จากคำบอกเล่าของลูกหลานชาวมอแกนแห่งบ้านทุ่งหว้า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่ได้เก็บบันทึกเรื่องราวการเดินทางของชนเผ่าผู้เร่ร่อนของตนที่ได้อาศัยท้องทะเล และเกาะแก่งต่างๆ เป็นที่ดำรงชีวิต ก่อนที่จะอพยพหลบลี้ภัยมาทางใต้ของลำน้ำโขง แล้วล่องเรือลงมาตลอดแหลมอินโดจีนเพื่อออกทะเล ซึ่งเมื่อสำรวจจากเครื่องมือเครื่องใช้และประเพณีที่หลงเหลือ จนกล่าวได้ว่าชนเผ่าผู้เร่ร่อนนี้คือบรรพบุรุษของชาวมาลายู

นายห้อง กล้าทะเล ได้เล่าเรื่องราวที่สืบทอดจากบรรพบุรุษว่า ชีวิตจริงของชาวเลเปรียบเสมือนนกขมิ้นค่ำที่ไหนนอนที่นั่น หาเช้ากินค่ำ อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง รักความอิสรเสรี ดั่งคำที่ว่า ทะเลกว้างใหญ่เอาไปไม่รอด ภูเขากว้างใหญ่เอาไปไม่รอด นั่นคือ ไม่สนความร่ำรวย เกิดมายังไงก็ต้องตายเอาไปไม่ได้
ชีวิตของชาวเลมีเรือ หรือ “ก่าบาง” ที่มีความหมายยิ่งกว่าพาหนะ เพราะมันคือบ้าน อันเป็นที่อยู่อาศัยและเครื่องทำมาหากิน จนกล่าวได้ว่าเรือคือ จิตวิญญาณ เรือจึงเป็นเสมือนสิ่งสำคัญที่สุดของเส้นทางสายวัฒนธรรมทางวัตถุจนกล่าวได้ว่า ถ้าไม่มีเรือก็ไม่มีมอแกน ซึ่งบรรพบุรุษได้ถ่ายทอดเป็นวิถีชีวิต ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมให้ลูกหลานได้ยึดถือปฏิบัติจากรุ่นต่อรุ่นมายาวนาน
จากผู้ที่รักการเร่ร่อน ณ. ปัจจุบันนี้ที่ริมชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยและหมู่เกาะมะริดในพม่าคือถิ่นที่พักอาศัยอยู่กระจัดกระจายของเผ่าชน ว่ากันว่ามีอยู่สามเผ่าด้วยกัน คือ มอแกลน อุรักลาโว้ยและมอแกน
แต่หลังจากได้เกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์ “สินามิ” วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ชาวเลได้สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษก็เริ่มเลือนหายไปจากชุมชน ชาวเลทั้งสามกลุ่มจึงได้มองเห็นถึงความสำคัญที่จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ของแต่ละเผ่าชนเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ เพราะหากไม่สืบสานในอนาคต ของดีที่ยึดถือปฏิบัติมายาวนาน ต้องมีอันเลือนรางหายไปจากชุมชนแน่นอน ชาวเลจึงได้มาร่วมกันคิด วางแผนที่จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษเอาไว้อย่างเหนียวแน่น ต่อมาจึงได้ช่วยกันจัดตั้งเป็นศูนย์วัฒนธรรมชาวเลขึ้นที่บ้านทุ่งหว้า เพื่อเก็บรวบรวมเป็นภูมิปัญญาให้ลูกหลานสืบทอดต่อไปในอนาคต

