การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราควรหันมาใส่ใจให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากในส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบางชนิดอาจมี สารไตรโคซาน ผสมอยู่ด้วย ซึ่งผู้ผลิตสินค้าบางรายนิยมนำสารไตรโคซาน มาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือนจำพวก สบู่ ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ตลอดจนน้ำยาล้างจานเนื่องจากไตรโคซานมีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรียได้ดี แต่หารู้ไม่ว่าภายใต้ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำสารดังกล่าวมาใช้เป็นส่วนผสมนั้น มีภัยร้ายที่แฝงตัวมากับสารแลกแปลกปลอมชนิดนี้ด้วยเช่นกัน
จากที่เคยมีข่าวจากหนังสือพิมพ์อีฟนิ่ง สแตนดาร์ดนิวส์ ประเทศอังกฤษ รายงานว่านักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาเตือนรัฐบาลทั่วโลกให้เร่งตรวจสอบสินค้าอุปโภคประเภทยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก น้ำยาล้างจาน และสบู่ซึ่งมีส่วนผสมของสารต่อต้านแบคทีเรีย “ไตรโคซาน” ภายหลังจากวิจัยแล้วพบว่าสารไตรโคซานที่ผสมอยู่ผลิตภัณฑ์หลายยี่ห้อ เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำประปาผสมคลอรีนในประเทศอังกฤษจะส่งผลให้เกิดก๊าซคลอโรฟอร์ม ถ้าร่างกายได้รับก๊าซชนิดนี้เข้าไปมากๆ อย่างต่อเนื่องผ่านการหายใจ หรือผ่านการดูดซึมทางผิวหนัง อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดป่วยซึมเศร้า โรคตับหรือร้ายแรงถึงขั้นเป็นมะเร็ง ข่าวนี้จึงเป็นที่น่าสนใจในกลุ่มผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไตรโคซานจะมีความปลอดภัยกับผู้บริโภคหรือไม่
เนื่องจากการศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการ ปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดเป็นคลอโรฟอร์มนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความเข้มข้นของไตรโคซานในผลิตภัณฑ์ ความเข้มข้นของคลอรีนในน้ำ ความเป็นกรด-ด่าง รวมทั้งอุณหภูมิของน้ำจึงไม่อาจสรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไตรโคซานจะก่อให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภค
แต่ขณะเดียวกันประเทศไทย ยังมีการอนุญาตให้ใช้สารดังกล่าวอยู่ โดยจัดอยู่ในประเภทเครื่องสำอาง ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบอ้างว่ายังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ว่าสารดังกล่าวก่อให้เกิดมะเร็งจริง จึงยังคงอนุญาตให้ใช้ แม้แต่ประเทศในกลุ่มอียูก็ยังอนุญาตให้ใช้สารดังกล่าวอยู่เนื่องจากหลักฐานไม่ชัดเจน แต่ทั้งนี้ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบได้สั่งให้ตรวจสอบข้อมูลการใช้สารดังกล่าวในประเทศไทยแล้วว่ามีผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ใช้สารชนิดนี้ เบื้องต้นจากการทบทวนข้อมูลต่างๆแล้วพบว่ายังไม่น่าตกใจเท่าไร
เป็นที่น่าสังเกตว่าในขณะที่ทั่วโลกตื่นตระหนกกับอันตรายที่มากับสารไตรโคซานแต่ประเทศไทยกลับเห็นเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยเท่านั้นโดยเฉพาะหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงกลับเพิกเฉยต่อปัญหาดังกล่าว หากปล่อยปละละเลยให้เป็นเช่นนี้ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือผู้บริโภคนั่นเอง
แต่เราในฐานะผู้บริโภคสามารถเริ่มต้นระแวดระวังภัยจากไตรโคซานได้ง่ายๆด้วยตนเองโดยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากสารสกัดธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายยี่ห้อให้เลือกใช้และประสิทธิภาพไม่แพ้ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศด้วยเช่นกัน หรืออีกแนวทางหนึ่งคือกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาอ่านฉลากสินค้าก่อนการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยศึกษาสรรพคุณรวมถึงส่วนผสมที่นำมาใช้อย่างละเอียด เพื่อจะได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์อย่างฉลาดซื้อมากขึ้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่า อัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ในปัจจุบันมีสูงมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะโรคมะเร็งไม่ว่าจะเป็นมะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด ฯลฯ แต่ในวันนี้เราสามารถเลือกที่จะป้องกันตนเองด้วยการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้ชีวิตที่ยืนยาวได้และใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าอย่างมีความสุขต่อไป
