สถาบันธรรมรัฐแนะใช้หลักอริยสัจ 4 แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ระบุควรใช้ระบบศาลมาดำเนินคดีเพื่อชดเชยผู้เสียหายอย่างเป็นธรรม ฟันธงสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจประเทศต้องเดินควบคู่กัน กระตุ้นรัฐสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมโดยพิจารณาจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก พร้อมกับตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อเร่งจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อเร็วๆ นี้ แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ร่วมกับองค์กรภาคีด้านสิ่งแวดล้อม จัดเวทีนโยบายสาธารณะเรื่อง “นโยบายสาธารณะทางเลือกเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ” ซึ่งมีท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ เสถียรไทย ประธานสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้อภิปราย โดยท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมการผลิตในยุคโลกาภิวัตน์เป็นการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างประเทศ โดยผลพวงจากอุตสาหกรรมการผลิตนำปัญหามากมายมาสู่สังคม เช่น ปัญหาการเจ็บป่วยของแรงงาน ปัญหาสารพิษจากอุตสาหกรรม เป็นต้น
อุตสาหกรรมที่เข้าสู่ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการประกอบชิ้นส่วนที่เน้นการใช้แรงงานมากกว่าการผลิตที่เน้นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มจากการออกแบบและใช้เทคโนโลยีกำลังนำสังคมไทยไปเผชิญปัญหามากมาย ดังนั้น หากต้องการแก้ปัญหาเหล่านี้ ควรนำอริยสัจ 4 มาใช้เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ตามมาจากการลงทุนด้านอุตสาหกรรมระหว่างประเทศที่มีอยู่มากมายในประเทศไทยตอนนี้ อันเนื่องมาจากการกระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศ
“ทางเลือกสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยไม่ละทิ้งสิ่งแวดล้อม สามารถนำอริยสัจ 4 มาช่วยวิเคราะห์ได้ ซึ่งประกอบด้วย
1.ทุกข์ หมายถึง ปัญหา ได้แก่ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ
2.สมุทัย หมายถึง สาเหตุของปัญหา ซึ่งแบ่งเป็นปัญหาระดับนโยบายและระดับพื้นที่
3. นิโรธ หมายถึง ภาวะไม่มีทุกข์ ซึ่งมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ การมีธรรมาภิบาล การพัฒนาที่ยั่งยืน และการสร้างสังคมที่มีความสุขสงบ และ
4. มรรค หมายถึง แนวทางแก้ปัญหา ซึ่งแบ่งเป็นส่วนการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมเพื่อลดผลกระทบ และส่วนของการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศเพื่อสร้างเศรษฐกิจและสังคมเข้มแข็งสงบสุข”
ท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ กล่าว และว่า หากลงลึกในสาเหตุของปัญหาระดับนโยบายจะพบว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทั้ง 9 แผนของประเทศไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม แต่กลับให้น้ำหนักต่อการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเองยังยอมรับว่าแผนที่มีอยู่ไม่ได้ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
ประธานสถาบันธรรมรัฐฯ กล่าวต่อว่า การขาดระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลเป็นปัญหาระดับนโยบายอีกประการหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นการเติบโตของประเทศที่เน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมโดยขาดธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ ขาดการตรวจสอบและถ่วงดุล รวมถึงมีหน่วยงานที่มีหน้าที่ซ้ำซ้อนทั้งรับผิดชอบดูแลเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมอุตสาหกรรมในอันเดียวกัน ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนจึงตามมาภายหลัง
“ปัจจุบันหน่วยงานกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานเดียวกัน ทำให้การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมติดขัด ซึ่งการแก้ปัญหาสามารถทำได้โดยการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม ได้แก่ การปรับโครงสร้างและกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมที่เป็นอยู่ การใช้ระบบศาลและการดำเนินคดีด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม รวมถึงการชดเชยให้ผู้เสียหายอย่างเป็นธรรมด้วย”
ท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ควรมีการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมประเทศ เช่น การเลือกสรรอุตสาหกรรมที่ดีเข้ามาลงทุน โดยพิจารณาจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเงื่อนไขหลัก และควรมีการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศและพัฒนาเทคโนโลยีของตนเอง เพื่อลดการพึ่งพิงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รวมทั้งควรแบ่งแผนการพัฒนาออกเป็นระยะสั้น และระยะยาว
แนวทางการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะสั้น ควรเป็นแนวทางที่อาศัยปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเป็นกระบวนการที่ยกระดับการผลิตให้สูงขึ้นด้วยการอาศัยปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในปัจจุบันมาขับเคลื่อนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรม ซึ่งภาครัฐควรมีนโยบายเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพหรืออุตสาหกรรมที่โดดเด่นให้สามารถยกระดับไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
สำหรับแนวทางการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะยาว ควรส่งเสริมให้มีการยกระดับอุตสาหกรรมให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นได้ ทั้งยังควรมีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองควบคู่ไปด้วย เพื่อลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยภาครัฐต้องมีนโยบายในการส่งเสริมภาคเอกชนของไทยให้สามารถสร้างเทคโนโลยีของตนเองด้วยการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น หน่วยงานรับรองมาตรฐานนวัตกรรมใหม่ๆ ของคนไทย ซึ่งหากยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งระยะสั้นและยาวได้อย่างเป็นกระบวนการและขั้นตอน จะช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี
“ประเทศที่ไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ต้องพึ่งพิงต่างประเทศเป็นหลัก จะกลายเป็นประเทศที่ไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ แม้แต่การรักษามาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นทั้งยังเป็นการผลักให้บริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนไปแสวงหาฐานการลงทุนใหม่ที่มีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า”
ท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยควรมีกลไกการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดตั้งกองทุนในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงและรีบด่วน การมีกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจที่เป็นธรรม ตลอดจนการบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยใช้ข้อมูลผลกระทบแต่ละทางเลือกเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เช่น กรณีการทำเอฟทีเอระหว่างไทยกับอเมริกานั้น ประเทศอเมริกาได้นำสิ่งแวดล้อมมาเป็นเงื่อนไขทางการค้า ทำให้ผู้ค้าต้องคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเด็นที่ทำให้ภาคเอกชนของอเมริกาสามารถฟ้องรัฐบาลไทยได้ หากพบว่านโยบายหรือกฎหมายของไทยขัดขวางการลงทุนของเขา
ด้าน ดร.วันทนีย์ จองคำ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันการแข่งขันเชิงเศรษฐกิจเป็นพลวัตที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากต้องการใช้นวัตกรรมเป็นทางออกหนึ่งในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม รัฐบาลจะต้องมีนโยบายหรือการจัดการที่แก้ปัญหาได้ ที่สำคัญไม่ควรแยกสิ่งแวดล้อมออกจากเรื่องเศรษฐกิจ เช่น ประเทศญี่ปุ่น หรือเยอรมนี ที่เศรษฐกิจจะเดินควบคู่ไปพร้อมกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ประเทศไทยควรมีการส่งเสริมให้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเข้มแข็งกว่านี้ มีการจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเร่งจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นแล้วขณะนี้โดยเร็วด้วย
เมื่อเร็วๆ นี้ แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ร่วมกับองค์กรภาคีด้านสิ่งแวดล้อม จัดเวทีนโยบายสาธารณะเรื่อง “นโยบายสาธารณะทางเลือกเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ” ซึ่งมีท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ เสถียรไทย ประธานสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้อภิปราย โดยท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมการผลิตในยุคโลกาภิวัตน์เป็นการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างประเทศ โดยผลพวงจากอุตสาหกรรมการผลิตนำปัญหามากมายมาสู่สังคม เช่น ปัญหาการเจ็บป่วยของแรงงาน ปัญหาสารพิษจากอุตสาหกรรม เป็นต้น
อุตสาหกรรมที่เข้าสู่ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการประกอบชิ้นส่วนที่เน้นการใช้แรงงานมากกว่าการผลิตที่เน้นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มจากการออกแบบและใช้เทคโนโลยีกำลังนำสังคมไทยไปเผชิญปัญหามากมาย ดังนั้น หากต้องการแก้ปัญหาเหล่านี้ ควรนำอริยสัจ 4 มาใช้เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ตามมาจากการลงทุนด้านอุตสาหกรรมระหว่างประเทศที่มีอยู่มากมายในประเทศไทยตอนนี้ อันเนื่องมาจากการกระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศ
“ทางเลือกสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยไม่ละทิ้งสิ่งแวดล้อม สามารถนำอริยสัจ 4 มาช่วยวิเคราะห์ได้ ซึ่งประกอบด้วย
1.ทุกข์ หมายถึง ปัญหา ได้แก่ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ
2.สมุทัย หมายถึง สาเหตุของปัญหา ซึ่งแบ่งเป็นปัญหาระดับนโยบายและระดับพื้นที่
3. นิโรธ หมายถึง ภาวะไม่มีทุกข์ ซึ่งมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ การมีธรรมาภิบาล การพัฒนาที่ยั่งยืน และการสร้างสังคมที่มีความสุขสงบ และ
4. มรรค หมายถึง แนวทางแก้ปัญหา ซึ่งแบ่งเป็นส่วนการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมเพื่อลดผลกระทบ และส่วนของการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศเพื่อสร้างเศรษฐกิจและสังคมเข้มแข็งสงบสุข”
ท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ กล่าว และว่า หากลงลึกในสาเหตุของปัญหาระดับนโยบายจะพบว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทั้ง 9 แผนของประเทศไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม แต่กลับให้น้ำหนักต่อการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเองยังยอมรับว่าแผนที่มีอยู่ไม่ได้ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