นายปาณ์สม์ ชูช่วย ผู้ที่ได้รวบรวมภูมิปัญญา วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเลมาไว้ที่ศูนย์วัฒนธรรมทุ่งหว้า บอกว่า แท้ที่จริงแล้วชาวเลเป็นเผ่าชนที่มีเอกลักษณ์เป็นตัวของตัวเองอย่างสง่างามมาหลายยุคหลายสมัย อย่างความเชื่อของชาวเลทั้งสามกลุ่มนี้ หลังจากที่ได้มีการพูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน จึงทราบว่าชาวเลทั้งสามกลุ่มมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป เมื่อรวบรวมข้อมูลแล้วจึงได้นำมาถ่ายทอดเรื่องราวเป็นลายเส้นจิตรกรรมบนฝาผนังในศูนย์วัฒนธรรมมอแกนที่ทุ่งหว้า อย่างเช่น พิธีลอยเรือ ของกลุ่มอุรักลาโว้ย เป็นประเพณีที่สำคัญและได้สืบทอดปฏิบัติต่อเนื่องกันมายาวนาน เพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคลทั้งหลายทั้งปวงออกจากชุมชน

ชาวบ้านจะแกะสลักเป็นเรือจำลองที่มีขนาดความยาวสามวาในการประกอบพิธี เมื่อเสร็จแล้วจะถูกนำไปลอยในท้องทะเลลึก กำหนดทิศทางลมให้แน่นอนเพื่อมิให้เรือกลับคืนสู่ฝั่ง เพราะนี่คือการลอยบาป นำความวิบัติให้พ้นไป ดังนั้นการทำพิธีลอยเรือจึงต้องอาศัยภูมิปัญญาเรื่องกระแสน้ำและทิศทางลมเป็นหลัก
ส่วนพิธีบูชาศาสดาสามพัน เป็นของชาวเลกลุ่มมอแกลนเป็นประเพณีสำคัญยิ่ง คือการบูชาผีบรรพบุรุษสามพัน ชาวบ้านจะสร้างศาลไม้ขึ้นมาอย่างง่ายๆ เพื่อเป็นศูนย์รวมในการประกอบพิธีกรรม โดยพิธีจะทำกันในช่วงเดือนเมษายนของทุกๆ ปี จะมีผู้เฒ่าผู้แก่ที่นับถือในชุมชนทำหน้าที่เป็นสื่อกลางเพื่ออัญเชิญวิญญาณบรรพบุรุษให้มารับเครื่องเซ่นไหว้ จากนั้นชาวบ้านก็ทำอาหารทั้งคาวหวานต่างๆ มารวมกัน จากนั้นก็จะเป็นคำขอบคุณจากลูกหลานมอแกลนให้อยู่เย็นเป็นสุข

ด้านพิธีหล่อโขงบูชาเสาวิญญาณบรรพบุรุษ ชาวเลกลุ่มมอแกนจะนับถือวิญญาณมนุษย์อย่างมาก ไม่นับถือพระเจ้า ซึ่งประเพณีบูชาวิญญาณของบรรพบุรุษที่สิงสถิตอยู่ในเสาไม้แกะสลักที่เรียกว่า “หล่อโขง” ชาวบ้านจะจัดขึ้นทุกๆ ปี เพื่อให้ผู้บรรพบุรุษคุ้มครองชาวบ้าน นอกจากนั้นยังได้แสดงความเคารพต่อวิญญาณลึกลับที่สิงสถิตอยู่ในทะเลด้วย
แต่เรื่องราวการดำรงชีวิตและภูมิปัญญาของชาวเล ในแทบชายฝั่งทะเลอันดามันยังมีอีกมากมายเป็นพันๆเรื่องราว ซึ่งเราไม่สามารถนำมาถ่ายทอดลงเป็นลายเส้นลงสู่ฝาผนังในศูนย์ทุ่งหว้าได้ แต่เราจะรวบรวมขนบธรรมเนียมประเพณีนี้ไว้เป็นหนังสือเผื่อใครๆ ที่ผ่านไปผ่านมาจะได้ศึกษาเรียนรู้ในศูนย์วัฒนธรรมมอแกนบ้านทุ่งหว้าแห่งนี้
ความเชื่อที่ชาวมอแกนได้ฝากไว้ให้ลูกหลานได้จดจำอยู่เสมอว่า เมื่อใดที่พวกเจ้าเห็นน้ำทะเลเหือดแห้งฮวบฮาบลงไปจนเห็นพื้นดิน นั่นแสดงว่า ทะเลกำลังจะเกิดคลื่นยักษ์ ขอให้พวกเจ้าจงรีบวิ่งหนีออกจากชายฝั่งทะเลอย่างเร็วไว เพราะอีกไม่ช้ามันจะถาโถมกลับมา เพื่อพังทลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้าอย่างบ้าคลั่ง แหละนี่คืออีกหนึ่งภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาแต่สายเลือดแห่งวัฒนธรรม ๓ุมิปัญญาของยิปซีทะเล!!!!!
