xs
xsm
sm
md
lg

ประเทศไทยไม่มีซาลาแมนเดอร์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


นักวิจัย BRT เผยผลการสำรวจสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก กลุ่มกะท่างน้ำ ซึ่งปกติสามารถแย่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มนิวท์ (Newt) และ ซาลาแมนเดอร์ (Salamander) นั้น พบว่าประเทศไทยไม่มีกะท่างน้ำกลุ่มซาลามันเดอร์ มีเพียงกะท่างน้ำที่เรียกว่านิวท์ (Newt) เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น โดยสามารถพบเห็นได้ในอ่างน้ำหรือพื้นที่ค่อนข้างชุ่มชื้นทางตอนเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันมีรายงานการพบในเขตจังหวัดทางภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย หรือแม่ฮ่องสอน และเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เช่นจังหวัดเลย

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีความหลากหลายทางด้านรูปร่างอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ โดยกลุ่มแรกได้แก่กลุ่มของ กบ เขียด อึ่งอ่าง กลุ่มที่สองได้แก่กลุ่มเขียดงู กลุ่มที่สามได้แก่กลุ่มกะท่างนี้ที่เราเรียกว่า ซาลาแมนเดอร์ โดยกลุ่มของกะท่างน้ำนั้นเราสามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือนิวท์ และ ซาลาแมนเดอร์ โดยทั้งสองกลุ่มนี้จะมีรูปร่างที่ต่างกันคือ กลุ่มนิวท์จะมีผิวหนังปกคลุมลำตัวเป็นปุ่มปม ขรุขระ และแห้ง อาจมีสีสรรบนลำตัวบ้าง แต่กลุ่มซาลาแมนเดอร์ จะมีผิวเรียบ ลื่น ผิวหนังเป็นมันเงา ไม่มีปุ่มปมเป็นตัวมากนัก และมีสีสรรหลากหลายสวยงาม

ทั้งนี้งานวิจัย "โครงการสำรวจกะท่างน้ำจังหวัดเลย ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นชนิดใหม่ของประเทศไทย" ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการพัฒนาองค์ความรู้และการศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) ของผ.ศ.วิเชฏร์ คนซื่อ หน่วยปฏิบัติการวิจัยสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน ภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ในประเทศไม่ไม่มีซาลาแมนเดอร์ แมีแต่สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในกลุ่มกะท่างน้ำที่เรียกว่านิวท์เพียงชนิดเดียวเท่านั้น และสามารถพบเห็นได้ในแอ่งน้ำหรือพื้นที่ค่อนข้างชุ่มชื่นทางตอนเหนือของประเทศไทย ในปัจจุบันมีรายงานการพบในเขตจังหวัดทางภาคเหนือและเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เช่นเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และเลย

ผศ.ดร.วิเชษฏ์ กล่าวว่า กระท่างน้ำที่พบในประเทศไทยนี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tylototriton Verrucosus จัดอยูในอันดับ Caudata Salamandridae มีชื่อไทยว่า กะท่าง,จักกิ้มน้ำ,จิ้งจกน้ำอินทนนท์ ลักษณะลำตัวของกะท่างน้ำนั้น บริเวณหัวจะมีต่อมค่อนข้างใหญ่ด้านหลังตา ด้านหลังมีต่อมกลมขนาดไม่ใหญ่นัก เริ่มตั้งแต่ด้านหลังบริเวณเหนือหน้าขาแล้วไล่ลงไปด้านหาง โดยต่อมดังกล่าวจะมีสองด้านของลำตัว ส่วนแนวด้านหลังกลางตัว แนวกระดูกสันหลัง จะมีสันค่อนข้างแข็งสีจางกว่าสีลำตัวไล่ตั้งแต่บริเวณหลังหัวไปจนถึงปลายหาง ผิวหนังแห้งหยาบ ลำตัวมีสีพื้นเป็นสีน้ำตาล และมีต่อมสีส้มกระจายตามลำตัว ไม่มีร่องข้างลำตัว

ถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกตัวนี้ จะวางไข่ในแหล่งน้ำที่ไม่เชี่ยวมากนัก หรือเป็นอ่างน้ำนิ่ง เมื่อวางไข่แล้วตัวเต็มวัยจะอาศัยอู่บนบก ส่วนตัวอ่อนจะพัฒนาจนเหงือกหดหมดและขึ้นมาอาศัยบนบก อาจจะลงน้ำเป็นบางครั้งคราว ในแอ่น้ำบนภูเขาที่สูงเกิน 1,000 เมตรจะพบเห็นกะท่างได้ไม่ยากนัก ในแอ่งจะพบตัวอ่อนที่กำลังเจริญในวัยที่แตกต่างกัน พู่เหงือกของมันจะลอยอยู่ด้านบนของลำตัวสำหรับแลกเปลี่ยนกาซ ตัวเต็มวัยจะอาศัยในโพรงดินใกล้ๆ ลำน้ำ

ผศ.ดร.วิเชษฏ์ กล่าวว่า สัตว์กลุ่มนี้ในประเทศไทยมีจำนวนน้อย ทำให้การศึกษาวิจัยน้อยลงไปด้วย จากการสำรวจในครั้งนี้ไม่เป็นช่วยให้เข้าใจชีวิตและความเป็นอยู่ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกกลุ่มกะท่างมากขึ้น หากยังช่วยให้มีความเข้าใจในการเรียกชื่อให้ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การวิจัยอย่างถูกต้องและหลากหลายยิ่งขึ้นด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น