กรมอุทยานฯ ตื่นเต้น พบ “กูปรี” โผล่แถวป่าบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ใกล้ชายแดนกัมพูชาและลาว อธิบดีกรมอุทยานฯ สั่งตามรอยเพื่อหาทางถ่ายภาพเป็นหลักฐาน ชี้ เป็นสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์ระดับโลก และไม่เคยพบตัวเป็นๆ มาร่วม 40 ปีแล้ว

นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า ได้รับรายงานจากนายปัญญา บุญยาอดุลยกิจ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จังหวัดอุบลราชธานี ว่า ช่วงต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าของอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ที่ออกลาดตะเวนป่าบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ใกล้รอยต่อประเทศกัมพูชา และ ส.ป.ป.ลาว ได้บังเอิญพบกับสัตว์ขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายกับกระทิง จำนวน 3 ตัว หากินอยู่ในทุ่งหญ้าโล่ง แต่มีเขาที่แปลกกว่าเขาของกระทิง คือ เขาจะบิด และมีตัวสูงใหญ่กว่า
จึงได้รายงานให้หัวหน้าอุทยานฯ ทราบ พร้อมทั้งบรรยายถึงลักษณะต่างๆ ค่อนข้างใกล้เคียงกับ กูปรี หรือ โคไพร ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนของประเทศไทย และอยู่ในบัญชีสัตว์ที่สูญพันธุ์ในระดับโลก และไม่เคยมีรายงานการค้นพบตัวเป็นๆ มานานกว่า 30-40 ปีแล้ว ซึ่งถ้าเป็นกูปรีจริงก็นับเป็นข่าวดีในระดับโลก
อธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าวอีกว่า ได้สั่งการให้ทางอุทยานฯ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในป่าชายแดนไทย ลาว กัมพูชา ส่งทีมเจ้าหน้าที่ออกซุ่มสังเกตการณ์เพื่อตามรอยกูปรี โดยให้นำกล้องถ่ายสัตว์ไปติดตั้งในจุดที่เคยเจอด้วย เพื่อจะได้มีหลักฐานภาพถ่ายที่ยืนยันได้ชัดเจน
ขณะที่นายปัญญา บุญญาอดุลยกิจ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้ว เคยมีข่าวการพบกูปรี หรือ โคไพร มาครั้งหนึ่ง แต่ข่าวได้เงียบหายไป ทั้งนี้จากการที่ตนทำงานในพื้นที่และได้สอบถามชาวบ้าน พรานป่าต่างๆ ก็เคยเล่าให้ฟังว่า เคยมีผู้พบเห็นสัตว์ชนิดนี้มาก่อนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผ่านมา มีพรานป่าเก็บซาก ซึ่งเป็นเขาขนาดใหญ่ และเชื่อว่าเป็นกูปรีกลับมาด้วย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อุทยานภูจองนายอย ก็ได้ซื้อซากดังกล่าวเก็บไว้เป็นหลักฐานที่สำนักงาน อุทยานฯ รวมทั้งยังนำออกจัดแสดงนิทรรศการในหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ในเขตเทือกเขาพนมดงรักส่วนใหญ่เชื่อว่า กูปรียังมีอยู่จริง โดยเฉพาะหลังการพบเห็นของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนพิทักษ์ป่าล่าสุดรวมกับซากของเขาที่มีอยู่ทำให้หลายคนค่อนข้างเชื่อและหวังว่าจะพบเจออีก โดยพยายามติดกล้องถ่ายรูปออกไปด้วยเพื่อเก็บภาพสัตว์ชนิดนี้มายืนยัน
