“พินิจ” สั่ง สสจ.ทั่วประเทศคุมเข้มความสะอาดสระว่ายน้ำทุกแห่ง โรงเรียนเนิร์สเซอรี-อนุบาล-ประถมทั่วประเทศ ป้องกันโรคมือเท้าปาก หลังพบเชื้อระบาดปีนี้ เป็นเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ชนิดรุนแรงสุด เผยรอบ 9 เดือนปีนี้ พบป่วย 1,360 ราย เสียชีวิต 14 ราย เผยกทม.เจอหนักพบแพร่ 11 ร.ร.
นายพินิจ จารุสมบัติ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้ามาตรการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก หลังพบเด็กชายวัย 6 ขวบในเขต กทม. ป่วยและเสียชีวิตโดยที่ไม่ปรากฏอาการของโรคชัดเจนว่า ในเรื่องมาตรฐานการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคนี้ไม่น่าห่วง เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้ออกกมาตรการให้แพทย์ทั่วประเทศทำการซักประวัติอย่างเข้มข้น เพื่อแยกจากเชื้อไวรัสไข้หวัดนก และไข้เลือดออกอยู่แล้ว แต่จะต้องเพิ่มมาตรการการป้องกันและควบคุมโรคโดยเร็วที่สุด ทั้งพื้นที่ที่มีเด็กป่วยและยังไม่มีก็ตาม
นายพินิจ กล่าวต่อว่า ในวันนี้ (19 ก.ย.) ได้มอบหมายให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และได้สั่งการให้กรมอนามัย กรมควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขทั่วประเทศ ควบคุมมาตรฐานสระว่ายน้ำทุกแห่ง ซึ่งเป็นสถานที่เด็กๆ มักจะเล่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสระว่ายน้ำในโรงเรียน ห้างสรรพสินค้า รวมทั้งสระว่ายน้ำสังกัดรัฐและเอกชนทั่วประเทศ ให้มีระดับคลอรีนตกค้างไม่ต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด คือ 1 ส่วน ต่อน้ำ 1 ล้านส่วน (1 พีพีเอ็ม) และทำความสะอาดห้องอาบน้ำ ห้องผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องแต่งตัว ที่เก็บของ อ่างล้างมือ ที่ล้างเท้า เครื่องเล่นและอุปกรณ์ประจำสระว่ายน้ำทุกวัน
“นอกจากนั้นได้ให้โรงเรียนทุกแห่ง โดยเฉพาะโรงเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาล ศูนย์เด็กเล็ก และเนิร์สเซอรีทั่วประเทศ ตรวจเด็กทุกคนทุกวัน หากพบเด็กคนใดมีอาการโรคมือ เท้า ปาก คือมีตุ่มใสขึ้นที่ปาก ตามง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า จะมีไข้หรือไม่ก็ตาม ขอให้แยกเด็กและพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็ว และให้หยุดเรียน 7-10 วัน หรือจนกว่าจะหายป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่สู่เด็กอื่นๆ โดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เรียกประชุมผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลและศูนย์เลี้ยงเด็กทั่วประเทศภายในสัปดาห์นี้”
นายพินิจ กล่าวว่า สำหรับผลการตรวจยืนยันเด็กโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน อายุ 6 ขวบ ที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2549 จะทราบผลในช่วง 1-2 วันนี้ ทั้งนี้เมื่อมีรายงานพบผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก กระทรวงสาธารณสุขจะส่งทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วซึ่งมีกว่า 1,500 ทีมทั่วประเทศ ลงควบคุมโรคทันที
สำหรับสถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 จนถึงวันนี้ ทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ที่แสดงอาการชัดเจน 1,360 ราย ตาย 5 ราย และมีผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก มีอาการไม่ชัดเจนแต่เสียชีวิต 9 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ แต่ไม่เกิน 10 ขวบ ทุกรายติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความรุนแรงที่สุด ในไทยพบตั้งแต่ พ.ศ.2541 เป็นต้นมา ก่อนหน้านี้เป็นเชื้อไวรัสตัวอื่นที่อาการไม่รุนแรง
