สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
จากสถิติพบว่า เด็กไทยในวัยเรียนมีปัญหาทางการเรียนรู้ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรเด็กกว่า 10,000,000 คน จะพบว่าเด็กมีปัญหาทางการเรียนรู้จำนวน 1,000,000 คน ส่วนใหญ่มีปัญหาทางด้านการอ่านและการเขียนจำนวน 80% ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ประมาณ 800,000 คนจากทั่วประเทศ ทำให้เกิดมาตรการแก้ปัญหานี้จากหลายฝ่าย แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ เพราะการแก้ปัญหาดังกล่าวต้องมีองค์ประกอบหลายอย่าง นอกจากนี้ยังต้องเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรหลายภาคส่วนด้วยกันจึงจะทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปได้อย่างบูรณาการ ทั้งการพัฒนาศักยภาพของเด็กนักเรียน ครูผู้สอน ผู้บริหาร รวมไปถึงในระดับนโยบายด้านหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและท้องถิ่นสู่การพัฒนาศักยภาพของประชากรในประเทศได้อย่างยั่งยืน
ศรีศักดิ์ ไทยอารี ผู้อำนวยการสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพฯ และนักวิจัยโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการปัญหาและพัฒนาเยาวชนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเยาวชนและชุมชน โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า สาเหตุที่มีการมองว่าเด็กไทยเรียนอ่อนนั้นอาจสืบเนื่องมาจากเรื่องของเนื้อหาการศึกษาที่ส่วนใหญ่เน้นในด้านวิชาการล้วนๆ และกระบวนการเรียนการสอนที่เด็กนักเรียนขาดส่วนร่วมในการวิเคราะห์อย่างเข้มข้น โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ใช่เนื้อหาที่สอนให้เด็กกล้าคิด เสมือนว่าเด็กได้เรียนแต่ไม่ได้ความรู้
อีกประการหนึ่ง คือ ศักยภาพของครูซึ่งกรณีนี้ไม่ได้ความความว่าครูไม่มีคุณภาพเพราะการที่จะมีคุณภาพได้นั้น ต้องเกิดจากการพัฒนาศักยภาพและประการสุดท้ายคือ ปัญหาระบบการศึกษาทั้งหมดที่มุ่งเน้นการวัดผลการเรียนมากกว่าการรู้และเข้าใจของเด็กนักเรียน ซึ่งเป็นหน่วยใหญ่ที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนการศึกษาไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งหากแก้ตัวในระบบได้อย่างอื่นก็จะง่ายขึ้น
นอกจากนี้ สิ่งแวดล้อมก็เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งต้องเริ่มต้นจากคนในครอบครัว ครูที่โรงเรียนต้องให้กำลังใจเด็กรวมไปถึงการสร้างความเข้าใจในการเรียนรู้ การถ่ายทอดการเรียนรู้ รวมไปถึงองค์ความรู้ที่ต้องให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการเรีรยนการสอนให้มากขึ้น ทั้งนี้ การให้ความสำคัญกับหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อรู้จักตนเอง เรียนรู้และพึ่งตนเอง
จากสถิติพบว่า เด็กไทยในวัยเรียนมีปัญหาทางการเรียนรู้ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรเด็กกว่า 10,000,000 คน จะพบว่าเด็กมีปัญหาทางการเรียนรู้จำนวน 1,000,000 คน ส่วนใหญ่มีปัญหาทางด้านการอ่านและการเขียนจำนวน 80% ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ประมาณ 800,000 คนจากทั่วประเทศ ทำให้เกิดมาตรการแก้ปัญหานี้จากหลายฝ่าย แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ เพราะการแก้ปัญหาดังกล่าวต้องมีองค์ประกอบหลายอย่าง นอกจากนี้ยังต้องเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรหลายภาคส่วนด้วยกันจึงจะทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปได้อย่างบูรณาการ ทั้งการพัฒนาศักยภาพของเด็กนักเรียน ครูผู้สอน ผู้บริหาร รวมไปถึงในระดับนโยบายด้านหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและท้องถิ่นสู่การพัฒนาศักยภาพของประชากรในประเทศได้อย่างยั่งยืน
ศรีศักดิ์ ไทยอารี ผู้อำนวยการสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพฯ และนักวิจัยโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการปัญหาและพัฒนาเยาวชนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเยาวชนและชุมชน โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า สาเหตุที่มีการมองว่าเด็กไทยเรียนอ่อนนั้นอาจสืบเนื่องมาจากเรื่องของเนื้อหาการศึกษาที่ส่วนใหญ่เน้นในด้านวิชาการล้วนๆ และกระบวนการเรียนการสอนที่เด็กนักเรียนขาดส่วนร่วมในการวิเคราะห์อย่างเข้มข้น โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ใช่เนื้อหาที่สอนให้เด็กกล้าคิด เสมือนว่าเด็กได้เรียนแต่ไม่ได้ความรู้
อีกประการหนึ่ง คือ ศักยภาพของครูซึ่งกรณีนี้ไม่ได้ความความว่าครูไม่มีคุณภาพเพราะการที่จะมีคุณภาพได้นั้น ต้องเกิดจากการพัฒนาศักยภาพและประการสุดท้ายคือ ปัญหาระบบการศึกษาทั้งหมดที่มุ่งเน้นการวัดผลการเรียนมากกว่าการรู้และเข้าใจของเด็กนักเรียน ซึ่งเป็นหน่วยใหญ่ที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนการศึกษาไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งหากแก้ตัวในระบบได้อย่างอื่นก็จะง่ายขึ้น
นอกจากนี้ สิ่งแวดล้อมก็เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งต้องเริ่มต้นจากคนในครอบครัว ครูที่โรงเรียนต้องให้กำลังใจเด็กรวมไปถึงการสร้างความเข้าใจในการเรียนรู้ การถ่ายทอดการเรียนรู้ รวมไปถึงองค์ความรู้ที่ต้องให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการเรีรยนการสอนให้มากขึ้น ทั้งนี้ การให้ความสำคัญกับหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อรู้จักตนเอง เรียนรู้และพึ่งตนเอง