อธิการบดี มทร.รัตนโกสินทร์ ยันตระหนักถึงความสำคัญของชื่อพระราชทาน “เพาะช่าง” ไม่คิดจะตัดทิ้ง เพียงแต่ต้องปรับเปลี่ยนตาม พ.ร.บ.มทร.ระบุ 18 ม.ค.นี้ หารือร่วมกันกับคณาจารย์เพื่อหาทางออกเรื่องชื่อ ชี้ 2 แนวทางที่อาจจะทำได้ คือใช้ชื่อ “วิทยาลัยเพาะช่าง” แทนคณะศิลปกรรมศาสตร์ หรือใช้ “คณะศิลปกรรมศาสตร์เพาะช่าง” แต่ต้องเสนอ สกอ.เพื่อพิจารณาก่อน ด้านอธิการบดี มศว ศิษย์เก่าเพาะช่างชี้เปลี่ยนชื่อ “โรงเรียนเพาะช่าง” หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะเป็นนามพระราชทาน สวดยับผู้บริหารไม่ควรทำลายอัตลักษณ์ของสถาบันให้หมดไป เสนอใช้ชื่อ “โรงเรียนเพาะช่าง มทร.รัตนโกสินทร์” ไม่ขัดกับกฎหมาย

ดร.อิสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ อธิการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) รัตนโกสินทร์ กล่าวถึงกรณีที่นักศึกษาและศิษย์เก่าโรงเรียนเพาะช่าง ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์” ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการเปลี่ยนชื่อ “เพาะช่าง” ให้เป็นพียง “คณะศิลปกรรมศาสตร์” อยู่ภายใน มทร.รัตนโกสินทร์ เนื่องจากเป็นนามที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 ว่า ยืนยันว่า ทางผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญของชื่อเพาะช่าง ที่เป็นนามพระราชทาน และไม่คิดที่จะยกเลิกชื่อดังกล่าวออกไป เพียงแต่ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548 ซึ่งในส่วนของ มทร.รัตนโกสินทร์ นั้น เกิดจากการรวมกันของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเพาะช่าง วิทยาเขตศาลายา วิทยาเขตวังไกลกังวล และวิทยาเขตบพิตรภิมุขจักรวรรดิ โดยการเรียกขานชื่อของสถาบันที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น เป็นไปตามข้อบังคับของ พ.ร.บ.มทร.โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องโครงสร้าง
“ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเป็นความไม่เข้าใจในข้อบัญญัติทางกฎหมาย ทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้น ซึ่งใน พ.ร.บ.มทร.ไม่ได้กำหนดเรื่องวิทยาเขต แต่ให้เป็นสำนักงานวิทยาเขตขึ้นมาแทน โดยการจะเป็นสำนักงานวิทยาเขตได้จะต้องมีหน่วยงานในระดับคณะ 2 หน่วยขึ้นไป ซึ่งในส่วนของเพาะช่างจัดสอนสาขาเดียว และอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ไม่ไกลจากศาลายาซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ มทร.รัตนโกสินทร์ รวมทั้งเพื่อให้ประหยัดงบประมาณ และง่ายต่อการบริหารจัดการวิทยาเขต จึงให้เป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์ เนื่องจากเพาะช่างเรียนแค่สาขาเดียว มีคณะเดียว จึงไม่สามารถพิจารณาเป็นสำนักงานวิทยาเขตได้ แต่ทางมหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญของชื่อ จึงจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายใน เรียกว่า “สำนักบริหารเพาะช่าง” ไม่ได้ตัดคำว่าเพาะช่างออกไปอย่างที่เข้าใจกัน”

