โรงพยาบาลรามาธิบดีโชว์เทคนิคใหม่ผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเทียมสุดเจ๋ง เผยใช้กระจกตาเทียมบอสตันที่ทำจากพลาสติกชนิดพิเศษที่ใสและคงทน ไม่ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อ ระบุผลข้างเคียงหลังการผ่าจัดคล้ายการผ่าตัดกระจกตาเทียมธรรมชาติ
วันนี้(9 พ.ย.)โรงพยาบาลรามาธิบดีได้แถลงข่าวถึงความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเทียมเพื่อใช้ในการรักษาโรคที่ไม่สามารถรักษาโดยการกระจกตาธรรมชาติ เช่น โรคภูมิคุ้มกันไวเกิน (Steven Jonnson Syndrome) ซึ่งคนไทยเป็นโรคนี้เยอะ โดยร.อ.หญิง พญ.วรินทร จักรไพวงศ์ ผู้ช่วยโครงการผ่าตัดกระจกตาเทียม อธิบายถึงลักษณะของกระจกตาเทียมที่ใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาว่า มีชื่อเรียกว่า “กระจกตาเทียมบอสตัน” ที่ทำมาจากพลาสติกชนิดพิเศษ มีลักษณะใสและคงทน ทั้งไม่ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อ โดยในการจะผ่าตัดจะต้องมีการประกอบกับกระจกตาธรรมชาติ เพื่อให้สามารถยึดติดกับเนื้อเยื่อของร่างกายได้ ฉะนั้นกระจกตาธรรมชาติเสมือนทำหน้าที่โอบอุ้มกระจกตาเทียม
ทั้งนี้ ส่วนที่เป็นกระจกตาธรรมชาตินี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นของผู้ที่มีภาวะร่างกายต่อต้านกระจกตา เพราะกระจกตาธรรมชาติจะทำหน้าที่ในการยึดบริเวณรอบๆ และส่วนตรงกลางซึ่งมีผลต่อการมองเห็นจะเป็นกระจกตาเทียม ถ้าร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านกระจกตาจะขุ่น โดยจะเกิดการขุ่นเฉพาะบริเวณรอบนอก อาการขุ่นที่เกิดขึ้นจึงไม่ส่งผลต่อการมองเห็น
ส่วนผลข้างเคียงของการผ่าตัดกระจกตาเทียมนั้นจะมีอาการเหมือนการผ่าตัดกระจกตาธรรมชาติ คือ อาจมีเลือดออก หรือติดเชื้อในลูกตา ที่แตกต่างไปก็คือเนื้อเยื่อรอบๆ พลาสติกที่เย็บไว้อาจหลุดได้ การดูแลรักษาหลังผ่าตัดนั้นเน้นที่การรักษาความสะอาดของดวงตาดูแลโดยการหยอดตา
“กระจกตาเทียมนี้มีความแข็งแรงเท่ากระจกตาธรรมชาติ ฉะนั้น ความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากการกระทบกระเทือนหรือแรงกระแทกกระจกตาเทียมที่เป็นพลาสติกจึงมีเท่ากัน” ผู้ช่วยโครงการกล่าว
ด้านผศ.นพ.อนันต์ วงศ์ทองศรี หัวหน้าโครงการผ่าตัดกระจกตาเทียม หัวหน้าโครงการกล่าวเสริมว่า ในระยะแรกหลังเข้ารับการรักษา ตาจะมีอาการแดงอยู่ เมื่อหายแดงลักษณะที่เห็นจะใกล้เคียงกับตาจริง สำหรับเงื่อนไขในการที่จะสามารถรับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเทียมได้นั้นว่ามีหลายปัจจัย เช่น น้ำตาต้องมีระดับที่เหมาะสม และพยายามหลีกเลี่ยงการใช้กระจกตาเทียมในการผ่าตัดหากสามารถรักษาได้ด้วยกระจกตาธรรมชาติ โดยรายงานเกี่ยวกับระยะเวลาการใช้งานของกระจกตาเทียมส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2-3 ปี แต่บางกรณีก็สามารถอยู่ได้ถึง 10 ปี
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกระจกตาเทียมบอสตันมีราคาสูง กระจกตาหนึ่งชิ้นสำหรับดวงตาหนึ่งข้างมีราคาประมาณ 120,000 บาท กระจกตาเทียมที่ใช้ในการรักษาคนไข้ที่ผ่านมาบางส่วนได้รับการช่วยเหลือจากมูลนิธิรามาธิบดี
สำหรับระยะเวลาในการรอรับการบริจาคกระจกตาธรรมชาติ จากสภากาชาดอยู่ที่ประมาณ 3-4 ปี ไทย แต่ในการผ่าตัดของทางรามาธิบดีมีบางรายที่ใช้การสั่งกระจกตาจากต่างประเทศ เนื่องจากบางประเทศมีการสนับสนุนการบริจาคอวัยวะ
ศ.วินิจ พัวประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี ย้ำถึงการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเทียมว่าสามารถรักษาได้เฉพาะอาการที่เกิดขึ้นกับกระจกตาเท่านั้น หากประสาทตาเสีย เช่น ผู้ที่สูญเสียการมองเห็นตั้งแต่กำเนิดก็ไม่สามารถรักษาได้
การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตานั้นมีหลายวิธี การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาแบบบอสตัน ซึ่งนิยมทำกันมากในสหรัฐอเมริกา การผ่าตัดกระจกตาแบบบอสตันมีพัฒนาการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 แต่ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมามีการพัฒนาขึ้นมาก และใช้วิธีการผ่าตัดเหมือนปกติคืออยู่ที่ประมาณ 1 ชั่วโมง หลังการผ่าตัด 1 สัปดาห์ผู้เข้ารับการรักษาก็สามารถฟื้นตัวได้ นี่คือสาเหตุที่ทางโรงพยาบาลรามาธิบดีเลือกการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาแบบบอสตันในการรักษา เพราะขั้นตอนในการผ่าตัดไม่ยุ่งยากเท่าวิธีอื่น และสามารถถ่ายทอดให้ทีมแพทย์แห่งอื่นได้ ในขณะนี้โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นแห่งเดียวที่ใช้วิธีนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้ การผ่าตัดกระจกตาเทียมจะถูกกว่าไปผ่าตัดที่ต่างประเทศที่มีค่าใช้จ่ายถึง 300,000-400,000 บาท ในขณะที่ทางรามาธิบดีผ่าตัดจะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 10,000 บาท ไม่รวมค่ากระจกตาเทียมฅ
ด้าน ดต.สันติ วงศ์ชอบพอ คนไข้ที่เข้ารับการรักษาผ่าตัดกระจกตาเทียม มีอาการกระจกตาแห้งและเป็นฝ้า เคยผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาธรรมชาติมา 2 ครั้ง แต่ร่างกายเกิดอาการต่อต้าน มองเห็นในระยะ 1 ฟุต หลังเข้ารับการรักษาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
อนึ่ง โรงพยาบาลรามาธิบดีขอเชิญร่วมบริจาค สมทบกองทุน “ทุนกระจกตาเทียม”
ได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี ออมทรัพย์ เลขที่ 026-2-58200-0 ชื่อบัญชี “ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์”หรือสั่งจ่ายเช็คในนาม “มูลนิธิรามาธิบดี” (ทุนกระจกตาเทียม) สอบถามรายละเอียดได้ที่ มูลนิธิรามาธิบดี โทร. 0-2201-1205, 0-2201-1655
วันนี้(9 พ.ย.)โรงพยาบาลรามาธิบดีได้แถลงข่าวถึงความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเทียมเพื่อใช้ในการรักษาโรคที่ไม่สามารถรักษาโดยการกระจกตาธรรมชาติ เช่น โรคภูมิคุ้มกันไวเกิน (Steven Jonnson Syndrome) ซึ่งคนไทยเป็นโรคนี้เยอะ โดยร.อ.หญิง พญ.วรินทร จักรไพวงศ์ ผู้ช่วยโครงการผ่าตัดกระจกตาเทียม อธิบายถึงลักษณะของกระจกตาเทียมที่ใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาว่า มีชื่อเรียกว่า “กระจกตาเทียมบอสตัน” ที่ทำมาจากพลาสติกชนิดพิเศษ มีลักษณะใสและคงทน ทั้งไม่ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อ โดยในการจะผ่าตัดจะต้องมีการประกอบกับกระจกตาธรรมชาติ เพื่อให้สามารถยึดติดกับเนื้อเยื่อของร่างกายได้ ฉะนั้นกระจกตาธรรมชาติเสมือนทำหน้าที่โอบอุ้มกระจกตาเทียม
ทั้งนี้ ส่วนที่เป็นกระจกตาธรรมชาตินี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นของผู้ที่มีภาวะร่างกายต่อต้านกระจกตา เพราะกระจกตาธรรมชาติจะทำหน้าที่ในการยึดบริเวณรอบๆ และส่วนตรงกลางซึ่งมีผลต่อการมองเห็นจะเป็นกระจกตาเทียม ถ้าร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านกระจกตาจะขุ่น โดยจะเกิดการขุ่นเฉพาะบริเวณรอบนอก อาการขุ่นที่เกิดขึ้นจึงไม่ส่งผลต่อการมองเห็น
ส่วนผลข้างเคียงของการผ่าตัดกระจกตาเทียมนั้นจะมีอาการเหมือนการผ่าตัดกระจกตาธรรมชาติ คือ อาจมีเลือดออก หรือติดเชื้อในลูกตา ที่แตกต่างไปก็คือเนื้อเยื่อรอบๆ พลาสติกที่เย็บไว้อาจหลุดได้ การดูแลรักษาหลังผ่าตัดนั้นเน้นที่การรักษาความสะอาดของดวงตาดูแลโดยการหยอดตา
“กระจกตาเทียมนี้มีความแข็งแรงเท่ากระจกตาธรรมชาติ ฉะนั้น ความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากการกระทบกระเทือนหรือแรงกระแทกกระจกตาเทียมที่เป็นพลาสติกจึงมีเท่ากัน” ผู้ช่วยโครงการกล่าว
ด้านผศ.นพ.อนันต์ วงศ์ทองศรี หัวหน้าโครงการผ่าตัดกระจกตาเทียม หัวหน้าโครงการกล่าวเสริมว่า ในระยะแรกหลังเข้ารับการรักษา ตาจะมีอาการแดงอยู่ เมื่อหายแดงลักษณะที่เห็นจะใกล้เคียงกับตาจริง สำหรับเงื่อนไขในการที่จะสามารถรับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเทียมได้นั้นว่ามีหลายปัจจัย เช่น น้ำตาต้องมีระดับที่เหมาะสม และพยายามหลีกเลี่ยงการใช้กระจกตาเทียมในการผ่าตัดหากสามารถรักษาได้ด้วยกระจกตาธรรมชาติ โดยรายงานเกี่ยวกับระยะเวลาการใช้งานของกระจกตาเทียมส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2-3 ปี แต่บางกรณีก็สามารถอยู่ได้ถึง 10 ปี
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกระจกตาเทียมบอสตันมีราคาสูง กระจกตาหนึ่งชิ้นสำหรับดวงตาหนึ่งข้างมีราคาประมาณ 120,000 บาท กระจกตาเทียมที่ใช้ในการรักษาคนไข้ที่ผ่านมาบางส่วนได้รับการช่วยเหลือจากมูลนิธิรามาธิบดี
สำหรับระยะเวลาในการรอรับการบริจาคกระจกตาธรรมชาติ จากสภากาชาดอยู่ที่ประมาณ 3-4 ปี ไทย แต่ในการผ่าตัดของทางรามาธิบดีมีบางรายที่ใช้การสั่งกระจกตาจากต่างประเทศ เนื่องจากบางประเทศมีการสนับสนุนการบริจาคอวัยวะ
ศ.วินิจ พัวประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี ย้ำถึงการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเทียมว่าสามารถรักษาได้เฉพาะอาการที่เกิดขึ้นกับกระจกตาเท่านั้น หากประสาทตาเสีย เช่น ผู้ที่สูญเสียการมองเห็นตั้งแต่กำเนิดก็ไม่สามารถรักษาได้
การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตานั้นมีหลายวิธี การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาแบบบอสตัน ซึ่งนิยมทำกันมากในสหรัฐอเมริกา การผ่าตัดกระจกตาแบบบอสตันมีพัฒนาการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 แต่ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมามีการพัฒนาขึ้นมาก และใช้วิธีการผ่าตัดเหมือนปกติคืออยู่ที่ประมาณ 1 ชั่วโมง หลังการผ่าตัด 1 สัปดาห์ผู้เข้ารับการรักษาก็สามารถฟื้นตัวได้ นี่คือสาเหตุที่ทางโรงพยาบาลรามาธิบดีเลือกการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาแบบบอสตันในการรักษา เพราะขั้นตอนในการผ่าตัดไม่ยุ่งยากเท่าวิธีอื่น และสามารถถ่ายทอดให้ทีมแพทย์แห่งอื่นได้ ในขณะนี้โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นแห่งเดียวที่ใช้วิธีนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้ การผ่าตัดกระจกตาเทียมจะถูกกว่าไปผ่าตัดที่ต่างประเทศที่มีค่าใช้จ่ายถึง 300,000-400,000 บาท ในขณะที่ทางรามาธิบดีผ่าตัดจะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 10,000 บาท ไม่รวมค่ากระจกตาเทียมฅ
ด้าน ดต.สันติ วงศ์ชอบพอ คนไข้ที่เข้ารับการรักษาผ่าตัดกระจกตาเทียม มีอาการกระจกตาแห้งและเป็นฝ้า เคยผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาธรรมชาติมา 2 ครั้ง แต่ร่างกายเกิดอาการต่อต้าน มองเห็นในระยะ 1 ฟุต หลังเข้ารับการรักษาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
อนึ่ง โรงพยาบาลรามาธิบดีขอเชิญร่วมบริจาค สมทบกองทุน “ทุนกระจกตาเทียม”
ได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี ออมทรัพย์ เลขที่ 026-2-58200-0 ชื่อบัญชี “ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์”หรือสั่งจ่ายเช็คในนาม “มูลนิธิรามาธิบดี” (ทุนกระจกตาเทียม) สอบถามรายละเอียดได้ที่ มูลนิธิรามาธิบดี โทร. 0-2201-1205, 0-2201-1655