แม้ยุคนี้มีคนมากมายหันมาสนใจแพทย์แผนจีนซึ่งเป็นศาสตร์โบร่ำโบราณที่ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้าง ทั้งการฝังเข็ม กดจุด นวดทุยหนา สมุนไพรจีน แต่ในโลกของการแพทย์มีหมอแมะหรือหมอจีนน้อยคนนักที่ได้รับการรับรองออกใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ

เมื่อเร็วๆ นี้ กองประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดโครงการสัมมนาเพิ่มพูนความรู้บุคคลที่ได้รับอนุญาตในประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยศาสตร์การแพทย์แผนจีน ประจำปี 2549 เพื่อยกระดับหมอจีนด้านคุณภาพการรักษาได้รับการยอมรับในสังคม พร้อมกับคุ้มครองผู้เข้ารับการรักษาไม่ให้ถูกหลอก ต้มตุ๋นจากหมอเก๊อีกต่อไป
ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ บอกว่าการจัดอบรมครั้งนี้หวังที่จะพัฒนา ยกระดับมาตรฐานการรักษาแพทย์แผนจีน และยังเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้ารับบริการให้ได้รับการรักษาที่มีความปลอดภัยตรวจสอบได้ เช่น ตรวจสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะซึ่งจะต้องติดไว้ที่สถานบริการพยาบาล คลินิก
สำหรับคุณสมบัติของบุคคลที่จะขออนุญาตจดขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนจะต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย หรือสัญชาติอื่นที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 3 ปี อายุไม่ต่ำกว่า 21 ปี และสำเร็จการศึกษาหลักสูตรแพทย์จีนจากสถาบันการศึกษาในหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 5 ปี ของประเทศนั้นและต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะในประเทศที่สำเร็จการศึกษาและได้ผ่านการประเมินความรู้และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพจากคณะกรรมการประกอบโรคศิลปะแล้ว
ขณะเดียวกันก็รวมผู้ที่เรียนรู้การแพทย์แผนจีนจากบรรพบุรุษ ผ่านการฝึกงานในสถานพยาบาลที่มีแผนการแพทย์แผนจีนมาน้อยไม่กว่า 1 ปี และผู้ดำเนินการสถานพยาบาลรับรองว่ามีความรู้การแพทย์แผนจีนจริง และมีความประพฤติเรียบร้อยรวมถึงแพทย์แผนปัจจุบันและผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่นๆ ที่มีความรู้การแพทย์แผนจีนและผ่านการประเมินที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีนกำหนด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขออกใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะมีระยะเวลา 2 ปี และสามารถต่ออายุได้คราวละไม่เกิน 2 ปี
ธเรศบอกอีกว่า ที่สำคัญผู้ประกอบโรคศิลปะการแพทย์แผนจีนมีความรู้และทักษะการแพทย์แผนจีนตามมาตรฐานสากลซึ่งกำหนดโดยสมาพันธ์การแพทย์จีนโลก ซึ่งครอบคลุมวิชาหลักการแพทย์แผนจีนพื้นฐาน การวินิจฉัยโรคตามหลักแพทย์แผนจีนการวิเคราะห์และจำแนกโรคตามอาการศาสตร์การแพทย์แผนจีน การใช้สมุนไพรและตำรับยาจีน การฝังเข็มและรมยา การนวยทุยหนา การฝึกลมปราณ เป็นต้น

“ปัจจุบันมีแพทย์แผนจีนที่ขึ้นทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนดจำนวน 215 คน โดยแบ่งออกเป็นแพทย์ปริญญาตรี 5 ปี 22 คน สืบทอดจากบรรพบุรุษ 147 คน มีความเชี่ยวชาญการใช้เข็ม 3 คน ยาสมุนไพรจีน 40 คน และนวดทุยหนา 3 คน ซึ่งบุคคลที่จบปริญญาตรีมักเป็นแพทย์ชาวต่างชาติ ที่เดินทางมาอยู่ประเทศไทย แพทย์เหล่านี้มักได้รับความเชื่อถือจากประชาชนค่อนข้างมากเพราะความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้และหมอดี จึงไม่ค่อยมีการร้องเรียนจากประชาชนซึ่งกองการประกอบโรคศิลปะเฝ้าระวังสุ่มตรวจมาตรฐานเป็นประจำด้วย"
ด้าน ภัทระ กรัษนัยรวิวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานการประกอบโรคศิลปะ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า การพัฒนาการแพทย์แผนจีนเพื่อการแพทย์ทางเลือกที่เหมาะสมกับการดูแลสุขภาพของคนไทยร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์อื่นๆ นั้นจำเป็นต้องมีพระราชกฤษฎีการับรองสาขาศาสตร์การแพทย์แผนจีน ซึ่งออกตามมาตรา 5(5) แห่งพระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพระราชกฤษฎีกา ซึ่งน่าจะแล้วเสร็จอีกไม่เกิน 1 ปี นับจากนี้
“เมื่อบังคับใช้กฎหมายแพทย์แผนจีนจะมีกฎหมายรองรับเท่าเทียมกับผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่นๆ รวมทั้งมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ากัน อีกทั้งจะมีการตั้งคณะกรรมการวิชาชีพแผนจีนเพื่อดูแลมาตรฐานและการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีนให้เหมาะสมร่วมกับสาขาการแพทย์อื่นๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชน ซึ่งช่วงระยะเวลาที่รอกฎหมายอยากให้แพทย์จีนทุกคนพัฒนาตัวเองอยู่เสมอก่อนที่จะเข้าสู่ระบบ มีมาตรฐานวิชาชีพ”ภัทระสรุปทิ้งท้าย