อธิการบดี มทร.ราชมงคล กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มทร.รัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นเพาะช่างเดิมนั้น ก็อาจจะมีสร้อยต่อท้ายว่า “ศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สำนักบริหารเพาะช่าง” ซึ่งยังมีคำว่าเพาะช่างอยู่ ไมได้หายไปไหน อย่างไรก็ตามอาจจะมีนักศึกษาหรือศิษย์เก่าบางคนไม่ชอบใจนัก เพราะดูค่อนข้างยาว ซึ่งทางมหาวิทยาลัยฯ รับทราบถึงความต้องการของครูอาจารย์และนักศึกษาในเรื่องดังกล่าวดี จึงได้นัดหารือร่วมกันในวันที่ 18 ม.ค.ว่าจะใช้ชื่อเรียกอย่างไร หากไม่อยากใช้ชื่อคณะศิลปกรรมศาสตร์ โดยขอให้ร่วมกันหาทางออกและชื่อที่เหมาะสม แต่ต้องให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.มทร.เพราะมีข้อกำหนดเรื่องการเรียกชื่อหน่วยงานอยู่ ซึ่งสุดท้าย สกอ.เป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ใช้ชื่อใดได้
“เบื้องต้นได้ทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้คัดค้านและเข้าใจด้วยดี โดยได้ปลดป้ายผ้าคัดค้านออกทั้งหมดแล้ว ที่ผ่านมาอาจจะขาดการประชาสัมพันธ์จึงทำให้เข้าใจผิด อย่างไรก็ตามพิจารณาจากข้อบังคับแล้วเห็นว่าอาจจะมี 2 แนวทางที่เป็นไปได้ คือ ใช้ชื่อ “วิทยาลัยเพาะช่าง” เพราะวิทยาลัยสามารถใช้สำหรับชื่อหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนได้ และหากใช้ชื่อวิทยาลัยก็น่าจะสื่อให้เข้าใจถึงสถานะเดิมของเพาะช่างได้ ส่วนอีกแนวทางหนึ่ง คือ เรียกคณะศิลปกรรมศาสตร์ แล้วต่อด้วย เพาะช่าง เป็น "คณะศิลปกรรมศาสตร์เพาะช่าง" เช่นเดียวกับคณะเกษตรบางเขน หรือเกษตรบางพระ เพื่อรักษาชื่อเก่า แต่ทั้งหมดยังไม่ยืนยันว่าจะทำได้หรือไม่ เพราะ สกอ.จะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งในการหารือร่วมกันในวันที่ 18 ม.ค.อาจจะเสนอชื่อให้ สกอ.พิจารณา 2-3 ชื่อ”อธิการบดี มทร.รัตนโกสินทร์กล่าว
ด้าน ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า ตนเป็นศิษย์เก่าคนหนึ่ง อยากบอกว่าเมื่อปี 2456 โรงเรียนเพาะช่างเปิดขึ้นด้วยปณิธานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการให้ศิลปวัฒนธรรมไทยคงอยู่ จึงทรงดำริตั้งโรงเรียนแห่งนี้และยังทรงพระราชทานชื่อว่า “โรงเรียนเพาะช่าง”อายุของโรงเรียนเพาะช่างจากอดีตถึงปัจจุบันอายุ 94 ปี และด้วยเหตุผลต่างๆ นานาที่โรงเรียนแห่งนี้ต้องเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนเพาะช่าง มาเป็นสถาบันเพาะช่าง วิทยาลัยเพาะช่าง วิทยาเขตเพาะช่าง จนมาถึงชื่อคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์นั้น เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทั้งสิ้น
“การที่หลายคนพยายามเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนเพาะช่าง ให้เป็นสถาบัน วิทยาลัย วิทยาเขตหรือมหาวิทยาลัยนั้นเพื่อการทำให้โรงเรียนเพาะช่างถูกยกระดับ หลายคนมองว่าการเป็นโรงเรียนดูต่ำต้อยด้อยค่านั้นเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จะด้วยความไม่รู้ของผู้บริหารหรือด้วยสาเหตุใดๆ ก็ตามเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทั้งสิ้น อยากบอกว่าคำว่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ศักดิ์ศรี เกียรติยศ ยิ่งใหญ่เทียมเท่ามหาวิทยาลัย หรือในกระแสความเป็นสากลการเป็นมหาวิทยาลัย เขาก็มีโรงเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย คำว่าโรงเรียนมีความหมายเท่ากับคณะ วิทยาลัยหรือสถาบันได้