ส่วนอาการของโรคนี้ก็คือ ผู้ป่วยมีไข้ มีตุ่มใสที่มือ เท้าและปาก เหมือนแผลร้อนใน จากนั้นตุ่มใสจะแตก เด็กดื่มน้ำและอาหารลำบาก ร้อยละ 90 อาการหายได้เอง มีบางรายที่ติดเชื้อแทรกซ้อนรุนแรงที่ปอด ทำให้น้ำท่วมปอดเสียชีวิต เชื้อไวรัสติดต่อกันได้ทางการไอ จาม และการรับประทานเชื้อปนเปื้อนมากับอุจจาระ
ด้านนพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในวันนี้ทีมควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค และ กทม.จะลงไปที่ชุมชนและโรงเรียนของเด็กที่เสียชีวิต เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เพื่อไม่โรคแพร่กระจาย กรมควบคุมโรคได้ผลิตคู่มือโรคมือ เท้า ปาก จำนวน 50,000 เล่ม แจกไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อนำไปแจกจ่ายตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เตรียมการล่วงหน้ามาเป็นเวลา 2-3 เดือนมาแล้ว
ทั้งนี้ ในเช้าวันเดียวกัน ในการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานการประชุมได้นำประเด็นที่มีนักเรียนโรงเรียนดังย่านบางรัก ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคมือ เท้า ปาก มาพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วน เพื่อกำหนดมาตรการควบคุมดูแลโรค ไม่ให้ขยายไปในวงกว้าง
ขณะเดียวกัน ในช่วงบ่ายวันนี้ นายอภิรักษ์จะเดินทางไปตรวจสอบโรงเรียนที่เกิดเหตุด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของ กทม.ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา เขตบางรัก ไปฉีดพ่นยาเพื่อทำลายเชื้อ รวมทั้งเท้าระวังพื้นที่โดยรอบแล้ว
ส่วนบรรยากาศที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ในวันแรกของการปิดทำการเพื่อทำความสะอาดอาคารเรียน หลังจากมีนักเรียนชั้น ป.1 เสียชีวิต และสงสัยว่าป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ซึ่งทางโรงเรียนได้ระดมแม่บ้านกว่า 40 คน ทำความสะอาดสถานที่ต่างๆ เช่น ห้องเรียน ห้องน้ำ โรงอาหาร อาคารเรียนทั้ง 7 หลัง โดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 23 ดูแลการทำความสะอาดอย่างใกล้ชิด ซึ่งแม่บ้านจะทำการลงน้ำยาฆ่าเชื้อ 2-3 รอบและล้างออกด้วยน้ำสะอาด ขณะที่ผู้บริหารโรงเรียนซึ่งอยู่ระหว่างเดินทางไปประชุมที่กระทรวงศึกษาธิการ จะกลับมาแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในช่วงเที่ยง
ด้านนางปลื้มจิต สาระธรรม ครูผู้ดูแลด้านโภชนาการของนักเรียนชั้น ป.1-ป.4 เปิดเผยว่า หลังเกิดเรื่องทางโรงเรียนได้เปลี่ยนมาให้นักเรียนใช้แก้วน้ำที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งแทน อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่ามีมาตรการเรื่องโภชนาการที่ได้มาตรฐานอยู่แล้ว
รายงานข่าวแจ้งว่า ตั้งแต่ พ.ค.ที่ผ่านมาพบโรงเรียนในพื้นที่กทม.จำนวน 11 แห่งมีเด็กได้รับเชื้อดังกล่าว โดยอยู่ในพื้นที่ดังต่อไปนี้คือเขตจอมทอง บึงกุ่ม บางกะปิ พญาไท วัฒนา มีนบุรี ประเวศ วังทองหลาง และบางรัก
นอกจากนั้น จากรายงานการสอบสวนครอบครัวของเด็กนักเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยที่เสียชีวิตพบครอบครัวชอบพาไปเที่ยวที่สวนสนุกทันสมัยในห้างสรรพสินค้าชื่อดังใจกลางเมือง ซึ่งเมื่อไปถึงเด็กคนดังกล่าวจะชอบไปชอบเล่นที่ลานที่มีของเล่นสำหรับเด็กนานาชนิดและสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์แบบหยอดเหรียญเป็นประจำ ดังนั้นจึงคาดว่าเด็กที่เสียชีวิตอาจจะได้รับเชื้อมาจากแหล่งดังกล่าว
