ใช่ว่า การพลัดพรากจากคนรักแลเพื่อนฝูงญาติสนิทมิตรสหายจะนำความรวดร้าวเศร้าโศกมาเยือนจิตใจผู้อยู่ข้างหลังเท่านั้น ทว่าบ่อยครายังทำร้ายสภาพแวดล้อมด้วย เนื่องจากการจัดการกับความตายผ่านการเผาศพโดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม ผสมกับพิธีกรรมความเชื่อทางวัฒนธรรมประเพณีบางด้านที่ส่งผ่านมานาน กลับปลดปล่อยสารพิษอันตรายร้ายแรงทั้งต่อตัวมนุษย์และบรรยากาศรายรอบออกมา

การจัดการความตายอย่างเอื้ออาทรต่อสภาพแวดล้อมและสมานฉันท์กับญาติๆ ผู้ตายของ ‘สัปเหร่อ’ หรือผู้จัดการความตาย จึงควรอนาทรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ไปหาญหัก ทำลายศรัทธา ความเชื่อทางศาสนาของพวกเขาและญาติผู้ตาย ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงจัดเสวนาเรื่อง ‘สัปเหร่อ...ความตายกับสิ่งแวดล้อม’ ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักถึงพิษภัยอันตรายจากการเผาศพและการป้องกันอันตราย ควบคู่กับให้ความรู้ ความเข้าใจ และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการเผาศพที่ถูกต้อง
ด้วยปัจจุบันพบว่ามลพิษทางอากาศ กากของเสียและสารอันตรายกำลังทวีดีกรีความรุนแรงและส่งผลกระทบโดยตรงต่ออนามัยประชาชน การรุมเร้าของโรคร้ายต่างๆ ทั้งมะเร็งและโรคระบบทางเดินหายใจนั้นนอกจากจะเกิดจากควันพิษรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ยังมาจากเตาเผาศพที่มักปล่อยสารในกลุ่มไดออกซินและฟิวแรนซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งการเกิดโรคมะเร็ง ความผิดปกติของระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย และระบบสืบพันธุ์
ยิ่งผนึกรวมกับการที่ไทยได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน โดยเฉพาะการกำจัดสารในกลุ่มไดออกซินและฟิวแรน กอปรกับข้อมูลจากทำเนียบสารมลพิษตกค้างยาวนานของกรมควบคุมมลพิษที่ระบุว่าสารทั้งสองกลุ่มนี้มาจากเตาเผาศพเป็นสำคัญ ก็ส่งผลให้การสร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ทำการเผาศพ ผู้ควบคุมดูแลการเผาศพ พระภิกษุและสามเณร รวมถึงผู้ประกอบการโลงศพ และผู้บริหารวัดล้วนเป็นกลไกสำคัญยิ่งในการผลักดันให้ประเทศไทยปลดเปลื้องมลพิษจากแหล่งกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมืองที่มีประชากรหนาแน่น
“วันนี้ในเขตกรุงเทพฯ มีวัดทั้งสิ้น 433 แห่ง เป็นวัดที่มีเมรุเผาศพ 310 แห่ง ปริมาณศพที่ทำการฌาปนกิจมากถึง 2,500 ศพต่อเดือน อีกทั้งประมาณ 30 วัดยังไม่ได้มาตรฐานในการติดตามตรวจสอบมลพิษทางอากาศด้วย และจากสถิติข้อมูลเตาเผาศพระบุว่ามีวัดทั่วประเทศมากถึง 34,331 วัด” อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ดร.มณทิพย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน เผย พลางขยายความว่าประมาณร้อยละ 80 ของวัดทั่วประเทศจะมีเมรุเผาศพ โดยแต่ละปีจะต้องจัดการเผาศพประมาณ 312,000 ศพต่อปี ยิ่งกว่านั้นกว่าสี่ในห้าของเตาเผาศพทั่วประเทศยังเป็นห้องเผาศพห้องเดียว และหลายจังหวัดในภาคเหนือไม่เผาศพที่วัดแต่เผาศพที่สุสานโดยใช้เตาเผาศพแบบห้องเดียว มีน้อยที่จะใช้เตาเผาศพแบบ 2 ห้องเผา ที่มีทั้งห้องเผาศพและห้องเผาควัน