“ตอนนี้ผมสั่งลูกน้องไว้เลยว่าเวลาออกลาดตระเวนให้ติดกล้องไปด้วย และถ้าพบให้ถ่ายรูปหรือรายงานด่วน เมื่อก่อนที่มีข่าว ผมเองก็ไม่ได้สนใจ เพราะเมื่อก่อนเจ้าหน้าที่จะไม่ได้เข้าไปในป่าลึกขนาดนี้ แต่ปัจจุบันชาวบ้านมักลักลอบเข้าไปล่าสัตว์ในเขตป่าลึกขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเขาไปลาดตระเวนในป่าลึกตามไปด้วย ทำให้พบเห็นสัตว์ดังกล่าว รวมทั้งมีซากที่ได้จากพรานป่าทำให้เชื่อและค่อนข้างมั่นใจว่ายังมีสัตว์ชนิดนี้อยู่ ส่วนตัวผมมีความเชื่อมากกว่าห้าสิบเปอร์เซนต์ และอยากให้มีการพิสูจน์ทางวิชาการ โดยเฉพาะซากเขาที่เราพบและเก็บไว้เพื่อหาว่ามีอายุเท่าไหร่ ซึ่งขณะนี้ได้รายงานให้นายดำรงค์ทราบแล้ว และทางกรมฯ ก็มีสำนักวิจัยสัตว์ป่าอยู่ น่าจะมีการตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการได้ เพราะหากยังมีสัตว์ชนิดนี้อยู่จริงก็ถือว่าจะเป็นโชคดีของคนในแถบนี้ เพราะในบริเวณป่าที่พบ เป็นผืนป่าขนาดใหญ่ติดต่อเชื่อมระหว่าง 3 ประเทศ คาดว่าสัตว์คงวิ่งไปมาอยู่ในบริเวณนี้ “นายปัญญากล่าว
ด้านนายสุรพล ดวงแข เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โอกาสที่จะเป็นกูปรีอาจจะน้อยเต็มที เพราะการแยกแยะลักษณะของกูปรี วัวแดง และกระ ทิง ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกันค่อนข้างยาก ถ้าไม่เห็นชัดเจนแบบเห็นรายละเอียดมากพอก็ อาจจะเข้าใจผิดได้ ซึ่งสมัยเมื่อ 40-50 ปีก่อน นพ.บุญส่ง เลขะกุล เคยสำรวจและตามกูปรี กระทิง วัวแดงก็พบว่าสัตว์ชนิดนี้อยู่ปนกับฝูงวัวแดง ดังนั้นจึงต้องสำรวจว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีวัวแดงอยู่หรือไม่ จึงมั่นใจว่าเป็นกูปรี แต่หากเป็นกูปรีจริงๆก็ถือเป็นข่าวดีมาก
“เมื่อ 10 ปีที่แล้วเคยมีการรายงานข่าวทางสถานีโทรทัศน์บีบีซีว่านักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้สำรวจเจอซากเนื้อและเขาของกูปรีวางขายในตลาดกัมพูชา ซึ่งถือเป็นข่าวที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะกูปรีตัวสุดท้ายที่อยู่ในสวนสัตว์ Vincencs Zoo Paris ของประเทศฝรั่งเศสก็ตายไปแล้วตั้งแต่ปี 1940 การที่เจอซากของมันเมื่อ 10 ปีก่อนจึงท้าทายวงการสัตว์ป่าอย่างมาก เพราะ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีภาพถ่ายตัวกูปรีจากป่ามายืนยัน ที่พอจะเห็นได้ก็เป็นเขาของมัน ซึ่งนพ.บุญส่ง ได้เก็บสะสมเขาของกูปรีเอาไว้จำนวนหนึ่ง ขณะนี้อยู่ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)”นายสุรพลกล่าว
สำหรับกูปรี หรือ โคไพร เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย และอยู่ใน Appendix I ตามอนุสัญญาไซเตส เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายกับกระทิงและวัวแดง ปัจจุบันกูปรีเป็นสัตว์ป่าหายากกำลังใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากโลก เนื่องจากการถูกล่าเป็นอาหารและสภาวะสงครามในแถบอินโดจีน ส่วนของไทยเคยมีรายงานว่าพบกูปรีอยู่ตามแนวเทือกเขาชายแดน ไทย-กัมพูชา และลาว ล่าสุด เมื่อปี 2525 มีรายงานพบกูปรีในบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก
นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า ได้รับรายงานจากนายปัญญา บุญยาอดุลยกิจ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จังหวัดอุบลราชธานี ว่า ช่วงต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าของอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ที่ออกลาดตะเวนป่าบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ใกล้รอยต่อประเทศกัมพูชา และ ส.ป.ป.ลาว ได้บังเอิญพบกับสัตว์ขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายกับกระทิง จำนวน 3 ตัว หากินอยู่ในทุ่งหญ้าโล่ง แต่มีเขาที่แปลกกว่าเขาของกระทิง คือ เขาจะบิด และมีตัวสูงใหญ่กว่า
จึงได้รายงานให้หัวหน้าอุทยานฯ ทราบ พร้อมทั้งบรรยายถึงลักษณะต่างๆ ค่อนข้างใกล้เคียงกับ กูปรี หรือ โคไพร ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนของประเทศไทย และอยู่ในบัญชีสัตว์ที่สูญพันธุ์ในระดับโลก และไม่เคยมีรายงานการค้นพบตัวเป็นๆ มานานกว่า 30-40 ปีแล้ว ซึ่งถ้าเป็นกูปรีจริงก็นับเป็นข่าวดีในระดับโลก
อธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าวอีกว่า ได้สั่งการให้ทางอุทยานฯ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในป่าชายแดนไทย ลาว กัมพูชา ส่งทีมเจ้าหน้าที่ออกซุ่มสังเกตการณ์เพื่อตามรอยกูปรี โดยให้นำกล้องถ่ายสัตว์ไปติดตั้งในจุดที่เคยเจอด้วย เพื่อจะได้มีหลักฐานภาพถ่ายที่ยืนยันได้ชัดเจน
ขณะที่นายปัญญา บุญญาอดุลยกิจ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้ว เคยมีข่าวการพบกูปรี หรือ โคไพร มาครั้งหนึ่ง แต่ข่าวได้เงียบหายไป ทั้งนี้จากการที่ตนทำงานในพื้นที่และได้สอบถามชาวบ้าน พรานป่าต่างๆ ก็เคยเล่าให้ฟังว่า เคยมีผู้พบเห็นสัตว์ชนิดนี้มาก่อนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผ่านมา มีพรานป่าเก็บซาก ซึ่งเป็นเขาขนาดใหญ่ และเชื่อว่าเป็นกูปรีกลับมาด้วย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อุทยานภูจองนายอย ก็ได้ซื้อซากดังกล่าวเก็บไว้เป็นหลักฐานที่สำนักงาน อุทยานฯ รวมทั้งยังนำออกจัดแสดงนิทรรศการในหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ในเขตเทือกเขาพนมดงรักส่วนใหญ่เชื่อว่า กูปรียังมีอยู่จริง โดยเฉพาะหลังการพบเห็นของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนพิทักษ์ป่าล่าสุดรวมกับซากของเขาที่มีอยู่ทำให้หลายคนค่อนข้างเชื่อและหวังว่าจะพบเจออีก โดยพยายามติดกล้องถ่ายรูปออกไปด้วยเพื่อเก็บภาพสัตว์ชนิดนี้มายืนยัน
