กทม.สร้างประติมากรรมกังหันน้ำชัยพัฒนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา พร้อมเร่งติดตั้งกังหันน้ำชัยพัฒนาตามสระน้ำต่างๆ ในสวนสาธารณะอีก 80 เครื่อง เพื่อแก้ไขมลพิษทางน้ำ

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ กทม.จึงได้จัดสร้างกังหันน้ำชัยพัฒนาเฉลิมพระเกียรติ หรือชื่อเรียกทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมว่า เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคิดค้นและพระราชทานให้กับพสกนิกรชาวไทยเพื่อแก้มลพิษทางน้ำ เติมออกซิเจนให้กับน้ำหรือใช้เพื่อขับเคลื่อนน้ำได้ โดย กทม.จะดำเนินการใน 3 ส่วนคือ ติดตั้งประติมากรรมกังหันน้ำชัยพัฒนาบริเวณสวนสาธารณะของ กทม. 3 แห่งได้แก่ สวนวชิรเบญจทัศ สวนลุมพินี และสวนหลวง ร.9 ซึ่งประติมากรรมดังกล่าวทำจากโลหะทองเหลืองและมีขนาดเท่าของจริง คือ กว้าง 2 เมตร สูง 2.50 เมตรจากพื้นติดตั้งบนฐานซึ่งตัวฐานทั้ง 4 ด้านแต่ละด้านจะมีการบันทึกความเป็นมาของกังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นภาษาต่างๆ จำนวน 4 ภาษา คือ ภาษาไทย จีน อังกฤษ และฝรั่งเศส ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้นประมาณ 60-90 วัน
สำหรับส่วนที่ 2 กทม.จะติดตั้งกังหันน้ำชัยพัฒนาซึ่งจัดสร้างตามขนาดความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่จะติดตั้งในบริเวณสระน้ำ บึงภายในสวนสาธารณะ ได้แก่ สวนลุมพินี สวนจตุจักร สวนสราญรมย์ สวนเสรีไทย สวนวชิรเบญจทัศ สวนธนบุรีรมย์ สวนหลวง ร.9 สวนพระนคร รวมติดตั้งทั้งหมดจำนวน 80 เครื่อง และส่วนที่ 3 กทม.จะจัดภูมิทัศน์ให้มีสภาพสอดคล้องกับสภาพพื้นที่โดยจะนำแนวทางพระราชดำริในการแก้ไขป้องกันการกัดเซาะผิวดินด้วยการปลูกหญ้าแฝกมาดำเนินการด้วย
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ กทม.จึงได้จัดสร้างกังหันน้ำชัยพัฒนาเฉลิมพระเกียรติ หรือชื่อเรียกทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมว่า เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคิดค้นและพระราชทานให้กับพสกนิกรชาวไทยเพื่อแก้มลพิษทางน้ำ เติมออกซิเจนให้กับน้ำหรือใช้เพื่อขับเคลื่อนน้ำได้ โดย กทม.จะดำเนินการใน 3 ส่วนคือ ติดตั้งประติมากรรมกังหันน้ำชัยพัฒนาบริเวณสวนสาธารณะของ กทม. 3 แห่งได้แก่ สวนวชิรเบญจทัศ สวนลุมพินี และสวนหลวง ร.9 ซึ่งประติมากรรมดังกล่าวทำจากโลหะทองเหลืองและมีขนาดเท่าของจริง คือ กว้าง 2 เมตร สูง 2.50 เมตรจากพื้นติดตั้งบนฐานซึ่งตัวฐานทั้ง 4 ด้านแต่ละด้านจะมีการบันทึกความเป็นมาของกังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นภาษาต่างๆ จำนวน 4 ภาษา คือ ภาษาไทย จีน อังกฤษ และฝรั่งเศส ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้นประมาณ 60-90 วัน
สำหรับส่วนที่ 2 กทม.จะติดตั้งกังหันน้ำชัยพัฒนาซึ่งจัดสร้างตามขนาดความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่จะติดตั้งในบริเวณสระน้ำ บึงภายในสวนสาธารณะ ได้แก่ สวนลุมพินี สวนจตุจักร สวนสราญรมย์ สวนเสรีไทย สวนวชิรเบญจทัศ สวนธนบุรีรมย์ สวนหลวง ร.9 สวนพระนคร รวมติดตั้งทั้งหมดจำนวน 80 เครื่อง และส่วนที่ 3 กทม.จะจัดภูมิทัศน์ให้มีสภาพสอดคล้องกับสภาพพื้นที่โดยจะนำแนวทางพระราชดำริในการแก้ไขป้องกันการกัดเซาะผิวดินด้วยการปลูกหญ้าแฝกมาดำเนินการด้วย