เตาเผาศพแบบห้องเดียวจะเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เพราะเผาที่อุณหภูมิน้อยกว่า 900 องศาเซลเซียส และไม่มีการเผาควันหรืออากาศเสีย จึงทำให้มลพิษต่างๆ ทั้งก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ฝุ่นละออง เขม่าควัน และกลิ่นจากสารอินทรีย์ของศพ ตลอดจนสารไดออกซินและฟิวแรน (PCDDs/PCDFs) ที่เป็นมลพิษตกค้างยาวนาน ถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศโดยตรง
“พัฒนาการทางเทคโนโลยีของเตาเผา อุปกรณ์ และวิธีการปฏิบัติงานของสัปเหร่อหรือผู้ควบคุมการเผาที่ไม่ถูกวิธีเป็นเหตุสำคัญของภาวะไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการเผาศพแต่ละครั้งจะประกอบไปด้วยสารพวกอินทรีย์คาร์บอนจากโลงศพ สีทาโลงศพ วัสดุประดับ ดอกไม้จันทน์และเชื้อเพลิง สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์เพื่อรักษาเนื้อไม้โลงศพ และมีสารออร์แกโนคลอรีนที่สะสมในไขมันของศพ รวมถึงสารคลอรีนจากพลาสติกบางประเภทที่ใช้ในโลงศพ และที่สะสมในชั้นไขมันของศพล้วนไม่ถูกคัดกรองและแยกออกก่อนเผา”
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมาจากความเชื่อทางพิธีกรรมหรือความเคยชินของสัปเหร่อเองก็ตาม การไม่ใช้เตาเผาศพแบบ 2 ห้องเผา และการไม่คัดแยกวัสดุก่อนเผาศพล้วนก่อเกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ในภายหลังทั้งสิ้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องกับการเผาศพ โดยเฉพาะสัปเหร่อจึงสำคัญยิ่งเพราะไม่เพียงคืนคุณภาพชีวิตของพวกเขาและสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชนโดยรวมกลับมาเท่านั้น หากทว่ายังสอดรับกับแนวนโยบายรัฐในการร่วมกันลดปัญหามลพิษจากแหล่งกำเนิด
การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมลดปัญหามลพิษของประเทศผ่านภาคีสมาชิกสัปเหร่อ ควบคู่กับเตรียมความพร้อมของท้องถิ่นในการบริหารจัดการปัญหามลพิษของประเทศในอนาคตนั้น อาจชักนำให้ผู้เกี่ยวข้องในการเผาศพกว่า 1,000 คนที่เข้าร่วมเสวนาในวันนั้นกลับไปทบทวนกิจกรรมและพิธีกรรมความเชื่อทางศาสนาของตัวเองว่าเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์อย่างไร

กระนั้น สัปเหร่อหลายคนยอมรับว่าหากจะเอื้ออาทรแม่ธรรมชาติอย่างเคร่งครัดแล้ว จำต้องได้รับความร่วมมือจากเจ้าภาพและญาติผู้ตายก่อน มิฉะนั้นจะกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างสัปเหร่อกับเจ้าภาพไป ด้วยหลายความเชื่อของญาติผู้ตายไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนัก เช่น การเผากระดาษเงินกระดาษทอง รวมทั้งการเลือกใช้โลงที่แสดงถึงฐานะความมั่งคั่ง
