แม้ว่าอันตรายจากไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต จะพบได้น้อยกว่าอันตรายจากไฟลวก หรือบาดเจ็บเนื่องจากของร้อน แต่คงไม่ปฏิเสธว่ายังมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอยู่เสมอ ความรุนแรงของไฟฟ้าดูด ไฟช็อตนั้น ขึ้นกับจำนวนโวลต์ แอมแปร์ของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าสู่ร่างกายและความต้านทานของเนื้อเยื่อที่กระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไป ชนิดของกระแสไฟฟ้า รวมทั้งระยะเวลาของการสัมผัสอยู่กับกระแสไฟฟ้า

อันตรายจากไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อตในประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเกิดในบ้านซึ่งไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงมากนัก เพราะไฟบ้านเราเป็นไฟฟ้าชนิด low voltage ที่ 220 โวลต์เท่านั้น แต่ในรายที่เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่ถูกไฟฟ้าแรงสูงชนิด high voltage สูงกว่า 1000 โวลต์ดูด ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตในที่เกิดเหตุเนื่องจากกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่ไหลผ่านหัวใจทำให้คลื่นหัวใจเปลี่ยนแปลงและทำให้หัวใจหยุดทำงาน ในบางครั้งอาจเกิดอันตรายต่ออวัยวะอื่น ๆ ที่เป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าได้ เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก อวัยวะในช่องท้อง ระบบประสาท เป็นต้น
ผู้ป่วยที่รอดชีวิตมาได้จากที่เกิดเหตุนั้น ถ้านำส่งถึงโรงพยาบาลได้ทัน และได้รับการรักษาที่เหมาะสมดีพออัตราการตายจะลดลง แต่อาจพบความพิการได้มาก ขึ้นกับบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน โดยไฟฟ้าแรงสูงจะมีผลทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลายอย่างรุนแรง และมีเนื้อตายค่อนข้างมาก อาจทำให้แขนขาบวมตึงขาดเลือดรุนแรงไปจนต้องเสียอวัยวะส่วนแขนขาที่ถูกไฟช็อตนั้น (ดังแสดงในรูปที่ 1-2) ถ้าไหลผ่านหัวใจ อาจทำให้คลื่นหัวใจเต้นผิดปกติ หรือถ้าไหลผ่านช่องท้องอาจทำให้อวัยวะช่องท้องบาดเจ็บได้เช่นกัน

ช่วยผู้ถูกไฟดูด ไฟช็อตที่ถูกต้อง
ขั้นตอนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
1. ให้รีบเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ไฟช็อตให้เร็วที่สุด ควรห่อหุ้มบริเวณที่ถูกไฟดูดด้วยผ้าแห้งถ้ามีบาดแผลบริเวณนั้น และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องป้องกันอันตรายไฟฟ้าดูดผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือด้วย บ่อยครั้งพบว่าผู้เข้าไปช่วยเหลือที่ไม่ได้ระวังตรงจุดนี้ กลับถูกกระแสไฟฟ้าดูดเสียชีวิตไปด้วย
ถ้าพบแหล่งไฟฟ้ารั่ว ควรพยายามหาทางตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน หรือผู้ป่วยถูกไฟฟ้าแรงสูงดูด และมีสายไฟพาดผ่านตัวผู้ป่วยอยู่ ต้องหาวัสดุที่เป็นฉนวนไม่นำกระแสไฟฟ้า เช่น ไม้ เขี่ยเอาสายไฟออกจากตัวผู้ป่วยก่อนที่จะเข้าไปช่วยเหลือ
นอกจากนี้ต้องพยายามตรวจดูให้ละเอียดถึงอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดร่วมกับผู้ป่วยที่ถูกไฟฟ้าดูดได้ เช่น อาจพลัดตกจากที่สูง อาจมีบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือกระดูกส่วนต่างๆ เช่น กระดูกคอ กระดูกแขนขา กระดูกสันหลังหักร่วมด้วย ฉะนั้นต้องให้ความเอาใจใส่และระมัดระวังในจุดนี้ โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุ เพราะถ้าทำไม่ถูกต้องอาจเกิดความพิการอัมพาตตามมาได้