สำหรับผู้สนใจรับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์สมาคมแพทย์ฝังเข็มและสมุนไพร http://www.thaiacupuncture.net หรือ สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 0-2590-6381, 0-2951-0777, 0-2951-0789
เมื่อเร็วๆ นี้ กองประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดโครงการสัมมนาเพิ่มพูนความรู้บุคคลที่ได้รับอนุญาตในประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยศาสตร์การแพทย์แผนจีน ประจำปี 2549 เพื่อยกระดับหมอจีนด้านคุณภาพการรักษาได้รับการยอมรับในสังคม พร้อมกับคุ้มครองผู้เข้ารับการรักษาไม่ให้ถูกหลอก ต้มตุ๋นจากหมอเก๊อีกต่อไป
ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ บอกว่าการจัดอบรมครั้งนี้หวังที่จะพัฒนา ยกระดับมาตรฐานการรักษาแพทย์แผนจีน และยังเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้ารับบริการให้ได้รับการรักษาที่มีความปลอดภัยตรวจสอบได้ เช่น ตรวจสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะซึ่งจะต้องติดไว้ที่สถานบริการพยาบาล คลินิก
สำหรับคุณสมบัติของบุคคลที่จะขออนุญาตจดขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนจะต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย หรือสัญชาติอื่นที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 3 ปี อายุไม่ต่ำกว่า 21 ปี และสำเร็จการศึกษาหลักสูตรแพทย์จีนจากสถาบันการศึกษาในหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 5 ปี ของประเทศนั้นและต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะในประเทศที่สำเร็จการศึกษาและได้ผ่านการประเมินความรู้และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพจากคณะกรรมการประกอบโรคศิลปะแล้ว
ขณะเดียวกันก็รวมผู้ที่เรียนรู้การแพทย์แผนจีนจากบรรพบุรุษ ผ่านการฝึกงานในสถานพยาบาลที่มีแผนการแพทย์แผนจีนมาน้อยไม่กว่า 1 ปี และผู้ดำเนินการสถานพยาบาลรับรองว่ามีความรู้การแพทย์แผนจีนจริง และมีความประพฤติเรียบร้อยรวมถึงแพทย์แผนปัจจุบันและผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่นๆ ที่มีความรู้การแพทย์แผนจีนและผ่านการประเมินที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีนกำหนด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขออกใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะมีระยะเวลา 2 ปี และสามารถต่ออายุได้คราวละไม่เกิน 2 ปี
ธเรศบอกอีกว่า ที่สำคัญผู้ประกอบโรคศิลปะการแพทย์แผนจีนมีความรู้และทักษะการแพทย์แผนจีนตามมาตรฐานสากลซึ่งกำหนดโดยสมาพันธ์การแพทย์จีนโลก ซึ่งครอบคลุมวิชาหลักการแพทย์แผนจีนพื้นฐาน การวินิจฉัยโรคตามหลักแพทย์แผนจีนการวิเคราะห์และจำแนกโรคตามอาการศาสตร์การแพทย์แผนจีน การใช้สมุนไพรและตำรับยาจีน การฝังเข็มและรมยา การนวยทุยหนา การฝึกลมปราณ เป็นต้น
“ปัจจุบันมีแพทย์แผนจีนที่ขึ้นทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนดจำนวน 215 คน โดยแบ่งออกเป็นแพทย์ปริญญาตรี 5 ปี 22 คน สืบทอดจากบรรพบุรุษ 147 คน มีความเชี่ยวชาญการใช้เข็ม 3 คน ยาสมุนไพรจีน 40 คน และนวดทุยหนา 3 คน ซึ่งบุคคลที่จบปริญญาตรีมักเป็นแพทย์ชาวต่างชาติ ที่เดินทางมาอยู่ประเทศไทย แพทย์เหล่านี้มักได้รับความเชื่อถือจากประชาชนค่อนข้างมากเพราะความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้และหมอดี จึงไม่ค่อยมีการร้องเรียนจากประชาชนซึ่งกองการประกอบโรคศิลปะเฝ้าระวังสุ่มตรวจมาตรฐานเป็นประจำด้วย"
ด้าน ภัทระ กรัษนัยรวิวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานการประกอบโรคศิลปะ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า การพัฒนาการแพทย์แผนจีนเพื่อการแพทย์ทางเลือกที่เหมาะสมกับการดูแลสุขภาพของคนไทยร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์อื่นๆ นั้นจำเป็นต้องมีพระราชกฤษฎีการับรองสาขาศาสตร์การแพทย์แผนจีน ซึ่งออกตามมาตรา 5(5) แห่งพระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพระราชกฤษฎีกา ซึ่งน่าจะแล้วเสร็จอีกไม่เกิน 1 ปี นับจากนี้
“เมื่อบังคับใช้กฎหมายแพทย์แผนจีนจะมีกฎหมายรองรับเท่าเทียมกับผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่นๆ รวมทั้งมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ากัน อีกทั้งจะมีการตั้งคณะกรรมการวิชาชีพแผนจีนเพื่อดูแลมาตรฐานและการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีนให้เหมาะสมร่วมกับสาขาการแพทย์อื่นๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชน ซึ่งช่วงระยะเวลาที่รอกฎหมายอยากให้แพทย์จีนทุกคนพัฒนาตัวเองอยู่เสมอก่อนที่จะเข้าสู่ระบบ มีมาตรฐานวิชาชีพ”ภัทระสรุปทิ้งท้าย
สำหรับผู้สนใจรับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์สมาคมแพทย์ฝังเข็มและสมุนไพร http://www.thaiacupuncture.net หรือ สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 0-2590-6381, 0-2951-0777, 0-2951-0789