“ทำอะไรก็ต้องไม่ไปขัดกับหลักความเชื่อทางศาสนาของเจ้าภาพ การขอความร่วมมือกับเจ้าภาพงานศพแต่ละรายนั้นอาจต้องวานเจ้าอาวาสคุยให้ เพราะลำพังเขาคงไม่เชื่อสัปเหร่อเท่าไรนัก ถ้าเจ้าภาพเขาเอาด้วย การทำก็ไม่ยากอะไร” ล้วน สมบูรณ์รัตน์ สัปเหร่อวัย 8 ทศวรรษจากวัดกลางนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์เล่า พลางบอกว่าจะนำความรู้เรื่องเตาเผาศพไปบอกกับเจ้าอาวาสและถ่ายทอดให้สัปเหร่อรุ่นลูกรุ่นหลานฟัง
ละม้ายมุมมองของสัปเหร่อวัดชัยชนะสงคราม กรุงเทพฯ วัย 36 ปี บุญเจือ บุญฉิมพลี ที่มองว่าความร่วมมือจากเจ้าภาพงานศพสำคัญสุด เพราะหากเขาไม่อนุญาตก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ ต่อให้นโยบายของกระทรวงทรัพยากรฯ ดีแค่ไหนก็ยากประสบความสำเร็จ
“เจ้าภาพงานศพจำนวนมากยังคงเชื่อในเรื่องพิธีกรรม โดยเฉพาะการใส่กระดาษเงินกระดาษทอง และการใส่ใบชากับขี้เลื่อยที่ทำให้เผาไหม้ได้ไม่หมด ขณะที่บางราย โดยเฉพาะคนรวย มักนิยมใช้โลงหรูหรา ประดับประดามากมายเพื่อแสดงถึงความร่ำรวย จนบ่อยครั้งเผาไหม้ไม่หมดเช่นกัน”
คล้ายคลึงกับอรชร มั่งเรือน สัปเหร่อจากวัดบางแพรกใต้ ที่เผยว่าแม้ทางวัดจะใช้เตาเผาศพแบบ 2 ห้อง แต่บางคราวญาติผู้ตายจะใช้โลง 3 ชั้น มีเทพพนม กระดาษเงินกระดาษทอง จำนวนมาก จึงต้องแยกก่อนเผา ใส่แต่โลงกับศพเพื่อลดควันพิษ ซึ่งสัปเหร่อรุ่นก่อนๆ ไม่ได้ทำเช่นนี้ จึงเป็นโรคปอดตายจำนวนมาก
สอดรับกับมุมมองของผู้ประกอบการโลงศพ อำเภาพรรณ สุริยะเสนีย์ ที่ยอมรับว่าค่านิยมการใช้โลงจากวัสดุที่เผาแล้วก่อมลพิษแก้ไขได้ยาก ด้วยผูกพันกับความเชื่อ ยิ่งโลงสวยงาม ราคาแพงยิ่งประกอบด้วยวัสดุที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมาก อาทิ นวมใยสังเคราะห์ที่บุด้านในโลงศพ ลวดลายเทพพนมพลาสติกข้างโลงศพ เพราะเวลาเผาพลาสติกจะเกาะกับกระดูก ฉะนั้นจึงควรให้ความรู้แก่เจ้าภาพในการเลือกใช้โลงศพว่าแบบใดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ขณะที่พระศรีญาณโสภณ (สุวิทย์ ปิยวิชุโช) รองเจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก แสดงธรรมว่า แม้พระสงฆ์จะไม่เกี่ยวข้องกับการลดมลพิษจากการเผาศพ ทว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งในการลดมลพิษทางใจของผู้กำลังจะตาย โดยเฉพาะในรายที่ทุกข์ทรมานจากการห่วง ยึดติดในวัตถุเงินทอง
“ต้องเตือนสติให้เขาคิดว่าเกิดมาเป็นคนนั้นเป็นทุนแล้ว ชีวิตที่เหลือคือกำไร สมบัติที่สะสมมาเป็นของโลกนี้ ไม่ใช่โลกหน้า” อย่างไรก็ตาม พระศรีญาณโสภณเผยว่า ญาติๆ ของผู้ตายมักเป็นห่วงผู้ตายในโลกหน้าจึงนำทรัพย์สิน เสื้อผ้ารองเท้า หีบศพงดงาม เผาไปด้วย ก็เลยก่อให้เกิดมลพิษ ยังไม่นับรวมถึงสารอันตรายต่อชีวิตอย่างฟอร์มาลินที่ใช้กับพวงหรีดดอกไม้สดด้วย
...แล้วอย่างนี้ความตายจะไม่นำไปสู่ความสมานฉันท์ได้อย่างไร ด้วยพวงหรีด กระดาษเงินกระดาษทอง โลงหรูหรางดงามมากมายขนาดไหน ท้ายสุดแล้วยามถูกเปลวไฟแผดเผาก็ไม่เหลือร่องรอยให้จำเค้ารางเดิมได้ เฉกเช่นเดียวกับทรัพย์สินเงินทอง ชื่อเสียงเกียรติยศทางการเมืองระดับ ฯพณฯ ท่านของใครบางคนที่ได้มาโดยทุจริต คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย สุดท้ายก็กลายเป็นคำก่นด่าของอาณาประชาราษฎร์ ซึ่งต่อให้ใช้เตาเผาแบบ 2 ห้องที่ดีที่สุดก็ไม่อาจขจัดมลพิษของแผ่นดินจากการพังทลายความสมานฉันท์ของพี่น้องลูกหลานคนไทยไปได้
