กุมารแพทย์โรคหัวใจชาวไทย นำเทคนิคตรวจเปอร์เซ็นต์ออกซิเจนที่นิ้วมือขวา และเท้าทารก ตรวจคัดกรองโรคหัวใจในทารกแรกเกิดโดยไม่ต้องเจาะเลือด ให้ผลแม่นยำ อีกทั้งเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์ออกซิเจนทางผิวหนังมีหลายเครื่องทั่วประเทศ วอนแพทย์ในโรงพยาบาลต่างจังหวัด พื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร ใช้เทคนิคนี้ช่วยชีวิตทารกแรกเกิด
นพ.ชาตรี เรืองฤทธิ์นำชัย กุมารแพทย์โรคหัวใจในเด็ก กล่าวว่า ได้นำเทคนิคการวัดปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดมาตรวจคัดกรองโรคหัวใจในทารกแรกเกิด โดยไม่ต้องเจาะเลือด เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนที่นิ้วมือและเท้ามีหลายแสนเครื่องทั่วประเทศ แม้แต่ในโรงพยาบาลชุมชนก็มีเครื่องมือนี้ โรงพยาบาลส่วนใหญ่ใช้ในการติดตามอาการของผู้ป่วยหนัก แต่สามารถนำเครื่องมือนี้มาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า โดยใช้เครื่องวัดหาปริมาณออกซิเจนในกระแสโลหิตที่มือขวาของทารก และเท้าข้างใดข้างหนึ่ง ใช้เวลาไม่กี่วินาทีก็ทราบผล
โดยตรวจหลังคลอด 1-2 วัน หากพบว่าทารกมีปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดต่ำกว่าร้อยละ 95 ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ให้ส่งทารกเข้ารับการรักษาอย่างละเอียดในโรงพยาบาลที่มีแพทย์และอุปกรณ์พร้อม เพื่อทำการผ่าตัดรักษา ซึ่งปัจจุบันวิธีนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
“ขั้นตอนวัดหาเปอร์เซ็นต์ออกซิเจนที่มือและเท้าไม่ยุ่งยาก อีกทั้งโรคหัวใจแต่กำเนิด การตรวจร่างกายยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ ช่วงหลังคลอดอยู่โรงพยาบาล ทารกปกติดี แต่เมื่อแพทย์ให้กลับบ้าน โรคกำเริบทำให้ทารกเสียชีวิต การคัดกรองพบเพียงรายเดียว ทำการรักษาหาย ถือว่าคุ้มค่าแล้ว” นพ.ชาตรี กล่าว
นพ.ชาตรี กล่าวว่า ได้ตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด 24-48 ชั่วโมง จำนวน 1,630 คน ในช่วง 20 เดือนที่ผ่านมา พบ 3 ราย ที่เปอร์เซ็นต์ออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 95 ผลการตรวจละเอียดพบโรคหัวใจทั้ง 3 คน วิธีนี้มีความแม่นยำสูง ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ใช้คัดกรองทารกแรกเกิดกว่า 2 ปีแล้ว ส่วนในประเทศไทย ตนเป็นผู้นำเทคนิคนี้มาใช้เป็นคนแรก และได้นำเสนอผลงานวิจัยนี้ในการประชุมนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก หัวใจเด็กและศัลยกรรมหัวใจเด็ก ครั้งที่ 1
ศ.นพ.บุญชอบ พงษ์พาณิชย์ ประธานมูลนิธิโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ มี 30 ประเทศ เข้าประชุมกว่า 600 คน เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการรักษาโรคหัวใจเด็กในประเทศกำลังพัฒนา จัดแสดงเครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์
“ร้อยละ 80 ของโรคหัวใจเด็ก พบในประเทศกำลังพัฒนา ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ แต่มักเกิดจากสิ่งแวดล้อม มารดาตั้งครรภ์เมื่ออายุเกิน 35 ปี ในประเทศไทยพบเด็กป่วยโรคหัวใจปีละ 7,000-8,000 คน คิดเป็นร้อยละ 1 ของทารกแรกเกิด ได้รับการผ่าตัดประมาณ 3,500 คน อีก 1,500 คน ต้องรอคิว เพราะขาดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาการของโรคหัวใจในเด็ก คือ ถ้ารุนแรงเด็กจะตัวเขียว ปากเขียว มือเท้าเขียว เพราะขาดออกซิเจน บางรายไม่มีอาการ ในบางรายอาการไม่รุนแรงจะเติบโตช้า” ศ.นพ.บุญชอบ กล่าว
ศ.นพ.บุญชอบ กล่าวด้วยว่า ปลายปีนี้ทางมูลนิธิฯ จะจัดโครงการผ่าตัดหัวใจเด็ก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในปี 2550 รวม 1,640 คน ผู้สนใจร่วมสนับสนุนโครงการนี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซด์ www.doctordek.com หรือโทรศัพท์ 0 2716 6070-1 โดยโรงพยาบาลภาครัฐ 17 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 4 แห่ง ร่วมกันผ่าตัดโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