2. เมื่อย้ายผู้ป่วยไปยังที่ปลอดภัยแล้วให้ดูว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ โดยใช้นิ้วมือคลำดูจากการเต้นของชีพจรบริเวณคอ ถ้าหัวใจหยุดเต้น ต้องทำการนวดหัวใจไปพร้อม ๆ กับการผายปอด หรือหากถูกไฟฟ้าบ้านดูด มักไม่ได้รับอันตรายรุนแรงมากนักเพราะเป็นไฟฟ้าแรงต่ำ สิ่งสำคัญที่บ่งบอกความรุนแรงคือ ระยะเวลาที่สัมผัสกับกระแสไฟฟ้า จนทำลายเนื้อเยื่อในบริเวณกว้าง
3. หลังจากนั้นเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
ข้อห้ามที่สำคัญเมื่อช่วยผู้ถูกไฟฟ้าช็อต
1. ห้ามเข้าไปช่วยจนกว่าจะแน่ใจว่าผู้บาดเจ็บมิได้สัมผัสกับสายไฟฟ้าหรือตัวนำไฟฟ้าใด ๆ จากนั้นจึงตัดวงจรไฟฟ้าที่ลัดวงจรก่อนเข้าไปช่วยเหลือ
2. ห้ามเข้าไปช่วย ถ้าผิวหนังผู้ที่จะช่วยนั้นเปียกชื้น เพราะอาจเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าและถูกไฟฟ้าดูดได้
3. ถ้าไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัย หรือไม่มีความรู้ในการตัดกระแสวงจรไฟฟ้า และการช่วยเหลือที่ถูกต้องแล้ว ให้รีบตามคนมาช่วย
อันตรายจากไฟฟ้า เราสามารถป้องกันได้ และเมื่อเกิดเหตุร้ายจากไฟฟ้ากับคุณหรือคนใกล้เคียง ควรพยายามตั้งสติและปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น
อย่าลืมนะครับ “อันตรายจากไฟฟ้า ป้องกันได้ถ้าไม่ประมาท”
********
บรรยายพิเศษนิ่วในถุงน้ำดี
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลขอเชิญฟังบรรยาย เรื่อง “นิ่วในถุงน้ำดี” 19 มกราคม 2550 เวลา 09.00-11.00 น. โดย อ.นพ.วัชรศักดิ์ โชติยะปุตตะ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ณ ห้องสิรินธร อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น G รพ.ศิริราช
อันตรายจากไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อตในประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเกิดในบ้านซึ่งไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงมากนัก เพราะไฟบ้านเราเป็นไฟฟ้าชนิด low voltage ที่ 220 โวลต์เท่านั้น แต่ในรายที่เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่ถูกไฟฟ้าแรงสูงชนิด high voltage สูงกว่า 1000 โวลต์ดูด ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตในที่เกิดเหตุเนื่องจากกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่ไหลผ่านหัวใจทำให้คลื่นหัวใจเปลี่ยนแปลงและทำให้หัวใจหยุดทำงาน ในบางครั้งอาจเกิดอันตรายต่ออวัยวะอื่น ๆ ที่เป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าได้ เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก อวัยวะในช่องท้อง ระบบประสาท เป็นต้น
ผู้ป่วยที่รอดชีวิตมาได้จากที่เกิดเหตุนั้น ถ้านำส่งถึงโรงพยาบาลได้ทัน และได้รับการรักษาที่เหมาะสมดีพออัตราการตายจะลดลง แต่อาจพบความพิการได้มาก ขึ้นกับบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน โดยไฟฟ้าแรงสูงจะมีผลทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลายอย่างรุนแรง และมีเนื้อตายค่อนข้างมาก อาจทำให้แขนขาบวมตึงขาดเลือดรุนแรงไปจนต้องเสียอวัยวะส่วนแขนขาที่ถูกไฟช็อตนั้น (ดังแสดงในรูปที่ 1-2) ถ้าไหลผ่านหัวใจ อาจทำให้คลื่นหัวใจเต้นผิดปกติ หรือถ้าไหลผ่านช่องท้องอาจทำให้อวัยวะช่องท้องบาดเจ็บได้เช่นกัน