การจัดการความตายอย่างเอื้ออาทรต่อสภาพแวดล้อมและสมานฉันท์กับญาติๆ ผู้ตายของ ‘สัปเหร่อ’ หรือผู้จัดการความตาย จึงควรอนาทรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ไปหาญหัก ทำลายศรัทธา ความเชื่อทางศาสนาของพวกเขาและญาติผู้ตาย ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงจัดเสวนาเรื่อง ‘สัปเหร่อ...ความตายกับสิ่งแวดล้อม’ ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักถึงพิษภัยอันตรายจากการเผาศพและการป้องกันอันตราย ควบคู่กับให้ความรู้ ความเข้าใจ และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการเผาศพที่ถูกต้อง
ด้วยปัจจุบันพบว่ามลพิษทางอากาศ กากของเสียและสารอันตรายกำลังทวีดีกรีความรุนแรงและส่งผลกระทบโดยตรงต่ออนามัยประชาชน การรุมเร้าของโรคร้ายต่างๆ ทั้งมะเร็งและโรคระบบทางเดินหายใจนั้นนอกจากจะเกิดจากควันพิษรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ยังมาจากเตาเผาศพที่มักปล่อยสารในกลุ่มไดออกซินและฟิวแรนซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งการเกิดโรคมะเร็ง ความผิดปกติของระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย และระบบสืบพันธุ์
ยิ่งผนึกรวมกับการที่ไทยได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน โดยเฉพาะการกำจัดสารในกลุ่มไดออกซินและฟิวแรน กอปรกับข้อมูลจากทำเนียบสารมลพิษตกค้างยาวนานของกรมควบคุมมลพิษที่ระบุว่าสารทั้งสองกลุ่มนี้มาจากเตาเผาศพเป็นสำคัญ ก็ส่งผลให้การสร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ทำการเผาศพ ผู้ควบคุมดูแลการเผาศพ พระภิกษุและสามเณร รวมถึงผู้ประกอบการโลงศพ และผู้บริหารวัดล้วนเป็นกลไกสำคัญยิ่งในการผลักดันให้ประเทศไทยปลดเปลื้องมลพิษจากแหล่งกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมืองที่มีประชากรหนาแน่น
“วันนี้ในเขตกรุงเทพฯ มีวัดทั้งสิ้น 433 แห่ง เป็นวัดที่มีเมรุเผาศพ 310 แห่ง ปริมาณศพที่ทำการฌาปนกิจมากถึง 2,500 ศพต่อเดือน อีกทั้งประมาณ 30 วัดยังไม่ได้มาตรฐานในการติดตามตรวจสอบมลพิษทางอากาศด้วย และจากสถิติข้อมูลเตาเผาศพระบุว่ามีวัดทั่วประเทศมากถึง 34,331 วัด” อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ดร.มณทิพย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน เผย พลางขยายความว่าประมาณร้อยละ 80 ของวัดทั่วประเทศจะมีเมรุเผาศพ โดยแต่ละปีจะต้องจัดการเผาศพประมาณ 312,000 ศพต่อปี ยิ่งกว่านั้นกว่าสี่ในห้าของเตาเผาศพทั่วประเทศยังเป็นห้องเผาศพห้องเดียว และหลายจังหวัดในภาคเหนือไม่เผาศพที่วัดแต่เผาศพที่สุสานโดยใช้เตาเผาศพแบบห้องเดียว มีน้อยที่จะใช้เตาเผาศพแบบ 2 ห้องเผา ที่มีทั้งห้องเผาศพและห้องเผาควัน
