สธ.เผย คนไทยโรคจากการทำงานรุมเร้า ทั้งอุบัติภัยจากวิชาชีพ โรคปอด ระบบทางเดินหายใจ ประสาทหูเสื่อม เครียด โรคกล้ามเนื้อและข้อ องค์การอนามัยโลก ชี้ เสียชีวิตจากโรคการทำงาน ทางเดินหายใจเรื้อรังมากสุด รองลงมาเป็นโรคมะเร็ง และระบบหัวใจและหลอดเลือด เตรียมเชื่อมระบบข้อมูล เฝ้าระวังผู้ป่วยชี้หากรักษาไม่ถูกวิธีอาจถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้
วันนี้ (23 พ.ย.) ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กทม.นพ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อพัฒนาระบบการวินิจฉัยและส่งต่อโรคจากการทำงาน ว่า โรคจากการทำงานเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทย ที่พบมาก ได้แก่ อุบัติเหตุและอุบัติภัยจากการประกอบอาชีพ โรคปอด และโรคระบบทางเดินหายใจจากการทำงาน โรคพิษจากสารโลหะหนัก โรคพิษสารกำจัดศัตรูพืช โรคประสาทหูเสื่อมจากการทำงาน โรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพ ปัญหาความเครียดจากการทำงาน โรคพิษสารทำละลาย และโรคกล้ามเนื้อและข้อจากการทำงาน จากการคาดการณ์ของ WHO เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจากการทำงาน พบสัดส่วนการเสียชีวิตด้วยโรคจากการทำงาน คือ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังร้อยละ 10 โรคมะเร็งร้อยละ 8 และโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 7.5
นพ.ชาตรี กล่าวอีกว่า ในปัจจุบันปัญหาโรคจากการทำงานยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และไม่ประสบผลสำเร็จในการรักษา เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไปพบแพทย์ต่อเมื่อมีอาการเกิดขึ้น และแพทย์ที่ทำการรักษาส่วนใหญ่เป็นแพทย์เฉพาะทาง เช่น โรคภูมิแพ้ โรคทางเดินหายใจ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคผิวหนัง และโรคมะเร็ง ซึ่งแพทย์ จะทำรักษาตามอาการที่ตรวจพบ ไม่ทำการซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียดถึงสาเหตุของการเกิดโรคนั้นๆ จึงทำให้การรักษาไม่ได้ผลที่สมบูรณ์ ขณะเดียวกัน วงการแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ยังขาดข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคจากการทำงาน ระบบการค้นหาโรคจากการเจ็บป่วยในคนทำงาน และระบบเฝ้าระวังผู้ที่มีอาชีพเดียวกันอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
“กรมการแพทย์มอบให้โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ซึ่งมีหน่วยงานคลินิกอาชีวเวชศาสตร์และศูนย์โรคจากการทำงาน จัดสัมมนาให้แก่แพทย์และพยาบาลตลอดจนผู้รับผิดชอบงานคลินิกอาชีวเวชกรรม เพื่อสร้างเครือข่ายอาชีวเวชศาสตร์ของโรงพยาบาลในระดับจังหวัด การเชื่อมต่อระบบข้อมูลที่เกี่ยวกับการค้นหาโรคจากการทำงาน อุบัติการณ์ของโรคในทุกภาคส่วนทั่วประเทศ รวมทั้งระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการและอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ตลอดจนพัฒนาระบบการวินิจฉัย รักษา และส่งต่ออย่างครอบคลุมและถูกต้อง ซึ่งจากการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา คลินิกอาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ได้ให้การรักษาผู้ป่วยโรคจากการทำงานใน 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคผิวหนังซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นผื่นแพ้สัมผัส โรคกระดูกกล้ามเนื้อที่เกิดจากการยกของหนัก ปวดหลัง และโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ”
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวต่อว่า โรคจากการทำงานนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจถึงขั้นพิการและเสียชีวิต ดังนั้น ผู้ประกอบอาชีพควรได้รับการคุ้มครอง และดูแลไม่ให้ได้รับอันตรายจากการทำงาน ตลอดจนต้องมีจิตสำนึกที่จะสร้างความปลอดภัยให้แก่ตนเอง เพื่อการมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ และหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องได้รับการฟื้นฟูสภาพบาดเจ็บหรือพิการ เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่เป็นภาระต่อสังคม