“ตอนนี้ผมสั่งลูกน้องไว้เลยว่าเวลาออกลาดตระเวนให้ติดกล้องไปด้วย และถ้าพบให้ถ่ายรูปหรือรายงานด่วน เมื่อก่อนที่มีข่าว ผมเองก็ไม่ได้สนใจ เพราะเมื่อก่อนเจ้าหน้าที่จะไม่ได้เข้าไปในป่าลึกขนาดนี้ แต่ปัจจุบันชาวบ้านมักลักลอบเข้าไปล่าสัตว์ในเขตป่าลึกขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเขาไปลาดตระเวนในป่าลึกตามไปด้วย ทำให้พบเห็นสัตว์ดังกล่าว รวมทั้งมีซากที่ได้จากพรานป่าทำให้เชื่อและค่อนข้างมั่นใจว่ายังมีสัตว์ชนิดนี้อยู่ ส่วนตัวผมมีความเชื่อมากกว่าห้าสิบเปอร์เซนต์ และอยากให้มีการพิสูจน์ทางวิชาการ โดยเฉพาะซากเขาที่เราพบและเก็บไว้เพื่อหาว่ามีอายุเท่าไหร่ ซึ่งขณะนี้ได้รายงานให้นายดำรงค์ทราบแล้ว และทางกรมฯ ก็มีสำนักวิจัยสัตว์ป่าอยู่ น่าจะมีการตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการได้ เพราะหากยังมีสัตว์ชนิดนี้อยู่จริงก็ถือว่าจะเป็นโชคดีของคนในแถบนี้ เพราะในบริเวณป่าที่พบ เป็นผืนป่าขนาดใหญ่ติดต่อเชื่อมระหว่าง 3 ประเทศ คาดว่าสัตว์คงวิ่งไปมาอยู่ในบริเวณนี้ “นายปัญญากล่าว
ด้านนายสุรพล ดวงแข เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โอกาสที่จะเป็นกูปรีอาจจะน้อยเต็มที เพราะการแยกแยะลักษณะของกูปรี วัวแดง และกระ ทิง ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกันค่อนข้างยาก ถ้าไม่เห็นชัดเจนแบบเห็นรายละเอียดมากพอก็ อาจจะเข้าใจผิดได้ ซึ่งสมัยเมื่อ 40-50 ปีก่อน นพ.บุญส่ง เลขะกุล เคยสำรวจและตามกูปรี กระทิง วัวแดงก็พบว่าสัตว์ชนิดนี้อยู่ปนกับฝูงวัวแดง ดังนั้นจึงต้องสำรวจว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีวัวแดงอยู่หรือไม่ จึงมั่นใจว่าเป็นกูปรี แต่หากเป็นกูปรีจริงๆก็ถือเป็นข่าวดีมาก
“เมื่อ 10 ปีที่แล้วเคยมีการรายงานข่าวทางสถานีโทรทัศน์บีบีซีว่านักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้สำรวจเจอซากเนื้อและเขาของกูปรีวางขายในตลาดกัมพูชา ซึ่งถือเป็นข่าวที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะกูปรีตัวสุดท้ายที่อยู่ในสวนสัตว์ Vincencs Zoo Paris ของประเทศฝรั่งเศสก็ตายไปแล้วตั้งแต่ปี 1940 การที่เจอซากของมันเมื่อ 10 ปีก่อนจึงท้าทายวงการสัตว์ป่าอย่างมาก เพราะ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีภาพถ่ายตัวกูปรีจากป่ามายืนยัน ที่พอจะเห็นได้ก็เป็นเขาของมัน ซึ่งนพ.บุญส่ง ได้เก็บสะสมเขาของกูปรีเอาไว้จำนวนหนึ่ง ขณะนี้อยู่ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)”นายสุรพลกล่าว
สำหรับกูปรี หรือ โคไพร เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย และอยู่ใน Appendix I ตามอนุสัญญาไซเตส เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายกับกระทิงและวัวแดง ปัจจุบันกูปรีเป็นสัตว์ป่าหายากกำลังใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากโลก เนื่องจากการถูกล่าเป็นอาหารและสภาวะสงครามในแถบอินโดจีน ส่วนของไทยเคยมีรายงานว่าพบกูปรีอยู่ตามแนวเทือกเขาชายแดน ไทย-กัมพูชา และลาว ล่าสุด เมื่อปี 2525 มีรายงานพบกูปรีในบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก