อธิบดีกรมชลฯ เตรียมเสนอรัฐบาลใหม่ สร้างคลองระบายน้ำเพิ่ม พร้อมรื้อฟื้นอ่างเก็บน้ำแก่งเสือเต้น โดยเสนอตั้งคนกลางตัดสินความคุ้มค่า รวมทั้งปัดฝุ่นปรับโครงสร้างรวม 3 กรม ตั้งเป็นทบวงน้ำ ขึ้นมาดูแลทรัพยากรน้ำโดยตรง ระบุปีนี้ฝนมากกว่าปกติร้อยละ 30 ลุ่มเจ้าพระยาน้ำมากกว่าปี 2545 แต่ยังน้อยกว่าปี 2538 ชี้ พื้นที่ลุ่มที่เคยใช้พักน้ำถูกกั้นจนไม่เหลือ
นายสามารถ โชคคณาพิทักษ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมระยะยาว ในภาวะที่สภาพอากาศโลกแปรปรวน และมีแนวโน้มเกิดปัญหาลักษณะนี้บ่อยครั้ง ว่า ทางกรมฯ เตรียมแนวทางสร้างคลองระบายน้ำเพิ่มเติม รวมทั้งรื้อฟื้นโครงการสร้างพื้นที่เก็บกักน้ำด้านเหนือลุ่มน้ำเจ้าพระยาขึ้นมาดำเนินการอีกครั้ง เช่น โครงการอ่างเก็บน้ำแก่งเสือเต้น จังหวัดแพร่ ซึ่งจะทำหน้าที่เก็บกักน้ำจากลุ่มน้ำยม โครงการการอ่างเก็บน้ำแม่วงศ์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น โดยอยู่ระหว่างเตรียมข้อมูลจะนำเสนอให้รัฐบาลใหม่พิจารณา
ส่วนความขัดแย้งเกี่ยวกับโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำแก่งเสือเต้นนั้น นายสามารถ กล่าวว่า ต้องการให้ตั้งคนกลางที่ไม่ใช่ทั้งผู้ต้องการให้สร้างและผู้คัดค้านการสร้าง มาพิจารณาผลดีผลเสียอย่างเป็นธรรมแล้วนำเสนอต่อรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นว่าทุกฝ่ายน่าจะร่วมกันคิดหาทางแก้ปัญหาที่เกิดจากผลกระทบของการสร้างอ่างเก็บน้ำ เช่น หาสถานที่ปลูกป่าสักทองผืนใหม่ หรือหาทางพัฒนาที่อยู่สัตว์น้ำที่จะได้รับผลกระทบ เป็นต้น มากกว่าที่จะนำปัญหามาคัดค้านการดำเนินการ เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีวิชาการมีความก้าวหน้ามาก
นายสามารถ กล่าวอีกว่า นอกจากเตรียมเสนอรัฐบาลใหม่ถึงโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แล้ว จะเสนอการจัดตั้งทบวงน้ำ ขึ้นมาดูแลทรัพยากรน้ำโดยเฉพาะ หลังจากที่ถูกสั่งระงับการดำเนินการไปช่วงรัฐบาลที่แล้ว โดยทบวงน้ำจะประกอบด้วย กรมชลประทาน (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) กรมทรัพยากรน้ำ และกรมน้ำบาดาล (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งประเด็นที่ยังไม่ลงตัวคือทบวงนี้จะอยู่ในสังกัดกระทรวงใด ซึ่งถ้าจะมองว่าเกษตรกรเป็นผู้ใช้น้ำหลัก ก็สามารถให้ทบวงน้ำขึ้นกับกระทรวงเกษตรฯ ได้
อธิบดีกรมชลประทาน ยังกล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาในปีนี้ เกิดจากปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าปกติถึงร้อยละ 30 โดยแม้มีปริมาณน้ำมากกว่าปี 2545 และน้อยกว่าปี 2538 ที่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ แต่ปริมาณน้ำที่ลงมาถึงกรุงเทพฯ ก็ยังไม่มากเท่าปี 2545 เนื่องจากได้จำกัดการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี ลงมาได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันพื้นที่ลุ่มที่เคยทำหน้าที่เป็นจุดพักน้ำปริมาณมหาศาลได้ถูกพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ โดยเจ้าของที่ดินหรือเกษตรกรได้สร้างคันกั้นน้ำป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ทำการเกษตรไว้อย่างดี ทำให้ไม่มีที่พักน้ำปริมาณมากเช่นที่เคยเป็นมา