วันนี้ (23 พ.ย.) ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กทม.นพ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อพัฒนาระบบการวินิจฉัยและส่งต่อโรคจากการทำงาน ว่า โรคจากการทำงานเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทย ที่พบมาก ได้แก่ อุบัติเหตุและอุบัติภัยจากการประกอบอาชีพ โรคปอด และโรคระบบทางเดินหายใจจากการทำงาน โรคพิษจากสารโลหะหนัก โรคพิษสารกำจัดศัตรูพืช โรคประสาทหูเสื่อมจากการทำงาน โรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพ ปัญหาความเครียดจากการทำงาน โรคพิษสารทำละลาย และโรคกล้ามเนื้อและข้อจากการทำงาน จากการคาดการณ์ของ WHO เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจากการทำงาน พบสัดส่วนการเสียชีวิตด้วยโรคจากการทำงาน คือ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังร้อยละ 10 โรคมะเร็งร้อยละ 8 และโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 7.5
นพ.ชาตรี กล่าวอีกว่า ในปัจจุบันปัญหาโรคจากการทำงานยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และไม่ประสบผลสำเร็จในการรักษา เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไปพบแพทย์ต่อเมื่อมีอาการเกิดขึ้น และแพทย์ที่ทำการรักษาส่วนใหญ่เป็นแพทย์เฉพาะทาง เช่น โรคภูมิแพ้ โรคทางเดินหายใจ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคผิวหนัง และโรคมะเร็ง ซึ่งแพทย์ จะทำรักษาตามอาการที่ตรวจพบ ไม่ทำการซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียดถึงสาเหตุของการเกิดโรคนั้นๆ จึงทำให้การรักษาไม่ได้ผลที่สมบูรณ์ ขณะเดียวกัน วงการแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ยังขาดข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคจากการทำงาน ระบบการค้นหาโรคจากการเจ็บป่วยในคนทำงาน และระบบเฝ้าระวังผู้ที่มีอาชีพเดียวกันอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
“กรมการแพทย์มอบให้โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ซึ่งมีหน่วยงานคลินิกอาชีวเวชศาสตร์และศูนย์โรคจากการทำงาน จัดสัมมนาให้แก่แพทย์และพยาบาลตลอดจนผู้รับผิดชอบงานคลินิกอาชีวเวชกรรม เพื่อสร้างเครือข่ายอาชีวเวชศาสตร์ของโรงพยาบาลในระดับจังหวัด การเชื่อมต่อระบบข้อมูลที่เกี่ยวกับการค้นหาโรคจากการทำงาน อุบัติการณ์ของโรคในทุกภาคส่วนทั่วประเทศ รวมทั้งระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการและอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ตลอดจนพัฒนาระบบการวินิจฉัย รักษา และส่งต่ออย่างครอบคลุมและถูกต้อง ซึ่งจากการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา คลินิกอาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ได้ให้การรักษาผู้ป่วยโรคจากการทำงานใน 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคผิวหนังซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นผื่นแพ้สัมผัส โรคกระดูกกล้ามเนื้อที่เกิดจากการยกของหนัก ปวดหลัง และโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ”
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวต่อว่า โรคจากการทำงานนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจถึงขั้นพิการและเสียชีวิต ดังนั้น ผู้ประกอบอาชีพควรได้รับการคุ้มครอง และดูแลไม่ให้ได้รับอันตรายจากการทำงาน ตลอดจนต้องมีจิตสำนึกที่จะสร้างความปลอดภัยให้แก่ตนเอง เพื่อการมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ และหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องได้รับการฟื้นฟูสภาพบาดเจ็บหรือพิการ เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่เป็นภาระต่อสังคม