นายพินิจ จารุสมบัติ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้ามาตรการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก หลังพบเด็กชายวัย 6 ขวบในเขต กทม. ป่วยและเสียชีวิตโดยที่ไม่ปรากฏอาการของโรคชัดเจนว่า ในเรื่องมาตรฐานการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคนี้ไม่น่าห่วง เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้ออกกมาตรการให้แพทย์ทั่วประเทศทำการซักประวัติอย่างเข้มข้น เพื่อแยกจากเชื้อไวรัสไข้หวัดนก และไข้เลือดออกอยู่แล้ว แต่จะต้องเพิ่มมาตรการการป้องกันและควบคุมโรคโดยเร็วที่สุด ทั้งพื้นที่ที่มีเด็กป่วยและยังไม่มีก็ตาม
นายพินิจ กล่าวต่อว่า ในวันนี้ (19 ก.ย.) ได้มอบหมายให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และได้สั่งการให้กรมอนามัย กรมควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขทั่วประเทศ ควบคุมมาตรฐานสระว่ายน้ำทุกแห่ง ซึ่งเป็นสถานที่เด็กๆ มักจะเล่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสระว่ายน้ำในโรงเรียน ห้างสรรพสินค้า รวมทั้งสระว่ายน้ำสังกัดรัฐและเอกชนทั่วประเทศ ให้มีระดับคลอรีนตกค้างไม่ต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด คือ 1 ส่วน ต่อน้ำ 1 ล้านส่วน (1 พีพีเอ็ม) และทำความสะอาดห้องอาบน้ำ ห้องผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องแต่งตัว ที่เก็บของ อ่างล้างมือ ที่ล้างเท้า เครื่องเล่นและอุปกรณ์ประจำสระว่ายน้ำทุกวัน
“นอกจากนั้นได้ให้โรงเรียนทุกแห่ง โดยเฉพาะโรงเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาล ศูนย์เด็กเล็ก และเนิร์สเซอรีทั่วประเทศ ตรวจเด็กทุกคนทุกวัน หากพบเด็กคนใดมีอาการโรคมือ เท้า ปาก คือมีตุ่มใสขึ้นที่ปาก ตามง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า จะมีไข้หรือไม่ก็ตาม ขอให้แยกเด็กและพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็ว และให้หยุดเรียน 7-10 วัน หรือจนกว่าจะหายป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่สู่เด็กอื่นๆ โดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เรียกประชุมผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลและศูนย์เลี้ยงเด็กทั่วประเทศภายในสัปดาห์นี้”
นายพินิจ กล่าวว่า สำหรับผลการตรวจยืนยันเด็กโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน อายุ 6 ขวบ ที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2549 จะทราบผลในช่วง 1-2 วันนี้ ทั้งนี้เมื่อมีรายงานพบผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก กระทรวงสาธารณสุขจะส่งทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วซึ่งมีกว่า 1,500 ทีมทั่วประเทศ ลงควบคุมโรคทันที
สำหรับสถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 จนถึงวันนี้ ทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ที่แสดงอาการชัดเจน 1,360 ราย ตาย 5 ราย และมีผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก มีอาการไม่ชัดเจนแต่เสียชีวิต 9 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ แต่ไม่เกิน 10 ขวบ ทุกรายติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความรุนแรงที่สุด ในไทยพบตั้งแต่ พ.ศ.2541 เป็นต้นมา ก่อนหน้านี้เป็นเชื้อไวรัสตัวอื่นที่อาการไม่รุนแรง