เท่าที่ได้ดู พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มีมาตราอยู่มาตราหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ตั้งชื่อ ซึ่งเทียบเท่าคณะหรือวิทยาลัยได้ ถ้าดูตามมาตราหรือ พ.ร.บ.มทร.การใช้ชื่อว่าโรงเรียนเพาะช่างก็เทียบเท่ากับคำว่าคณะ สถาบัน สำนักหรือวิทยาลัยได้เช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ผมอยากเสนอชื่อว่าควรใช้ชื่อว่า “โรงเรียนเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์” ชื่อพระราชทาน ซึ่งถือเป็นตักศิลาเก่าแก่ก็จะคงอยู่และสอดคล้องไปกับคำว่ามหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด”
ศ.ดร.วิรุณ กล่าวอีกว่า โรงเรียนเพาะช่างเกิดขึ้นมาด้วยกระแสการรับอิทธิพลของชาติตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 4 จวบถึงรัชกาลที่ 5 เมื่อเข้าสู่รัชสมัยของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่าทรงมองอีกมิติหนึ่งที่เป็นคุณูปการต่อประเทศไทยอย่างมาก ซึ่งให้ความสมดุลกับโลกตะวันตกและโลกตะวันออก แม้จะทรงสนใจศิลปวัฒนธรรมตะวันตกมีการแปลวรรณคดีตะวนตก ขณะเดียวกันก็ให้รื้อฟื้นความเป็นไทยขึ้นมา โรงเรียนเพาะช่างเกิดขึ้นมาด้วยปณิธานที่ทรงอยากเห็นความสมดุลของโลกตะวันตกและตะวันออก ให้โรงเรียนแห่งนี้เป็นสถานที่บ่มเพาะช่าง นักเรียนที่มีฝีมือจากทั่วประเทศ ถือเป็นตักศิลาสำคัญของประเทศ มีความเป็นมืออาชีพที่โดดเด่นมาก และเป็นแหล่งตักศิลาที่คนหนุ่มสาวใฝ่ฝันอยากจะสอบเข้า ชื่อโรงเรียนเพาะช่างจึงควรอยู่ต่อไป
ตอนนี้ทางศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันเรียกร้องไม่ต้องการให้เปลี่ยนชื่อ แต่ผู้บริหารพยายามอยากจะให้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนเป็นวิทยาลัยบ้าง วิทยาเขตบ้างหรือเสนอให้ตัดคำว่าโรงเรียนเพาะช่างออกไป และใช้คำว่าศิลปกรรมศาสตร์แทน ผู้บริหารกลุ่มนี้คิดเพียงแค่มหาวิทยาลัยเพียงแค่เอกลักษณ์ แต่ไม่ได้มองความแตกต่างที่มีความหลากหลายเป็นเอกลักษณ์หรือ อัตลักษณ์ที่เพาะช่างมีอยู่ก็จะค่อยๆ หายไป ไม่อยากเห็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) รัตนโกสินทร์ ทำลายความเป็นโรงเรียนเพาะช่าง
ดร.อิสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ อธิการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) รัตนโกสินทร์ กล่าวถึงกรณีที่นักศึกษาและศิษย์เก่าโรงเรียนเพาะช่าง ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์” ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการเปลี่ยนชื่อ “เพาะช่าง” ให้เป็นพียง “คณะศิลปกรรมศาสตร์” อยู่ภายใน มทร.รัตนโกสินทร์ เนื่องจากเป็นนามที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 ว่า ยืนยันว่า ทางผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญของชื่อเพาะช่าง ที่เป็นนามพระราชทาน และไม่คิดที่จะยกเลิกชื่อดังกล่าวออกไป เพียงแต่ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548 ซึ่งในส่วนของ มทร.รัตนโกสินทร์ นั้น เกิดจากการรวมกันของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเพาะช่าง วิทยาเขตศาลายา วิทยาเขตวังไกลกังวล และวิทยาเขตบพิตรภิมุขจักรวรรดิ โดยการเรียกขานชื่อของสถาบันที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น เป็นไปตามข้อบังคับของ พ.ร.บ.มทร.โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องโครงสร้าง
“ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเป็นความไม่เข้าใจในข้อบัญญัติทางกฎหมาย ทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้น ซึ่งใน พ.ร.บ.มทร.ไม่ได้กำหนดเรื่องวิทยาเขต แต่ให้เป็นสำนักงานวิทยาเขตขึ้นมาแทน โดยการจะเป็นสำนักงานวิทยาเขตได้จะต้องมีหน่วยงานในระดับคณะ 2 หน่วยขึ้นไป ซึ่งในส่วนของเพาะช่างจัดสอนสาขาเดียว และอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ไม่ไกลจากศาลายาซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ มทร.รัตนโกสินทร์ รวมทั้งเพื่อให้ประหยัดงบประมาณ และง่ายต่อการบริหารจัดการวิทยาเขต จึงให้เป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์ เนื่องจากเพาะช่างเรียนแค่สาขาเดียว มีคณะเดียว จึงไม่สามารถพิจารณาเป็นสำนักงานวิทยาเขตได้ แต่ทางมหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญของชื่อ จึงจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายใน เรียกว่า “สำนักบริหารเพาะช่าง” ไม่ได้ตัดคำว่าเพาะช่างออกไปอย่างที่เข้าใจกัน”
อธิการบดี มทร.ราชมงคล กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มทร.รัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นเพาะช่างเดิมนั้น ก็อาจจะมีสร้อยต่อท้ายว่า “ศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สำนักบริหารเพาะช่าง” ซึ่งยังมีคำว่าเพาะช่างอยู่ ไมได้หายไปไหน อย่างไรก็ตามอาจจะมีนักศึกษาหรือศิษย์เก่าบางคนไม่ชอบใจนัก เพราะดูค่อนข้างยาว ซึ่งทางมหาวิทยาลัยฯ รับทราบถึงความต้องการของครูอาจารย์และนักศึกษาในเรื่องดังกล่าวดี จึงได้นัดหารือร่วมกันในวันที่ 18 ม.ค.ว่าจะใช้ชื่อเรียกอย่างไร หากไม่อยากใช้ชื่อคณะศิลปกรรมศาสตร์ โดยขอให้ร่วมกันหาทางออกและชื่อที่เหมาะสม แต่ต้องให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.มทร.เพราะมีข้อกำหนดเรื่องการเรียกชื่อหน่วยงานอยู่ ซึ่งสุดท้าย สกอ.เป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ใช้ชื่อใดได้
“เบื้องต้นได้ทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้คัดค้านและเข้าใจด้วยดี โดยได้ปลดป้ายผ้าคัดค้านออกทั้งหมดแล้ว ที่ผ่านมาอาจจะขาดการประชาสัมพันธ์จึงทำให้เข้าใจผิด อย่างไรก็ตามพิจารณาจากข้อบังคับแล้วเห็นว่าอาจจะมี 2 แนวทางที่เป็นไปได้ คือ ใช้ชื่อ “วิทยาลัยเพาะช่าง” เพราะวิทยาลัยสามารถใช้สำหรับชื่อหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนได้ และหากใช้ชื่อวิทยาลัยก็น่าจะสื่อให้เข้าใจถึงสถานะเดิมของเพาะช่างได้ ส่วนอีกแนวทางหนึ่ง คือ เรียกคณะศิลปกรรมศาสตร์ แล้วต่อด้วย เพาะช่าง เป็น "คณะศิลปกรรมศาสตร์เพาะช่าง" เช่นเดียวกับคณะเกษตรบางเขน หรือเกษตรบางพระ เพื่อรักษาชื่อเก่า แต่ทั้งหมดยังไม่ยืนยันว่าจะทำได้หรือไม่ เพราะ สกอ.จะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งในการหารือร่วมกันในวันที่ 18 ม.ค.อาจจะเสนอชื่อให้ สกอ.พิจารณา 2-3 ชื่อ”อธิการบดี มทร.รัตนโกสินทร์กล่าว
ด้าน ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า ตนเป็นศิษย์เก่าคนหนึ่ง อยากบอกว่าเมื่อปี 2456 โรงเรียนเพาะช่างเปิดขึ้นด้วยปณิธานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการให้ศิลปวัฒนธรรมไทยคงอยู่ จึงทรงดำริตั้งโรงเรียนแห่งนี้และยังทรงพระราชทานชื่อว่า “โรงเรียนเพาะช่าง”อายุของโรงเรียนเพาะช่างจากอดีตถึงปัจจุบันอายุ 94 ปี และด้วยเหตุผลต่างๆ นานาที่โรงเรียนแห่งนี้ต้องเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนเพาะช่าง มาเป็นสถาบันเพาะช่าง วิทยาลัยเพาะช่าง วิทยาเขตเพาะช่าง จนมาถึงชื่อคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์นั้น เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทั้งสิ้น