ช่วยผู้ถูกไฟดูด ไฟช็อตที่ถูกต้อง
ขั้นตอนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
1. ให้รีบเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ไฟช็อตให้เร็วที่สุด ควรห่อหุ้มบริเวณที่ถูกไฟดูดด้วยผ้าแห้งถ้ามีบาดแผลบริเวณนั้น และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องป้องกันอันตรายไฟฟ้าดูดผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือด้วย บ่อยครั้งพบว่าผู้เข้าไปช่วยเหลือที่ไม่ได้ระวังตรงจุดนี้ กลับถูกกระแสไฟฟ้าดูดเสียชีวิตไปด้วย
ถ้าพบแหล่งไฟฟ้ารั่ว ควรพยายามหาทางตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน หรือผู้ป่วยถูกไฟฟ้าแรงสูงดูด และมีสายไฟพาดผ่านตัวผู้ป่วยอยู่ ต้องหาวัสดุที่เป็นฉนวนไม่นำกระแสไฟฟ้า เช่น ไม้ เขี่ยเอาสายไฟออกจากตัวผู้ป่วยก่อนที่จะเข้าไปช่วยเหลือ
นอกจากนี้ต้องพยายามตรวจดูให้ละเอียดถึงอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดร่วมกับผู้ป่วยที่ถูกไฟฟ้าดูดได้ เช่น อาจพลัดตกจากที่สูง อาจมีบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือกระดูกส่วนต่างๆ เช่น กระดูกคอ กระดูกแขนขา กระดูกสันหลังหักร่วมด้วย ฉะนั้นต้องให้ความเอาใจใส่และระมัดระวังในจุดนี้ โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุ เพราะถ้าทำไม่ถูกต้องอาจเกิดความพิการอัมพาตตามมาได้
2. เมื่อย้ายผู้ป่วยไปยังที่ปลอดภัยแล้วให้ดูว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ โดยใช้นิ้วมือคลำดูจากการเต้นของชีพจรบริเวณคอ ถ้าหัวใจหยุดเต้น ต้องทำการนวดหัวใจไปพร้อม ๆ กับการผายปอด หรือหากถูกไฟฟ้าบ้านดูด มักไม่ได้รับอันตรายรุนแรงมากนักเพราะเป็นไฟฟ้าแรงต่ำ สิ่งสำคัญที่บ่งบอกความรุนแรงคือ ระยะเวลาที่สัมผัสกับกระแสไฟฟ้า จนทำลายเนื้อเยื่อในบริเวณกว้าง
3. หลังจากนั้นเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
ข้อห้ามที่สำคัญเมื่อช่วยผู้ถูกไฟฟ้าช็อต
1. ห้ามเข้าไปช่วยจนกว่าจะแน่ใจว่าผู้บาดเจ็บมิได้สัมผัสกับสายไฟฟ้าหรือตัวนำไฟฟ้าใด ๆ จากนั้นจึงตัดวงจรไฟฟ้าที่ลัดวงจรก่อนเข้าไปช่วยเหลือ
2. ห้ามเข้าไปช่วย ถ้าผิวหนังผู้ที่จะช่วยนั้นเปียกชื้น เพราะอาจเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าและถูกไฟฟ้าดูดได้
3. ถ้าไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัย หรือไม่มีความรู้ในการตัดกระแสวงจรไฟฟ้า และการช่วยเหลือที่ถูกต้องแล้ว ให้รีบตามคนมาช่วย
อันตรายจากไฟฟ้า เราสามารถป้องกันได้ และเมื่อเกิดเหตุร้ายจากไฟฟ้ากับคุณหรือคนใกล้เคียง ควรพยายามตั้งสติและปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น
อย่าลืมนะครับ “อันตรายจากไฟฟ้า ป้องกันได้ถ้าไม่ประมาท”
********
บรรยายพิเศษนิ่วในถุงน้ำดี
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลขอเชิญฟังบรรยาย เรื่อง “นิ่วในถุงน้ำดี” 19 มกราคม 2550 เวลา 09.00-11.00 น. โดย อ.นพ.วัชรศักดิ์ โชติยะปุตตะ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ณ ห้องสิรินธร อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น G รพ.ศิริราช