ส่วนอาการของโรคนี้ก็คือ ผู้ป่วยมีไข้ มีตุ่มใสที่มือ เท้าและปาก เหมือนแผลร้อนใน จากนั้นตุ่มใสจะแตก เด็กดื่มน้ำและอาหารลำบาก ร้อยละ 90 อาการหายได้เอง มีบางรายที่ติดเชื้อแทรกซ้อนรุนแรงที่ปอด ทำให้น้ำท่วมปอดเสียชีวิต เชื้อไวรัสติดต่อกันได้ทางการไอ จาม และการรับประทานเชื้อปนเปื้อนมากับอุจจาระ
ด้านนพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในวันนี้ทีมควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค และ กทม.จะลงไปที่ชุมชนและโรงเรียนของเด็กที่เสียชีวิต เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เพื่อไม่โรคแพร่กระจาย กรมควบคุมโรคได้ผลิตคู่มือโรคมือ เท้า ปาก จำนวน 50,000 เล่ม แจกไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อนำไปแจกจ่ายตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เตรียมการล่วงหน้ามาเป็นเวลา 2-3 เดือนมาแล้ว
ทั้งนี้ ในเช้าวันเดียวกัน ในการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานการประชุมได้นำประเด็นที่มีนักเรียนโรงเรียนดังย่านบางรัก ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคมือ เท้า ปาก มาพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วน เพื่อกำหนดมาตรการควบคุมดูแลโรค ไม่ให้ขยายไปในวงกว้าง
ขณะเดียวกัน ในช่วงบ่ายวันนี้ นายอภิรักษ์จะเดินทางไปตรวจสอบโรงเรียนที่เกิดเหตุด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของ กทม.ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา เขตบางรัก ไปฉีดพ่นยาเพื่อทำลายเชื้อ รวมทั้งเท้าระวังพื้นที่โดยรอบแล้ว
ส่วนบรรยากาศที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ในวันแรกของการปิดทำการเพื่อทำความสะอาดอาคารเรียน หลังจากมีนักเรียนชั้น ป.1 เสียชีวิต และสงสัยว่าป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ซึ่งทางโรงเรียนได้ระดมแม่บ้านกว่า 40 คน ทำความสะอาดสถานที่ต่างๆ เช่น ห้องเรียน ห้องน้ำ โรงอาหาร อาคารเรียนทั้ง 7 หลัง โดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 23 ดูแลการทำความสะอาดอย่างใกล้ชิด ซึ่งแม่บ้านจะทำการลงน้ำยาฆ่าเชื้อ 2-3 รอบและล้างออกด้วยน้ำสะอาด ขณะที่ผู้บริหารโรงเรียนซึ่งอยู่ระหว่างเดินทางไปประชุมที่กระทรวงศึกษาธิการ จะกลับมาแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในช่วงเที่ยง
ด้านนางปลื้มจิต สาระธรรม ครูผู้ดูแลด้านโภชนาการของนักเรียนชั้น ป.1-ป.4 เปิดเผยว่า หลังเกิดเรื่องทางโรงเรียนได้เปลี่ยนมาให้นักเรียนใช้แก้วน้ำที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งแทน อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่ามีมาตรการเรื่องโภชนาการที่ได้มาตรฐานอยู่แล้ว
รายงานข่าวแจ้งว่า ตั้งแต่ พ.ค.ที่ผ่านมาพบโรงเรียนในพื้นที่กทม.จำนวน 11 แห่งมีเด็กได้รับเชื้อดังกล่าว โดยอยู่ในพื้นที่ดังต่อไปนี้คือเขตจอมทอง บึงกุ่ม บางกะปิ พญาไท วัฒนา มีนบุรี ประเวศ วังทองหลาง และบางรัก
นอกจากนั้น จากรายงานการสอบสวนครอบครัวของเด็กนักเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยที่เสียชีวิตพบครอบครัวชอบพาไปเที่ยวที่สวนสนุกทันสมัยในห้างสรรพสินค้าชื่อดังใจกลางเมือง ซึ่งเมื่อไปถึงเด็กคนดังกล่าวจะชอบไปชอบเล่นที่ลานที่มีของเล่นสำหรับเด็กนานาชนิดและสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์แบบหยอดเหรียญเป็นประจำ ดังนั้นจึงคาดว่าเด็กที่เสียชีวิตอาจจะได้รับเชื้อมาจากแหล่งดังกล่าว