จากที่เคยมีข่าวจากหนังสือพิมพ์อีฟนิ่ง สแตนดาร์ดนิวส์ ประเทศอังกฤษ รายงานว่านักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาเตือนรัฐบาลทั่วโลกให้เร่งตรวจสอบสินค้าอุปโภคประเภทยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก น้ำยาล้างจาน และสบู่ซึ่งมีส่วนผสมของสารต่อต้านแบคทีเรีย “ไตรโคซาน” ภายหลังจากวิจัยแล้วพบว่าสารไตรโคซานที่ผสมอยู่ผลิตภัณฑ์หลายยี่ห้อ เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำประปาผสมคลอรีนในประเทศอังกฤษจะส่งผลให้เกิดก๊าซคลอโรฟอร์ม ถ้าร่างกายได้รับก๊าซชนิดนี้เข้าไปมากๆ อย่างต่อเนื่องผ่านการหายใจ หรือผ่านการดูดซึมทางผิวหนัง อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดป่วยซึมเศร้า โรคตับหรือร้ายแรงถึงขั้นเป็นมะเร็ง ข่าวนี้จึงเป็นที่น่าสนใจในกลุ่มผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไตรโคซานจะมีความปลอดภัยกับผู้บริโภคหรือไม่
เนื่องจากการศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการ ปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดเป็นคลอโรฟอร์มนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความเข้มข้นของไตรโคซานในผลิตภัณฑ์ ความเข้มข้นของคลอรีนในน้ำ ความเป็นกรด-ด่าง รวมทั้งอุณหภูมิของน้ำจึงไม่อาจสรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไตรโคซานจะก่อให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภค
แต่ขณะเดียวกันประเทศไทย ยังมีการอนุญาตให้ใช้สารดังกล่าวอยู่ โดยจัดอยู่ในประเภทเครื่องสำอาง ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบอ้างว่ายังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ว่าสารดังกล่าวก่อให้เกิดมะเร็งจริง จึงยังคงอนุญาตให้ใช้ แม้แต่ประเทศในกลุ่มอียูก็ยังอนุญาตให้ใช้สารดังกล่าวอยู่เนื่องจากหลักฐานไม่ชัดเจน แต่ทั้งนี้ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบได้สั่งให้ตรวจสอบข้อมูลการใช้สารดังกล่าวในประเทศไทยแล้วว่ามีผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ใช้สารชนิดนี้ เบื้องต้นจากการทบทวนข้อมูลต่างๆแล้วพบว่ายังไม่น่าตกใจเท่าไร
เป็นที่น่าสังเกตว่าในขณะที่ทั่วโลกตื่นตระหนกกับอันตรายที่มากับสารไตรโคซานแต่ประเทศไทยกลับเห็นเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยเท่านั้นโดยเฉพาะหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงกลับเพิกเฉยต่อปัญหาดังกล่าว หากปล่อยปละละเลยให้เป็นเช่นนี้ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือผู้บริโภคนั่นเอง
แต่เราในฐานะผู้บริโภคสามารถเริ่มต้นระแวดระวังภัยจากไตรโคซานได้ง่ายๆด้วยตนเองโดยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากสารสกัดธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายยี่ห้อให้เลือกใช้และประสิทธิภาพไม่แพ้ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศด้วยเช่นกัน หรืออีกแนวทางหนึ่งคือกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาอ่านฉลากสินค้าก่อนการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยศึกษาสรรพคุณรวมถึงส่วนผสมที่นำมาใช้อย่างละเอียด เพื่อจะได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์อย่างฉลาดซื้อมากขึ้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่า อัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ในปัจจุบันมีสูงมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะโรคมะเร็งไม่ว่าจะเป็นมะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด ฯลฯ แต่ในวันนี้เราสามารถเลือกที่จะป้องกันตนเองด้วยการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้ชีวิตที่ยืนยาวได้และใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าอย่างมีความสุขต่อไป