นายสามารถ โชคคณาพิทักษ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมระยะยาว ในภาวะที่สภาพอากาศโลกแปรปรวน และมีแนวโน้มเกิดปัญหาลักษณะนี้บ่อยครั้ง ว่า ทางกรมฯ เตรียมแนวทางสร้างคลองระบายน้ำเพิ่มเติม รวมทั้งรื้อฟื้นโครงการสร้างพื้นที่เก็บกักน้ำด้านเหนือลุ่มน้ำเจ้าพระยาขึ้นมาดำเนินการอีกครั้ง เช่น โครงการอ่างเก็บน้ำแก่งเสือเต้น จังหวัดแพร่ ซึ่งจะทำหน้าที่เก็บกักน้ำจากลุ่มน้ำยม โครงการการอ่างเก็บน้ำแม่วงศ์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น โดยอยู่ระหว่างเตรียมข้อมูลจะนำเสนอให้รัฐบาลใหม่พิจารณา
ส่วนความขัดแย้งเกี่ยวกับโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำแก่งเสือเต้นนั้น นายสามารถ กล่าวว่า ต้องการให้ตั้งคนกลางที่ไม่ใช่ทั้งผู้ต้องการให้สร้างและผู้คัดค้านการสร้าง มาพิจารณาผลดีผลเสียอย่างเป็นธรรมแล้วนำเสนอต่อรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นว่าทุกฝ่ายน่าจะร่วมกันคิดหาทางแก้ปัญหาที่เกิดจากผลกระทบของการสร้างอ่างเก็บน้ำ เช่น หาสถานที่ปลูกป่าสักทองผืนใหม่ หรือหาทางพัฒนาที่อยู่สัตว์น้ำที่จะได้รับผลกระทบ เป็นต้น มากกว่าที่จะนำปัญหามาคัดค้านการดำเนินการ เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีวิชาการมีความก้าวหน้ามาก
นายสามารถ กล่าวอีกว่า นอกจากเตรียมเสนอรัฐบาลใหม่ถึงโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แล้ว จะเสนอการจัดตั้งทบวงน้ำ ขึ้นมาดูแลทรัพยากรน้ำโดยเฉพาะ หลังจากที่ถูกสั่งระงับการดำเนินการไปช่วงรัฐบาลที่แล้ว โดยทบวงน้ำจะประกอบด้วย กรมชลประทาน (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) กรมทรัพยากรน้ำ และกรมน้ำบาดาล (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งประเด็นที่ยังไม่ลงตัวคือทบวงนี้จะอยู่ในสังกัดกระทรวงใด ซึ่งถ้าจะมองว่าเกษตรกรเป็นผู้ใช้น้ำหลัก ก็สามารถให้ทบวงน้ำขึ้นกับกระทรวงเกษตรฯ ได้
อธิบดีกรมชลประทาน ยังกล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาในปีนี้ เกิดจากปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าปกติถึงร้อยละ 30 โดยแม้มีปริมาณน้ำมากกว่าปี 2545 และน้อยกว่าปี 2538 ที่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ แต่ปริมาณน้ำที่ลงมาถึงกรุงเทพฯ ก็ยังไม่มากเท่าปี 2545 เนื่องจากได้จำกัดการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี ลงมาได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันพื้นที่ลุ่มที่เคยทำหน้าที่เป็นจุดพักน้ำปริมาณมหาศาลได้ถูกพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ โดยเจ้าของที่ดินหรือเกษตรกรได้สร้างคันกั้นน้ำป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ทำการเกษตรไว้อย่างดี ทำให้ไม่มีที่พักน้ำปริมาณมากเช่นที่เคยเป็นมา