นายห้อง กล้าทะเล ได้เล่าเรื่องราวที่สืบทอดจากบรรพบุรุษว่า ชีวิตจริงของชาวเลเปรียบเสมือนนกขมิ้นค่ำที่ไหนนอนที่นั่น หาเช้ากินค่ำ อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง รักความอิสรเสรี ดั่งคำที่ว่า ทะเลกว้างใหญ่เอาไปไม่รอด ภูเขากว้างใหญ่เอาไปไม่รอด นั่นคือ ไม่สนความร่ำรวย เกิดมายังไงก็ต้องตายเอาไปไม่ได้
ชีวิตของชาวเลมีเรือ หรือ “ก่าบาง” ที่มีความหมายยิ่งกว่าพาหนะ เพราะมันคือบ้าน อันเป็นที่อยู่อาศัยและเครื่องทำมาหากิน จนกล่าวได้ว่าเรือคือ จิตวิญญาณ เรือจึงเป็นเสมือนสิ่งสำคัญที่สุดของเส้นทางสายวัฒนธรรมทางวัตถุจนกล่าวได้ว่า ถ้าไม่มีเรือก็ไม่มีมอแกน ซึ่งบรรพบุรุษได้ถ่ายทอดเป็นวิถีชีวิต ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมให้ลูกหลานได้ยึดถือปฏิบัติจากรุ่นต่อรุ่นมายาวนาน
จากผู้ที่รักการเร่ร่อน ณ. ปัจจุบันนี้ที่ริมชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยและหมู่เกาะมะริดในพม่าคือถิ่นที่พักอาศัยอยู่กระจัดกระจายของเผ่าชน ว่ากันว่ามีอยู่สามเผ่าด้วยกัน คือ มอแกลน อุรักลาโว้ยและมอแกน
แต่หลังจากได้เกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์ “สินามิ” วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ชาวเลได้สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษก็เริ่มเลือนหายไปจากชุมชน ชาวเลทั้งสามกลุ่มจึงได้มองเห็นถึงความสำคัญที่จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ของแต่ละเผ่าชนเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ เพราะหากไม่สืบสานในอนาคต ของดีที่ยึดถือปฏิบัติมายาวนาน ต้องมีอันเลือนรางหายไปจากชุมชนแน่นอน ชาวเลจึงได้มาร่วมกันคิด วางแผนที่จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษเอาไว้อย่างเหนียวแน่น ต่อมาจึงได้ช่วยกันจัดตั้งเป็นศูนย์วัฒนธรรมชาวเลขึ้นที่บ้านทุ่งหว้า เพื่อเก็บรวบรวมเป็นภูมิปัญญาให้ลูกหลานสืบทอดต่อไปในอนาคต
นายปาณ์สม์ ชูช่วย ผู้ที่ได้รวบรวมภูมิปัญญา วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเลมาไว้ที่ศูนย์วัฒนธรรมทุ่งหว้า บอกว่า แท้ที่จริงแล้วชาวเลเป็นเผ่าชนที่มีเอกลักษณ์เป็นตัวของตัวเองอย่างสง่างามมาหลายยุคหลายสมัย อย่างความเชื่อของชาวเลทั้งสามกลุ่มนี้ หลังจากที่ได้มีการพูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน จึงทราบว่าชาวเลทั้งสามกลุ่มมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป เมื่อรวบรวมข้อมูลแล้วจึงได้นำมาถ่ายทอดเรื่องราวเป็นลายเส้นจิตรกรรมบนฝาผนังในศูนย์วัฒนธรรมมอแกนที่ทุ่งหว้า อย่างเช่น พิธีลอยเรือ ของกลุ่มอุรักลาโว้ย เป็นประเพณีที่สำคัญและได้สืบทอดปฏิบัติต่อเนื่องกันมายาวนาน เพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคลทั้งหลายทั้งปวงออกจากชุมชน
ชาวบ้านจะแกะสลักเป็นเรือจำลองที่มีขนาดความยาวสามวาในการประกอบพิธี เมื่อเสร็จแล้วจะถูกนำไปลอยในท้องทะเลลึก กำหนดทิศทางลมให้แน่นอนเพื่อมิให้เรือกลับคืนสู่ฝั่ง เพราะนี่คือการลอยบาป นำความวิบัติให้พ้นไป ดังนั้นการทำพิธีลอยเรือจึงต้องอาศัยภูมิปัญญาเรื่องกระแสน้ำและทิศทางลมเป็นหลัก
ส่วนพิธีบูชาศาสดาสามพัน เป็นของชาวเลกลุ่มมอแกลนเป็นประเพณีสำคัญยิ่ง คือการบูชาผีบรรพบุรุษสามพัน ชาวบ้านจะสร้างศาลไม้ขึ้นมาอย่างง่ายๆ เพื่อเป็นศูนย์รวมในการประกอบพิธีกรรม โดยพิธีจะทำกันในช่วงเดือนเมษายนของทุกๆ ปี จะมีผู้เฒ่าผู้แก่ที่นับถือในชุมชนทำหน้าที่เป็นสื่อกลางเพื่ออัญเชิญวิญญาณบรรพบุรุษให้มารับเครื่องเซ่นไหว้ จากนั้นชาวบ้านก็ทำอาหารทั้งคาวหวานต่างๆ มารวมกัน จากนั้นก็จะเป็นคำขอบคุณจากลูกหลานมอแกลนให้อยู่เย็นเป็นสุข
ด้านพิธีหล่อโขงบูชาเสาวิญญาณบรรพบุรุษ ชาวเลกลุ่มมอแกนจะนับถือวิญญาณมนุษย์อย่างมาก ไม่นับถือพระเจ้า ซึ่งประเพณีบูชาวิญญาณของบรรพบุรุษที่สิงสถิตอยู่ในเสาไม้แกะสลักที่เรียกว่า “หล่อโขง” ชาวบ้านจะจัดขึ้นทุกๆ ปี เพื่อให้ผู้บรรพบุรุษคุ้มครองชาวบ้าน นอกจากนั้นยังได้แสดงความเคารพต่อวิญญาณลึกลับที่สิงสถิตอยู่ในทะเลด้วย
แต่เรื่องราวการดำรงชีวิตและภูมิปัญญาของชาวเล ในแทบชายฝั่งทะเลอันดามันยังมีอีกมากมายเป็นพันๆเรื่องราว ซึ่งเราไม่สามารถนำมาถ่ายทอดลงเป็นลายเส้นลงสู่ฝาผนังในศูนย์ทุ่งหว้าได้ แต่เราจะรวบรวมขนบธรรมเนียมประเพณีนี้ไว้เป็นหนังสือเผื่อใครๆ ที่ผ่านไปผ่านมาจะได้ศึกษาเรียนรู้ในศูนย์วัฒนธรรมมอแกนบ้านทุ่งหว้าแห่งนี้
ความเชื่อที่ชาวมอแกนได้ฝากไว้ให้ลูกหลานได้จดจำอยู่เสมอว่า เมื่อใดที่พวกเจ้าเห็นน้ำทะเลเหือดแห้งฮวบฮาบลงไปจนเห็นพื้นดิน นั่นแสดงว่า ทะเลกำลังจะเกิดคลื่นยักษ์ ขอให้พวกเจ้าจงรีบวิ่งหนีออกจากชายฝั่งทะเลอย่างเร็วไว เพราะอีกไม่ช้ามันจะถาโถมกลับมา เพื่อพังทลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้าอย่างบ้าคลั่ง แหละนี่คืออีกหนึ่งภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาแต่สายเลือดแห่งวัฒนธรรม ๓ุมิปัญญาของยิปซีทะเล!!!!!