เตาเผาศพแบบห้องเดียวจะเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เพราะเผาที่อุณหภูมิน้อยกว่า 900 องศาเซลเซียส และไม่มีการเผาควันหรืออากาศเสีย จึงทำให้มลพิษต่างๆ ทั้งก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ฝุ่นละออง เขม่าควัน และกลิ่นจากสารอินทรีย์ของศพ ตลอดจนสารไดออกซินและฟิวแรน (PCDDs/PCDFs) ที่เป็นมลพิษตกค้างยาวนาน ถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศโดยตรง
“พัฒนาการทางเทคโนโลยีของเตาเผา อุปกรณ์ และวิธีการปฏิบัติงานของสัปเหร่อหรือผู้ควบคุมการเผาที่ไม่ถูกวิธีเป็นเหตุสำคัญของภาวะไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการเผาศพแต่ละครั้งจะประกอบไปด้วยสารพวกอินทรีย์คาร์บอนจากโลงศพ สีทาโลงศพ วัสดุประดับ ดอกไม้จันทน์และเชื้อเพลิง สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์เพื่อรักษาเนื้อไม้โลงศพ และมีสารออร์แกโนคลอรีนที่สะสมในไขมันของศพ รวมถึงสารคลอรีนจากพลาสติกบางประเภทที่ใช้ในโลงศพ และที่สะสมในชั้นไขมันของศพล้วนไม่ถูกคัดกรองและแยกออกก่อนเผา”
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมาจากความเชื่อทางพิธีกรรมหรือความเคยชินของสัปเหร่อเองก็ตาม การไม่ใช้เตาเผาศพแบบ 2 ห้องเผา และการไม่คัดแยกวัสดุก่อนเผาศพล้วนก่อเกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ในภายหลังทั้งสิ้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องกับการเผาศพ โดยเฉพาะสัปเหร่อจึงสำคัญยิ่งเพราะไม่เพียงคืนคุณภาพชีวิตของพวกเขาและสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชนโดยรวมกลับมาเท่านั้น หากทว่ายังสอดรับกับแนวนโยบายรัฐในการร่วมกันลดปัญหามลพิษจากแหล่งกำเนิด
การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมลดปัญหามลพิษของประเทศผ่านภาคีสมาชิกสัปเหร่อ ควบคู่กับเตรียมความพร้อมของท้องถิ่นในการบริหารจัดการปัญหามลพิษของประเทศในอนาคตนั้น อาจชักนำให้ผู้เกี่ยวข้องในการเผาศพกว่า 1,000 คนที่เข้าร่วมเสวนาในวันนั้นกลับไปทบทวนกิจกรรมและพิธีกรรมความเชื่อทางศาสนาของตัวเองว่าเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์อย่างไร
กระนั้น สัปเหร่อหลายคนยอมรับว่าหากจะเอื้ออาทรแม่ธรรมชาติอย่างเคร่งครัดแล้ว จำต้องได้รับความร่วมมือจากเจ้าภาพและญาติผู้ตายก่อน มิฉะนั้นจะกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างสัปเหร่อกับเจ้าภาพไป ด้วยหลายความเชื่อของญาติผู้ตายไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนัก เช่น การเผากระดาษเงินกระดาษทอง รวมทั้งการเลือกใช้โลงที่แสดงถึงฐานะความมั่งคั่ง
“ทำอะไรก็ต้องไม่ไปขัดกับหลักความเชื่อทางศาสนาของเจ้าภาพ การขอความร่วมมือกับเจ้าภาพงานศพแต่ละรายนั้นอาจต้องวานเจ้าอาวาสคุยให้ เพราะลำพังเขาคงไม่เชื่อสัปเหร่อเท่าไรนัก ถ้าเจ้าภาพเขาเอาด้วย การทำก็ไม่ยากอะไร” ล้วน สมบูรณ์รัตน์ สัปเหร่อวัย 8 ทศวรรษจากวัดกลางนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์เล่า พลางบอกว่าจะนำความรู้เรื่องเตาเผาศพไปบอกกับเจ้าอาวาสและถ่ายทอดให้สัปเหร่อรุ่นลูกรุ่นหลานฟัง