“การที่หลายคนพยายามเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนเพาะช่าง ให้เป็นสถาบัน วิทยาลัย วิทยาเขตหรือมหาวิทยาลัยนั้นเพื่อการทำให้โรงเรียนเพาะช่างถูกยกระดับ หลายคนมองว่าการเป็นโรงเรียนดูต่ำต้อยด้อยค่านั้นเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จะด้วยความไม่รู้ของผู้บริหารหรือด้วยสาเหตุใดๆ ก็ตามเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทั้งสิ้น อยากบอกว่าคำว่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ศักดิ์ศรี เกียรติยศ ยิ่งใหญ่เทียมเท่ามหาวิทยาลัย หรือในกระแสความเป็นสากลการเป็นมหาวิทยาลัย เขาก็มีโรงเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย คำว่าโรงเรียนมีความหมายเท่ากับคณะ วิทยาลัยหรือสถาบันได้
เท่าที่ได้ดู พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มีมาตราอยู่มาตราหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ตั้งชื่อ ซึ่งเทียบเท่าคณะหรือวิทยาลัยได้ ถ้าดูตามมาตราหรือ พ.ร.บ.มทร.การใช้ชื่อว่าโรงเรียนเพาะช่างก็เทียบเท่ากับคำว่าคณะ สถาบัน สำนักหรือวิทยาลัยได้เช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ผมอยากเสนอชื่อว่าควรใช้ชื่อว่า “โรงเรียนเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์” ชื่อพระราชทาน ซึ่งถือเป็นตักศิลาเก่าแก่ก็จะคงอยู่และสอดคล้องไปกับคำว่ามหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด”
ศ.ดร.วิรุณ กล่าวอีกว่า โรงเรียนเพาะช่างเกิดขึ้นมาด้วยกระแสการรับอิทธิพลของชาติตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 4 จวบถึงรัชกาลที่ 5 เมื่อเข้าสู่รัชสมัยของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่าทรงมองอีกมิติหนึ่งที่เป็นคุณูปการต่อประเทศไทยอย่างมาก ซึ่งให้ความสมดุลกับโลกตะวันตกและโลกตะวันออก แม้จะทรงสนใจศิลปวัฒนธรรมตะวันตกมีการแปลวรรณคดีตะวนตก ขณะเดียวกันก็ให้รื้อฟื้นความเป็นไทยขึ้นมา โรงเรียนเพาะช่างเกิดขึ้นมาด้วยปณิธานที่ทรงอยากเห็นความสมดุลของโลกตะวันตกและตะวันออก ให้โรงเรียนแห่งนี้เป็นสถานที่บ่มเพาะช่าง นักเรียนที่มีฝีมือจากทั่วประเทศ ถือเป็นตักศิลาสำคัญของประเทศ มีความเป็นมืออาชีพที่โดดเด่นมาก และเป็นแหล่งตักศิลาที่คนหนุ่มสาวใฝ่ฝันอยากจะสอบเข้า ชื่อโรงเรียนเพาะช่างจึงควรอยู่ต่อไป
ตอนนี้ทางศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันเรียกร้องไม่ต้องการให้เปลี่ยนชื่อ แต่ผู้บริหารพยายามอยากจะให้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนเป็นวิทยาลัยบ้าง วิทยาเขตบ้างหรือเสนอให้ตัดคำว่าโรงเรียนเพาะช่างออกไป และใช้คำว่าศิลปกรรมศาสตร์แทน ผู้บริหารกลุ่มนี้คิดเพียงแค่มหาวิทยาลัยเพียงแค่เอกลักษณ์ แต่ไม่ได้มองความแตกต่างที่มีความหลากหลายเป็นเอกลักษณ์หรือ อัตลักษณ์ที่เพาะช่างมีอยู่ก็จะค่อยๆ หายไป ไม่อยากเห็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) รัตนโกสินทร์ ทำลายความเป็นโรงเรียนเพาะช่าง