ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวถึงกรณีที่นายจรัญ ภักดีธนากุล เลขาธิการประธานศาลฎีกา ระบุถึงการเลือกปฏิบัติต่อเด็กในสังคม โดยเฉพาะกรณีโรงเรียนรัฐและโรงเรียนสาธิตต่าง ๆ มีหลักเกณฑ์ให้บุตรของบุคลากรได้แต้มต่อในการเข้าเรียน โดยผู้ถูกเลือกปฏิบัติสามารถฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เนื่องจากขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 30 วรรค 3 ว่าปรัชญาของโรงเรียนสาธิตเกิดขึ้นมาเพราะต้องการให้เป็นส่วนหนึ่งของการคณะศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์ ซึ่งจะใช้โรงเรียนสาธิตเป็นห้องทดลองปฏิบัติการเรียนการสอนของคณะศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์
ดังนั้น รูปแบบการจัดการเรียนการสอนต้องมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากโรงเรียนทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะสาธิต มศว ประสานมิตร และปทุมวัน จะรับเด็กจากการสอบเข้าจำนวนหนึ่ง บุตรของบุคลากรในมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นสวัสดิการ นอกจากนี้ ยังมีโควตาเด็กที่มีความสามารถพิเศษ โควตาเด็กพิเศษอย่างเด็กออทิสติก และผู้มีอุปการคุณ ถือเป็นความยุติธรรมที่โรงเรียนกระจายสู่เด็กทุกกลุ่ม ทุกชนชั้น อีกทั้งการที่จะให้เด็กมาสอบแข่งขันเพียงอย่างเดียวเพื่อคัดเด็กเข้าเรียน ก็ใช่ว่าจะเกิดความยุติธรรมเสมอไป
ดังนั้น รูปแบบการจัดการเรียนการสอนต้องมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากโรงเรียนทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะสาธิต มศว ประสานมิตร และปทุมวัน จะรับเด็กจากการสอบเข้าจำนวนหนึ่ง บุตรของบุคลากรในมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นสวัสดิการ นอกจากนี้ ยังมีโควตาเด็กที่มีความสามารถพิเศษ โควตาเด็กพิเศษอย่างเด็กออทิสติก และผู้มีอุปการคุณ ถือเป็นความยุติธรรมที่โรงเรียนกระจายสู่เด็กทุกกลุ่ม ทุกชนชั้น อีกทั้งการที่จะให้เด็กมาสอบแข่งขันเพียงอย่างเดียวเพื่อคัดเด็กเข้าเรียน ก็ใช่ว่าจะเกิดความยุติธรรมเสมอไป