ประธานสถาบันธรรมรัฐฯ กล่าวต่อว่า การขาดระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลเป็นปัญหาระดับนโยบายอีกประการหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นการเติบโตของประเทศที่เน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมโดยขาดธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ ขาดการตรวจสอบและถ่วงดุล รวมถึงมีหน่วยงานที่มีหน้าที่ซ้ำซ้อนทั้งรับผิดชอบดูแลเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมอุตสาหกรรมในอันเดียวกัน ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนจึงตามมาภายหลัง
“ปัจจุบันหน่วยงานกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานเดียวกัน ทำให้การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมติดขัด ซึ่งการแก้ปัญหาสามารถทำได้โดยการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม ได้แก่ การปรับโครงสร้างและกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมที่เป็นอยู่ การใช้ระบบศาลและการดำเนินคดีด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม รวมถึงการชดเชยให้ผู้เสียหายอย่างเป็นธรรมด้วย”
ท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ควรมีการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมประเทศ เช่น การเลือกสรรอุตสาหกรรมที่ดีเข้ามาลงทุน โดยพิจารณาจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเงื่อนไขหลัก และควรมีการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศและพัฒนาเทคโนโลยีของตนเอง เพื่อลดการพึ่งพิงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รวมทั้งควรแบ่งแผนการพัฒนาออกเป็นระยะสั้น และระยะยาว
แนวทางการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะสั้น ควรเป็นแนวทางที่อาศัยปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเป็นกระบวนการที่ยกระดับการผลิตให้สูงขึ้นด้วยการอาศัยปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในปัจจุบันมาขับเคลื่อนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรม ซึ่งภาครัฐควรมีนโยบายเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพหรืออุตสาหกรรมที่โดดเด่นให้สามารถยกระดับไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
สำหรับแนวทางการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะยาว ควรส่งเสริมให้มีการยกระดับอุตสาหกรรมให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นได้ ทั้งยังควรมีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองควบคู่ไปด้วย เพื่อลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยภาครัฐต้องมีนโยบายในการส่งเสริมภาคเอกชนของไทยให้สามารถสร้างเทคโนโลยีของตนเองด้วยการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น หน่วยงานรับรองมาตรฐานนวัตกรรมใหม่ๆ ของคนไทย ซึ่งหากยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งระยะสั้นและยาวได้อย่างเป็นกระบวนการและขั้นตอน จะช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี
“ประเทศที่ไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ต้องพึ่งพิงต่างประเทศเป็นหลัก จะกลายเป็นประเทศที่ไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ แม้แต่การรักษามาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นทั้งยังเป็นการผลักให้บริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนไปแสวงหาฐานการลงทุนใหม่ที่มีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า”
ท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยควรมีกลไกการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดตั้งกองทุนในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงและรีบด่วน การมีกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจที่เป็นธรรม ตลอดจนการบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยใช้ข้อมูลผลกระทบแต่ละทางเลือกเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เช่น กรณีการทำเอฟทีเอระหว่างไทยกับอเมริกานั้น ประเทศอเมริกาได้นำสิ่งแวดล้อมมาเป็นเงื่อนไขทางการค้า ทำให้ผู้ค้าต้องคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเด็นที่ทำให้ภาคเอกชนของอเมริกาสามารถฟ้องรัฐบาลไทยได้ หากพบว่านโยบายหรือกฎหมายของไทยขัดขวางการลงทุนของเขา
ด้าน ดร.วันทนีย์ จองคำ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันการแข่งขันเชิงเศรษฐกิจเป็นพลวัตที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากต้องการใช้นวัตกรรมเป็นทางออกหนึ่งในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม รัฐบาลจะต้องมีนโยบายหรือการจัดการที่แก้ปัญหาได้ ที่สำคัญไม่ควรแยกสิ่งแวดล้อมออกจากเรื่องเศรษฐกิจ เช่น ประเทศญี่ปุ่น หรือเยอรมนี ที่เศรษฐกิจจะเดินควบคู่ไปพร้อมกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ประเทศไทยควรมีการส่งเสริมให้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเข้มแข็งกว่านี้ มีการจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเร่งจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นแล้วขณะนี้โดยเร็วด้วย