อายุรแพทย์จุฬาฯ เผย 6 สัญญาณเตือนโรคท้องผูกเรื้อรัง พบร้อยละ 90 ท้องผูกโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วย 1 ใน 3 ท้องผูกเพราะเบ่งอุจจาระไม่เป็น ช่วงเวลาเบ่งแทนที่หูรูดทวารหนักจะคลายตัวกลับบีบรัด แนะปรึกษาแพทย์ฝึกระบบการเบ่ง เมื่อรู้สึกอยากถ่าย อย่ากลั้น ให้รีบเข้าห้องสุขา
ผศ.นพ.สุเทพ กลชาญวิทย์ สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงโรคท้องผูกเรื้อรังว่า การวินิจฉัยว่าเป็นท้องผูกเรื้อรังหรือไม่นั้นต้องพิจารณาหลายปัจจัย คือ ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ต้องเบ่งอุจจาระมากกว่าปกติ อุจจาระเป็นก้อนแข็ง รู้สึกถ่ายไม่สุด มีความรู้สึกอยากถ่ายแต่ถ่ายไม่ออก เนื่องจากมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก ต้องใช้นิ้วมือช่วยในการถ่าย หากมีอาการดังกล่าวนี้ 2 ใน 6 ข้อ ถือว่ามีอาการท้องผูก ส่วนท้องผูกเรื้อรังภายใน 1 ปี ต้องมีอาการมากกว่า 3 เดือน ซึ่งอาจเป็นๆ หายๆ หรือท้องผูกต่อเนื่องกันก็ได้
ผศ.นพ.สุเทพ กล่าวว่า ร้อยละ 90 ของผู้ที่ท้องผูก มักไม่ทราบสาเหตุ ส่วนที่พอระบุสาเหตุได้ คือ ท้องผูกเพราะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ เป็นเบาหวาน โรคทางระบบประสาท เช่น ได้รับบาดเจ็บหรือมีโรคทางสมอง ไขสันหลัง โรคพาร์กินสัน อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือท้องผูกจากการรับประทานยาบางกลุ่ม เช่น กลุ่มยาทางจิตเวช ยาที่มีฤทธิ์ทำให้การบีบตัวของลำไส้ใหญ่น้อยลง ยากันชัก ยาลดความดันโลหิตสูง ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีน ธาตุเหล็กในยาบำรุงเลือด หรืออาจมีมะเร็ง เนื้องอกในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก ลำไส้ตีบ ลำไส้บิดพันกัน เป็นต้น
สำหรับกลุ่มที่ท้องผูกโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีมากถึงร้อยละ 90 นั้น ผศ.นพ.สุเทพ กล่าวว่า พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในวัยสูงอายุเป็นคนที่กินอาหารมีกากใยน้อย ออกกำลังกายน้อย ชอบกลั้นอุจจาระเวลาอยากถ่าย ในกลุ่มคนท้องผูกพบว่า 1 ใน 3 เบ่งอุจจาระไม่เป็น
“คนที่เบ่งไม่เป็น เวลาเบ่งอุจจาระ การบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง แทนที่หูรูดจะคลายตัว กลับบีบรัด จึงถ่ายอุจจาระด้วยความยากลำบาก แม้อุจจาระจะก้อนไม่ใหญ่และไม่แข็ง ต้องใช้เวลาเบ่งนานกว่าปกติ ปวดเบ่ง พอเบ่งมากก็เจ็บทวารหนัก ถ่ายไม่สุด ต้องใช้นิ้วช่วย คนที่เบ่งอุจจาระไม่เป็นใช้ยาระบายไม่ได้ผล บางคนกิน 20-30 เม็ด ก็ไม่ได้ผล” ผศ.นพ.สุเทพ กล่าว
ผศ.นพ.สุเทพ กล่าวว่า โดยทั่วไปลำไส้จะบีบตัวทำให้คนอยากถ่ายอุจจาระวันละ 4-6 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นเวลาช่วงเช้า หรือหลังอาหาร เมื่อเกิดความรู้สึกอยากถ่าย ขอให้เข้าห้องน้ำ อย่ากลั้นอุจจาระ โดยเฉพาะผู้ที่ท้องผูกบ่อยๆ ส่วนผู้ที่เบ่งอุจจาระไม่เป็นควรปรึกษาแพทย์ เพื่อฝึกการเบ่งให้หูรูดทวารหนักคลายตัว นอกจากนี้ ควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง ได้แก่ ผัก ผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว” ผศ.นพ.สุเทพ กล่าว
ผศ.นพ.สุเทพ กลชาญวิทย์ สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงโรคท้องผูกเรื้อรังว่า การวินิจฉัยว่าเป็นท้องผูกเรื้อรังหรือไม่นั้นต้องพิจารณาหลายปัจจัย คือ ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ต้องเบ่งอุจจาระมากกว่าปกติ อุจจาระเป็นก้อนแข็ง รู้สึกถ่ายไม่สุด มีความรู้สึกอยากถ่ายแต่ถ่ายไม่ออก เนื่องจากมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก ต้องใช้นิ้วมือช่วยในการถ่าย หากมีอาการดังกล่าวนี้ 2 ใน 6 ข้อ ถือว่ามีอาการท้องผูก ส่วนท้องผูกเรื้อรังภายใน 1 ปี ต้องมีอาการมากกว่า 3 เดือน ซึ่งอาจเป็นๆ หายๆ หรือท้องผูกต่อเนื่องกันก็ได้
ผศ.นพ.สุเทพ กล่าวว่า ร้อยละ 90 ของผู้ที่ท้องผูก มักไม่ทราบสาเหตุ ส่วนที่พอระบุสาเหตุได้ คือ ท้องผูกเพราะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ เป็นเบาหวาน โรคทางระบบประสาท เช่น ได้รับบาดเจ็บหรือมีโรคทางสมอง ไขสันหลัง โรคพาร์กินสัน อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือท้องผูกจากการรับประทานยาบางกลุ่ม เช่น กลุ่มยาทางจิตเวช ยาที่มีฤทธิ์ทำให้การบีบตัวของลำไส้ใหญ่น้อยลง ยากันชัก ยาลดความดันโลหิตสูง ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีน ธาตุเหล็กในยาบำรุงเลือด หรืออาจมีมะเร็ง เนื้องอกในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก ลำไส้ตีบ ลำไส้บิดพันกัน เป็นต้น
สำหรับกลุ่มที่ท้องผูกโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีมากถึงร้อยละ 90 นั้น ผศ.นพ.สุเทพ กล่าวว่า พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในวัยสูงอายุเป็นคนที่กินอาหารมีกากใยน้อย ออกกำลังกายน้อย ชอบกลั้นอุจจาระเวลาอยากถ่าย ในกลุ่มคนท้องผูกพบว่า 1 ใน 3 เบ่งอุจจาระไม่เป็น
“คนที่เบ่งไม่เป็น เวลาเบ่งอุจจาระ การบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง แทนที่หูรูดจะคลายตัว กลับบีบรัด จึงถ่ายอุจจาระด้วยความยากลำบาก แม้อุจจาระจะก้อนไม่ใหญ่และไม่แข็ง ต้องใช้เวลาเบ่งนานกว่าปกติ ปวดเบ่ง พอเบ่งมากก็เจ็บทวารหนัก ถ่ายไม่สุด ต้องใช้นิ้วช่วย คนที่เบ่งอุจจาระไม่เป็นใช้ยาระบายไม่ได้ผล บางคนกิน 20-30 เม็ด ก็ไม่ได้ผล” ผศ.นพ.สุเทพ กล่าว
ผศ.นพ.สุเทพ กล่าวว่า โดยทั่วไปลำไส้จะบีบตัวทำให้คนอยากถ่ายอุจจาระวันละ 4-6 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นเวลาช่วงเช้า หรือหลังอาหาร เมื่อเกิดความรู้สึกอยากถ่าย ขอให้เข้าห้องน้ำ อย่ากลั้นอุจจาระ โดยเฉพาะผู้ที่ท้องผูกบ่อยๆ ส่วนผู้ที่เบ่งอุจจาระไม่เป็นควรปรึกษาแพทย์ เพื่อฝึกการเบ่งให้หูรูดทวารหนักคลายตัว นอกจากนี้ ควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง ได้แก่ ผัก ผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว” ผศ.นพ.สุเทพ กล่าว