ละม้ายมุมมองของสัปเหร่อวัดชัยชนะสงคราม กรุงเทพฯ วัย 36 ปี บุญเจือ บุญฉิมพลี ที่มองว่าความร่วมมือจากเจ้าภาพงานศพสำคัญสุด เพราะหากเขาไม่อนุญาตก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ ต่อให้นโยบายของกระทรวงทรัพยากรฯ ดีแค่ไหนก็ยากประสบความสำเร็จ
“เจ้าภาพงานศพจำนวนมากยังคงเชื่อในเรื่องพิธีกรรม โดยเฉพาะการใส่กระดาษเงินกระดาษทอง และการใส่ใบชากับขี้เลื่อยที่ทำให้เผาไหม้ได้ไม่หมด ขณะที่บางราย โดยเฉพาะคนรวย มักนิยมใช้โลงหรูหรา ประดับประดามากมายเพื่อแสดงถึงความร่ำรวย จนบ่อยครั้งเผาไหม้ไม่หมดเช่นกัน”
คล้ายคลึงกับอรชร มั่งเรือน สัปเหร่อจากวัดบางแพรกใต้ ที่เผยว่าแม้ทางวัดจะใช้เตาเผาศพแบบ 2 ห้อง แต่บางคราวญาติผู้ตายจะใช้โลง 3 ชั้น มีเทพพนม กระดาษเงินกระดาษทอง จำนวนมาก จึงต้องแยกก่อนเผา ใส่แต่โลงกับศพเพื่อลดควันพิษ ซึ่งสัปเหร่อรุ่นก่อนๆ ไม่ได้ทำเช่นนี้ จึงเป็นโรคปอดตายจำนวนมาก
สอดรับกับมุมมองของผู้ประกอบการโลงศพ อำเภาพรรณ สุริยะเสนีย์ ที่ยอมรับว่าค่านิยมการใช้โลงจากวัสดุที่เผาแล้วก่อมลพิษแก้ไขได้ยาก ด้วยผูกพันกับความเชื่อ ยิ่งโลงสวยงาม ราคาแพงยิ่งประกอบด้วยวัสดุที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมาก อาทิ นวมใยสังเคราะห์ที่บุด้านในโลงศพ ลวดลายเทพพนมพลาสติกข้างโลงศพ เพราะเวลาเผาพลาสติกจะเกาะกับกระดูก ฉะนั้นจึงควรให้ความรู้แก่เจ้าภาพในการเลือกใช้โลงศพว่าแบบใดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ขณะที่พระศรีญาณโสภณ (สุวิทย์ ปิยวิชุโช) รองเจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก แสดงธรรมว่า แม้พระสงฆ์จะไม่เกี่ยวข้องกับการลดมลพิษจากการเผาศพ ทว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งในการลดมลพิษทางใจของผู้กำลังจะตาย โดยเฉพาะในรายที่ทุกข์ทรมานจากการห่วง ยึดติดในวัตถุเงินทอง
“ต้องเตือนสติให้เขาคิดว่าเกิดมาเป็นคนนั้นเป็นทุนแล้ว ชีวิตที่เหลือคือกำไร สมบัติที่สะสมมาเป็นของโลกนี้ ไม่ใช่โลกหน้า” อย่างไรก็ตาม พระศรีญาณโสภณเผยว่า ญาติๆ ของผู้ตายมักเป็นห่วงผู้ตายในโลกหน้าจึงนำทรัพย์สิน เสื้อผ้ารองเท้า หีบศพงดงาม เผาไปด้วย ก็เลยก่อให้เกิดมลพิษ ยังไม่นับรวมถึงสารอันตรายต่อชีวิตอย่างฟอร์มาลินที่ใช้กับพวงหรีดดอกไม้สดด้วย
...แล้วอย่างนี้ความตายจะไม่นำไปสู่ความสมานฉันท์ได้อย่างไร ด้วยพวงหรีด กระดาษเงินกระดาษทอง โลงหรูหรางดงามมากมายขนาดไหน ท้ายสุดแล้วยามถูกเปลวไฟแผดเผาก็ไม่เหลือร่องรอยให้จำเค้ารางเดิมได้ เฉกเช่นเดียวกับทรัพย์สินเงินทอง ชื่อเสียงเกียรติยศทางการเมืองระดับ ฯพณฯ ท่านของใครบางคนที่ได้มาโดยทุจริต คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย สุดท้ายก็กลายเป็นคำก่นด่าของอาณาประชาราษฎร์ ซึ่งต่อให้ใช้เตาเผาแบบ 2 ห้องที่ดีที่สุดก็ไม่อาจขจัดมลพิษของแผ่นดินจากการพังทลายความสมานฉันท์ของพี่น้องลูกหลานคนไทยไปได้