นพ.ชาตรี เรืองฤทธิ์นำชัย กุมารแพทย์โรคหัวใจในเด็ก กล่าวว่า ได้นำเทคนิคการวัดปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดมาตรวจคัดกรองโรคหัวใจในทารกแรกเกิด โดยไม่ต้องเจาะเลือด เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนที่นิ้วมือและเท้ามีหลายแสนเครื่องทั่วประเทศ แม้แต่ในโรงพยาบาลชุมชนก็มีเครื่องมือนี้ โรงพยาบาลส่วนใหญ่ใช้ในการติดตามอาการของผู้ป่วยหนัก แต่สามารถนำเครื่องมือนี้มาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า โดยใช้เครื่องวัดหาปริมาณออกซิเจนในกระแสโลหิตที่มือขวาของทารก และเท้าข้างใดข้างหนึ่ง ใช้เวลาไม่กี่วินาทีก็ทราบผล
โดยตรวจหลังคลอด 1-2 วัน หากพบว่าทารกมีปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดต่ำกว่าร้อยละ 95 ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ให้ส่งทารกเข้ารับการรักษาอย่างละเอียดในโรงพยาบาลที่มีแพทย์และอุปกรณ์พร้อม เพื่อทำการผ่าตัดรักษา ซึ่งปัจจุบันวิธีนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
“ขั้นตอนวัดหาเปอร์เซ็นต์ออกซิเจนที่มือและเท้าไม่ยุ่งยาก อีกทั้งโรคหัวใจแต่กำเนิด การตรวจร่างกายยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ ช่วงหลังคลอดอยู่โรงพยาบาล ทารกปกติดี แต่เมื่อแพทย์ให้กลับบ้าน โรคกำเริบทำให้ทารกเสียชีวิต การคัดกรองพบเพียงรายเดียว ทำการรักษาหาย ถือว่าคุ้มค่าแล้ว” นพ.ชาตรี กล่าว
นพ.ชาตรี กล่าวว่า ได้ตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด 24-48 ชั่วโมง จำนวน 1,630 คน ในช่วง 20 เดือนที่ผ่านมา พบ 3 ราย ที่เปอร์เซ็นต์ออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 95 ผลการตรวจละเอียดพบโรคหัวใจทั้ง 3 คน วิธีนี้มีความแม่นยำสูง ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ใช้คัดกรองทารกแรกเกิดกว่า 2 ปีแล้ว ส่วนในประเทศไทย ตนเป็นผู้นำเทคนิคนี้มาใช้เป็นคนแรก และได้นำเสนอผลงานวิจัยนี้ในการประชุมนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก หัวใจเด็กและศัลยกรรมหัวใจเด็ก ครั้งที่ 1
ศ.นพ.บุญชอบ พงษ์พาณิชย์ ประธานมูลนิธิโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ มี 30 ประเทศ เข้าประชุมกว่า 600 คน เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการรักษาโรคหัวใจเด็กในประเทศกำลังพัฒนา จัดแสดงเครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์
“ร้อยละ 80 ของโรคหัวใจเด็ก พบในประเทศกำลังพัฒนา ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ แต่มักเกิดจากสิ่งแวดล้อม มารดาตั้งครรภ์เมื่ออายุเกิน 35 ปี ในประเทศไทยพบเด็กป่วยโรคหัวใจปีละ 7,000-8,000 คน คิดเป็นร้อยละ 1 ของทารกแรกเกิด ได้รับการผ่าตัดประมาณ 3,500 คน อีก 1,500 คน ต้องรอคิว เพราะขาดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาการของโรคหัวใจในเด็ก คือ ถ้ารุนแรงเด็กจะตัวเขียว ปากเขียว มือเท้าเขียว เพราะขาดออกซิเจน บางรายไม่มีอาการ ในบางรายอาการไม่รุนแรงจะเติบโตช้า” ศ.นพ.บุญชอบ กล่าว
ศ.นพ.บุญชอบ กล่าวด้วยว่า ปลายปีนี้ทางมูลนิธิฯ จะจัดโครงการผ่าตัดหัวใจเด็ก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในปี 2550 รวม 1,640 คน ผู้สนใจร่วมสนับสนุนโครงการนี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซด์ www.doctordek.com หรือโทรศัพท์ 0 2716 6070-1 โดยโรงพยาบาลภาครัฐ 17 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 4 แห่ง ร่วมกันผ่าตัดโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย