ปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยมีความกังวลเรื่องส่วนสูง ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่นหรือคนวัยทำงาน ซึ่งคงไม่มีใครอยากเตี้ย เด็กหลายคนจึงตั้งหน้าตั้งตารับประทานแคลเซียมเพื่อเพิ่มส่วนสูง ออกกำลังกายที่ช่วยให้ส่วนสูงเพิ่มขึ้น เด็กสาวๆ เริ่มมีประจำเดือนก็กังวลว่าการเจริญเติบโตตามธรรมชาติจะชะงักไป โดยเฉพาะบุคคลที่มีรูปร่างเตี้ยก็ถึงกับสูญเสียความมั่นใจ ยิ่งหลากหลายอาชีพในฝันทั้งพยาบาล ทหาร ตำรวจ แอร์โฮสเตสที่มีการจำกัดความสูง แรงกดดันที่ทำให้หลายคนเริ่มรู้สึกว่า “ความเตี้ย” เป็นปมด้อยปมหนึ่งในชีวิต
ล่าสุดได้มีโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งเปิดตัวเทคนิคการผ่าตัดเพิ่มความสูง ซึ่งสร้างความฮือฮาให้กับผู้คนในสังคมอย่างมาก

คำถามและข้อสงสัยที่เกิดขึ้นก็คือ จริงๆแล้ว “ความสูง” มีความจำเป็นกับชีวิตมากเพียงนั้นเชียวหรือ? ในเมื่อมีผู้คนมากมายที่ประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งๆ ที่เป็นเพียงคนตัวเล็กๆ เท่านั้น
-1-
ก่อนที่จะไปตอบคำถามและข้อสงสัยข้างต้นคงต้องไปทำความเข้าใจก่อนว่า วิธีการผ่าตัดเพิ่มความสูงนั้น เป็นอย่างไรและมีที่มาและที่ไปอย่างไร
ตามที่ปรากฏเป็นข่าว นพ.พรเอนก ตาดทอง ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การผ่าตัดเพิ่มความสูง (Height Operation) ไม่ใช่การค้นพบใหม่หรือเพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่ปี แต่เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว มีการค้นพบว่าถ้ามีการแยกกระดูกออกจากกันอย่างถูกวิธีและให้กระดูกนั้นห่างออกจากกันในอัตราความเร็ววันละ 1 มิลลิเมตร ร่างกายจะสามารถสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมาตรงบริเวณช่องว่างนั้นได้ โดยใช้เครื่องมือตรึงกระดูก ที่เรียกว่า Ilizarov กับบุคคลที่มีปัญหาเรื่องส่วนสูงซึ่งถือเป็นการบริการศัลยกรรมความงามด้านหนึ่ง
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อผู้นี้ บอกด้วยว่า การรักษาเป็นการผ่าตัดที่ทำให้ผู้ป่วยสูงขึ้นอย่างช้าๆ โดยจะต้องใช้เวลาในการยืดกระดูกโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เดือนต่อ 1 เซนติเมตร 5 เดือนก็จะได้ความสูงเท่ากับ 5 เซนติเมตร ซึ่งข้อจำกัดในการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับสัดส่วนของแต่ละคน โดยไม่ได้อยู่ที่ปริมาณความสูง อายุ หรือเพศ เช่น ยืนแค่ไหนแล้วดูดีสมส่วน ทั้งนี้ ผู้ทำการรักษาต้องไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคเรื้อรัง โรคเบาหวาน
สำหรับผู้ที่ทำการรักษามี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่มีปมด้อย กลุ่มคนที่ต้องการเข้าสถานศึกษาที่มีการกำหนดความสูงขั้นต่ำ กลุ่มนักกีฬา และกลุ่มสุดท้ายกลุ่มที่ต้องการเสริมบุคลิกภาพความงาม
ส่วนการผ่าตัดนั้น แพทย์จะใช้วิธีการตัดเนื้อกระดูกออกเหลือเยื่อหุ้มกระดูกซึ่งกระดูกจะไม่ถูกทำลาย แล้วยึดด้วยเส้นลวด 4 เส้น ถ่างกระดูกออกประมาณ 1 มิลลิเมตร (มม.) ด้วยเครื่องยึดตรึงกระดูก (llizarov)โดยใช้เวลาในการผ่าตัดเพียงชั่วโมงเศษๆ เท่านั้น หลังจากนั้นต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาล ทำกายภาพบำบัดรอให้กระดูกเชื่อมติดกันสามารถทำได้ทีละข้างหรือพร้อมกันทั้งสองข้าง พร้อมกับยืนยันว่าไม่มีผลข้างเคียง การผ่าตัดมีความปลอดภัยสูง
ขณะที่ค่าใช้จ่าย ค่ารักษา รวมทั้งค่าอุปกรณ์ ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้รับการรักษา เช่น ถ้าต้องการเพิ่มความสูงน้อยกว่า 5 เซนติเมตร ประมาณ 5 แสนบาท และถ้ามากกว่า 5 เซนติเมตร ค่าใช้จ่ายค่ารักษารวมทั้งค่าอุปกรณ์อยู่ที่ ประมาณ 800,000 บาท
-2-
จากข้อมูลเบื้องต้น ก็มาถึงโจทย์ที่ตั้งเอาไว้ นั่นก็คือ มีความจำเป็นและปลอดภัยแค่ไหน
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.นพ.สมศักดิ์ โลห์เลขา นายกแพทยสภา และประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ เนื่องจากการผ่าตัดยืดกระดูกนั้นทั้งกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นไม่ได้มีการยืดตามไปด้วย หากทำการผ่าตัดอาจทำให้กระดูกขามีการบิดเบี้ยวไม่ได้รูป ตามที่ต้องการ นอกจากนี้ยังเสี่ยงในการฟ้องร้องจากคนไข้ในกรณีที่วาดความหวังให้เข้าสวยหรูแต่ผลออกมาไม่เป็นไปตามนั้น เช่น คนปกติเมื่อไปผ่าตัดแทนที่จะสูงสมใจอาจกลายเป็นคนพิการขาสั้นข้างยาวข้างก็เป็นได้

"ดีไม่ดีติด เชื้อขาสั้นยาวไม่เท่ากันจากคนดีๆ กลายเป็นคนพิการ แต่หากปรับแก้เพื่อแก้ไขปัญหาทางจิตใจคงไม่มีปัญหา เพราะเรารักษาคนป่วยให้หายป่วย ไม่ใช่ทำให้คนไม่ป่วยป่วยขึ้นมา”
ศ.นพ.สมศักดิ์บอกด้วยว่า ที่สำคัญคนทั่วไปไม่มีความจำเป็นในการเพิ่มความสูงเพียงเพื่อให้ดูดี ดูสวย หล่อ เท่านั้น ซึ่งการผ่าตัดลักษณะนี้มีมานานแล้ว แต่แพทย์ทั่วไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคกระดูกต่างๆ อาทิ ความพิการแต่กำเนิดอย่างการขายาวสั้นไม่เท่ากัน โรคกระดูกติดเชื้อ และกระดูกแตก หักจากอุบัติเหตุ
ทั้งนี้ ศ.นพ.สมศักดิ์จะนำเรื่องดังกล่าวหารือกับคณะกรรมการแพทย์สภาว่าเข้าข่ายอวดอ้างการโฆษณาหรือไม่ ส่วนในด้านจริยธรรมทางการแพทย์การศัลยกรรมตกแต่งเป็นความสมัครใจของแพทย์ปละคนไข้จึงไม่สามารถเอาผิดได้ แต่หากพบว่าเข้าข่ายอวดอ้างจึงจะดำเนินการกับโรงพยาบาลเพราะถือเป็นการชักจูง ผิดจริยธรรมทางการแพทย์
ด้าน นพ.จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ รองประธานและเลขาธิการมูลนิธิเพื่อพัฒนาการแพทย์ทางเลือก ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ก่อนอื่นต้องตั้งคำถามกลับไปว่า มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนสำหรับการผ่าตัดเพื่อเพิ่มความสูง และไม่นับรวมถึงคำถามที่ว่า เมื่อทำแล้วจะทำให้ร่างกายแข็งแรงและปลอดภัยหรือไม่ แต่โดยส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วยกับวิธีดังกล่าว เนื่องจากเป็นการสร้างหรือทำให้คนเกิดค่านิยมที่ผิดๆ คือไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่

ทั้งนี้ เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วมีวิธีการต่างๆ อีกมากมายที่สามารถทำให้สูงขึ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งวิธีการผ่าตัด เช่น ดูแลเรื่องอาหารการกินตั้งแต่เด็กๆ โดยลดสัดส่วนการรับประทานอาหารที่ผิด เช่น รับประทานอาหารขยะ อาหารฟาสต์ฟูดที่มีไขมันมากเกินไป ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโต แล้วหันกลับมารับประทานอาหารในสัดส่วนหรือโครงสร้างที่เหมาะสมแทน
หรืออย่างเช่นในอิตาลีได้มีการวิจัยเรื่องการรับประทานอาหารตามแนวธรรมชาติเพื่อเพิ่มความสูงหลังจากที่ทารกดื่มนมติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน โดยกำหนดสัดส่วนของอาหารตามวิถีตะวันออก และไม่ดื่มนมวัว ก็ปรากฏว่า เวลาผ่านไป 20 ปี เด็กๆ เหล่านั้นก็สูงใหญ่ได้เช่นกัน
“ในทางการแพทย์ผมไม่แน่ใจว่า ผ่าตัดแล้วปลอดภัยหรือไม่อย่างไร แต่โดยส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยนะ เพราะเราควรพอใจในสิ่งที่เราเป็น พอใจในสิ่งที่เป็นตัวเราตามธรรมชาติ ถามว่า สูงขึ้นมาอีก 5-6 เซนติเมตรแล้วเป็นยังไง มันทำให้คนดีขึ้นหรือเปล่า เราควรส่งเสริมค่านิยมในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมมากกว่า”
“ผมเข้าใจ ในกรณีที่บางคนอยากเป็นพยาบาล อยากเป็นแอร์โฮสเตส แล้วความสูงไม่ถึง ก็อยากจะเพิ่มความสูง แต่ผมอยากถามกลับไปว่า ทำไมเราไม่ลองหันไปประกอบอาชีพอื่นล่ะ มีอาชีพอีกมากมายที่ไม่ได้กำหนดความสูงเอาไว้”นพ.จักรกฤษณ์สรุป
...ถึงตรงนี้ ต้องบอกว่าที่สุดแล้วการภาคภูมิใจในตัวเองและพึงพอใจในในสรีระร่างกายของเรา พร้อมเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเองไม่ว่าจะเป็นอาชีพ การงาน น่าจะเป็นทางที่สร้างความคุ้มค่าในการดำเนินชีวิตมากกว่า โดยไม่จำเป็นเลยที่จะต้องเสียเงินจำนวนมาก ขณะที่ต้องนำชีวิตไปเสี่ยงกับการศัลยกรรมเพียงเพื่อให้สวย หล่อ ดูดีขึ้นเท่านั้น
ล่าสุดได้มีโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งเปิดตัวเทคนิคการผ่าตัดเพิ่มความสูง ซึ่งสร้างความฮือฮาให้กับผู้คนในสังคมอย่างมาก
คำถามและข้อสงสัยที่เกิดขึ้นก็คือ จริงๆแล้ว “ความสูง” มีความจำเป็นกับชีวิตมากเพียงนั้นเชียวหรือ? ในเมื่อมีผู้คนมากมายที่ประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งๆ ที่เป็นเพียงคนตัวเล็กๆ เท่านั้น
-1-
ก่อนที่จะไปตอบคำถามและข้อสงสัยข้างต้นคงต้องไปทำความเข้าใจก่อนว่า วิธีการผ่าตัดเพิ่มความสูงนั้น เป็นอย่างไรและมีที่มาและที่ไปอย่างไร
ตามที่ปรากฏเป็นข่าว นพ.พรเอนก ตาดทอง ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การผ่าตัดเพิ่มความสูง (Height Operation) ไม่ใช่การค้นพบใหม่หรือเพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่ปี แต่เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว มีการค้นพบว่าถ้ามีการแยกกระดูกออกจากกันอย่างถูกวิธีและให้กระดูกนั้นห่างออกจากกันในอัตราความเร็ววันละ 1 มิลลิเมตร ร่างกายจะสามารถสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมาตรงบริเวณช่องว่างนั้นได้ โดยใช้เครื่องมือตรึงกระดูก ที่เรียกว่า Ilizarov กับบุคคลที่มีปัญหาเรื่องส่วนสูงซึ่งถือเป็นการบริการศัลยกรรมความงามด้านหนึ่ง
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อผู้นี้ บอกด้วยว่า การรักษาเป็นการผ่าตัดที่ทำให้ผู้ป่วยสูงขึ้นอย่างช้าๆ โดยจะต้องใช้เวลาในการยืดกระดูกโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เดือนต่อ 1 เซนติเมตร 5 เดือนก็จะได้ความสูงเท่ากับ 5 เซนติเมตร ซึ่งข้อจำกัดในการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับสัดส่วนของแต่ละคน โดยไม่ได้อยู่ที่ปริมาณความสูง อายุ หรือเพศ เช่น ยืนแค่ไหนแล้วดูดีสมส่วน ทั้งนี้ ผู้ทำการรักษาต้องไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคเรื้อรัง โรคเบาหวาน
สำหรับผู้ที่ทำการรักษามี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่มีปมด้อย กลุ่มคนที่ต้องการเข้าสถานศึกษาที่มีการกำหนดความสูงขั้นต่ำ กลุ่มนักกีฬา และกลุ่มสุดท้ายกลุ่มที่ต้องการเสริมบุคลิกภาพความงาม
ส่วนการผ่าตัดนั้น แพทย์จะใช้วิธีการตัดเนื้อกระดูกออกเหลือเยื่อหุ้มกระดูกซึ่งกระดูกจะไม่ถูกทำลาย แล้วยึดด้วยเส้นลวด 4 เส้น ถ่างกระดูกออกประมาณ 1 มิลลิเมตร (มม.) ด้วยเครื่องยึดตรึงกระดูก (llizarov)โดยใช้เวลาในการผ่าตัดเพียงชั่วโมงเศษๆ เท่านั้น หลังจากนั้นต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาล ทำกายภาพบำบัดรอให้กระดูกเชื่อมติดกันสามารถทำได้ทีละข้างหรือพร้อมกันทั้งสองข้าง พร้อมกับยืนยันว่าไม่มีผลข้างเคียง การผ่าตัดมีความปลอดภัยสูง
ขณะที่ค่าใช้จ่าย ค่ารักษา รวมทั้งค่าอุปกรณ์ ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้รับการรักษา เช่น ถ้าต้องการเพิ่มความสูงน้อยกว่า 5 เซนติเมตร ประมาณ 5 แสนบาท และถ้ามากกว่า 5 เซนติเมตร ค่าใช้จ่ายค่ารักษารวมทั้งค่าอุปกรณ์อยู่ที่ ประมาณ 800,000 บาท
-2-
จากข้อมูลเบื้องต้น ก็มาถึงโจทย์ที่ตั้งเอาไว้ นั่นก็คือ มีความจำเป็นและปลอดภัยแค่ไหน
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.นพ.สมศักดิ์ โลห์เลขา นายกแพทยสภา และประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ เนื่องจากการผ่าตัดยืดกระดูกนั้นทั้งกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นไม่ได้มีการยืดตามไปด้วย หากทำการผ่าตัดอาจทำให้กระดูกขามีการบิดเบี้ยวไม่ได้รูป ตามที่ต้องการ นอกจากนี้ยังเสี่ยงในการฟ้องร้องจากคนไข้ในกรณีที่วาดความหวังให้เข้าสวยหรูแต่ผลออกมาไม่เป็นไปตามนั้น เช่น คนปกติเมื่อไปผ่าตัดแทนที่จะสูงสมใจอาจกลายเป็นคนพิการขาสั้นข้างยาวข้างก็เป็นได้
"ดีไม่ดีติด เชื้อขาสั้นยาวไม่เท่ากันจากคนดีๆ กลายเป็นคนพิการ แต่หากปรับแก้เพื่อแก้ไขปัญหาทางจิตใจคงไม่มีปัญหา เพราะเรารักษาคนป่วยให้หายป่วย ไม่ใช่ทำให้คนไม่ป่วยป่วยขึ้นมา”
ศ.นพ.สมศักดิ์บอกด้วยว่า ที่สำคัญคนทั่วไปไม่มีความจำเป็นในการเพิ่มความสูงเพียงเพื่อให้ดูดี ดูสวย หล่อ เท่านั้น ซึ่งการผ่าตัดลักษณะนี้มีมานานแล้ว แต่แพทย์ทั่วไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคกระดูกต่างๆ อาทิ ความพิการแต่กำเนิดอย่างการขายาวสั้นไม่เท่ากัน โรคกระดูกติดเชื้อ และกระดูกแตก หักจากอุบัติเหตุ
ทั้งนี้ ศ.นพ.สมศักดิ์จะนำเรื่องดังกล่าวหารือกับคณะกรรมการแพทย์สภาว่าเข้าข่ายอวดอ้างการโฆษณาหรือไม่ ส่วนในด้านจริยธรรมทางการแพทย์การศัลยกรรมตกแต่งเป็นความสมัครใจของแพทย์ปละคนไข้จึงไม่สามารถเอาผิดได้ แต่หากพบว่าเข้าข่ายอวดอ้างจึงจะดำเนินการกับโรงพยาบาลเพราะถือเป็นการชักจูง ผิดจริยธรรมทางการแพทย์
ด้าน นพ.จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ รองประธานและเลขาธิการมูลนิธิเพื่อพัฒนาการแพทย์ทางเลือก ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ก่อนอื่นต้องตั้งคำถามกลับไปว่า มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนสำหรับการผ่าตัดเพื่อเพิ่มความสูง และไม่นับรวมถึงคำถามที่ว่า เมื่อทำแล้วจะทำให้ร่างกายแข็งแรงและปลอดภัยหรือไม่ แต่โดยส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วยกับวิธีดังกล่าว เนื่องจากเป็นการสร้างหรือทำให้คนเกิดค่านิยมที่ผิดๆ คือไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่
ทั้งนี้ เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วมีวิธีการต่างๆ อีกมากมายที่สามารถทำให้สูงขึ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งวิธีการผ่าตัด เช่น ดูแลเรื่องอาหารการกินตั้งแต่เด็กๆ โดยลดสัดส่วนการรับประทานอาหารที่ผิด เช่น รับประทานอาหารขยะ อาหารฟาสต์ฟูดที่มีไขมันมากเกินไป ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโต แล้วหันกลับมารับประทานอาหารในสัดส่วนหรือโครงสร้างที่เหมาะสมแทน
หรืออย่างเช่นในอิตาลีได้มีการวิจัยเรื่องการรับประทานอาหารตามแนวธรรมชาติเพื่อเพิ่มความสูงหลังจากที่ทารกดื่มนมติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน โดยกำหนดสัดส่วนของอาหารตามวิถีตะวันออก และไม่ดื่มนมวัว ก็ปรากฏว่า เวลาผ่านไป 20 ปี เด็กๆ เหล่านั้นก็สูงใหญ่ได้เช่นกัน
“ในทางการแพทย์ผมไม่แน่ใจว่า ผ่าตัดแล้วปลอดภัยหรือไม่อย่างไร แต่โดยส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยนะ เพราะเราควรพอใจในสิ่งที่เราเป็น พอใจในสิ่งที่เป็นตัวเราตามธรรมชาติ ถามว่า สูงขึ้นมาอีก 5-6 เซนติเมตรแล้วเป็นยังไง มันทำให้คนดีขึ้นหรือเปล่า เราควรส่งเสริมค่านิยมในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมมากกว่า”
“ผมเข้าใจ ในกรณีที่บางคนอยากเป็นพยาบาล อยากเป็นแอร์โฮสเตส แล้วความสูงไม่ถึง ก็อยากจะเพิ่มความสูง แต่ผมอยากถามกลับไปว่า ทำไมเราไม่ลองหันไปประกอบอาชีพอื่นล่ะ มีอาชีพอีกมากมายที่ไม่ได้กำหนดความสูงเอาไว้”นพ.จักรกฤษณ์สรุป
...ถึงตรงนี้ ต้องบอกว่าที่สุดแล้วการภาคภูมิใจในตัวเองและพึงพอใจในในสรีระร่างกายของเรา พร้อมเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเองไม่ว่าจะเป็นอาชีพ การงาน น่าจะเป็นทางที่สร้างความคุ้มค่าในการดำเนินชีวิตมากกว่า โดยไม่จำเป็นเลยที่จะต้องเสียเงินจำนวนมาก ขณะที่ต้องนำชีวิตไปเสี่ยงกับการศัลยกรรมเพียงเพื่อให้สวย หล่อ ดูดีขึ้นเท่านั้น