สอศ.จับมือ ก.สาธารณสุข เปิดสอนหลักสูตรสปาและความงามระดับ ปวช.นำร่อง 12 แห่ง คลอบคลุม 4 ภาค ในปีการศึกษา 2550 เพื่อเป็นใบเบิกทางในการประกอบอาชีพนวดสปาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
วันนี้(30 ส.ค.) นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (รองเลขาฯ กอศ.) ร่วมกับ นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันเพื่อจัดหลักสูตรการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัติวิชาชีพ (ปวช.) สาขาสปาและความงาม
และหลักสูตรระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสปาและความงามในสถานศึกษาสังกัด สอศ. เริ่มนำร่อง 12 แห่ง ครอบคลุม 4 ภูมิภาคของประเทศไทย โดยจะเปิดการเรียนการสอนได้ในปีการศึกษา 2550 นี้
นางศรีวิการ์ กล่าวว่า สอศ.และสธ.ได้ร่วมกันบูรณาการหลักสูตรระยะสั้นที่ได้รับการรับรองจากสถาบันบรมราชชนก มาพัฒนายกร่างขึ้นเป็นหลักสูตรระดับ ปวช.ที่มีมาตรฐานเพื่อยกระดับสมรรถนะของวิชาชีพให้เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถแก่บุคลากรในด้านการบริการเพื่อสุขภาพสปาและความงามให้สามารถแข่งขันได้ในต่างประเทศ โดยผ่านการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข
สำหรับ การจัดการเรียนการสอนด้านสปาและความงามในระดับ ปวช.จะดำเนินการโดยอาศัยเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาของ สอศ.กับศูนย์บริการแพทย์ทางเลือก วิทยาลัยพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อมุ่งผลิตกำลังคนรองรับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพแห่งเอเชีย โดยจะเปิดทำการเรียนการสอนใน 5 สาขา ซึ่งครอบคลุมความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับสปา ได้แก่ การนวดเพื่อสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ สุคนธบำบัด วารีบำบัด และสมาธิบำบัด นอกจากนี้ สอศ.ได้วางแผนงานที่จะขยายการศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในอนาคตด้วย
ทั้งนี้ สอศ.จะนำร่องเปิดสอนในระดับ ปวช.12 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ วิทยาลัย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย ภาคตะวันออก วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี วิทยาลัยสารพัดช่างกาญจนบุรี วิทยาลัยการอาชีพบางละมุง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี วิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา ภาคใต้ วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต วิทยาลัยสารพัดช่างชุมพร วิทยาลัยการเกษตรและเทคโนโลยีพังงา และภาคกลาง วิทยาลัยสารพัดช่างสี่พระยา
ด้าน นพ.มานิต กล่าวเสริมว่า ขณะนี้ สธ.ได้จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนระยะสั้นด้านสปาและความงามไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจะใช้เวลาเรียน 480 ชั่วโมง ภายในระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งในรุ่นแรกจะรับสมัครผู้เรียนจำนวน 50 คน และเมื่อทั้ง 50 เรียนคนเรียนจบหลักสูตรจนได้รับประกาศนียบัตรไปแล้ว ก็จะให้ทั้ง 50 คน มาเป็นครูสอนในรุ่นต่อไป อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ได้รับใบประกาศนียบัตรแล้ว แต่ยังเรียนไม่จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 นำไปเรียนเทียบโอนกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เพื่อนำวุฒิการศึกษาระดับ ม.3 และประกาศนียบัตรด้านสปาและความงามมาเทียบโอนการศึกษาระดับ ปวช. โดยมาเรียนเนื้อหาหลักสูตรด้านวิชาการเพิ่มเติม
“ผู้ที่เรียนจบแล้วจะได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาฯ และกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งใบประกาศนี้สามารถยกระดับสมรรถนะของวิชาชีพให้เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ และนำวุฒินี้ไปยื่นเพื่อทำงานในสปาทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศอีกด้วย”
วันนี้(30 ส.ค.) นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (รองเลขาฯ กอศ.) ร่วมกับ นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันเพื่อจัดหลักสูตรการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัติวิชาชีพ (ปวช.) สาขาสปาและความงาม
และหลักสูตรระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสปาและความงามในสถานศึกษาสังกัด สอศ. เริ่มนำร่อง 12 แห่ง ครอบคลุม 4 ภูมิภาคของประเทศไทย โดยจะเปิดการเรียนการสอนได้ในปีการศึกษา 2550 นี้
นางศรีวิการ์ กล่าวว่า สอศ.และสธ.ได้ร่วมกันบูรณาการหลักสูตรระยะสั้นที่ได้รับการรับรองจากสถาบันบรมราชชนก มาพัฒนายกร่างขึ้นเป็นหลักสูตรระดับ ปวช.ที่มีมาตรฐานเพื่อยกระดับสมรรถนะของวิชาชีพให้เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถแก่บุคลากรในด้านการบริการเพื่อสุขภาพสปาและความงามให้สามารถแข่งขันได้ในต่างประเทศ โดยผ่านการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข
สำหรับ การจัดการเรียนการสอนด้านสปาและความงามในระดับ ปวช.จะดำเนินการโดยอาศัยเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาของ สอศ.กับศูนย์บริการแพทย์ทางเลือก วิทยาลัยพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อมุ่งผลิตกำลังคนรองรับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพแห่งเอเชีย โดยจะเปิดทำการเรียนการสอนใน 5 สาขา ซึ่งครอบคลุมความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับสปา ได้แก่ การนวดเพื่อสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ สุคนธบำบัด วารีบำบัด และสมาธิบำบัด นอกจากนี้ สอศ.ได้วางแผนงานที่จะขยายการศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในอนาคตด้วย
ทั้งนี้ สอศ.จะนำร่องเปิดสอนในระดับ ปวช.12 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ วิทยาลัย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย ภาคตะวันออก วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี วิทยาลัยสารพัดช่างกาญจนบุรี วิทยาลัยการอาชีพบางละมุง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี วิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา ภาคใต้ วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต วิทยาลัยสารพัดช่างชุมพร วิทยาลัยการเกษตรและเทคโนโลยีพังงา และภาคกลาง วิทยาลัยสารพัดช่างสี่พระยา
ด้าน นพ.มานิต กล่าวเสริมว่า ขณะนี้ สธ.ได้จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนระยะสั้นด้านสปาและความงามไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจะใช้เวลาเรียน 480 ชั่วโมง ภายในระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งในรุ่นแรกจะรับสมัครผู้เรียนจำนวน 50 คน และเมื่อทั้ง 50 เรียนคนเรียนจบหลักสูตรจนได้รับประกาศนียบัตรไปแล้ว ก็จะให้ทั้ง 50 คน มาเป็นครูสอนในรุ่นต่อไป อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ได้รับใบประกาศนียบัตรแล้ว แต่ยังเรียนไม่จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 นำไปเรียนเทียบโอนกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เพื่อนำวุฒิการศึกษาระดับ ม.3 และประกาศนียบัตรด้านสปาและความงามมาเทียบโอนการศึกษาระดับ ปวช. โดยมาเรียนเนื้อหาหลักสูตรด้านวิชาการเพิ่มเติม
“ผู้ที่เรียนจบแล้วจะได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาฯ และกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งใบประกาศนี้สามารถยกระดับสมรรถนะของวิชาชีพให้เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ และนำวุฒินี้ไปยื่นเพื่อทำงานในสปาทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศอีกด้วย”