การช่วยเหลือถึงจุดเกิดเหตุภายใน 10 นาทีได้มากกว่าร้อยละ 70 ทำให้ผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอดชีวิตและได้รับการช่วยเหลือส่งโรงพยาบาลได้อย่างปลอดภัย
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมความพร้อมของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี พบว่าบริการการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลขณะนี้กว่าร้อยละ 70 เป็นผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร ที่เหลือเป็นการป่วยฉุกเฉินจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ที่น่าสังเกตคือ มีอุบัติเหตุหมู่เกิดในพื้นที่บ่อยขึ้น เช่น รถแหกโค้ง รถทัวร์พลิกคว่ำ ในเดือนมกราคม 2550 นี้ มีประมาณ 8 ครั้ง เพิ่มจากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมาประมาณ 3 เท่าตัว แต่ละครั้งมีคนเจ็บมากกว่า 10 รายขึ้นไป จำเป็นต้องได้รับการช่วยชีวิตอย่างรวดเร็วพร้อม ๆ กัน
ขณะนี้โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีได้พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินทั้งแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ รถพยาบาลฉุกเฉินพร้อมเครื่องมือแพทย์ประจำรถ ระบบการสื่อสาร รวมทั้งเครือข่ายบริการซึ่งมีทั้งโรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภอ และมูลนิธิต่าง ๆ กว่า 19 มูลนิธิด้วย ขณะเดียวกันได้เร่งประชาสัมพันธ์เบอร์โทรแจ้งเหตุตรง 1669 ชนิดพกพาในกระเป๋าได้ แจกให้ผู้ป่วยและญาติที่มาใช้บริการในโรงพยาบาล รวมนักเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ พกใส่กระเป๋า เมื่อพบเหตุสามารถโทรแจ้งได้ทันที จากการประเมินผลพบว่าประชาชนใช้บริการโทรแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือทาง 1669 เพิ่มขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว ส่งผลหน่วยแพทย์ฉุกเฉินรู้เหตุเร็วมากขึ้น และสามารถออกไปให้การช่วยเหลือถึงจุดเกิดเหตุภายใน 10 นาทีได้มากกว่าร้อยละ 70 ทำให้ผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอดชีวิตและได้รับการช่วยเหลือส่งโรงพยาบาลได้อย่างปลอดภัย